Dr. Montri
  A Study of Paradoxical Preaching in The Context of Thai Church in Southern California
  

A Study of Paradoxical Preaching in The Context of Thai Church in Southern California


A Major Project
Submitted to the Faculty of
International Theological Seminary
(An Abridged and A Thai Editions)


In Partial Fulfillment
of the Requirements for the Degree
Doctor of Ministry


by Montri Taratiptitikul
2001




ACKNOWLEDGEMENTS

I am so grateful to the Lord Jesus Christ, who has redeemed me, and called me to serve Him and His church. His grace enables me to finish my program of study.
I am so thankful to Dr. Joseph Tong, my first mentor, who suggested to me the structure of the project and guided me through the entire project with helpful insight and much kindness. Also my thankful goes to Dr. Wichan Ritnimit, my second mentor, who gave me many helpful comments and insight. I am also thankful to Dr. Kyu Sam Han, my third mentor, who so kind and gave me so good advice for my project. Many thanks go to the saints at Thai Churches in Southern California, who have participated and supplied me through the entire project. I also would like to express my deepest appreciation to Mrs. Esther Woo (Wantanee Suwatcharapinun), my aunt, who has financial support and encouragement and in prayers for my entire D.Min. study.
Finally, I am grateful to my Mom, Napaporn Tarathiptitikol (Eiu Tiang Sae Tang), who has given me into this world and always support me in every ways as well as my twin sister, Suchada, who always kind to me.



บทคัดย่อ
ความมุ่งหมายของการศึกษาตามสารนิพนธ์ฉบับนี้คือการค้นคว้า, เรียบเรียง, สร้างบทเรียน, บทเทศนาตามคำตรัสหรือคำสอนของพระเยซูและเปาโลซึ่งเป็นเชิงประติทรรศน์แล้วนำเสนอยังกลุ่มศึกษาซึ่งเป็นคริสเตียนในคริสตจักรไทย 4 แห่งในแคลิฟอร์เนียใต้ โดยหวังว่าผู้เรียนจะได้รับประโยชน์จากถ้อยคำประติทรรศน์ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจและเสริมสร้างความเชื่อเพื่อให้ชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณเติบโตและสร้างผลให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและมีวุฒิภาวะในการเผชิญกับชีวิตที่ยุ่งยากในสหรัฐอเมริกา การวัดผลของความเติบโตก็ด้วยการให้กรอกแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นในถ้อยคำที่เป็นประติทรรศน์และเปรียบเทียบถึงการเปลี่ยนแปลงในเรื่องชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณ, ความเครียดในชีวิตประจำวัน, และการผ่อนคลายความเครียด โดยการกรอกแบบสอบถามจะมี 2 ครั้งคือครั้งแรกในช่วงก่อนที่จะเริ่มการสอน และกรอกแบบสอบถามเดิมในชั่วโมงสุดท้ายหลังจากการเรียนแล้วทั้งหมด แล้วอ่านคะแนนผลความแตกต่างตามแบบสอบถามดูว่าผู้เรียนได้รับประโยชน์เช่นไรบ้าง และมีการสรุปและคำแนะนำตอนท้าย
แนวการศึกษาของสารนิพนธ์นี้ได้ยึดในแนวทางที่ Dr. Richard P. Hansen จาก Dissertation ในหัวข้อ ¡°The Contrarian Preacher: Communicating Paradox to a Pragmatic World¡± ซึ่งได้ให้รูปลักษณะของประติทรรศน์ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ (1) Reframe Paradox (2) Harmonious Paradox (3) Two-Handled Paradox โดยได้มีการเรียบเรียงบทเทศนาต่าง ๆ ตามรูปลักษณะทั้ง 3 แล้วนำเสนอบทเทศนาเหล่านั้นแก่กลุ่มคริสเตียนในคริสตจักรไทย
สารนิพนธ์นี้ได้แบ่งออกเป็น 5 บทคือ
บทที่ 1 บทนำ: ได้แก่การชี้นำให้เห็นถึงที่มาของชุมชนคริสเตียนในแคลิฟอร์เนียใต้ ความจำเป็นและความสำคัญของการศึกษา สมมุติฐานของการศึกษา แนวทางการศึกษา แบบสอบถาม กลุ่มการศึกษา
บทที่ 2 ทบทวนความหมายของประติทรรศน์: ประติทรรศน์กับการโฆษณา ความหมายของประติทรรศน์ เหตุที่ต้องมีประติทรรศน์ ชีวิตมนุษย์ที่ต้องมีประติทรรศน์ซึ่งมาจากมูลฐาน 4 ประการคือ (1) มนุษย์อยู่ในสภาพดินและสง่าราศี (2) มนุษย์มีร่างกายอ่อนแอแต่มีใจถวิลหาสิ่งไกลพ้น (3) มนุษย์มีความกดดันระหว่างสภาพที่เป็นอยู่และการกลายเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น (4) การเป็นมนุษย์ที่เป็นปัจเจกบุคคลในสังคมประชาคม นอกจากนั้นได้ดูถึงความหมายแง่อื่นของประติทรรศน์ตามยุคสมัยต่าง ๆ
บทที่ 3 บทเทศนาเชิงประติทรรศน์: บทเทศนาเชิงประติทรรศน์ได้แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ Reframe Paradox หรือประติทรรศน์ในลักษณะการสร้างความคิดใหม่ซึ่งมีบทเทศนา 3 บทด้วยกัน ลักษณะที่ 2 คือ Harmonious Paradox หรือประติทรรศน์ในลักษณะผสมขั้วตรงข้ามซึ่งมีบทเทศนา 3 บท ส่วนประติทรรศน์ลักษณะที่ 3 คือ Two-Handled Paradox หรือประติทรรศน์ในลักษณะมือจับสองข้างที่คู่กันแต่อยู่ห่างกันซึ่งมี 2
เรื่องอันเป็นการเน้นเรื่องประติทรรศน์ที่เกี่ยวข้องกับพระลักษณะของพระเจ้าซึ่งปรากฏในหลักข้อเชื่อของคริสเตียน
คือเรื่องตรีเอกานุภาพ และพระเยซูที่ทรงเป็นพระเจ้าแท้และมนุษย์สมบูรณ์
บทที่ 4 วิเคราะห์แบบสอบถามของแต่ละกลุ่มศึกษา: มีการอ่านผลของคะแนนซึ่งเป็นการเทียบระหว่างการกรอกแบบสอบถามครั้งแรกและครั้งที่สองซึ่งเป็นการกรอกซ้ำในแบบสอบถามชุดเดียวกันเพื่อให้ทราบว่า การเรียนประติทรรศน์ตามการนำเสนอแก่คริสเตียนไทยมีผลตอบสนองเช่นไรบ้าง
บทที่ 5 บทสรุปและคำแนะนำ: สิ่งที่ได้จากการศึกษาของคริสเตียนไทยและผู้เขียนสารนิพนธ์ในเรื่องที่เกี่ยวกับประติทรรศน์ และข้อเสนอที่ควรมีต่อไปในการศึกษาเรื่องของประติทรรศน์ และความเห็นตอนท้ายของผู้เขียนที่เกี่ยวข้องกับประติทรรศน์
ประติทรรศน์เป็นสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ตรงข้ามหรือความขัดแย้ง 2 สิ่งที่เข้ามาสัมพันธ์กัน แต่ในความขัดแย้งดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความตึงเครียดหรือความกดดันขึ้น ลักษณะดังกล่าวก็เป็นก็นำผู้ที่เกี่ยวข้องให้เข้าลึกในความล้ำลึกของพระเจ้าตามพระวจนะของพระองค์ ประติทรรศน์เป็นตัวเชื่อมระหว่างความไว้วางใจในพระเจ้าและความเข้าใจหรือการยอมรับในความนึกคิดของตนเอง ความสัมพันธ์เช่นนั้นเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขชีวิตของคริสเตียนให้เป็นชีวิตในลักษณะ ¡°ยิ่งกว่าผู้พิชิต¡±





สารบัญ
หน้า
1. บทนำ 834
ยินดีต้อนรับสู่ชีวิตประติทรรศน์ในสหรัฐอเมริกา 834
คริสเตียนและการก่อตั้งคริสตจักรในสหรัฐอเมริกา 835
การเตรียมตัวเพื่อการรับใช้ของคริสเตียนไทยในสหรัฐอเมริกา 836
ความจำเป็นของการศึกษา 837
ความสำคัญและความมุ่งหมายของการศึกษา 837
สมมุติฐานของการศึกษา 838
แนวทางในการศึกษา 838
แบบสอบถาม 838
กลุ่มศึกษาคำเทศนาเชิงประติทรรศน์ 839
บทต่าง ๆ ของสารนิพนธ์ 839
2. ทบทวนความหมายของประติทรรศน์ 840
ประติทรรศน์กับการโฆษณา 840
อะไรคือ Paradox 841
ทำไมจึงต้องประติทรรศน์ 842
ชีวิตประติทรรศน์ในมนุษย์ 843
มนุษย์อยู่ในสภาพของดินและสง่าราศี 843
มนุษย์มีร่างกายที่อ่อนแอแต่มีใจถวิลหาสิ่งไกลพ้น 845
มนุษย์มีชีวิตในความกดดันระหว่างสภาพที่เป็นอยู่กับการกลายเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น 845
การเป็นมนุษย์ที่เป็นปัจเจกบุคคลในสังคมประชาคม 846
ความหมายประติทรรศน์ในแง่ต่าง ๆ 846
เอกลักษณ์ของประติทรรศน์ 848
3. บทเทศนาเชิงประติทรรศน์ 850
ประติทรรศน์ใช้งานได้อย่างไร 850
การเทศนาประติทรรศน์ในลักษณะการพูดใหม่ (Reframe Paradox) 851
บทเทศนาประติทรรศน์ในลักษณะการพูดใหม่ 852
(1) พรและวิบัติ, ลูกา 6:20-26 853
(2) ธำรงชีวิตด้วยการเสียชีวิต, ยอห์น 12:20-33 858
(3) อ่อนแอเมื่อใด, แข็งแรงเมื่อนั้น, 2 โครินธ์ 12:1-10 365
การเทศนาประติทรรศน์ในลักษณะผสมขั้วตรงข้าม (Harmonious Paradox) 871
ประติทรรศน์กับการเมือง 872
ประติทรรศน์ในตะวันออกกลาง 874
ชีวิตคริสเตียนกับประติทรรศน์ 874
ประติทรรศน์กับภาพยนตร์ 874
การทรงกำหนดไว้ล่วงหน้า, Predestination 875
บทเทศนาเชิงประติทรรศน์ในลักษณะผสมขั้นตรงข้าม 876
(1) ก่อนหาพบก็รันทด หลังพบแล้วก็เปรมปรีดิ์, มัทธิว 13:44 876
นิทานประติทรรศน์ 876
(2) คำถามที่ไม่แน่ใจของคนที่มั่นใจ, มัทธิว 11:2-11 880
(3) ข้าพเจ้าผู้ซึ่งมิใช่ข้าพเจ้า แต่พระคริสต์ต่างหาก, กาลาเตีย 2:20 883
ประติทรรศน์ในลักษณะมือจับสองข้างที่คู่กันแต่อยู่ห่างกัน (Two Handled Paradox) 888
(1) ตรีเอกานุภาพ 889
สมมุติฐาน, อุปทาน, การอรรถาธิบาย 891
หลักข้อเชื่อ 892
(2) พระเยซูทรงเป็นพระเจ้าแท้และมนุษย์สมบูรณ์, หลักข้อเชื่อไนเซีย 893
เบื้องหลังที่มาของหลักข้อเชื่อไนเซีย 893
ตารางเปรียบเทียบประเภทของประติทรรศน์ 896
4. วิเคราะห์แบบสอบถามของกลุ่มศึกษา 897
คริสตจักรไทยแคลิฟอร์เนีย 897
สรุปจากการอ่านข้อมูลของคริสตจักรไทยแคลิฟอร์เนีย 901
คริสตจักรไทยมิชชั่น 901
สรุปจากการอ่านข้อมูลของคริสตจักรไทยมิชชั่น 906
คริสตจักรที่หนึ่งไทยเพรสไบทีเรียน 906
สรุปจากการอ่านข้อมูลของคริสตจักรที่หนึ่งไทยเพรสไบทีเรียน 912
คริสตจักรไทยเอ๊าท์ริช 912
สรุปจากการอ่านข้อมูลของคริสตจักรไทยเอ๊าท์ริช 915
สรุปคะแนนที่ได้จากแบบสอบถาม 915
5. บทสรุปและคำแนะนำ 916
บทสรุป 916
คำแนะนำ 917
บทส่งท้าย 917
ภาคผนวก 920
แบบสอบถาม (1) 920
แบบสอบถาม (2) 922
BIBLIOGRAPHY 924




บทที่ 1
บทนำ

ยินดีต้อนรับสู่ชีวิตประติทรรศน์ในสหรัฐอเมริกา
เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2000 เวลาเที่ยงวัน นายสุพจน์ ธีระเกาศัลย์, กงสุลใหญ่ไทยแอลเอซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐบาลไทยและพี่น้องชาวไทยในสหรัฐอเมริกาและนางแจ๊กกี้ โกลด์เบิร์ก, ผู้แทนจากสภานคร ลอสแอนเจลิสซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนในนครลอสแอนเจลิสได้ร่วมมือกันตัดริบบิ้นเปิดไทยทาวน์ อย่างเป็นทางการ ณ บริเวณหน้าไทยแลนด์พลาซ่า เทศบาลนครลอสแอนเจลิสได้กำหนดให้บริเวณแถบถนนฮอลลีวู้ดช่วงตัดระหว่างถนน เวสเตรินและถนนนอร์มันดีเป็นเขตของไทยทาวน์
การเปิดไทยทาวน์แห่งแรกในสหรัฐอเมริกาได้เอื้อประโยชน์ให้กับพี่น้องชาวไทยและอื่น ๆ ในการบริโภค-อุปโภคสินค้าและอาหารไทย ทั้งยังเป็นศูนย์รวมด้านธุรกิจและการพบปะของพี่น้องชาวไทยที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงและอื่น ๆ ซึ่งอาศัยในแคลิฟอร์เนียใต้
แม้ว่าไทยทาวน์ตั้งอยู่บนถนนช่วงสั้น ๆ ไม่เกิน 3 มุมถนน แต่การกำเนิดไทยทาวน์ก็เป็นเหมือนชุมชนของเชื้อชาติอื่น ๆ ที่เริ่มต้นจากคนจำนวนน้อยแล้วต่อมาก็มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น หากต้นไม้ใหญ่ที่ ร่มรื่นซึ่งให้ผลดกล้วนเริ่มต้นชีวิตด้วยเมล็ดเล็ก ๆ เม็ดหนึ่งที่เพาะปลูกฝังลงในดินที่อุดมสมบูรณ์ ไทยทาวน์ในนครลอสแอนเจลิสก็เป็นอย่างนั้นเช่นกัน การกำเนิดของไทยทาวน์หรือการเริ่มต้นของชุมชนชาวไทยได้สะท้อนให้เห็นถึงจำนวนคนไทยและเอกลักษณ์ความเป็นไทยที่กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในสหรัฐอเมริกา
นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประเทศไทยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมและความร่วมมือจากสหรัฐอเมริกาทั้งทางภาครัฐและภาคเอกชนในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านวัฒนธรรม, การศาสนา, การศึกษา, การแพทย์, สิ่งบันเทิงต่าง ๆ , การทำธุรกิจค้าขาย, โดยเฉพาะการทำสงครามในประเทศเวียดนาม-ลาว-กัมพูชาที่ใช้ประเทศไทยเป็นฐานทัพทหาร, และอื่น ๆ สิ่งต่าง ๆ ดังที่กล่าวไปได้มีส่วนกระตุ้นให้คนไทยจำนวนมากเต็มใจละบ้านเกิดเมืองนอนของตนในประเทศไทยเดินทางไปสหรัฐอเมริกาในฐานะของนักท่องเที่ยว, นักศึกษา, คนทำงานหารายได้, คนต่างด้าว, และอื่น ๆ
ก่อนที่จะเข้ามาอาศัยในสหรัฐอเมริกา, คนไทยจำนวนมากมักมีจินตนาการที่ดีเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อมาอยู่ในสหรัฐอเมริกาก็ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาษา, วัฒนธรรม, กฎหมายและระเบียบวินัยต่าง ๆ , การทำงานเลี้ยงชีพ, ความสัมพันธ์, ดินฟ้าอากาศ, อาหารการกิน, เป็นต้น หากคนใดสามารถปรับตัวได้ก็อาจมีชีวิตที่เป็นสุขและเจริญก้าวหน้า แต่ก็มีคนไทยจำนวนมากที่เกิดการขัดแย้ง, มีปัญหา, ตกในความทุกข์ โดยเฉพาะผู้ที่ได้เติบโตและคุ้นเคยกับการอยู่ที่สบาย, สนุก, สงบอย่างที่ได้รับในประเทศไทยก่อนหน้า คนไทยจำนวนมากที่เคยใช้ชีวิตอย่างมีเกียรติในประเทศไทย เคยมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญ ๆ ในวงการต่าง ๆ พร้อมทั้งมีบริวารที่คอยรับใช้ซึ่งพร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสั่ง แต่เมื่อมาอยู่ในสหรัฐอเมริกาก็ต้องทำงานแบกจ๊อบเพื่อความอยู่รอด ทุกคนต้องทำงานบ้านและอื่น ๆ ด้วยตนเองโดยไม่มีคนช่วยเหลือเหมือนในประเทศไทย งานล้างห้องน้ำหรือส้วมที่ไม่เคยทำเลยในเมืองไทยก็กลายเป็นสิ่งที่ต้องลงมือทำเองทั้งที่เต็มใจหรือไม่เต็มใจ เมื่อการใช้ชีวิตในต่างแดนมีสภาพที่แตกต่างจากบ้านเมืองเดิมของตนก็เป็นความจำเป็นที่คนไทยจะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติและการดำเนินชีวิตอย่างเดิมของตน

คริสเตียนไทยและการก่อตั้งคริสตจักรในสหรัฐอเมริกา
ในบรรดาคนไทยที่ได้เข้ามาอาศัยในสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะในแถบบริเวณแคลิฟอร์เนียใต้ก็มีคริสเตียนจำนวนหนึ่งที่เคยเป็นสมาชิกของคริสตจักรในประเทศไทย เมื่อคนไทยเหล่านี้ได้มาอาศัยในสหรัฐอเมริกาก็ไม่ละเลยการร่วมสัมพันธ์กับคริสตจักร ในระยะแรก คริสเตียนไทยได้ไปร่วมนมัสการในคริสตจักรของพี่น้องอเมริกัน ต่อมาภายหลังก็มีพี่น้องคริสเตียนไทยหลายคนมีความดำริที่จะรวบรวมบรรดาพี่น้องคนไทยเพื่อนมัสการพระเจ้าในบรรยากาศที่มีการใช้ภาษาไทยเป็นหลัก และร่วมกันประกาศเผยแพร่ข่าวประเสริฐแก่คนไทยที่อาศัยอยู่ในละแวกหรือที่มีความสัมพันธ์กัน
พี่น้องคริสเตียนไทยกลุ่มแรกที่มีการรวมตัวกันซึ่งมีจำนวนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีถิ่นฐานเดิมในภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งได้แก่จังหวัดเชียงใหม่, เชียงราย, ลำปาง, และอื่น ๆ รวมทั้งอดีตมิชชันนารีและครอบครัวที่เคยไปรับใช้ในประเทศไทย พี่น้องกลุ่มนี้ซึ่งเป็นคนไทยและอื่น ๆ ประมาณ 40 คนได้ใช้ห้องประชุมนมัสการของคริสตจักร Mount Hollywood Congregational Church ซึ่งตั้งอยู่ที่ 4607 Prospect Avenue, Los Angeles เป็นสถานที่ประชุม โดยการนมัสการครั้งแรกมีขึ้นเมื่อวันอิสเตอร์เดือนเมษายน ปี 1973 และได้ตั้งชื่อของคริสตจักรว่า ¡°Thai Community Church in Hollywood¡± หรือ ¡°คริสตจักรไทยในฮอลลีวู้ด¡± ต่อมาเมื่อเดือนกันยายน ปี 1988 หลังจากที่คริสตจักรได้มีการขยายตัวและสมาชิกส่วนใหญ่มีที่อยู่อาศัยนอกเมืองแอลเอ คริสตจักรนี้จึงมีมติย้ายสถานที่นมัสการไปที่ First Presbyterian Church ในเมือง El Monte และได้เปลี่ยนชื่อคริสตจักรใหม่ว่า ¡°คริสตจักรที่หนึ่งไทยเพรสไบทีเรียนในสหรัฐอเมริกา¡± หลังจากนั้น คริสตจักรได้เติบโตจนสามารถเลี้ยงตนเองเป็นเวลาติดต่อกันกว่า 10 ปี จึงได้ดำริที่จะมีสถานที่และโบสถ์เป็นของตนเอง คริสตจักรไทยนี้ได้ตัดสินใจซื้อโบสถ์ซึ่ง
มีเนื้อที่และตัวอาคารตั้งอยู่ที่ 1047 N. Barranca Avenue, Covina เป็นของตนและได้ใช้สถานที่ดังกล่าวในการนมัสการพระเจ้าและกระทำพันธกิจต่าง ๆ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี 1995 จนกระทั่งปัจจุบัน
นอกจากนั้นมีกลุ่มคริสเตียนไทยอื่นที่รวมตัวกันก่อตั้งเป็นคริสตจักรไทยคือ:-
คริสตจักรไทยเอ้าท์ริชในเมือง Pasadena ซึ่งเป็นการรวมตัวของคริสเตียนแล้วมีการยื่นขอจดทะเบียนกับทางราชการเพื่อการจัดตั้งเป็นคริสตจักรเมื่อปลายปี 1979 ในระยะเริ่มแรกได้ใช้ห้องประชุมนมัสการของคริสตจักร Lake Avenue Congregational ในเมือง Pasadena เป็นสถานที่นมัสการพระเจ้า ต่อมาในปี 1980 คริสตจักรไทยเอ้าท์ริชได้ย้ายสถานที่นมัสการไปที่ Calvary Baptist Church ในเมือง Pasadena หลังจากที่คริสตจักรได้เติบโตขึ้นและมีเงินสะสมมากเพียงพอคริสตจักรจึงได้ตัดสินใจซื้อบ้านซึ่งเดิมเป็นคลีนิคแพทย์รวมที่ดินซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 978 N. Lake Ave., Pasadena เพื่อใช้เป็นสถานที่นมัสการพระเจ้าและกระทำพันธกิจต่าง ๆ หลังจากที่ได้ซ่อมแซมปรับปรุงอาคารสถานที่แล้ว ในวันที่ 2 กรกฎาคม 1989 สมาชิกของคริสตจักรได้เริ่มต้นใช้สถานที่แห่งนี้เพื่อการนมัสการพระเจ้าและการกระทำพันธกิจต่าง ๆ จนกระทั่งปัจจุบัน คริสตจักรไทยเอ้าท์ริชนับเป็นคริสตจักรไทยแห่งแรกนอกประเทศไทยที่มีสถานที่นมัสการพระเจ้าของตนเองซึ่งมาจากการร่วมจิตร่วมใจในการถวายทรัพย์ของพี่น้องคริสเตียนไทยและมีคนไทยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์
คริสตจักรไทยอื่น ๆ ที่ได้ก่อตั้งขึ้นในท้องที่ของ Orange County และอื่น ๆ คือ:-
คริสตจักรไทยอีพีซีร่มพระคุณ (เดิมชื่อคริสเตียนสัมพันธ์) ในเมือง Bellflower (ต่อมาย้ายไปที่เมือง Cerritos) คริสตจักรไทยมิชชั่นในเมือง Los Alamitos คริสตจักรไทยแคลิฟอร์เนียในเมือง Anaheim คริสตจักรรวมพระพรในเมือง Long Beach (เดิมย้ายมาจากเมือง Bellflower) คริสตจักรพันธกิจในเมือง Temple City คริสตจักรไทยเซเว่นย์เดย์แอ็ดเวนติสต์ในเมือง Redland เป็นต้น

การเตรียมตัวเพื่อการรับใช้ของคริสเตียนไทยในสหรัฐอเมริกา
พระเจ้าทรงนำพาให้คริสเตียนไทยรวมตัวกันและร่วมใจกันก่อตั้งคริสตจักรตามพื้นที่ต่าง ๆ ในแอลเอ, Orange County และอื่น ๆ ผู้เขียนเชื่อว่า พระเจ้ามีน้ำพระทัยที่จะให้คริสตจักรไทยมีชีวิตที่ถวายพระเกียรติด้วยการนมัสการพระองค์ในสถานที่ต่าง ๆ และมีการขยายอาณาจักรของพระเจ้าออกไปในหมู่พี่น้องชาวไทยด้วยการบริการและการประกาศเป็นพยานถึงข่าวประเสริฐขององค์พระเยซูคริสต์เจ้า
แต่ก่อนที่คริสตจักรไทยจะสำแดงชีวิตที่ถวายเกียรติและออกกระทำพันธกิจต่าง ๆ ก็ควรที่จะพิจารณาถึงชีวิตและคำตรัสของพระเยซูในช่วงก่อนที่พระองค์จะออกกระทำพระราชกิจของพระบิดาเจ้าในเรื่องที่พระองค์
ถูกทดลองดังที่กล่าวไว้ในมัทธิว 4:1-4 ว่า:-
¡°ครั้งนั้น พระวิญญาณทรงนำพระเยซูเข้าไปในถิ่นทุรกันดารเพื่อมารจะได้มาผจญ และพระองค์ทรงอดพระกระยาหารสี่สิบวันสี่สิบคืน ภายหลังพระองค์ก็ทรงอยากพระกระยาหาร ส่วนผู้ผจญมาหาพระองค์ทูลว่า ¡®ถ้าท่านเป็นพระบุตรของพระเจ้า จงสั่งก้อนหินเหล่านี้ให้กลายเป็นพระกระยาหาร¡¯ ฝ่ายพระองค์ตรัสตอบว่า มีพระคัมภีร์เขียนไว้ว่า ¡®มนุษย์จะบำรุงชีวิตด้วยอาหารสิ่งเดียวหามิได้ แต่บำรุงด้วยพระวจนะทุกคำซึ่งออกมาจากพระโอษฐ์ของพระเจ้า¡¯¡±
แม้พระเยซูอยู่ในสถานการณ์ที่หิวโหย แต่พระเยซูได้ปฏิเสธสิ่งที่มารนำเสนอโดยตรัสสิ่งที่เป็นตรงข้าม คือแม้มนุษย์กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องการอาหารอย่างยิ่งยวด แต่ตรงข้ามมนุษย์จะต้องบำรุงชีวิตด้วยพระวจนะทุกคำซึ่งออกจากพระโอษฐ์ของพระเจ้า ถ้อยคำของพระเยซูที่เป็นการขัดแย้งหรือปฏิเสธความต้องการของตนแต่รับพระวจนะทุกคำจากพระเจ้าก็กระทำให้มีชัยชนะเหนือการทดลองจนมารจำต้องละพระองค์ถอยหนีไป

ความจำเป็นของการศึกษา
คริสเตียนไทยในสหรัฐอเมริกาอาจมีชีวิตที่ต้องเผชิญกับการขัดแย้งซึ่งสร้างผลให้ชีวิตของตนถดถอยหรือเต็มไปด้วยความเครียดหรือพ่ายแพ้ต่อการทดลองในรูปแบบต่าง ๆ ดังนั้น คริสเตียนจึงควรเข้าใจและมีชีวิตตามคำสอนของพระเยซูคริสต์เจ้าและอัครทูตเปาโล โดยเฉพาะในคำสอนที่เป็นลักษณะของ Paradox หรือประติทรรศน์
การศึกษาตามสารนิพนธ์นี้จะเป็นผลดีต่อคริสเตียนไทยที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาหรือในต่างแดนซึ่งมีสภาพชีวิตที่มีความขัดแย้งซึ่งมักก่อให้เกิดความตึงเครียดและความวิตกกังวลในชีวิต จากการศึกษานี้อาจทำให้คริสเตียนไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าของพระธรรมเชิงประติทรรศน์ของพระเยซูและเปาโลซึ่งเป็นกุญแจไขเข้าไปสู่ความเข้าใจที่แตกฉานและมีความเชื่อวางใจในพระเจ้าอย่างมีวุฒิภาวะซึ่งพร้อมที่จะเผชิญและต่อสู้กับการใช้ชีวิตในต่างแดนที่มีสภาพแตกต่างจากที่ตนเคยเกี่ยวข้องก่อนหน้า

ความสำคัญและความมุ่งหมายของการศึกษา
คำสอนเชิง Paradox หรือประติทรรศน์เป็นกุญแจที่จะไขเข้าไปถึงความล้ำลึกแห่งพระคำในพระคริสต์ธรรมคัมภีร์ Paradox เป็นเหมือนกับแผนที่ ๆ เป็นหนทางที่เปิดไปสู่ชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณที่เติบโตขึ้นและเป็นการเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตคริสเตียนในดินแดนที่แตกต่างจากอดีตที่ตนเคยอยู่อาศัย
ลักษณะของคำสอนแบบ Paradox ก็ปรากฏมากมายในพระคัมภีร์ เช่น เราได้พักหายเหนื่อยเป็นสุขเพราะเราได้แบกแอกไว้ (มัทธิว 11:28-30) เราเป็นผู้ใหญ่ด้วยการเป็นผู้น้อย (ลูกา 9:48) เราเป็นใหญ่ด้วยการเป็นทาสปรนนิบัติผู้อื่น (มัทธิว 20:26-28) เราได้รับการยกขึ้นด้วยการถ่อมตัวลง (มัทธิว 23:12) เราเป็นคนที่มีปัญญาด้วยคำเทศนาพระคริสต์ซึ่งเป็นเรื่องโง่ ๆ (1 โครินธ์ 1:20-21) เราแข็งแรงมากขึ้นเมื่อเราอ่อนแอ (2 โครินธ์ 12:9-10) เราธำรงชีวิตด้วยการเสียชีวิต (ยอห์น 12:24-25; 2 โครินธ์ 4:10-11) เป็นต้น
การศึกษานี้จะมีการวิจัยถึงการรับรู้ในคำสอนเชิงประติทรรศน์ในหมู่คริสเตียนไทยในสหรัฐอเมริกาและมีการวัดผลจากแบบสอบถามเพื่อที่จะทราบผลว่า การเทศนาเชิงประติทรรศน์จะช่วยลดปัญหาความตึงเครียดในชีวิตและมีการเพิ่มพูนความเชื่อวางใจในพระเจ้าหลังจากที่ได้ฟังและเรียนรู้จากคำเทศนาเชิงประติทรรศน์

สมมุติฐานของการศึกษา
สมมุติฐานของผู้เขียนที่ใช้ของการศึกษาและการเขียนวิทยานิพนธ์คำเทศนาเชิงประติทรรศน์มี 3 ประการคือ
1. การฟังและการเรียนรู้จากคำเทศนาเชิงประติทรรศน์จำนวน 10 ชั่วโมงในบริบทของคริสตจักรไทยจะสร้างผลให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจถึงพระวจนะในพระคัมภีร์ดีมากขึ้น
2. การฟังและการเรียนรู้จากคำเทศนาเชิงประติทรรศน์จำนวน 10 ชั่วโมงในคริสตจักรไทยจะสร้างผลให้ คริสเตียนไทยเติบโตขึ้นในฝ่ายจิตวิญญาณ
3. การฟังและการเรียนรู้จากคำเทศนาเชิงประติทรรศน์จำนวน 10 ชั่วโมงในคริสตจักรไทยจะสร้างผลให้ คริสเตียนไทยมีความสัมพันธ์ที่เติบโตและมีวุฒิภาวะในการเผชิญกับชีวิตที่ยุ่งยากในสหรัฐอเมริกา

แนวทางในการศึกษา
ผู้เขียนมีความประสงค์ที่จะวิจัยเรื่องการเทศนาเชิงประติทรรศน์ที่พระเยซูและเปาโลได้กล่าวไว้ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ โดยเรียบเรียงบทเทศนาเชิงประติทรรศน์ออกเป็น 3 ประเภทตามแนวความคิดของ Richard P. Hansen ซึ่งได้นำเสนอในสารนิพนธ์ D.Min. ของท่านในหัวเรื่อง ¡°The Contrarian Preacher: Communicating Paradox to a Pragmatic World¡± ซึ่งได้แก่ 1) Heuristic หรือการสร้างรูปใหม่ (reframes) 2) Harmonious หรือการประสมสองสิ่งที่ตรงข้ามเข้าด้วยกัน 3) Two-Handled หรือการแยกสิ่งตรงข้ามที่แตกต่างออกห่างจากกันแล้วให้ร่วมไปด้วยกัน แล้วนำบทเทศนาต่าง ๆ เหล่านั้นเทศนาให้คริสเตียนในคริสตจักรไทยฟังแล้วศึกษาถึงผลลัพธ์จากแบบสอบถามหรือการตอบสนองต่อการฟังคำเทศนาเชิงประติทรรศน์ว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้าง

แบบสอบถาม
แบบสอบถามที่ใช้วัดผลการศึกษาหรือการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการฟังคำเทศนาเชิงประติทรรศน์มีด้วยกัน 2 แบบ แบบแรกเป็นการวัดความเห็นในแง่ของการเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับข้อความประติทรรศน์ซึ่งมีทั้งหมด 15 ข้อ ส่วนแบบสอบถามที่สองซึ่งมี 12 ข้อเป็นการวัดผลของการเรียนรู้หรือการฟังคำเทศนาเชิงประติทรรศน์แล้วได้ผลเช่นไรในเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณ, ความเครียดที่มีในชีวิตประจำวัน, และการผ่อนคลายความเครียด การกรอกแบบสอบถามของผู้เรียนทั้งสองแบบจะมีในครั้งแรกก่อนที่จะเริ่มการสอน หลังจากการฟังคำเทศนาทุกบทแล้ว จะให้กรอกแบบสอบถามเดิมซ้ำอีกครั้งหนึ่ง จุดมุ่งหมายของการกรอกแบบสอบถามทั้งสองครั้งก็เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาหรือความถดถอยภายหลังจากการฟังคำเทศนาเชิงประติทรรศน์

กลุ่มศึกษาคำเทศนาเชิงประติทรรศน์
กลุ่มศึกษาคำเทศนาเชิงประติทรรศน์แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ทั้ง 4 กลุ่มเป็นคริสเตียนในคริสตจักรไทย 4 แห่งซึ่งได้แก่ (1) คริสตจักรไทยแคลิฟอร์เนีย, Anaheim ซึ่งใช้เวลาระหว่างวันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม ถึง วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน ยกเว้นวันอาทิตย์ที่ 30 กรกฏาคม และ 27 สิงหาคม เวลา 11:30 – 12:30 น. รวมทั้งหมด 8 ครั้ง ๆ ละ 60 นาที (2) คริสตจักรไทยมิชชั่น, Los Alamitos ซึ่งใช้เวลาระหว่างวันอาทิตย์ที่ 13 สิงหาคม ถึง 15 ตุลาคม เวลา 9:30 – 10:30 น. รวมทั้งหมด 10 ครั้ง ๆ ละ 60 นาที (3) คริสตจักรที่หนึ่งไทยเพรสไบทีเรียน, Covina ซึ่งใช้เวลาระหว่างวันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม ถึง วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน เวลา 11:15 – 12:15 น. รวมทั้งหมด 8 ครั้ง ๆ ละ 60 นาทีแต่ละครั้งใช้เวลาในระหว่าง 11:15 – 12:15 น. (4) คริสตจักรไทยเอ๊าท์ริช, Pasadena ซึ่งใช้วันเวลาของทุกวันจันทร์ของเดือนกุมภาพันธ์ เวลา 19.00 – 21.30 น. จำนวน 4 ครั้ง ๆ ละ 2 ชั่วโมงครึ่งรวมทั้งหมด 10 ชั่วโมง

บทต่าง ๆ ของสารนิพนธ์
สารนิพนธ์นี้แบ่งออกเป็น 5 บทคือ
1. คำนำ
2. ทบทวนถึงความหมายของประติทรรศน์ในแง่ต่าง ๆ
3. บทเทศนาที่เรียบเรียงจากคำสอนเชิงประติทรรศน์ของพระเยซูและเปาโลซึ่งแบ่งเป็น 3 แนว โดยบทเทศนาทั้ง 3 แนวรวมทั้งหมด 8 บทด้วยกัน
4. วิเคราะห์แบบสอบถามของแต่ละกลุ่มศึกษาที่ได้จากการฟังการเทศนาเชิงประติทรรศน์
5. การสรุปและคำแนะนำของผู้เขียนจากการได้ศึกษาข้อมูลที่กรอกตามแบบสอบถาม



บทที่ 2
ทบทวนความหมายของประติทรรศน์

ประติทรรศน์กับการโฆษณา
โฆษณาที่ใช้แนวประติทรรศน์เพื่อดึงดูดความสนใจก็มักปรากฏให้เห็นอยู่บ่อย ๆ โฆษณา 2 ชิ้นที่ใช้คำว่า ¡°Paradox¡± หรือแฝงด้วยความคิดแนวประติทรรศน์ได้แก่โฆษณาของน้ำอัดลมยี่ห้อเป๊ปซี่กับเครื่องกีฬายี่ห้อไนกี้
โฆษณาน้ำอัดลมเป๊ปซี่ได้เริ่มด้วยชายคนหนึ่งที่มีหน้าตาเหมือนไอสไตร์นปรากฏตัวหน้าตู้หยอดเหรียญน้ำอัดลม 2 ตู้ที่อยู่ติดกันซึ่งตู้หนึ่งเป็นน้ำอัดลมยี่ห้อโคคาโคล่าส่วนอีกตู้หนึ่งเป็นยี่ห้อเป๊ปซี่ ชายที่มีหน้าตาเหมือนไอสไตร์นได้กล่าวอุทานออกมาว่า ¡°Paradox¡± ซึ่งให้ความเข้าใจว่าการมีน้ำอัดลม 2 ยี่ห้อที่อยู่ติดกันเป็นการขัดแย้ง หรืออีกนัยหนึ่งคือน้ำอัดลมซึ่งเป็นคู่แข่งฝ่ายตรงข้ามของกันและกันทั้ง 2 ยี่ห้อซึ่งอยู่ติดกันก็ทำให้เกิดความลำบากใจในการเลือก จากนั้นโฆษณาได้แสดงให้เห็นถึงการครุ่นคิดของไอสไตร์นโดยใช้สูตรคำนวนต่าง ๆ มากมายเพื่อการหาคำตอบ ในที่สุดก็มีเด็กหญิงคนหนึ่งซึ่งมักเป็นตัวเอกในโฆษณาทุกชิ้นของเป๊ปซี่ได้ปรากฏตัวขึ้นซึ่งทำให้ไอสไตร์นเกิดความคิดและตัดสินใจเลือกน้ำอัดลมเป๊ปซี่เป็นเครื่องดื่มของตน ในความหมายของการคิดในแนวประติทรรศน์ตามโฆษณาดังกล่าวอาจเป็นเพียงความหมายบางส่วนของ Paradox เพราะถ้าสิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับ Paradox ไม่ใช่มีเพียงแต่สิ่งตรงข้ามหรือความขัดแย้ง 2 อย่างที่อยู่ร่วมกันที่ต้องเลือกอย่างหนึ่งอย่างใดเท่านั้น แต่เป็นความขัดแย้งของสิ่งตรงข้ามที่ต้องร่วมไปด้วยกัน ถ้าเป็นความหมายที่ครบตามแนวความคิด Paradox ก็ต้องเลือกน้ำอัดลมทั้ง 2 ยี่ห้อพร้อมกันซึ่งเป็นคู่แข่งกันที่กำลังขัดแย้งกันหรือตรงข้ามกัน
โฆษณาอีกชิ้นหนึ่งเป็นของเครื่องกีฬาไนกี้ซึ่งออกอากาศในช่วงปลายปี 1999 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่จะเข้าสู่ปีสหัสวรรษหรือปีใหม่ 2000 ก่อนหน้าปี 2000 เป็นช่วงเวลาที่ทั่วโลกกำลังตื่นตระหนกในปัญหา Y2K ของคอมพิวเตอร์ คือมีความวิตกว่าเมื่อเข้าสู่ปีใหม่ 2000 แล้วเครื่องใช้ทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์จะเกิดความปั่นป่วนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ในโฆษณานั้นเริ่มด้วยชายคนหนึ่งได้ออกจากบ้านในตอนเช้าของวันใหม่ปี 2000 แล้วออกวิ่งจากที่พักในเมืองโดยมีเสียงเพลงออเลงไซร์คลอไปด้วย ขณะที่วิ่งไปตามท้องถนนก็มีความวุ่นวายโดยทั่ว เช่น มีรถยนตร์ชนกัน สัญญาณไฟจารจรไม่ทำงาน มีเงินไหลออกจากตู้ ATM อย่างไม่หยุด มีสัตว์ออกมาวิ่งบนท้องถนน อาวุธจรวดบินลอยข้ามหัว เป็นต้น แต่ชายคนนั้นหาใส่ใจกับสภาพที่กำลังเกิดขึ้นไม่ เขาคงวิ่งต่อไปจนถึงชานเมือง แล้วในตอนท้ายของโฆษณาก็มีคำพูดหนึ่งปรากฏบนจอทีวีว่า ¡°Just do it!¡± โฆษณาดังกล่าวเป็นลักษณะของ Paradox ซึ่งมีสิ่งที่ตรงข้ามหรือความขัดแย้ง 2 อย่างปรากฏพร้อมกันหรือดำเนินไปด้วยกันในเวลาเดียวกัน จากโฆษณาที่เป็นเชิงประติทรรศน์ดังกล่าวก็ได้สื่อความหมายที่มีพลังแก่ผู้ชมโดยเฉพาะถ้อยคำตอนท้ายที่ว่า ¡°Just do it!¡± แม้กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ขัดแย้งเพียงไรก็ตามก็ยังคงกระทำหรือวิ่งต่อไป

อะไรคือ Paradox?
พจนานุกรมภาษาอังกฤษได้นิยามคำว่า ¡°Paradox¡± ไว้ดังนี้
The Random House Dictionary ได้ให้ความหมายว่า ¡°คือประโยคหรือข้อความที่ดูเหมือนมีการขัดแย้งในตัวเองหรือเหลวไหลน่าขบขันแต่ในความเป็นจริงมีความหมายที่แสดงออกถึงความจริงที่เป็นไปได้¡±
ในพจนานุกรมภาษาไทยของ สอ เสถบุตรได้นิยามคำว่า Paradox ดังนี้
¡°คำพูดที่ตรงข้ามกับความรู้สึกของคนทั่ว ๆ ไป, สิ่งที่เต็มไปด้วยลักษณะขัดกัน, ผิดธรรมดา,ประหลาด, น่าขัน, ขัดกัน¡±
นอกจากนั้นได้มีการบัญญัติคำว่า ¡°Paradox¡± เป็นคำไทยโดยศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือซึ่งท่านได้บัญญัติคำว่า ¡°ประติทรรศน์¡± แทนคำว่า ¡°Paradox¡± และให้คำอธิบายว่า ¡°ความเห็นที่ขัดแย้งกันแต่ความจริงไม่มีการขัดแย้งกันจริง ๆ ¡°
คำว่า ¡°ประติทรรศน์¡± มาจากการสมาสของ 2 คำคือ ¡°ประติ¡± (ความหมายเดียวกับคำว่า ¡°ปฏิ¡±) ซึ่งหมายถึงตอบ, ทวน, กลับ, แย้งกัน และ ¡°ทรรศน์¡± ซึ่งหมายถึงความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, การแสดง, ความคิดเห็น ดังนั้น คำว่า ¡°ประติทรรศน์¡± สามารถสื่อความหมายในแง่ของความเห็นที่ทวนกลับหรือแย้งกันซึ่งเป็นลักษณะที่ตรงข้าม จริงอยู่คำว่า ¡°ประติทรรศน์¡± ไม่ได้สื่อความหมายที่ครบถ้วนดังความหมายของคำว่า ¡°Paradox¡± ซึ่งเป็นประโยคหรือข้อความเดียวกันที่มีการขัดแย้งหรือตรงข้ามแต่เป็นความจริงที่เป็นไปได้ แต่ก็ให้อนุโลมใช้คำว่า ¡°ประติทรรศน์¡± แทนคำว่า ¡°Paradox¡±
นอกจากนั้นมีการอธิบายเพิ่มเติมในความหมาย ¡°Paradox¡± คือคำสมาสของ 2 คำในภาษากรีกคือ para ซึ่งแปลว่า ¡°beyond¡± หรือเหนือพ้น กับคำว่า doza ซึ่งแปลว่า ¡°opinion¡± หรือความคิดเห็น
คำว่า ¡°Paradox¡± คือข้อความที่มีการขัดแย้งซึ่งดูเหมือนไม่อาจเชื่อถือหรือน่าหัวเราะ ข้อความประติทรรศน์เป็นข้อความที่ประกอบด้วยคำที่ตรงข้าม 2 คำที่มีความหมายตรงข้าม หรือความหมายตรงข้าม 2 ความหมายในประโยคเดียวกันซึ่งคำหรือความหมายที่ตรงข้ามไม่อาจที่จะแยกออกจากกัน
ดังนั้น คำว่า ¡°ประติทรรศน์¡± สามารถสรุปความหมายได้ดังนี้คือ ¡°ประโยคหรือคำพูดที่มีคำหรือความหมายที่ตรงข้ามหรือขัดแย้งกันซึ่งเป็นฟังแล้วประหลาด, ผิดธรรมดา, น่าขัน แต่เป็นการขัดแย้งตรงข้ามที่ให้ความหมายใหม่ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และคำหรือความหมายที่ขัดแย้งกันหรือตรงกันข้ามจำต้องอยู่ในประโยคหรือในความหมายที่เกี่ยวข้องกันหรือไปด้วยกัน ประโยคเชิงประติทรรศน์เป็นการนำพาให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านมีความคิดหรือความเข้าใจที่ขยายออกพ้นจากกรอบความคิดเดิมที่ตนเคยยึดถือ เป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ก้าวหน้าต่อไปในความจริงที่ล้ำลึก¡±

ทำไมจึงต้องประติทรรศน์? (Why Paradox?)
เนื่องจากภายในมนุษย์มีสภาพตรงกันข้ามอยู่ในคน ๆ เดียวกัน สภาพตรงกันข้ามมักสร้างความขัดแย้งในชีวิตของมนุษย์ การขัดแย้งดังกล่าวได้สร้างปัญหาและความทุกข์และก่อให้มีผลต่อความคิดและพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ Carl Sandburg ได้กล่าวถึงชีวิตที่ขัดแย้งกันดังนี้:
¡°ภายในชีวิตของข้าพเจ้าเหมือนมีนกอินทรีที่ต้องการทะยานขึ้นสู่ที่สูง แต่ขณะเดียวกันก็มีหมูน้ำ (ฮิปโปโตเตมัส) ที่อยู่ภายในชีวิตซึ่งต้องการกลั้วเกลือกอยู่กับโคลนตม¡±
เช่นเดียวกับเปาโลมีความขมขื่นกับตนเองดังที่กล่าวในโรม 7:15, 19, 24 ว่า
¡°ข้าพเจ้าไม่เข้าใจการกระทำของข้าพเจ้าเอง เพราะว่าข้าพเจ้าไม่ทำสิ่งที่ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะทำ แต่ทำสิ่งที่ข้าพเจ้าเกลียดชังนั้น.... ด้วยว่าการดีนั้นซึ่งข้าพเจ้าปรารถนาทำ ข้าพเจ้าไม่ได้กระทำ แต่การชั่วซึ่งข้าพเจ้ามิได้ปรารถนาทำ ข้าพเจ้ายังทำอยู่.... โอย ข้าพเจ้าเป็นคนน่าสมเพชอะไรเช่นนี้ ใครจะช่วยข้าพเจ้าให้พ้นจากร่างกายนี้ซึ่งเป็นของความตายได้¡±
ชีวิตของมนุษย์เต็มไปด้วยสิ่งที่เป็นประติทรรศน์ มีความปรารถนาให้ตนเองสง่าสูงส่งอย่างนกอินทรีแต่ขณะเดียวกันมีความใฝ่ต่ำที่คอยถ่วงให้จมปักอยู่กับสิ่งสกปรก บ่อยครั้งที่มีความตั้งใจจะกระทำสิ่งที่ดี แต่ขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะทำชั่ว มนุษย์มี 2 ธรรมชาติที่แตกต่างหรือตรงข้ามอยู่ในคนเดียวกัน ชีวิตมนุษย์มักก่อให้เกิดความรู้สึกงงงวยให้กับเจ้าตัวและคนอื่นที่เกี่ยวข้อง
วัฒนธรรม, จารีตประเพณี, ระเบียบกฎหมายก็เป็นตัวบังคับให้มนุษย์เดินในกรอบที่ดีงาม แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะควบคุมให้มนุษย์เป็นนกอินทรีได้ตลอดเวลา จริงอยู่มนุษย์อาจมีใจปรารถนาเป็นนกอินทรีในบางครั้งบางคราว แต่จะให้ทะยานอย่างนกอินทรีตลอดเวลาก็คงลำบาก เพราะภายในมนุษย์มีช้างน้ำที่หนักคอยดึงให้จมอยู่ในอาจม มนุษย์มีความขัดแย้งในคนเดียวกันคือมีทั้งอินทรีและช้างน้ำอาศัยอยู่ในคนเดียวกัน มนุษย์มีใจที่ปรารถนามุ่งการดีแต่ก็มีใจที่พร้อมจะกระทำชั่ว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะมนุษย์มี 2 สภาพที่ตรงข้ามอยู่ด้วยกัน มนุษย์จึงตกในสภาพที่น่าสงสาร นี่จึงเป็นประติทรรศน์อันลึกลับของมนุษย์ เปาโลเองจึงร้องว่าใครจะช่วยให้พ้นจากร่างกายนี้ได้ซึ่งเป็นร่างกายที่มีการต่อสู้กันระหว่างความดีและความชั่ว
ความขัดแย้งเช่นนั้นจำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไข เพราะสิ่งสำคัญในมนุษย์ก็คือ ทุกคนล้วนเป็นฉายาของพระเจ้า เมื่อเป็นเช่นนั้น มนุษย์แต่ละคนควรจัดการตนเองเช่นไรกับประติทรรศน์ในตนเอง

ชีวิตประติทรรศน์ในมนุษย์
มนุษย์มีชีวิตที่ประติทรรศน์ มนุษย์มีประสบการณ์แห่งการขึ้นการลงของชะตาชีวิต มนุษย์มีความขัดแย้งในตนเองและอื่น ๆ มนุษย์มีความหลากหลายที่กระจัดกระจายอยู่ในตนเอง การที่จะจัดการกับตนเองคือการให้เกิดความสมดุลในความหลากหลายที่กระจัดกระจายในคนเดียวกัน หากมนุษย์ไม่สามารถที่จะให้ตนเองมีความสมดุลในความขัดแย้งภายในของตน ความขัดแย้งนั้นจะก่อให้เกิด
ความวิปริตให้แก่ตนเองและสังคม มนุษย์มีพื้นฐานหรือเบื้องหลังซึ่งสามารถแยกออกเป็น 4 ประการดังนี้
ประการแรก มนุษย์อยู่ในสภาพของดินและสง่าราศี หากต้องการบรรยายถึงความเป็นมนุษย์ก็เป็นดังเช่นที่ G. K. Chesterton ได้กล่าวไว้ในแง่ที่ว่า มนุษย์ไม่สามารถพูดถึงเรื่องความเป็นมนุษย์ของตนในแง่ที่พยายามหลีกเลี่ยงที่จะไม่เอ่ยถึงอีกด้านที่ตรงข้ามของตนได้ ดังที่ท่านกล่าวว่า
¡°เท่าที่ข้าพเจ้าเป็นมนุษย์, ข้าพเจ้าเป็นเจ้าแห่งสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ในขณะเดียวกัน ข้าพเจ้าเป็นเจ้าแห่งความบาปทั้งปวง¡±
นอกจากนั้น John Stott ก็ได้ประกาศความเป็นมนุษย์ดังนี้ว่า
¡°แปลกประหลาด, เป็นลักษณะประติทรรศน์อันน่างงงวย, มีความประเสริฐและความเลวทราม มีเหตุผลและไร้เหตุผล มีศีลธรรมและอธรรม ฉายาอย่างพระเจ้าและเดียรัจฉาน¡±
Bishop Richard Holloway ได้พรรณนาถึง 2 ด้านที่ขัดแย้งที่แสดงถึงความลึกลับในมนุษย์:
¡°สิ่งนี้เป็นเรื่องการกลื่นไม่เข้าคายไม่ออก ข้าพเจ้าเป็นธุลีและเถ้า, อ่อนแอและดื้อรั้น, ปริศนาที่น่ากลัว,ระเกะระกะที่มีความต้องการ มีแก่นแท้แห่งการเป็นดินและจนกว่าจะกลับไปเป็นดินอีกแต่ยังมีสิ่งอื่นภายในชีวิตของข้าพเจ้า.. แม้เป็นดินแต่เป็นดินที่มีปัญญา, เป็นดินที่มีความใฝ่ฝัน เป็นดินที่มีความสังหรณ์ใจอันประหลาดในเรื่องการจำแลงตนเพื่อให้มีสง่าราศี เป็นผู้ที่มีการกำหนดไว้ล่วงหน้าถึงอนาคตว่าตนจะสืบสภาพเช่นนั้น ดังนั้น ชีวิตของข้าพเจ้าจึงก้าวต่อไปด้วยความเจ็บปวดแห่งเหตุและผล ระหว่างการเป็นเถ้าธุลีและสง่าราศี ระหว่างความอ่อนแอและการจำแลง ข้าพเจ้าเป็นปริศนาของข้าพเจ้าเอง เป็นปริศนาที่ลึกลับอันน่าโมโห สิ่งนี้จึงเป็นคู่อันแปลกประหลาดระหว่างการเป็นดินและสง่าราศี¡±
ในลักษณะเป็นดินและสง่าราศีของมนุษย์นี้ได้สร้างความงงงวยให้กับนักปรัชญา เปโตลและดิสคาร์ติสต์ได้กล่าวเน้นว่า มนุษย์มีสง่าราศีในตนเองหากได้ควบคุมจำกัดด้านสัญชาตญานที่เลวทรามภายในมนุษย์ ฟรอยดและนักจิตวิทยาพฤติกรรมได้เน้นว่า การไม่มีเหตุผลหรือมีส่วนซึ่งเป็นสัตว์ในมนุษย์ก็ได้กำหนดบุคคลิกภาพของมนุษย์ให้เป็นคนที่ยิ่งใหญ่หรือคนที่ไร้คุณค่า เหมือนน้ำมันกับน้ำ ลักษณะแฝดเช่นนั้นของมนุษย์ไม่อาจผสมเข้าด้วยกันได้ หากมีการเคลื่อนไปในด้านหนึ่งด้านใดก็มักมีการถอยหลังเดินหน้าตรงข้ามสลับกันไป
ในพระธรรมปฐมกาล 2:7 พูดถึงการสร้างมนุษย์ของพระเจ้า คือ ¡°พระเจ้าทรงปั้นมนุษย์ด้วยผงคลีดิน ระบายลมปราณเข้าทางจมูก มนุษย์จึงเป็นผู้มีชีวิต¡± นอกจากนั้น ปฐมกาล 1:24 กล่าวว่า ¡°พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ขึ้นตามฉายาของพระองค์ ตามพระฉายาของพระเจ้านั้น พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นและได้ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง¡±
ในแง่ของการเป็นมนุษย์ พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ขึ้นจากผงคลีดินอันไร้ค่า, สามัญธรรมดาที่สุด แต่ก็มีลมปราณ (พระวิญญาณ) หรือสง่าราศีแห่งพระเจ้าอยู่ในผงคลีดิน มนุษย์มี 2 ด้านที่ตรงข้ามขัดแย้งในตนเอง นอกจากนั้น มนุษย์ถูกสร้างขึ้นตามฉายาของพระเจ้าที่ไม่เป็นเพียงเพศเดียวแต่มี 2 เพศที่ตรงข้ามคือเป็นชายและหญิง
Seward Hiltner ได้ใช้เวลาตลอดชีวิตของเขาในฐานะของศิษยาภิบาลที่เป็นนักวิชาการเพื่อการค้นคว้าศึกษาปล้ำสู้กับประติทรรศน์ในความหมายของ ¡°ความดีงามและเจตนาหยาบช้า¡± ซึ่งมีปะปนรวมกันภายในธรรมชาติของมนุษย์ ในที่สุดท่านได้สรุปด้วยถ้อยคำง่าย ๆ ด้วยการนิยามความหมายของมนุษย์ว่า ¡°impossible¡± ความจริงที่เกี่ยวกับสภาพเงื่อนไขของมนุษย์พบได้จากความผัวพันต่อเนื่องระหว่างความตึงเครียดของ 2 ด้านที่ขัดแย้งกัน ในความน่าทึ่งของมนุษย์ก็คือการมีแนวโน้มแห่งความชั่วที่เคลื่อนตัวไปพร้อม ๆ กับแนวโน้มตรงกันข้ามที่ต้องการมุ่งความดี อด๊อฟฮิตเลอร์และแม่ชีเทเรซ่าต่างก็อยู่ภายใต้ผิวเนื้อมนุษย์เหมือนกัน มนุษย์ทุกคนมีแนวโน้มที่จะเป็นได้ทั้ง 2 สภาพ
ประการที่ 2 ที่เป็นประติทรรศน์ในมนุษย์ก็คือ มนุษย์มีร่างกายอ่อนแอแต่มีใจถวิลหาสิ่งไกลพ้น Blaise Pascal ได้กล่าวถ้อยคำที่โด่งดังว่า ¡°มนุษย์เป็นเพียงต้นหญ้าซึ่งมีสภาพที่อ่อนแอ แต่เป็นต้นหญ้าที่คิดเป็น¡± ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้พลังมหาศาลทั้งจักรวาลที่จะทุบทำลายมนุษย์ เพียงแต่หยดน้ำจากไอน้ำสักหยดหนึ่งก็สามารถฆ่ามนุษย์ได้ ถึงกระนั้นมนุษย์ก็มีกำลังอำนาจอันประหลาดในความคิดที่จะสร้างเทคโนโลยี่และกุมชะตาชีวิต แต่ร่างกายของมนุษย์ก็เปราะบางแตกหักได้ง่าย อนุกุลในหยดน้ำหนึ่งสามารถฆ่ามนุษย์ได้ สารเคมีในร่างกายก็มีอิทธิพลที่เกินกว่าที่มนุษย์จะคิดหรือตระหนักได้ แต่มนุษย์ก็ไม่ได้ถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนหรือสัญชาตญาณอย่างเช่นสัตว์ มนุษย์สามารถที่จะเลือกสิ่งตรงข้ามกับความต้องการของร่างกาย
ประการที่ 3 มนุษย์มีชีวิตที่ประติทรรศน์ในความกดดันระหว่างสภาพที่เป็นอยู่และการกลายเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น เราไม่อาจที่จะจินตนาการมนุษยชาติโดยปราศจากความหมายในแง่ของการเติบโตและการพัฒนาการ มนุษย์เป็นพวกที่เป็นอยู่ได้โดยการกลับกลายเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นซึ่งมีการมุ่งสู่เป้าหมายที่ยังเอื้อมไปไม่ถึง มนุษยชาติเป็นบุคคลที่ไม่อาจอยู่นิ่งเฉยเพราะชีวิตของมนุษย์อยู่ระหว่างความกดดันของการเป็นอยู่กับการที่กำลังกลายเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น
มนุษย์ไม่อาจที่จะอยู่นิ่งเฉยหรือคงอยู่ในสภาพเดิมของตนอย่างนั้นตลอดไป ถ้าหากมนุษย์ไม่มีความกดดันระหว่างสภาพที่เป็นอยู่หรืออย่างที่ตนกำลังรับอยู่กับการมุ่งหน้าสู่การเปลี่ยนแปลงกลับกลายเป็นอย่างอื่น ถึงแม้มนุษย์นั้นดำรงอยู่ในสภาพของน้ำที่ดีก็จะกลับกลายเป็นน้ำเน่าในที่สุด น้ำดีที่อยู่นิ่งและไม่เคลื่อนตัวไปหรือเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ในที่สุดน้ำดีจะกลายเป็นน้ำเสียหรือน้ำที่ไร้คุณค่า
ดังนั้นเปาโลจึงกล่าวไว้ในฟิลิปปี 3:12-13 ว่า ¡°มิใช่ว่าข้าพเจ้าได้แล้วหรือสำเร็จแล้ว แต่ข้าพเจ้ากำลังบากบั่นมุ่งไป เพื่อข้าพเจ้าจะได้ฉวยเอาไว้เป็นของตน อย่างที่พระคริสต์ได้ทรงฉวยข้าพเจ้าไว้เป็นของพระองค์แล้ว ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่ถือว่าข้าพเจ้าได้ฉวยไว้ได้แล้ว แต่ข้าพเจ้าทำสิ่งหนึ่ง คือลืมสิ่งที่ผ่านพ้นมาแล้วเสีย และโน้มตัวออกไปหาสิ่งที่อยู่ข้างหน้า¡±
เปาโลเห็นว่า การดำรงชีวิตอยู่ด้วยการที่ได้เป็นอยู่หรือได้รับแล้วและต้องมุ่งสู่สิ่งที่อยู่ข้างหน้าสภาพเช่นนั้น คือการมีความสัมพันธ์ในสองสภาพที่แตกต่างกันแต่ต้องไปด้วยกันเสมอ
ประการสุดท้าย สิ่งที่เป็นสาระสำคัญในความหมายประติทรรศน์ในมนุษย์ก็คือการเป็นมนุษย์ที่เป็นปัจเจก
บุคคลในสังคมประชาคม บรรดาฤาษีหรือผู้แยกออกไปอยู่โดดเดี่ยวไม่ได้จัดว่าเป็นหนึ่งในประชาคม การเป็นมนุษยชาติที่แท้จริงจะต้องไม่แยกตัวอยู่โดดเดี่ยวออกจากประชาคม มนุษย์สามารถค้นพบตนเองเป็นใครอย่างไรก็เนื่องจากตนเองมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น ถ้าปราศจากประชาคม, มนุษย์นั้นก็ต่ำกว่าการเป็นปัจเจกบุคคลและไม่สามารถที่จะเป็นเช่นไรอย่างไรได้ Hiltner ได้กล่าวสรุปความหมายดังกล่าวดังนี้
¡°การที่จะอยู่ในสถานการณ์ประติทรรศน์ที่วิเศษก็คือ ในด้านหนึ่งมีการตระเตรียมตนเองที่จะมีชีวิตในความตึงเครียด แต่อีกด้านหนึ่งก็คือ การมุ่งหาความไม่ยุ่งเหยิงในด้านต่าง ๆ เท่าที่จะเป็นไปได้ การแสวงหาอย่างแท้จริงคือการที่ไม่มีสิ่งลวงตาที่ทำให้เข้าใจผิดว่าการแสวงหานั้น ๆ จะทำลายความตึงเครียดลงได้¡±
Hiltner มีทัศนะว่า การที่เราอยู่ในลักษณะประติทรรศน์ในแง่ของปัจเจกบุคคลในสังคมประชาคมเช่นนั้นคือการมีชีวิตที่มุ่งหวังและการปฏิบัติที่ทำให้เราเคลื่อนไหวอย่างไม่หยุดอยู่กับที่และเป็นการทำให้สามารถค้นพบสิ่งใหม่ ๆ แม้ว่า การคงอยู่ในประติทรรศน์นั้นอาจก่อให้เราไม่อาจเข้าใจความจริงต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ทั้งหมด แต่ก็ทำให้ชีวิตคงอยู่ในความก้าวหน้าตามในวิถีของการเป็นมนุษย์ แม้ว่าการแสวงหาความเข้าใจอย่างสมบูรณ์เป็นเป้าหมายข้างหน้าที่มนุษย์ยังก้าวไปไม่ถึง แต่เราก็ไม่ท้อถอยเพราะอย่างน้อยแม้เรายังไปไม่ถึงแต่เราก็อยู่บนหนทางนั้นแล้ว สภาพประติทรรศน์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องสำคัญแห่งการคงอยู่ของมนุษย์
พื้นฐานชีวิตของมนุษย์ที่เป็นประติทรรศน์ดังที่กล่าวไปทั้ง 4 ประการนั้น เป็นมูลฐานสำคัญของการเป็นมนุษย์ การที่มนุษย์จะเป็นผู้ที่ประเสริฐได้ก็ต้องให้ตนเองมีความสมดุลในความขัดแย้งดังกล่าว

ความหมายของประติทรรศน์ในแง่ต่าง ๆ
ในสมัยโบราณคำว่า ¡°Paradox¡± เป็นคำที่ให้ความหมายในลักษณะให้เกียรติหรือให้การยกย่อง ในสมัยกรีกโบราณคำ ๆ นี้ซึ่งมาจากการสมาสของ 2 คำคือ ¡°para¡± และ ¡°doxa¡± (beyond + belief) เป็นคำที่ใช้กับความหมายของสิ่งที่แปลกประหลาด, สิ่งที่น่าทึ่ง, หรือสิ่งที่เกินความคาดหมายหรือตรงข้ามกับความคิดความเชื่อของทั่วไปหรือความเห็นของสาธารณชน ในตอนแรกคำ ๆ นี้มิได้ใช้ในความหมายของข้อความแต่เป็นเรื่องของเหตุการณ์หรือสถานการณ์หรือบุคคลที่กระทำสิ่งที่พิเศษเช่นนักกีฬาหรือนักดนตรี โดยสิ่งดังกล่าวได้นับเป็น ¡°Paradox¡± แม้แต่ภาษากรีกในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ก็ได้ใช้คำนี้ที่ให้ความหมายว่า ¡°เกินเหนือความเชื่อ¡± ในเหตุการณ์ที่สร้างความตื่นเต้นเมื่อมีคนได้เห็นการรักษาคนป่วยของพระเยซู ฝูงชนก็ได้ตอบสนองด้วยถ้อยคำที่ว่า ¡°วันนี้เราได้เห็นสิ่งแปลกประหลาด¡± หรือ ¡°วันนี้เราได้เห็น paradoxa¡± (ฉบับ RSV: ¡°strange things¡±) (ลูกา 5:26)
หลายร้อยปีต่อมาได้มีการเปลี่ยนความหมายของคำนี้ นักประพันธ์ที่ใช้ภาษาลาตินได้เริ่มใช้คำนี้ในความหมายของการอธิบายสิ่งที่ปรากฏเป็นการขัดแย้ง ความหมายเช่นนั้นกลายเป็นความหมายที่ใช้กันจนกระทั่งปัจจุบัน ความหมายของ Paradox ซึ่งนับจากสมัยของนักประพันธ์ที่ใช้ภาษาลาตินจนถึงปัจจุบันก็คือ ¡°การอยู่ในความกดดันของความคิดที่ขัดแย้งที่นำไปสู่ความจริงซึ่งมิใช่การเข้าส่วนด้านหนึ่งด้านใดของความกดดันหรือการขัดแย้ง¡± ในปี 1825, ผู้ประกาศข่าวประเสริฐท่านหนึ่งชื่อว่า Charles Simeon ได้ให้ความหมายของคำนี้ว่า ¡°ความจริงมิใช่การอยู่ระหว่างกลาง, หรือเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แต่อยู่ในทั้ง 2 ฝ่าย¡±
ในแง่ความเข้าใจความหมายของ paradox ตามยุคสมัยที่ผ่านไปก็สามารถแบ่งออกเป็น 3 ยุคสมัยคือ
(1)ยุคกรีกโบราณในสมัยช่วงก่อนคริสตศักราชที่ 5 – 2 ตามแง่ของความคิดของกรีกโบราณนั้น paradox มีความสัมพันธ์กับปรัชญาทางด้านการพูดโน้มน้าวและการอธิบายความหมายโดยใช้ในรูปของคำถามและคำตอบซึ่งโสเคลติสมักใช้วิธีการดังกล่าว ส่วนเปลโตได้เสนอความคิดในแง่ของความคิดที่สมบูรณ์ ส่วนอาลิสโตเตลก็ใช้ในการตรวจสอบเพื่อที่จะให้เข้าถึงมูลฐานแห่งความรู้ นักปราชญ์กรีกได้ให้คุณค่าในการวิเคราะห์ความคิดด้วยหลักตรรกวิทยาซึ่งเป็นวิถีทางของการใช้เหตุผลเพื่อบรรลุถึงความรู้ การมีจุดมุ่งหมายและการเสาะหาด้วยเหตุผลก็เป็นส่วนสำคัญของนักคิด และสิ่งนี้ก็มีอิทธิพลต่อภาษาและวัฒนธรรมทางตะวันตกในปัจจุบัน
(2) ยุคสมัยเรเนซองซ์หรือยุคฟูฟื้นวิทยาการซึ่งเป็นช่วงที่มีการขยายตัวอย่างมากในความหมายของ paradox เหตุที่ใช้คำนี้ก็มาจากนักปราชญ์ของยุคนี้ได้ค้นพบวรรณกรรมคลาสสิคเกี่ยวกับปัญหาหรือเรื่องราวที่แก้ไม่ตก มีหนังสือมากกว่า 500 เล่มที่กล่าวถึงในแง่ของ paradox ซึ่งแพร่หลายในหมู่นักวิชาการและตามห้องสมุด โดยวิธีการเชิงประติทรรศน์กระทำให้มนุษย์สามารถเข้าถึงความจริงได้ลึกซึ้งกว่าที่บรรดานักวิชาการในสมัยยุคกลางได้วางเอาไว้
(3) ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่ให้ความสำคัญกับ paradox โดยนับตั้งแต่ปี 1850 จนถึงปัจจุบัน
Howard Slaattle ได้ให้ความเห็นว่า ¡°ไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ทางด้านความคิดก่อนหน้าที่ให้ความสนใจและมีการใช้ความหมายของ paradox กันอย่างแพร่หลายและจริงจังเหมือนอย่างในยุคปัจจุบัน¡± การเอ่ยถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์, ทางด้านการเมือง, วิทยาศาสตร์, คริสตจักร, ปรัชญา, และอื่น ๆ มักมีการใช้คำว่า paradox เข้ามาอธิบายถึงปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น
Charles Handy ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ในวิทยาลัยธุรกิจลอนดอนได้ให้ความเห็นตามหนังสือของท่านที่ได้กล่าวในรายการทีวีของ BBC ซึ่งสามารถสรุปความหมายของประติทรรศน์ในยุคสมัยปัจจุบันดังนี้คือ
¡°ข้าพเจ้าเคยคิดว่า ¡°ประติทรรศน์¡± เป็นสัญญลักษณ์ที่ประจักษ์ได้ของโลกที่ยังไม่สมบูรณ์ โลกซึ่งจะมีความเข้าใจที่ดีกว่าและมีความเป็นกลมเกลี่ยวที่มากกว่า แม้ว่าเรามีสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เรียกกันว่า ¡°ทฤษฎีแห่งทุกสิ่งทุกอย่าง¡± และตามอย่างที่นักฟิสิกซ์ของ Cambrigge ได้กล่าวอย่างแข็งขันว่า เราจะรู้ถึงความคิดของพระเจ้าได้¡¦.. แต่ข้าพเจ้าก็ไม่เชื่อในทฤษฎีแห่งทุกสิ่งทุกอย่างอีกต่อไป ประติทรรศน์ที่ข้าพเจ้าเข้าใจเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงหนีให้พ้นได้, เป็นสิ่งที่ยังคงยึดเยื้อต่อไป, และเป็นกัลปาวสาน เราสมควรที่จะลดทิฐิในความขัดแย้งบางประการ และสามารถลดในสิ่งที่ไม่อยู่กับร่องกับรอย และพยายามเข้าใจปริศนาต่าง ๆ แต่เราไม่สามารถให้สิ่งที่กล่าวไปหมดสิ้นหายไปได้ เท่าที่ข้าพเจ้ามีอายุมากและเริ่มแก่ตัว, ข้าพเจ้าได้ตระหนักว่า สิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับการบอกเล่าในเรื่องของประทานอันวิเศษที่พระเจ้าที่ทรงประทานแก่มนุษย์ก็คือ ¡°การเลือก¡± โดยสิ่งนี้ก็เป็นประติทรรศน์ในตัวเอง เพราะเสรีภาพแห่งการเลือกก็สามารถประยุกต์ใช้กับการเลือกที่ผิดซึ่งเป็นความบาป และนี่เองจึงเป็นประติทรรศน์อันเป็นหัวใจของศาสนา¡±

เอกลักษณ์ของประติทรรศน์
ประติทรรศน์มีเอกลักษณ์ที่สามารถนำพาให้บรรลุถึงเป้าหมายของการเทศนา การเทศนาเชิงประติทรรศน์เป็นในลักษณะของ ¡°การเล้าโลมผู้ที่เป็นทุกข์โศกเศร้าเสียใจและกระทำให้รู้สึกบกพร่องเสียใจแก่ผู้ที่สุขสบาย¡± คำสอนดังกล่าวได้แก่คำตรัสของพระเยซู ณ ที่ราบแห่งหนึ่งที่กล่าวไว้ในลูกา 6:20-26 เช่น ท่านทั้งหลายที่เป็นคนยากจนก็เป็นสุขเพราะแผ่นดินสวรรค์เป็นของท่าน หรือวิบัติแก่เจ้าทั้งหลายที่หัวเราะเวลานี้เพราะว่าเจ้าจะเป็นทุกข์และร้องไห้ เป็นต้น คริสเตียนต้องการคำเทศนาเชิงประติทรรศน์ในแง่ที่ให้การเล้าโลมเพื่อให้คงอยู่ในความเชื่อ เช่นเดียวกับการไม่ให้ความเชื่อที่มีอยู่แล้วกลับลดน้อยหรือหายไป การเทศนาเชิงประติทรรศน์เป็นการทำให้เกิดความเชื่อที่มั่นคงเพื่อให้สัมผัสกับความล้ำลึกของพระเจ้า โดยการทรงนำของพระวิญญาญบริสุทธิ์, การเทศนาเชิงประติทรรศน์จะช่วยให้คริสเตียนสามารถรับกับความสับสนวุ่นวาย และจากความสับสนวุ่นวายก็สามารถชูคริสเตียนให้ไปถึงความล้ำลึกของพระเจ้า กระทำให้คริสเตียนมีความเชื่อที่มีวุฒิภาวะและเติบโตสู่ความไพบูลย์ในองค์พระเยซูคริสต์
เราไม่อาจที่จะเข้าถึงตนเองหรือชีวิตของตนหรือแม้แต่พระเจ้าอย่างแท้จริงโดยปราศจากการพึ่งพาอาศัยประติทรรศน์ได้ ประติทรรศน์กระทำให้เกิดความสมดุลในประสบการณ์ชีวิตในองค์พระเยซูคริสต์ คำสอนที่เป็นเชิงประติทรรศน์ของพระเยซูคริสต์และเปาโลจะนำคริสเตียนให้เข้าสู่ความจริงของพระเจ้าที่ลึกซึ้งกว่า กระทำให้คริสเตียนไม่เพียงแต่สัมผัสพระเจ้าแต่เพียงด้านหนึ่งด้านใดเท่านั้นแต่ส่งเสริมสนับสนุนให้เข้าถึงความล้ำลึกและความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอย่างรอบด้านและลึกซึ้งตามคำตรัสของพระเยซูและเปาโลในพระคริสตธรรมคัมภีร์
พระเยซูทรงสอนการมีชีวิตอย่างมีปัญญา การใช้ชีวิตอย่างมีปัญญามิใช่ในแง่ของการมีความรู้หรือมีอะไรบ้างที่จะต้องจดจำเชื่อถือ หรือมีจริยธรรมใดที่จะต้องยึดปฏิบัติ แต่พระองค์ทรงสอนถึงวิถีทางหรือแนวทางที่จะกระทำให้ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงหรือได้รับการปฏิรูป คือจากชีวิตอย่างหนึ่งสู่อีกสภาพหนึ่ง จากสภาพชีวิตตามธรรมเนียมสามัญทั่วไปสู่การมีชีวิตที่มีพระเจ้าเป็นศูนย์กลาง
เอกลักษณ์ของประติทรรศน์จึงเป็นหนทางหรือสื่อนำที่จะทำให้เติบโตและสามารถที่จะบรรลุถึงการมีชัยในชีวิต หรืออีกนัยหนึ่งคือให้ชีวิตของผู้ที่อยู่ในความมืดกลับกลายเป็นความสว่าง ผู้ที่อยู่ในความขัดแย้งแต่ความขัดแย้งคับข้องนั้นก็ทำให้ตนเองมีวุฒิภาวะ แม้ตนเองกำลังอยู่ในวิกฤตแต่โดยวิธีการของประติทรรศน์ก็ทำให้ผู้นั้นมีชีวิตที่อุกฤษฎ์หรือรุ่งโรจน์โดยมีพระเจ้าเป็นศูนย์กลางของตนเอง




บทที่ 3
บทเทศนาเชิงประติทรรศน์

ประติทรรศน์ใช้งานได้อย่างไร How Paradox Works
หากพระเยซูทรงปรากฎตัวในยุคปัจจุบันในฐานะนักเทศน์ที่มีคนฟังในแต่ละครั้งจำนวนเป็นหมื่นเป็นแสน ไม่ทราบว่า พระองค์จะเทศนาเหมือนอย่างนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในปัจจุบันนี้หรือไม่ การเทศนาต่อหน้าฝูงชนที่มีจำนวนคนมากมายจำเป็นที่จะต้องมีเนื้อหาที่เข้าใจง่ายไม่สลับซับซ้อน แต่พระคัมภีร์ได้ระบุว่า หลังจากที่ประชาชนได้ฟังคำเทศนาของพระเยซูก็มักไม่ค่อยเข้าใจในความหมายของคำตรัสของพระองค์จนสาวกต้องขอให้พระเยซูอธิบายภายหลัง: ¡°ขอพระองค์ทรงโปรดอธิบายให้ข้าพระองค์เข้าใจ¡¦¡¦.¡± (มัทธิว 13:36) คำสั่งสอนของพระเยซูอาจไม่ใช่ง่ายที่จะเข้าใจทันทีทันใด พระเยซูเองได้ตรัสชี้แจงกับสาวกว่า ¡°ข้อลับลึกแห่งแผ่นดินสวรรค์ทรงโปรดให้ท่านทั้งหลายรู้ได้ แต่คนเหล่านั้นไม่โปรดให้รู้¡± (มัทธิว 13:11)
ในตอนแรก, พระเยซูมิได้คาดหมายว่าผู้ฟังจะเข้าใจทันทีในสิ่งที่พระองค์ตรัสสอน บ่อยครั้งที่พระองค์ปล่อยให้ผู้ฟังเกิดความงุ่นงงเพื่อให้ผู้ฟังขบคิดและค้นพบความจริงด้วยตนเองในที่สุด คำเทศนาของพระเยซูมีช่องว่างมากพอที่จะปล่อยผู้ฟังเติมคำตอบด้วยตนเอง โดยเฉพาะในคำเทศนาที่เป็นเชิงประติทรรศน์
ในวิธีการเทศนาหรือการถ่ายทอดความจริงของพระเยซูเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการชักนำผู้ฟังให้เกิดความสนใจในการแสวงหาความจริงหรือเพื่อการสื่อความจริงแก่ผู้ฟัง นักวิชาการพระคัมภีร์ใหม่ที่มีชื่อว่า Robert Stein ได้อธิบายว่า ¡°วรรณศิลป์หรือรูปแบบหรือวิธีการที่ใช้ถ่ายทอดความหมายของพระเยซูมักใช้วิธีปลูกผู้ฟังให้ตื่นและชักนำให้เกิดความงุ่นงงรวมทั้งการใช้วิธีเชิงประติทรรศน์¡± การเทศนาเชิงประติทรรศน์ของพระเยซูได้เขย่าผู้ฟังให้มองดูสิ่งสามัญด้วยสายตาใหม่ การชี้แจงในเชิงประติทรรศน์ก็เพื่อที่จะนำผู้ฟังให้ใช้ความคิดเพื่อให้เกิดทัศนะใหม่ คำสอนเชิงประติทรรศน์ได้สร้างความกดดันแก่ผู้ฟังเพื่อให้เกิดความคิดและมองดูชีวิตด้วยสายตาที่มีประกายความคิดเพื่อช่วยให้พ้นจากคติชีวิตในกรอบเดิมซึ่งสามารถเข้าถึงความจริงที่ล้ำลึกที่ส่งผลให้ผู้ฟังบรรลุถึงสัจจะและมีสันติสุขที่แท้จริงในชีวิตอย่างที่โลกหรือความคิดอย่างธรรมดาสามัญไม่สามารถที่จะให้ได้หรือบรรลุถึงสัจจะได้



การเทศนาประติทรรศน์ในลักษณะการพูดใหม่ (Reframe Paradox)
พระเยซูทรงชี้แจงความจริงในลักษณะของประติทรรศน์ซึ่งมีตัวอย่างจากมาระโก 8:35 ¡°เพราะว่าผู้ใดใคร่จะเอาชีวิตรอด ผู้นั้นจะเสียชีวิต แต่ผู้ใดจะเสียชีวิตเพราะเห็นแก่เราและข่าวประเสริฐ ผู้นั้นจะได้ชีวิตรอด¡± คำตรัส นี้เป็นประติทรรศน์ซึ่งผู้ฟังครั้งแรกอาจไม่เข้าใจในสิ่งที่ได้ยิน แต่ถ้าหากเข้าใจว่า ¡°การเสียชีวิต¡± หมายถึงความตายทางความหยิ่งยโสจากอัตตาตนเองมิใช่หมายถึงการตายทางฝ่ายกายก็จะเกิดประกายความเข้าใจในคำตรัสของพระเยซู
แม้พระเยซูสามารถชี้แจงตั้งแต่แรกอย่างตรงไปตรงมา แต่บ่อยครั้งได้พบว่า พระองค์ตรัสในสิ่งที่ทำให้ผู้ฟังมีการค้นพบความจริงด้วยเรื่องที่มีการขัดแย้งเพื่อให้ผู้ฟังมีการลำดับเรียบเรียงความคิดใหม่จากสภาพชีวิตของผู้ฟังนั้น ๆ พระเยซูทรงใช้ประติทรรศน์เพื่อท้าทายผู้ฟังให้เกิดความคิดที่สามารถสรุปถึงความจริงจากสภาพชีวิตจริงของตนเองและกระตุ้นให้ผู้นั้นเติบโตมีวุฒิภาวะทางธรรม จุดมุ่งหมายของคำเทศนาเชิงประติทรรศน์คือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในผู้ฟัง สิ่งที่สำคัญคือประติทรรศน์ได้สร้างผลต่อการมองดูชีวิตตนเองหรือสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้องกับตนเองที่แตกต่างจากเดิม บ่อยครั้งเราพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นก็มิใช่เนื่องจากสถานการณ์หรือสิ่งรอบด้านแต่เป็นความคิดในตนเองที่สร้างปัญหา ยกตัวอย่างเช่น ชายหนุ่มคนหนึ่งนัดหญิงสาวคนหนึ่งรับประทานอาหารด้วยกันในตอนเย็นแต่หญิงนั้นไม่ตอบรับที่จะไปร่วมรับประทานอาหาร ชายนั้นอาจรู้สึกว่าตนถูกหญิงนั้นปฏิเสธ แต่ความจริงก็คือหญิงนั้นติดธุระในเย็นวันนั้น ในความเข้าใจของชายหนุ่มในเรื่อง ¡°การถูกปฏิเสธ¡± จึงมิใช่เนื่องจากสถานการณ์แต่เป็นการสร้างภาพในจิตใจของตนซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิด
วิธีแก้ไขคนที่มีปัญหาทางจิตซึ่งกลัวความสกปรกจนเกินไป คือทุกครั้งที่ผู้นั้นได้จับอะไรก็ตามจะต้องล้างมือทั้งที่มือไม่ได้เปื้อนอะไรเลย นักจิตวิทยาจะใช้วิธีบำบัดด้วยการบังคับให้คนนั้นต้องล้างมืออย่างน้อย 20 ครั้งในทุกครั้งที่มีการจับสิ่งใด เช่นถ้าจับลูกบิดประตูครั้งใดก็ต้องล้างมือทุกครั้งอย่างน้อย 20 ครั้ง สิ่งที่กระทำซึ่งสวนกับความรู้สึกของตนก็เป็นการบำบัดปัญหาทางจิตใจ หรือในกรณีที่ชาวมุสลิมและชาวฮินดูในประเทศอินเดียมีการสู้รบฆ่าฟันกันภายหลังจากที่ได้อิสระจากการเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ มีพ่อของชาวฮินดูคนหนึ่งได้มาหามหาตมะคานธีด้วยความแค้นว่า ลูกชายของตนถูกพวกมุสลิมฆ่าตาย คานธีได้แนะนำให้คนฮินดูนั้นไปรับเด็กกำพร้าชาวมุสลิมมาเลี้ยงเสมือนเป็นลูกของตน คำแนะนำดังกล่าวสวนทางกับความรู้สึกของคนฮินดูที่โกรธแค้นกำลังต้องการฆ่าชาวมุสลิมนั้น ก็เป็นประติทรรศน์ที่กระทำให้ให้ผู้นั้นได้สติและพ้นจากความพยาบาท
ในพระคัมภีร์ก็มีตัวอย่างหลายตอนที่กล่าวถึงการวางเงื่อนไขในลักษณะประติทรรศน์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในพระเจ้าหรือเป็นการแสวงหาความจริง เช่นพระเจ้าได้ทรงสั่งให้อับราฮามนำอิสอัดซึ่งเป็นบุตรที่ตนรักไปถวายเป็นเครื่องบูชาเพื่อที่จะให้อับราฮามมีประสบการณ์แห่งการเชื่อฟังที่แสดงถึงความยำเกรงพระเจ้า จากลักษณะการวางเงื่อนไขในเชิงประติทรรศน์นี้ก็ได้ทำให้อับราฮามได้เรียนรู้ถึงพระเจ้าในอีกลักษณะหนึ่งคือพระเจ้าจะทรงจัดหาไว้ให้หรือเยโฮวาห์ยิเรห์ (ปฐมกาล 22:1-19) หรือกรณีที่กษัตริย์ทรงแสดงถึงการวินิจฉัยอันฉลาดที่พิสูจน์ว่าเด็กที่แม่สองคนต่างอ้างว่าเป็นลูกของตนด้วยการตัดสินที่จะตัดแบ่งเด็กนั้นออกเป็น 2 ท่อนแบ่งให้แม่คนละท่อน ฝ่ายแม่ที่แท้จริงได้ร้องขออย่าได้มีการแบ่งเด็กเลย ตนยินยอมยกเด็กนั้นให้แก่หญิงอีกคน ส่วนแม่อีกคนบอกให้ทรงแบ่งเถิด พระราชาจึงรู้ว่า คนใดเป็นแม่ที่แท้จริง (1 พงศ์กษัตริย์ 4:16-28) เช่นเดียวกับกรณีที่เปาโลได้สั่งให้ตัดคนที่ได้ล่วงประเวณีภรรยาของพ่อออกจากคริสตจักร เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ในชีวิตศีลธรรมของส่วนรวมและเป็นการกระทำให้ผู้ที่ถูกตัดออกนั้นยังคงรอดได้ด้วยการให้ซาตานทำลายเนื้อหนัง (1 โครินธ์ 5:1-5)
ประติทรรศน์ในลักษณะการพูดใหม่หรือ reframe เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้พ้นจากความคิดอันเจ็บแค้น, ความทุกข์ทรมาน, ความกังวล, ความเครียด, ปัญหาชีวิตประจำวัน, การรักษาให้ส่วนตัวและส่วนรวมมีชีวิตบริสุทธิ์ แม้ต้องสูญเสียบางส่วนแต่ส่วนรวมหรือส่วนที่สำคัญกว่ายังคงมีชีวิตต่อไป
พระเยซูได้ใช้ประติทรรศน์ในการเตรียมจิตใจของสาวกเพื่อการรับรู้ความจริงแห่งแผ่นดินของพระเจ้า ยกตัวอย่างเช่น คนยิวส่วนใหญ่ในสมัยพระเยซูมักมีความเข้าใจว่าความร่ำรวยเป็นสัญญลักษณ์ที่แสดงว่าพระเจ้าทรงโปรดปรานผู้นั้น สิ่งนี้เป็นความเข้าใจที่คาดเคลื่อน พระเยซูได้ใช้คำพูดประติทรรศน์ในลักษณะการพูดใหม่เพื่อสร้างความเข้าใจใหม่ในความคิดของผู้ฟัง คือให้เห็นว่าความมั่งมีของชายหนุ่มคนหนึ่งก็เป็นสิ่งที่ขัดขวางการแสวงหาแผ่นดินของพระเจ้า (มัทธิว 19:16) เมื่อชายหนุ่มคนนั้นกำลังเดินออกไปด้วยความทุกข์เพราะเขามีทรัพย์สมบัติสิ่งของเป็นอันมาก พระเยซูได้ตรัสถ้อยคำเพื่อให้เกิดความคิดใหม่ว่า ¡°ตัวอูฐจะลอดรูเข็มก็ง่ายกว่าคนมั่งมีจะเข้าในแผ่นดินของพระเจ้า¡± คำตรัสอันเป็นประติทรรศน์เช่นนั้นก็ได้จุดประกายความคิดในหมู่สาวก พวกเขาได้ถามพระเยซูทันทีว่า ¡°ถ้าอย่างนั้นใครจะรอดได้¡±
แล้วพระองค์ก็ตรัสตอบทันทีว่า ¡°ฝ่ายมนุษย์ก็เหลือกำลังที่จะทำได้ แต่พระเจ้าทรงกระทำให้สำเร็จได้ทุกสิ่ง¡± คือเราไม่อาจไปถึงแผ่นดินของพระเจ้าด้วยกำลังความสามารถของตนแต่ต้องพึ่งในพระคุณของพระเจ้า จากการพูดเชิงประติทรรศน์ดังกล่าวทำให้สาวกเข้าใจถึงอุปสรรคที่กระทำไม่ให้เข้าแผ่นดินสวรรค์คือการรักเงินทองทรัพย์สมบัติ นอกจากนั้นคำตรัสดังกล่าวยังสะท้อนถึงการเป็นสาวกของทุกคนที่กำลังติดตามพระเยซู

บทเทศนาเชิงประติทรรศน์ในลักษณะการสร้างความคิดใหม่ (Reframe Paradox)
บทเทศนาในลักษณะสร้างความคิดใหม่หรือ reframe ที่ผู้เขียนจะใช้เป็นตัวอย่างคำเทศนาเชิง
ประติทรรศน์ในรูปลักษณะของการสร้างความคิดใหม่หรือ reframe ซึ่งมีด้วยกัน 3 บทได้แก่:
1. พรและวิบัติ, ลูกา 6:20-26
2. ธำรงชีวิตด้วยการเสียชีวิต, ยอห์น 12:20-36
3. อ่อนแอเมื่อใด, แข็งแรงเมื่อนั้น, 2 โครินธ์ 12:1-10



(1) พรและวิบัติ
ลูกา 6:20-26
ในสมัยเริ่มแรกที่เรามาอยู่ในสหรัฐอเมริกา เราอาจเริ่มชีวิตด้วยการเป็นนักเรียน บางคนอาจเริ่มด้วยการสมัครหางานทำ เวลานั้นเรามีความหวาดหวั่นกับการเริ่มต้นใหม่ เราไม่แน่ใจว่าตนเองจะสามารถรับมือกับสิ่งต่าง ๆ ที่กำลังจะเกี่ยวข้องหรือไม่ เราต้องเผชิญกับสิ่งใหม่, วิธีการใหม่, สถานที่ใหม่, คนใหม่ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน แม้เราพยายามทำทุกอย่างเต็มกำลังความสามารถของตน แต่ในที่สุดเราอาจสอบตก หรือการสมัครงานแต่ละครั้งอาจถูกการปฏิเสธ หรือหากได้งานทำก็ถูกเลิกจ้างหรือถึงขั้นถูกไล่ออก ที่เป็นเช่นนั้นเพราะตนเองไม่สันทัด, ไม่คุ้นเคยกับวิธีการทำงานหรือการใช้ชีวิตที่แตกต่างจากที่เคยประสบในเมืองไทย
ในระยะแรก เราต้องเจ็บปวดกับสิ่งหนึ่งคือ ¡°การถูกปฏิเสธ¡± หรือแม้แต่ปัจจุบันเรายังคงเจ็บปวดกับการถูกปฏิเสธ เราจึงถดถอยไม่อยากที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ทำให้ตนถูกการปฏิเสธอีก นี่จึงเป็นตัวบั่นทอนการใช้ชีวิตในต่างแดน ความท้อถอยก็ทำให้ไม่อาจที่จะก้าวหน้าสามารถตั้งเนื้อตั้งตัวได้ หากต้องเผชิญกับสิ่งใหม่แต่กลับหดตัวก็ทำให้ไม่อาจเข้าส่วนใด ๆ กับสิ่งใหม่ในต่างแดน การถูกปฏิเสธทำให้เจ็บปวดยังผลให้เกิดการถดถอย เมื่อไม่เข้ากับการเปลี่ยนแปลงก็ทำให้เกิดความเครียดก่อให้จิตใจเต็มไปด้วยความทุกข์
หากหันกลับไปดูชีวิตของเราที่ประเทศไทย บางทีเราอาจมีประสบการณ์แห่งการถูกปฏิเสธหลายคนประจักษ์กับรสชาดความเจ็บปวดของการถูกปฏิเสธ โดยเฉพาะเมื่อตนเองเสนอตัวให้ผู้อื่นเลือกแต่กลับไม่ได้รับความนิยม นักการเมืองหลายคนจึงใช้เงินทองหว่านหาชื่อเสียง หรือใช้อุบายทุกวิถีทางเพื่อหลอกล่อหาคะแนนเสียง คนจำนวนมากใช้เงินและกำลังมากมายมหาศาลเพื่อให้ตนเองได้รับความนิยมและการยอมรับ คนจำนวนมากได้เสนอทุกอย่างเพื่อหวังว่าตนเองจะได้รับการต้อนรับแทนที่จะถูกปิดประตูใส่หน้า
ความกลัวได้เกาะกุมจิตใจของทุกคนที่กลัวการถูกปฏิเสธ เมื่อตนเองมีความกลัวก็อาจทำให้เกิดความวิปริตในจิตใจ และทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของตนและความสัมพันธ์กับผู้อื่นผิดเพี้ยนไป
มีสตรีสูงอายุคนหนึ่งซึ่งรู้ตัวกำลังจะเสียชีวิต เธอเป็นประเภท ¡°old and restless¡± เธอมีสามีคนหนึ่งที่ไม่ค่อยเอาใจใส่เธอเท่าไรนัก เธอสังเกตเห็นสามีมักไปติดพันกับหญิงโสดที่อายุน้อยกว่ามาก ๆ คนหนึ่งซึ่งอยู่ในบ้านอีกมุมถนนหนึ่ง สตรีสูงอายุท่านนี้ไม่ได้กลัวว่า หลังจากที่เธอตายไปแล้ว สามีของตนจะไปแต่งงานใหม่กับหญิงคนนั้น แต่เธอน้อยใจที่สามีไม่ค่อยเอาใจใส่เธอมัวแต่ใช้เวลากับหญิงนั้นอย่างออกหน้าออกตาในขณะที่ตนยังมีชีวิตอยู่
วันหนึ่งเธอได้ติดต่อให้ช่างวาดรูปคนหนึ่งมาวาดรูปของเธอ เธอได้บอกกับนายช่างว่าให้วาดรูปเธอให้สวยสง่าที่สุด นายช่างก็บอกว่าได้ไม่มีปัญหา แล้วเธอก็ขอให้นายช่างวัดสร้อยเพชรงามฝังทับทิมที่รอบคอของเธอ นายช่างก็บอกว่าได้เพียงแต่ขอให้เธอใส่สร้อยเส้นนั้นตอนที่เป็นแบบให้วาดรูป แต่เธอก็ปฏิเสธว่า ¡°ฉันไม่มีสร้อยเส้นนั้น ฉันเพียงแต่อยากให้มีสร้อยอย่างนั้นที่รอบคอเพื่อให้สามีและหญิงคนที่กำลังติดพันกับสามีของฉันดู เพื่อหลังจากที่ฉันตายไป เขาทั้ง 2 จะได้วุ่นวายใจในการเที่ยวค้นหาสร้อยเส้นนั้นตลอดชีวิตของเขาทั้งสอง¡± ความยุ่งยากในชีวิตที่ทำให้ต้องใช้เวลา, กำลัง, ทรัพย์สินมักเป็นเรื่องของจิตใจของเราที่ไม่มีความสงบ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการคิดผิดมีการยึดคุณค่าที่ไร้ปัญญาหรือการการสร้างค่านิยมอันไม่ชอบในตนเอง
อย่าให้เราต้องใช้เวลา, กำลัง, สติปัญญา, ทรัพย์สินเงินทองเพื่อที่จะให้ตนเป็นที่รักหรือได้รับการยอมรับและต้องการได้รับเกียรติหรือการสรรเสริญอันจอมปลอมเพื่อให้ตนรู้สึกเพียงแต่ว่า ตนเองไม่ถูกการปฏิเสธ การให้จิตใจของตนตกอยูในสภาพเช่นนั้นเป็นการสร้างความทุกข์ในใจและกระทำให้จิตวิญญาณห่อเหี่ยว
พระธรรม ลูกา 6:20-26 ซึ่งเป็นคำตรัสของพระเยซูก็เฉลยให้เห็นถึงสภาพชีวิตประการใดที่เป็นลักษณะของ ¡°พร¡± และ ¡°วิบัติ¡± เราทั้งหลายควรมีชีวิตที่เป็นพรมากกว่าการมีชีวิตที่มีแต่ความวิบัติ
พระเยซูได้ชี้ถึงลักษณะชีวิตที่คนทั่วไปเห็นว่าเป็นชีวิตที่ตกต่ำและกำลังอยู่ในความหายนะแต่พระองค์กลับชี้ให้เห็นว่า สภาพชีวิตเช่นนั้นเป็นพร พระเยซูทรงชี้ให้เห็นว่า:
- คนยากจนไม่ควรที่จะใฝ่ฝันเพียงเพื่อที่จะมีหลังคาคุ้มหัวหรือมีรองเท้าใส่ แต่ควรเข้าใจว่าแม้เป็นคนยากจนแต่พระเยซูทรงประทานสง่าราศีเพื่อคุ้มชีวิตและทรงประทานแผ่นดินของพระเจ้าให้แก่เขาแล้ว
- คนที่อดอยากไม่ควรที่จะใฝ่ฝันเพียงเพื่อที่จะได้สเต๊กชิ้นใหญ่และขนมเค็กก้อนโตและคิดว่านั่นเป็นความสุขอันแท้จริง ความฝันของคนที่อดอยากคือการที่พระเยซูทรงสัญญาว่าเขาจะอิ่มหน่ำสำราญใจกับการเลี้ยงที่โต๊ะของพระมาซีฮา
- คนที่ร้องไห้และเศร้าโศกเสียใจไม่ควรที่จะใฝ่ฝันเพียงแต่ให้ปัญหาหรือความทุกข์ถูกยกออกเท่านั้น แต่ควรเข้าใจว่า พระเยซูจะทรงประทานการหัวเราะ, ความชื่นชมยินดี และความสุขใจแก่ผู้นั้นแม้กำลังอยู่ในความทุกข์โศกเศร้าหรือกำลังร้องไห้ก็ตาม
- สำหรับผู้ที่คนอื่นเกลียดชังหรือคนที่ถูกคนอื่นไล่หรือถูกประนามและถูกเหยียดชื่อว่าเป็นคนชั่วช้า เพราะเหตุที่เห็นแก่บุตรมนุษย์นั้น พระเยซูจะทรงประทานบำเหน็จอันบริบูรณ์ในสวรรค์แก่ผู้นั้น คนของพระเจ้าก่อนหน้าซึ่งเป็นบรรพบุรุษก็ถูกผู้อื่นปฏิเสธหรือเกลียดชังหรือถูกใส่ร้ายเหมือนกัน ตรงกันข้ามกับบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่เข้าใจว่าในขณะนี้ตนเองกำลังมีชีวิตที่เป็นพร แต่ความจริงเป็นชีวิตที่วิบัติ
- คนที่มั่งมีจะรับความวิบัติ ในอนาคตเขาจะไม่ได้รับอะไรอื่นอีก เพราะความมั่งมีได้ครอง จิตใจของเขาจนไม่มีที่ว่างใด ๆ ที่พระเจ้าจะอวยพรได้อีก
- คนที่อิ่มหนำในเวลานี้จะรับความวิบัติ เพราะเขาจะอดอยาก
- คนที่หัวเราะในเวลานี้จะรับความวิบัติ เพราะเขาจะเป็นทุกข์และร้องไห้
- คนที่ได้รับการยอว่าดีจะรับความวิบัติ เพราะคนที่เป็นผู้เผยพระวจนะเท็จก็ได้รับการยอว่าดี
ให้เราดูรายละเอียดหรือการอรรถาธิบายพระธรรมลูกา 6:20-26 ดังนี้
ก่อนข้อที่ 20 เราได้เห็นถึงสถานที่ ๆ พระเยซูเทศนาพระธรรมตอนนี้ซึ่งมีความแตกต่างจากที่มัทธิวได้บันทึกไว้ ลูกาได้บันทึกว่า ประชาชนเป็นอันมากซึ่งมาจากที่ต่าง ๆ ได้มาขอให้พระเยซูรักษาโรคและฟังคำเทศนาของพระเยซู
ตามการบันทึกของพระธรรมลูกาบทที่ 6 ได้กล่าวถึงคนเป็นอันมากที่มาหาหรืออยู่กับพระเยซูสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ 1) ผู้ที่ได้รับการทรงเรียกให้เป็นอัครสาวก 2) หมู่สาวกที่ติดตามพระเยซูแต่ยังมิได้อุทิศตนอย่างจริงจังกับพระเยซู 3) ประชาชนที่ยังไม่ได้เชื่อถือพระเยซูซึ่งความหมายของวิบัติก็ประยุกต์กับชีวิตของคนกลุ่มนี้
ลูกาได้บันทึกว่า พระเยซูได้ลงมายืน ณ ที่ราบแห่งหนึ่ง นั่นหมายความว่า พระองค์ทรงอยู่ท่ามกลางประชาชนที่กำลังมีความต้องการ ลูกาได้กล่าวถึงความต้องการของประชาชนซึ่งมี 2 ด้าน 2 แง่คือด้านหนึ่งมีความต้องการการรักษาทางฝ่ายกายและอีกด้านหนึ่งทางฝ่ายจิตวิญญาณ คือมีความต้องการรับการรักษาโรคหรือพ้นจากการทนทุกข์เพราะผีโสโครกและต้องการฟังคำตรัสของพระเยซู พวกเขามีความหิวกระหายหรือต้องการถ้อยคำ (word) และการกระทำ (works) ของพระเยซู
ก่อนที่พระเยซูจะเทศนาเรื่อง ¡°พร¡± และ ¡°วิบัติ¡± แก่ฝูงชน ลูกาได้บันทึกว่า พระองค์ได้กวาดสายตาไปที่สาวกเพื่อให้สาวกตั้งใจฟังคำเทศนาเพราะสิ่งที่จะกล่าวเป็นเรื่องที่สำคัญต่อพวกเขาทั้งหลาย
ลูกาได้บันทึกถึง ¡°พร¡± 4 ประการแรกซึ่งกล่าวในข้อที่ 20-23 ในลักษณะที่แตกต่างจากที่มัทธิวบันทึกไว้ ในมัทธิวได้เน้นด้านจิตวิญญาณโดยพูดถึงคนยากจนหรือคนที่บกพร่องทางจิตวิญญาณ หรือมีความอดอยากหรือหิวกระหายความชอบธรรม
ส่วนที่กล่าวในลูกาเป็นคนป่วย, ความที่มีผีโสโครก, เป็นคนที่มีปัญหาทางฝ่ายร่างกาย ลูกาเน้นในเรื่อง ¡°พร¡± ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับฝ่ายกายภาพของผู้ฟังที่มาหาพระเยซู
¡°คนยากจน¡± ที่กล่าวในลูกา 6:20 คือ คนที่ขาดแคลนในสิ่งที่ควรจะมี เป็นคนที่หมดเนื้อหมดตัวหรือล้มละลาย ในการประกาศการเป็นพระมาซีฮาครั้งแรกของพระเยซูนั้น พระองค์ได้ตรัสในลูกา 4:18 ว่า ¡°เพราะว่าพระองค์ได้ทรงเจิมตั้งข้าพเจ้าไว้เพื่อนำข่าวดีมายังคนยากจน¡¦¡± พระองค์ไม่ได้ตรัสถึงพระพรของการดำเนินชีวิตที่ยากจน คือไม่ได้หมายความถึงชีวิตที่ดำรงอยู่อย่างยากจนแล้วจะได้รับพระพร แต่กำลังพูดถึงพระสัญญาของพระเจ้าที่กระทำให้คนยากจนได้รับการอวยพร
ในการประกาศถึงชีวิตที่เป็นพรนั้น พระเยซูได้ทรงชี้ให้เห็นถึง 2 ประการที่เกี่ยวข้องตามสิทธิอำนาจของพระองค์ในฐานะทรงเป็นพระมาซีฮา ประการที่หนึ่ง พระองค์ทรงสำแดงว่า แผ่นดินของพระเจ้ามาใกล้แล้ว ประการที่สอง พระเยซูทรงประกาศถึงสิทธิอำนาจของพระองค์ด้วยการตรัสถึงแผ่นดินของพระเจ้าในลักษณะที่ว่า แผ่นดินของพระเจ้าเป็นของคนยากจนซึ่งเป็นคนที่ไม่มีทรัพย์สินใดในโลก พระเยซูทรงประทานแผ่นดินของพระเจ้าแก่คนเหล่านี้ ตรงกันข้าม พระเยซูได้ประกาศถึงความวิบัติเหนือบรรดาคนมั่งมีในโลก คือคนมั่งมีที่ไม่มองหาอะไรอย่างอื่นนอกจากความมั่งคั่งในโลกเป็นคนที่ได้รับการเล้าโลมใจแล้ว พวกเขาจึงไม่มองหาอะไรอย่างอื่นนอกจากความมั่งมีในทรัพย์สินเงินทองที่เขามีมากมายในโลกนี้ นี่เองจึงเป็นวิบัติสำหรับชีวิตของคนมั่งมี
พระพรประการต่อมาซึ่งเกี่ยวข้องต่อจากพระพรประการแรก คือที่แห่งหนใดมีคนยากจนที่นั่นย่อมมีคนที่อดอยาก ในพระธรรม, ลูกาได้เน้นสภาพความขาดแคลนทางฝ่ายร่างกายมิใช่เพราะความขาดแคลนทางฝ่ายจิตวิญญาณ นอกจากนั้น มีคำต่อท้ายของอดอยากคือ ¡°เวลานี้¡± ความอดอยากเป็นสิ่งที่คงอยู่เรื่อยไปในชีวิตและเป็นเรื่องปัจจุบัน แต่พระสัญญาของพระเยซูก็คือ คนอดอยากในเวลานี้จะได้รับการเติมให้อิ่มหนำอย่างบริบูรณ์และเกิดความพึงพอใจยิ่งในตนเอง ตรงกันข้ามกับพระพรก็คือ ¡°วิบัติ¡± ซึ่งเป็นข้อความที่ขนานคู่ตรงกันข้ามกับการอดอยาก คือวิบัติแก่คนที่อิ่มหนำในเวลานี้ (ข้อ 25) เพราะความอิ่มหนำในปัจจุบันเป็นเพียงชั่วคราวแล้วก็จะมีความอดอยากอีก คนที่อิ่มหนำในเวลานี้กำลังมีความอดอยากรอคอยอยู่ข้างหน้า คนอิ่มหนำวันนี้มักไม่สนใจความหิวที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ ความจริงที่เกี่ยวข้องกับความอดอยากและอิ่มหนำนี้เป็นเรื่องการเลี้ยงของพระมาซีฮา แผ่นดินของพระเจ้ามักกล่าวพรรณนาในลักษณะของการเลี้ยงฉลองในท่ามกลางประชาชาติที่ร่วมโต๊ะเสวยกับพระเจ้า (ดูลูกา 13:28; 22:16, 30; 15:20-24)
พระพรประการต่อมาที่พระเยซูประกาศก็มีแก่คนที่ร้องไห้เวลานี้ ตอนนี้พูดถึง ¡°เวลานี้¡± เช่นกัน ¡°การร้องไห้¡± ในที่นี้หมายถึงการแสดงออกถึงความเศร้าโศกเสียใจโดยทั่ว ๆ ไป การร้องไห้เป็นสิ่งที่ควบคู่กัชีวิตประจำวันของมนุษย์โดยเฉพาะเมื่อมีการสูญเสีย ลูกาได้กล่าวคำตรงข้ามกับการร้องไห้คือหัวเราะ คือบรรดาคนที่น้ำตาไหลออกจะได้รับการประเล้าประโลม คำคู่ขนานตรงข้ามกับตอนนี้ที่เป็น ¡°ความวิบัติ¡± ซึ่งได้แก่ผู้ที่หัวเราะในเวลานี้ เพราะอนาคตในสมัยของพระมาซีฮาจะต้องกลับเป็นทุกข์และร้องไห้ การหัวเราะในปัจจุบันนี้อาจเนื่องจากได้แสวงหาความสุขจากการอธรรมหรือการผิดศีลธรรมที่มีชีวิตที่ปราศจากพระเจ้าเป็นชีวิตที่ไม่คำนึงว่าจะเกิดผลเสียเช่นไรบ้างต่ออนาคตของตนเองและต่อผู้อื่น
¡°พร¡± และ ¡°วิบัติ¡± ประการสุดท้ายที่ลูกากล่าวถึงคือ ข้อ 22-23 และ 26 เป็นการพูดกับบรรดาอัครสาวกแทนที่จะพูดกับประชาชนทั่วไป บุคคลเหล่านี้มีชีวิตที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระเยซู การเป็นสาวกของพระเยซูจะต้องคาดหมายถึงสิ่งใดบ้างที่ตนจะได้รับ? สิ่งนั้นได้แก่ ¡°การถูกเกลียดชัง¡± ¡°การถูกไล่¡± รวมถึง ¡°การถูกประนาม¡± นอกจากนั้น มี ¡°การเหยียดชื่อ¡± ว่าเป็นคนชั่วช้าซึ่งหมายถึงการถูกตัดความสัมพันธ์หรือ excommunication จากการเป็นสมาชิกในธรรมศาลาซึ่งเท่ากับการถูกตัดขาดจากประชาคมทั้งหมด แต่พระเยซูทรงชี้ให้พวกสาวกเห็นว่า การถูกปฏิเสธเช่นนี้กลับเป็นพระพร แต่ ¡°วิบัติ¡± แก่สาวกที่พยายามหลีกหนีจากสภาพดังกล่าว แต่พยายามให้ตนเป็นที่ยอมรับหรือการเป็นผู้ที่คนทั้งหลายยอว่าดีเพราะตนเองกล่าวคำเทียมเท็จ พระเยซูได้ชี้ให้เห็นถึงอดีตที่ผู้เผยพระวจนะเท็จได้รับการยอว่าดีจากประชาคม ผู้เผยพระวจนะเท็จคือคนที่ประชาชนชื่นชอบ เป็นคนที่ใช้คำพูดที่ไพเราะน่าฟังแต่แอบแฝงด้วยเจตนาที่ชั่วร้าย คำเตือนนี้ก็มีแก่บรรดาสาวกที่อาจถูกการทดสอบเมื่อมีการเผยแพร่พระกิตติคุณ แต่พระพรของพระเยซูก็มีอย่างมั่นคงแก่สาวกที่ประกาศข่าวประเสริฐเป็นพยานให้แก่พระเยซู แม้ถูก การปฏิเสธอย่างรุนแรงเช่นไรแต่ก็ไม่มีผลใด ๆ ต่อการรับพระพรจากพระเจ้า
พระเยซูทรงสร้างความคิดใหม่ด้วยการใช้ประติทรรศน์ในลักษณะของการสร้างทัศนะใหม่หรือความเข้าใจใหม่ พระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า การเป็นคนยากจน, การอดอยาก, การร้องไห้, การถูกเกลียดชัง, ถูกไล่, ถูกประนาม, ถูกเหยียดชื่อหรือคัดชื่อออกล้วนเป็นความทุกข์หรือวิบัติในสายตาของคนทั่วไป แต่สภาพเช่นนี้ พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นพระพร เพราะในสภาพเช่นนั้นเองทุกคนจะได้รับพระพร ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะแผ่นดินของพระเจ้ามาใกล้แล้ว พระองค์ผู้ทรงเป็นพระมาซีฮาจะทรงกระทำให้ชีวิตของคนที่โลกถือว่าวิบัติกลับกลายเป็นพร ตรงกันข้ามกับคนที่คิดว่าได้รับพรในโลกนี้ พระเยซูทรงชี้ให้เห็นว่าวิบัติจะเกิดแก่ผู้นั้น เพราะใจของเขาเหล่านั้นถูกบรรจุเต็มอิ่มไม่มีที่ว่างที่จะรับการเติมจากพระเจ้าอีก
พระคุณและความรักของพระเจ้าก็มีแก่คนในปัจจุบันที่กำลังมีความทุกข์ คนที่มีทุกข์ในปัจจุบันไม่ใช่คนที่ถูกการลงโทษหรือพระเจ้าไม่อวยพร ตรงกันข้ามกับคนที่ดูเหมือนมีความมั่งมี, อิ่มหนำ, หัวเราะ, ถูกยอว่าดี สิ่งเหล่านี้คือวิบัติของผู้นั้น เพราะผู้นั้นจะจมตัวเองหรือหลงตัวเองกับสิ่งที่ตนมีและไม่มีการแสวงหาแผ่นดินและความชอบธรรมของพระเจ้าอีก
หากเรามีความทุกข์ก็ควรมีความหวังใจว่า พระเจ้าทรงมีน้ำพระทัยที่จะประทานสิ่งที่ประเสริฐแก่เราในอนาคต คริสเตียนควรเป็นคนที่มีความหวังใจแม้ตนอยู่ในความมืดมิดแต่ก็มีความเชื่อว่า ¡°หลังจากมืดมิดแล้วก็เป็นฟ้าสาง¡±
ผมมีประสบการณ์แห่งการเจ็บป่วยถึงขั้นต้องผ่าตัดเอาเนื้องอกออกจากก้านสมอง หลังการผ่าตัดก็มีอาการอ่อนแรงไม่มีกำลัง, ไม่อาจพูด, เดินหรือวิ่งได้ หมอได้บอกผมว่า หลังจากที่ผมพอมีกำลังแล้วจำเป็นที่ผมจะต้องออกกำลังไม่ใช่นอนนิ่ง ๆ เฉย ๆ หากไม่มีการออกกำลังหรือการเสียกำลังก็จะไม่มีกำลังกลับคืนมาดังเดิมได้
หลังจากออกจากโรงพยาบาลผมเริ่มรู้สึกมีกำลังขึ้นหน่อยก็ได้ออกวิ่งเหยาะ ๆ ครั้งแรกวิ่งได้ 1 นาทีก็เหนื่อยแทบขาดใจแต่ก็บอกกับตนเองว่า วันพรุ่งนี้จะวิ่งใหม่และจะวิ่งให้ได้มากกว่า 1 นาที วันรุ่งขึ้นก็ออกวิ่งอีกซึ่งวิ่งได้มากกว่า 1 นาทีแต่ก็จะขาดใจให้ได้เมื่อวิ่งได้เกือบครบ 2 นาที วันรุ่งขึ้นก็ออกวิ่งอีกและพยายามวิ่งให้มากกว่า 2 นาทีเป็น 3 นาที และต่อ ๆ มาทุกวันก็วิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งต่อมาสามารถวิ่งติดต่อกันได้ 1 ชั่วโมงในระยะทางวิ่ง 10 กิโลเมตร
ในขณะที่วิ่งก็เหนื่อยและอยากหยุดแต่ก็บอกกับตนเองว่า หากตนก้าวเท้าออกไปอีก 1 ก้าวก็จะเพิ่มกำลังและยึดชีวิตออกไปอีก 1 วัน เมื่อมีการคิดเช่นนั้นหรือมีความคิดประติทรรศน์ในแง่สร้างความคิดใหม่ที่ว่า แม้ตนเองกำลังหมดแรงแต่ถ้าใช้แรงที่ไม่ค่อยมีหรือยอมเสียกำลังก็จะได้กำลังเพิ่มเติม แล้วในที่สุดผมก็ได้รับกำลังกลับคืนและมีชีวิตเป็นปกติได้
ผมยอมรับว่า ทุกครั้งก่อนที่จะวิ่งหรือในขณะที่วิ่งไม่ได้มีความรู้สึกอยากวิ่ง เพราะอยากนอนหรือนั่งเฉย ๆ หรือในขณะที่วิ่งก็อยากจะหยุดเพราะรู้สึกเหนื่อย แต่ถ้าตนยอมรับว่า การเหนื่อยและการเสียแรงนี้คือการได้ทำให้ตนรู้สึกดีและได้กำลังภายหลังหากยอมเสียกำลังก่อน ถ้ามีทัศนะเช่นนั้นก็จะทำให้ตนยังคงวิ่งต่อไปจนกระทั่งครบระยะทางที่ได้กำหนดไว้ ผมไม่ได้คิดยึดถือตามความรู้สึกของตนในขณะก่อนวิ่งหรือระหว่างวิ่ง แต่พอใจยินดีและเป็นสุขกับผลภายหลังจากการวิ่งมากกว่า
การเป็นคนที่ยากจนหรืออดอยากหรือต้องทุกข์โศกเศร้าหรือการถูกเกลียดชังเพราะเห็นแก่พระบุตรล้วนเป็นสิ่งที่ทำความปั่นป่วนในชีวิต ทำให้เครียดและทุกข์แสนสาหัส แต่พระเยซูตรัสว่า
คนที่ยากจนก็เป็นสุข เพราะว่าแผ่นดินของพระเจ้าเป็นของท่าน
คนที่อดอยากเวลานี้ก็เป็นสุข เพราะว่าจะได้อิ่มหนำ
คนที่ร้องไห้เวลานี้ก็เป็นสุข เพราะว่าจะได้หัวเราะ
คนที่ถูกเกลียดชัง, ถูกไล่, ถูกประนาม, ถูกเหยียดชื่อเพราะเห็นแก่บุตรมนุษย์ก็เป็นสุข เพราะบำเหน็จในสวรรค์ก็มีบริบูรณ์สำหรับผู้นั้น
คนที่ยากจน, อดอยาก, ร้องไห้ และอื่น ๆ ดังกล่าวไม่ต้องจมอยู่ในทุกข์ตลอดไป เพราะหลังจากนี้เขาจะได้รับแผ่นดินสวรรค์, ได้รับความอิ่มหนำ, เขาจะหัวเราะ, เขาจะได้รับบำเหน็จ
หากมีทัศนะใหม่ที่จะใช้มองดูความจริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เป็นสุขได้ในปัจจุบันหรือเป็นพรแม้ว่าชีวิตเช่นนั้นเป็นความวิบัติในสายตาทั่วไป
ตรงกันข้าม ชีวิตในปัจจุบันที่จมอยู่แต่ในความมั่งมี, ความอิ่มหนำ, การหัวเราะ, หลงไปกับการยอว่าดี ชีวิตเช่นนั้นคือความวิบัติ ในอนาคตก็จะไม่มีอะไรอื่นเพราะไม่มีการเตรียมใจใด ๆ ไว้สำหรับความชอบธรรมและแผ่นดินของพระเจ้า ใจที่ควรเตรียมไว้เพื่ออนาคตกับพระเจ้าก็กลับใช้ให้หมดไปกับการเสพสุขในสิ่งที่ตนมีอยู่ซึ่งจะสูญสลายไปและกระทำให้ตนเองพินาศในที่สุด

(2) ธำรงชีวิตด้วยการเสียชีวิต
ยอห์น 12:20-33
¡°การอธิษฐานของคริสเตียนมิใช่อธิษฐานเพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากการยากลำบาก แต่อธิษฐานเพื่อให้ตนเองเข้าสู่น้ำพระทัยของพระเจ้า¡± ........นิรนาม
คริสเตียนสามารถแบบออกเป็น 2 ประเภท คือคริสเตียนที่อธิษฐานเพื่อให้ตนเองยอมรับหรือเข้าส่วน อีกประเภทคืออธิษฐานเพื่อขอการถอยหนี คริสเตียนส่วนใหญ่มักเป็นประเภทหลังคือเมื่อตนเองกำลังยุ่งยากหรือมีความทุกข์ก็มักอธิษฐานขอการถอยหนีให้หลุดพ้นออกไป
- หากเราขับรถอย่างเร่งรีบเร็วเกินกำหนดตามกฎจารจรเพื่อไปให้ทันนัดหมายที่สำคัญ แล้วเราเห็นรถตำรวจเปิดสัญญาณไฟตามหลังเราอยู่ เวลานั้นเราคงอธิษฐานเพื่อขอทางออกให้หลุดพ้นไป หรือ¡¦..
- เช้าวันที่เรากำลังเข้าห้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ในทันใดนั้นเราเกิดรู้อย่างปัจจุบันทันด่วนว่า การสอบ
- เลขคณิตจะมีขึ้นในเช้านี้มิใช่วันพรุ่งนี้ เวลานั้นเราคงอธิษฐานเพื่อขอทางออกให้พ้นไป หรือ¡¦..
- วันที่เราได้รับจดหมายจากสรรพกรหรือ IRS ให้ไปรายงานตัวเพื่อให้ชี้แจงเรื่องการเสียภาษี เวลานั้นเราคงอธิษฐานเพื่อขอทางออกให้พ้นไป หรือ¡¦..
- ถ้าภรรยายื่นขอหย่า เวลานั้นเราคงอยากอธิษฐานขอทางออกให้พ้นไป หรือ¡¦..
- ถ้าบริษัทได้ประกาศเรื่องการปรับปรุงพนักงานหรือพูดง่าย ๆ คือกำลัง lay off คนงานและตนเองก็เป็นหนึ่งในบัญชีรายชื่อ เวลานั้นเราคงอธิษฐานขอทางออกมากกว่าที่จะขอเข้าส่วนหรือยินยอมตอบรับ
- หากเราได้ให้แพทย์ตรวจร่างกายแล้วพบว่า ตนเองมีเนื้องอกที่สมอง เราคงอธิษฐานขอทางออกให้พ้นไป
ในสถานการณ์เช่นนั้น เราอยากออกให้พ้นไป เพราะเรากำลังทุกข์มีความเครียด, มีความเจ็บปวด, มีความกลัว, มีความโกรธ, เป็นความยุ่งยากทำให้เกิดความระทม เรารู้สึกชีวิตของเรากำลังจะหยุดลง กำลังถูกต้อนเข้ามุมเพื่อการถูกบดขยี้เหมือนสนัขที่จนตรอก แม้ก่อนหน้าเราอาจเป็นคนที่มีความเชื่อเข้มแข็งหรือเป็นคนที่อธิษฐานอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าต้องเผชิญกับเหตุการณ์เช่นนั้น เราก็อยากมีปุ่มเพื่อกดหาทางออกด้วยการอธิษฐานขอให้พระเจ้าช่วยให้ตนเองพ้นจากสภาพนั้น
พระเจ้าคงได้ยินการอธิษฐานขอให้พ้นออกไปของคริสเตียนอยู่บ่อย ๆ การอธิษฐานเช่นนั้นก็มีมาแต่โบราณ เป็นการขอของคนจำนวนมากในทุกยุคทุกสมัย เพราะโลกที่มนุษย์อยู่อาศัยมักมีสิ่งที่ทำให้ตนรู้สึกทุกข์ มีอุปสรรคมากมายที่ขัดขวาง มีความเป็นความตายที่กำลังประชิดติดอยู่ต่อหน้าต่อตา ไม่เพียงแต่มนุษย์ธรรมดา ๆ อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ที่ต้องเผชิญกับสิ่งที่ทำให้ต้องการอธิษฐานขอให้พ้นออกมา แม้แต่พระเยซูผู้ทรงเป็นพระบุตรก็ต้องเผชิญกับความทุกข์ที่ทำให้ต้องการพ้นออกไป
ยอห์น 12:27 ได้กล่าวถึงจิตใจที่เป็นทุกข์ยิ่งของพระเยซูในขณะที่กำลังเข้าใกล้กรุงเยรูซาเล็มซึ่งทำให้พระองค์ต้องการที่จะอธิษฐานว่า ¡°ข้าแต่พระบิดา ขอทรงโปรดช่วยข้าพระองค์ให้พ้นจากการณ์แห่งกาลนี้¡± แต่กระนั้นก็ตาม พระคัมภีร์ได้กล่าวว่า พระเยซูหาได้อธิษฐานเช่นนั้นไม่ เพราะพระองค์ทรงทราบถึงพระประสงค์ของพระเจ้าที่จะให้พระองค์เข้าสู่การณ์ที่ต้องรับความทุกข์ยากนี้ พระองค์จึงได้อธิษฐานว่า ¡°ข้าแต่พระบิดา ขอให้พระนามของพระองค์จงได้รับเกียรติ¡±
พระเยซูทรงเข้าใจเราและสามารถสัมผัสถึงความรู้สึกของเราเมื่อเรามีความทุกข์ที่ทำให้อยากอธิษฐานกับพระเจ้าว่า ¡°ขอให้ข้าพระองค์พ้นจากการณ์แห่งกาลนี้¡± ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะพระเยซูเองก็เคยตกอยู่ในสภาพเช่นนั้นมาก่อนเหมือนกัน
เมื่อพระเยซูกำลังมีความทุกข์ยิ่ง พระองค์มิได้อธิษฐานขอทางออกแต่อธิษฐานให้ตนเองเข้าสู่น้ำพระทัยของพระเจ้า พระองค์ทรงประสงค์ที่จะให้พระนามของพระบิดาได้รับเกียรติ
เช่นเดียวกับโยบเมื่อได้ทราบว่า ทรัพย์สินของตนถูกทำลาย ลูก ๆ ของตนถูกฆ่า โยบได้กล่าวว่า ¡°ข้าพเจ้ามาจากครรถ์มารดาตัวเปล่า และข้าพเจ้าจะกลับไปตัวเปล่า พระเจ้าประทาน และพระเจ้าทรงเอาไปเสีย สาธุการแด่พระนามของพระเจ้า¡± โยบ 1:21
เมื่อพระเยซูต้องตกในสถานการณ์หรือสภาพการณ์ที่ทำให้ตนมีความทุกข์นั้น พระธรรมยอห์นตอนนี้ได้สอนเราอย่างไรบ้าง?
ยอห์นได้ชี้แจงว่า ขณะที่พระองค์กำลังอยู่ในความทุกข์นั้น แทนที่พระองค์จะอธิษฐานให้ตนเองหลุดพ้นออกมา แต่ตรงข้ามคืออธิษฐานให้ตนเข้าสู่น้ำพระทัยของพระเจ้า แม่ชีเทรีซ่าได้กล่าวว่า ¡°ให้เราอธิษฐานด้วยการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนจากความต้องการของเราให้กลายเป็นไปตามพระประสงค์หรือน้ำพระทัยของพระเจ้า¡±
จากความมุ่งมั่นของพระเยซูที่จะให้พระนามของพระบิดาได้รับพระเกียรติแม้ตนเองต้องตกในสถานการณ์ที่ทุกข์ยากเพียงไร ในที่สุดก็มีพระสุรเสียงดังจากฟังว่า ¡°เราได้รับเกียรติแล้ว และเราจะได้รับเกียรติอีก¡± เราได้เห็นถึงการเลือกของพระเยซูคือแทนที่จะเลือกหาทางออก แต่พระองค์เลือกการเข้าสู่แผนการของพระเจ้าและประสงค์ให้พระบิดาได้รับเกียรติซึ่งสิ่งนี้เป็นที่โปรดปรานของพระบิดา และต่อไปพระเยซูยังคงเลือกทางที่จะเข้าสู่ความยุ่งยากจนกระทั่งเสียชีวิตซึ่งเป็นสิ่งที่กระทำให้พระบิดาได้รับเกียรติอีก
ให้เราดูรายละเอียดตามการอรรถาธิบายพระธรรมยอห์น 12:20-33 ดังนี้
การบันทึกเรื่องราวของพระเยซูในตอนนี้มีแต่เฉพาะในพระธรรมยอห์นเท่านั้น ในกิตติคุณอื่นอีก 3 เล่มไม่ได้บันทึกถึงเรื่องนี้ เรื่องราวเหตุการณ์ตอนนี้ก็เป็นเรื่องต่อจากเรื่องราวของลาซารัสที่เป็นขึ้นจากความตาย ในพระธรรมยอห์น 12:19 ได้กล่าวว่า มีคนมากมายได้ติดตามพระเยซู จนพวกฟาริสีได้พูดกันว่า ¡°พวกเราทำอะไรไม่ได้เลย ดูซิ โลกตามเขา (พระเยซู) หมดแล้ว¡±
ยอห์นได้กล่าวใน 12:20 ว่ามีคนต่างชาติหรือชาวกรีกที่ได้มาที่กรุงเยรูซาเล็มเพื่อที่จะนมัสการในพระวิหารในระหว่างเทศกาลปัศคา ชาวกรีกเหล่านี้เป็นคนที่เกรงกลัวพระเจ้าได้ยึดถือตามพระบัญญัติของชาวยิว แต่ยังไม่ได้เข้ารีตในศาสนายิว ยังไม่ได้ทำพิธีสุหนัต พวกเขามีความประสงค์ที่จะเห็นหรือพบหรือคุยกับพระเยซู
แทนที่พวกเขาจะเข้าหาพระเยซูโดยตรงแต่ได้เข้าพบฟีลิปก่อน แล้วฟีลิปก็ได้ปรึกษากับอันดรูว์ แล้วทั้ง 2 จึงไปทูลพระเยซู ต่อจากนั้นพระธรรมยอห์นมิได้บันทึกเรื่องของชาวกรีกนี้อีก เราเพียงแต่ทราบว่า การที่ชาวกรีกมาขอเข้าพบนี้ทำให้พระเยซูประกาศความจริงที่สำคัญแก่พวกอัครสาวกว่า ¡°ถึงเวลาแล้วที่บุตรมนุษย์ (พระเยซู) จะประสบเกียรติกิจ¡± เกียรติกิจที่พระเยซูพูดถึงคือการที่ต้องเปื่อยเน่า เพราะการเปื่อยเน่าก็เป็นเหตุให้เกิดการงอกใหม่และเกิดผล จากการขอเข้าพบของชาวกรีกนี้ได้กระทำให้พระเยซูกล่าวถึงหัวใจสำคัญแห่งพันธกิจของพระองค์
ชาวกรีกเหล่านี้อาจเหมือนกับคนทั่วไปที่ต้องการพบกับพระเยซูในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นอาจารย์, ผู้รักษาโรค, ผู้กระทำการมหัศจรรย์ หรืออาจต้องการเชิญชวนให้พระเยซูไปที่ประเทศกรีกเพื่อที่จะไปทำพันธกิจในฐานะของผู้นำศาสนาใหม่ ถ้าเป็นเช่นนั้นพระเยซูจะมีสาวกที่ติดตามพระองค์เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย พระองค์สามารถที่จะสร้างลัทธิและศาสนาใหม่ แต่สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นก็กระทำให้พระองค์ออกจากทางสู่ไม้กางเขน จากการเข้าพบพระเยซูของพวกกรีกหรือจากการณ์นี้ที่เกิดขึ้นในเวลานั้นเอง พระองค์ได้ตระหนักถึงสิ่งที่ตนเองจะมุ่งหน้าต่อไปก็มิใช่ทางอื่นใดแต่ด้วยทางแห่งความทุกข์ทรมานและความตาย
สิ่งที่พระเยซูตรัสต่อไปหลังจากการเข้าพบของชาวกรีกเป็นการตรัสกับพวกสาวกของพระองค์ในเรื่องบทเรียนของการเป็นสาวก คือสาวกจะต้องยินยอมให้ชีวิตของตนเป็นไปอย่างพระอาจารย์ของตนคือการดำเนินตามแผนการหรือน้ำพระทัยของพระเจ้าจนถึงที่สุดแม้ว่าจะต้องตายก็ตาม หากต้องการให้ชีวิต ¡°เกิดผล¡± ก็ต้องยอมที่จะเปื่อยเน่าเสียก่อน เช่นเดียวกับพระธรรมตอนอื่น ๆ ที่พระเยซูได้ตรัสไว้ใน มาระโก 8:35, มัทธิว 16:25, ลูกา 9:24 ก็คือ ¡°เพราะผู้ใดใคร่จะเอาชีวิตรอด ผู้นั้นจะเสียชีวิต แต่ผู้ใดจะเสียชีวิตเพราะเห็นแก่เรา ผู้นั้นจะได้ชีวิตรอด¡± การเป็นสาวกของพระเยซูก็คือการยินยอมรับความทุกข์ทรมานจนกระทั่งถึงความมรณา แต่การมีชีวิตตามอย่างพระอาจารย์ที่ยอมเปื่อยเน่านั้น ในที่สุดชีวิตนั้นจะมีการงอกใหม่และเกิดผล
พระเยซูตรัสต่อไปในข้อที่ 25-26 ว่า ¡°ผู้ใดที่รักชีวิตของตนก็ต้องเสียชีวิต และผู้ที่ชังชีวิตของตนในโลกนี้ก็จะธำรงชีวิตนั้นไว้นิรันดร์ ถ้าผู้ใดจะรับใช้เราผู้นั้นก็ต้องตามเรามา และเราอยู่ที่ไหนผู้รับใช้ของเราจะอยู่ที่นั่นด้วย ถ้าผู้ใดรับใช้เรา พระบิดาก็จะทรงประทานเกียรติแก่ผู้นั้น¡± หากเป็นสาวกของพระเยซูก็ต้องติดตามและมีชีวิตอย่างพระองค์คือยินยอมที่จะรับความทุกข์ทรมานถึงขั้นยอมสูญเสียชีวิตของตน
การเป็นพระมาซีฮาหรือบุตรมนุษย์ของพระเยซูก็เป็นในลักษณะที่ถ่อมลงคือการยอมรับใช้และยอมสูญเสียชีวิต สภาพดังกล่าวมิใช่เป็นสิ่งที่จะรับได้ง่ายนัก เพราะพระเยซูได้ตรัสในข้อที่ 27 ว่า ¡°บัดนี้จิตใจของเราเป็นทุกข์¡± ในเรื่องความทรมานและความตายซึ่งกำลังรออยู่ข้างหน้า เวลาที่แสนจะทุกข์นั้นมิใช่เวลาที่จะขอถอนตัวถอยหลังออกมา แต่เป็นเวลาที่จะต้องมุ่งเข้าสู่น้ำพระทัยของพระเจ้า การมาหาของชาวกรีกนี้เป็นเหมือนการถูกทดลองครั้งสุดท้ายก่อนที่พระองค์จะมุ่งสู่ทางแห่งกลโกธา การมาหาของชาวกรีกนี้เป็นเหมือนการทำให้พระเยซูมีทางเลือกอื่นที่จะเดินออกหลีกหนีจากทางแห่งความทุกข์ทรมานและการสิ้นพระชนม์
เราไม่มีการอธิบายใด ๆ จากบันทึกของยอห์นในเรื่องการถูกทดลอง เพียงแต่เรารู้ว่า พระเยซูได้ตอบรับการเป็นพระมาซีฮาที่ต้องรับความทุกข์ทรมานและการสิ้นพระชนม์ด้วยถ้วยคำที่ว่า ¡°ด้วยความประสงค์นี้เอง เราจึงมาถึงการณ์แห่งกาลนี้¡± พระเยซูได้ปฏิเสธที่จะร้องขอต่อพระบิดาเพื่อให้ตัวเองหลุดพ้นจากความทุกข์ทรมาน แต่พระองค์ร้องขอให้พระนามของพระบิดาจงได้รับเกียรติ การยืนยันเช่นนั้นเอง ในข้อที่ 28 ก็มีพระสุรเสียงดังจากฟังว่า ¡°เราได้ให้รับเกียรติแล้ว และเราจะให้รับเกียรติอีก¡± พระบิดาได้ยืนยันเห็นชอบในสิ่งที่พระเยซูกำลังกระทำและสิ่งที่จะมุ่งต่อไปในอนาคต แต่สำหรับคนอื่นแล้วก็ไม่อาจเข้าใจได้เพราะเข้าใจว่าพระสุรเสียงนั้นเป็นเสียงฟ้าร้อง หรือทูตสวรรค์กำลังพูดกับพระองค์
พระเยซูได้ชี้แจงต่อไปในข้อที่ 31 ว่า ¡°บัดนี้ถึงเวลาที่จะพิพากษาโลกนี้แล้ว เดี๋ยวนี้เจ้าโลกนี้จะถูกกำจัดออกไป¡± การที่พระเยซูยินยอมรับทุกข์ทรมานและการถูกตรึงที่ไม้กางเขนหรือให้ตนเปื่อยเน่าก็เป็นเหตุให้เจ้าโลกนี้หรือซาตานถูกกำจัดออกไป
นอกจากนั้น การที่พระเยซูถูกตรึงสิ้นพระชนม์ก็จะเป็นเหตุให้คนเป็นอันมากมาหาพระองค์ ซึ่งกล่าวในข้อที่ 32
โดยการที่พระเยซูทรงยินยอมรับความทุกข์ทรมานและการถูกตรึงที่ไม้กางเขนเป็นสิ่งที่ถวายพระเกียรติแด่พระบิดาเจ้า นอกจากนั้นเจ้าโลกก็ถูกกำจัดออกไป และคนเป็นอันมากก็มาถึงพระองค์ การที่พระองค์ยอมเปื่อยเน่านี้จึงมิใช่เพื่อให้ตนเองถูกทำลายให้สิ้นสุดไป แต่ตรงข้ามเป็นการถวายพระเกียรติและในที่สุดพระองค์จะทรงเป็นขึ้นจากความตายและเสด็จขึ้นครอบครองและอุดมไปด้วยสง่าราศีและฤทธานุภาพอย่างสูงสุด
หากเราต้องตกในสถานการณ์หรือสภาพการณ์ที่ทำให้ตนมีความทุกข์นั้น พระธรรมจากยอห์นตอนนี้ได้สอนเราอย่างไรบ้าง
ยอห์นได้ชี้แจงถึงการอธิษฐานของพระเยซูขณะที่พระองค์กำลังอยู่ในความทุกข์ คือแทนที่จะอธิษฐานให้หลุดพ้นออกไป แต่ตรงข้ามคืออธิษฐานเพื่อให้ตนเข้าสู่น้ำพระทัยของพระเจ้า
- จงเผชิญกับสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอาชีพการงานด้วยการเชื่อวางใจในแผนการของพระเจ้าและอธิษฐานให้ตนเข้าสู่วิธีทางของพระองค์เพื่อการที่เราจะก้าวเข้าสู่น้ำพระทัยของพระเจ้า
- ถ้าหากต้องเผชิญกับสิ่งที่ทำให้กลัวตกใจ, มีความหวั่นไหวก็จงเชื่อวางใจแผนการของพระเจ้าด้วยการอธิษฐานเพื่อให้ตนเข้าสู่วิถีทางของพระองค์เพื่อให้น้ำพระทัยของพระเจ้าสำเร็จในชีวิตของตนเอง
- จงเริ่มต้นรัดเข็มขัดชีวิตตนเองด้วยการละเลิกในสิ่งที่เป็นความบันเทิง แต่ให้รับการหล่อเลี้ยงใหม่ด้วยการไว้วางใจในแผนการของพระเจ้าด้วยการอธิษฐานให้ตนเข้าสู่วิถีทางของพระเจ้าเพื่อให้น้ำพระทัยของพระเจ้าสำเร็จ
- จงละความกังวลในเรื่องรายจ่ายในแต่ละเดือนที่มักจะมีความรู้สึกตลอดเวลาว่า ตนเองมีเงินไม่เพียงพอด้วยการเชื่อวางใจในพระเจ้าและอธิษฐานให้ตนเข้าสู่วิถีทางของพระเจ้าเพื่อให้น้ำพระทัยของพระองค์สำเร็จ
- หากมีความเศร้าใจเนื่องจากจะต้องสูญเสียคู่สมรสก็ให้หันเข้าหาพระเจ้าด้วยจิตใจที่เชื่อวางใจด้วยการอธิษฐานให้ตนเข้าสู่วิถีของพระเจ้าเพื่อที่จะให้เกิดการฟื้นฟูใหม่ในความรักและความสัมพันธ์ในครอบครัวและกับผู้อื่น
- หากต้องเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บก็จงเชื่อวางใจในพระเจ้าด้วยการมอบชีวิตทั้งสิ้นของตนไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์
เรื่องราวส่วนใหญ่ในชีวิตของเราเป็นสิ่งที่เราไม่อาจควบคุมได้ เราไม่อาจที่จะบงการหรือกระทำให้เป็นไปเช่นนั้นเช่นนี้ได้ แต่เราสามารถไว้วางใจในพระเจ้าและอธิษฐานให้วิถีทางชีวิตของตนเข้าสู่น้ำพระทัยของพระเจ้าและมอบทุกสิ่งให้เป็นไปตามน้ำพระทัยของพระเจ้า
ดังนั้น เราทั้งหลายจึงสามารถมีชีวิตตามความจริงในความหมายที่ว่า ¡°ธำรงชีวิตด้วยการเสียชีวิต¡± ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะพระเยซูที่เราเชื่อวางใจนั้น เป็นพระเจ้าแห่งการเป็นขึ้นจากความตาย และผู้ใดที่เชื่อวางใจแม้เขาตายไปแล้วก็ยังมีชีวิตอีก สำหรับผู้ที่มีชีวิตอยู่ เราสามารถให้ชีวิตของตนเปื่อยเน่าเพื่อให้ตนเองมีชีวิตที่งอกขึ้นและเกิดผลมาก
เมื่อเราต้องเผชิญกับความทุกข์และปัญหาต่าง ๆ ก็เป็นโอกาสที่จะให้ชีวิตของตนเป็นที่ถวายพระเกียรติ เราสามารถอธิษฐานขอให้ตนประสบกับเกียรติกิจด้วยการให้ทุกสิ่งที่เราเกี่ยวข้องกระทำให้พระนามของพระบิดาได้รับการยกย่อง ดังเช่นพระเยซูซึ่งพระบิดาได้ตรัสตอบว่า ¡°เราได้ให้รับเกียรติแล้ว และเราจะให้รับเกียรติอีก¡±
ผมมีข้อความที่เขียนขึ้นโดยผู้ไม่ประสงค์ออกนาม (นิรนาม) ที่คิดว่ามีประโยชน์และสอดคล้องกับการเทศนาในวันนี้ ข้อความนั้นเป็นเรื่อง ¡°เมื่อข้าพเจ้าทูลขอพระเจ้า¡± หรือ ¡°When I asked God¡±ซึ่งจะให้ความหมายในเชิงประติทรรศน์ในแง่ที่เราทูลขอสิ่งหนึ่ง ๆ แต่พระเจ้าทรงตอบในสิ่งที่ตรงข้ามเพื่อให้ชีวิตของเราเติบโต และเป็นการกระทำให้เราได้รับความหมายที่แท้จริงแห่งชีวิต ดังมีรายละเอียดดังนี้


WHEN I ASKED GOD

I asked for strength and
God gave me difficulties to make me strong.

I asked for wisdom and
God gave me problems to solve.

I asked for prosperity and
God gave me brawn and brain to work.

I asked for courage and
God gave dangers to overcomes.

I asked for love and
God gave me troubled people to help.

I asked for favors and
God gave me opportunities.

I received nothing I wanted.
I received everything I needed.

My prayer has been answered.

---Author unknown...



เมื่อข้าพเจ้าทูลพระเจ้า

ข้าพเจ้าได้ทูลขอกำลัง และ
พระเจ้าทรงประทานความยากลำบากแก่
ข้าพเจ้าเพื่อกระทำให้ข้าพเจ้าเข้มแข็ง

ข้าพเจ้าได้ทูลขอสติปัญญา และ
พระเจ้าทรงประทานปัญหาแก่ข้าพเจ้าเพื่อให้
ข้าพเจ้าแก้ไข

ข้าพเจ้าได้ทูลขอความมั่งคั่ง และ
พระเจ้าทรงประทานกำลังและสมองเพื่อให้ข้าพเจ้าทำงาน

ข้าพเจ้าได้ทูลขอความกล้าหาญ และ
พระเจ้าทรงประทานภัยอันตรายเพื่อให้ชนะ

ข้าพเจ้าได้ทูลขอความรัก และ
พระเจ้าทรงประทานคนที่กำลังทุกข์ยากเพื่อ
ให้ข้าพเจ้าช่วยเหลือ

ข้าพเจ้าได้ทูลขอความโปรดปราณ และ
พระเจ้าทรงให้โอกาสแก่ข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าไม่ได้รับสิ่งที่ข้าพเจ้าอยากได้
ข้าพเจ้าได้รับทุกสิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการจำเป็น

การอธิษฐานของข้าพเจ้าได้รับคำตอบ

---นิรนาม....
เมล็ดข้าวที่ตกลงไปในดินและเปื่อยเน่าไปแล้วก็จะงอกขึ้นเกิดผลมาก เช่นเดียวกับชีวิตของเราที่ยอมเปื่อยเน่า แทนที่จะต้องสูญสิ้นไป แต่ตรงข้าม พระเจ้าจะให้เกิดผลเป็นอันมาก ดังคำตรัสของพระเยซูที่ว่า
¡°ผู้ใดที่รักชีวิตของตนก็ต้องเสียชีวิต และผู้ที่ชังชีวิตของตน (หรือยอมเปื่อยเน่า) ในโลกนี้ก็จะธำรงชีวิตนั้นไว้นิรันดร์¡± อาเมน

(3) อ่อนแอเมื่อใด, แข็งแรงเมื่อนั้น
2 โครินธ์ 12:1-10
¡°พระเจ้าทรงเกลียดชังการโอ้อวดทางฝ่ายจิตวิญญาณและความหยิ่งยโส พระเจ้าทรงรักคนของพระองค์ที่ถ่อมใจ¡±
ตอนหัวค่ำของคืนวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านไปซึ่งเป็นคืนที่มีการฉลองวันชาติหรือวันประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา ท้องฟ้าทั้งในเมืองหรือนอกเมืองล้วนสว่างไสวไปด้วยสีแสงของดอกไม้ไฟ ตามเมืองสำคัญ ๆ เช่นวอซิงตันดีซี นิวยอร์ค บอสตัน ได้มีการจุดดอกไม้ไฟและมีการแสดงดนตรีประกอบซึ่งสร้างบรรยากาศอันยิ่งใหญ่ตระการตาพร้อมทั้งถ่ายทอดทางทีวีให้ชมกันทั่วประเทศ ในแต่ละปีได้ใช้ดินประสิวจำนวนเป็นพัน ๆ หมื่น ๆ ตันในการจุดดอกไม้ไฟเพื่อให้เป็นประกายไฟในท้องฟ้าช่วงเวลาไม่กี่กระพริบตา การจุดดอกไม้ไฟในแต่ละครั้งก็ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลแต่คนส่วนใหญ่กลับไม่มีความรู้สึกเสียดายเงินทองที่หมดไปกับการแสดงออกถึงความยิ่งใหญ่ของตนเอง
คนทั้งหลายในสหรัฐอเมริกาได้จัดการฉลองวันชาติด้วยการแสดงออกถึงความไกรเกรียงของตน ตั้งแต่เช้ามีขบวนพาเหรดอันน่าตื่นตาตามเมืองต่าง ๆ ต่อด้วยปิคนิคที่มีการกินและการดื่มจนหน้ามืดตามัวท้องกางตาม ๆ กัน มีการสนุกสนานสำราญใจกันทั่วไม่ว่าเป็นเด็กเล็ก คนหนุ่มสาว หรือผู้ใหญ่คนเฒ่า
แต่ในอดีตเมื่อมาถึงวันที่ 4 กรกฎาคมกลับมีการแสดงออกที่แตกต่างจากทุกวันนี้ คือแทนที่จะมีการฉลองอวดถึงศักดานุภาพของตน วันที่ 4 กรกฎาคมเป็นวันของการอธิษฐานและการกลับใจแห่งชาติ เพราะวันนี้เป็นโอกาสที่จะสงบใจตรึกตรองถึงอิสระภาพทางการเมืองซึ่งเริ่มต้นเมื่อปี 1776 และเป็นเวลาที่ประชาชนจักสำนึกถึงความรับผิดชอบที่มีต่อกันด้วยการอุ้มชูกันและกันเพื่อให้ประเทศนี้เป็นประชาคมที่สามารถปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย ในกาลก่อน, วันที่ 4 กรกฎาคมเป็นวันที่ใช้ในการขัดเกลากมลสันดานและจิตใจของตนด้วยการใคร่ครวญภาวนาระหว่างตนเองกับพระเจ้าอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน
แต่ในปัจจุบัน, การเป็นคนที่มีกมลสันดานที่ถ่อมใจกลับมิใช่เป็นคุณสมบัติประจำใจของตนอีกต่อไป คนทั่วไปในทุกวันนี้มักต้องการโอ้อวดความสามารถของตนและหวังว่าจะได้ผลตอบแทนอย่างดี ความถ่อมใจเป็นสิ่งที่คนในปัจจุบันอาจเห็นเป็นการไร้สมรรถภาพ มีความเข้าใจว่า หากมีการถ่อมใจก็เป็นเหมือนกับการยอมรับว่าตนเป็นคนที่ไม่มีความสามารถ การถ่อมใจดูเหมือนเป็นสิ่งที่เข้ากันไม่ได้หรือสวนทางกับการยึดมั่นว่า ¡°เราทำได้¡±
ไม่ต้องสงสัย, พระคำตามที่อ่านตอนต้นอาจก่อให้เกิดความงุ่นงงและเป็นประติทรรศน์สำหรับคนในปัจจุบันเช่นเดียวกับที่ทำให้พี่น้องคริสเตียนในเมืองโครินธ์เกิดความแปลกปลาบใจ พี่น้องในโครินธ์อาจแสวงหาสิ่งที่น่ายกย่องของเปาโลเพื่อนำไปโอ้อวดหรือเชิดชูตนเอง พวกเขาอาจพยายามหาถ้อยคำของเปาโลที่จะใช้แอบอ้างเพื่อให้ตนมีสิทธิอำนาจ แต่เปาโลได้ให้ความหมายเรื่องการโอ้อวดในลักษณะที่กลับหัวกลับหาง คือแทนที่จะอวดอ้างถึงผลงานที่ยิ่งใหญ่สำคัญ ๆ หรือความสำเร็จต่าง ๆ แต่เปาโลต้องการที่จะอวดเฉพาะ ¡°ความอ่อนแอ¡± เปาโลได้กล่าวว่า ¡°เพราะว่าข้าพเจ้าอ่อนแอเมื่อใด, ข้าพเจ้าก็จะแข็งแรงมากเมื่อนั้น¡±
ข้อความดังกล่าวอันเป็นประติทรรศน์ของเปาโลมีความหมายเช่นไรหรือ? ความจริงดังกล่าวสามารถประยุกต์กับชีวิตของเราได้อย่างไรบ้าง?
- หากเรามองย้อนกลับไปในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำหรือเมื่อเรามีปัญหาขัดสนยากจน เราพบว่าช่วงเวลานั้นเป็นเวลาที่มีความเพียรพยายามมากที่สุด ภายในครอบครัวของเราก็ได้เกาะกลุ่มรวมตัวสามัคคีกันมากที่สุดเพื่อการต่อสู้และฟันฝ่าอุปสรรคร่วมกัน
- ในเวลาที่ประเทศสหรัฐอเมริกาถูกโจมตีด้วยฝูงบินกองกำลังทหารของญี่ปุ่นที่ Pearl Harbor ซึ่งทำให้ประเทศตกใจอยู่ในความสะพึงกลัว แต่ก็เป็นเวลาเดียวกันที่ได้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนทั้งชาติที่แสดงถึงความจงรักภักดีต่อประเทศของตน
- เหตุที่มีการสร้างภาพยนตร์เรื่อง Apollo 13 ขึ้นก็เพื่อที่จะให้เห็นว่า ในขณะที่กำลังตกใจ อกสั่นขวัญหายว่า ยานอวกาศจะบินกลับมายังโลกได้หรือไม่นั้น กลับเป็นเวลาที่ได้เห็น ถึงการอธิษฐานและความหวังของคนทั้งประเทศ
เราคงเริ่มเห็นริบหรี่บ้างแล้วถึงความหมายที่ว่า ¡°เมื่อเราอ่อนแอ, เราก็มีกำลังมากเมื่อนั้น¡± คือถ้าเรายอมรับและมองเห็นถึงความอ่อนแอของตนอย่างแท้จริง เราจะมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนกว่าในสิ่งที่เราจะกระทำและสิ่งที่เราจะมุ่งหน้าต่อไป
จากพระธรรมที่อ่านในตอนต้นได้พบว่า เปาโลได้เล่าถึงประสบการณ์อันสูงส่งที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงสำแดงแก่ท่านโดยนิมิตอย่างที่ไม่มีผู้ใดเคยประสบมาก่อน คือท่านได้ถูกรับขึ้นไปยังสวรรค์ชั้นที่สามหรือเมืองบรมสุขเกษม ที่นั่นได้ยินวาจาแต่พูดเป็นคำไม่ได้ และมนุษย์จะออกเสียงก็ต้องห้าม (ข้อ 4) แต่แทนที่ท่านจะอวดประสบการณ์ดังกล่าว ท่านกลับเห็นว่าไม่ควรที่จะอวด ถ้าจะอวดก็ให้อวดความอ่อนแอของตน ท่านได้ตอบสนองต่อการรับสำแดงในเรื่องที่สูงส่งด้วยการถ่อมลงเป็นผู้เล็กน้อยที่สุด
พระเจ้าทรงรังเกียจความเย่อหยิ่งทางจิตวิญญาณและการอวดตัว เพราะความหยิ่งของมนุษย์ก็เป็นเหตุที่ทำให้ปฏิเสธพระเยซู ดังที่ชาวนาซาเร็ธซึ่งเป็นคนบ้านเดียวกับพระเยซูที่ได้ปฏิเสธคำสั่งสอนและฤทธานุภาพของพระองค์เพราะพวกเขาดูถูกพระเยซู (มาระโก 6:1-13) เช่นเดียวกับคนจำนวนมากในทุกวันนี้ได้ปฏิเสธคำสั่งสอนของพระเยซูก็เนื่องจากความเยอะหยิ่งของตน
Jack Deere ได้กล่าวว่า ¡°ความเยอะหยิ่งทางศาสนาคือการอวดตัวอันเป็นลักษณะรูปแบบอันเลวร้าย¡± ผู้นำที่มีการกระทำผิดต่อพระเยซูมิใช่ผู้ที่ผิดทางด้านเพศมากเท่ากับคนที่มีความหยิ่งทางจิตวิญญาณ ในบรรดาความบาปทั้งปวงที่คริสตจักรจัดเป็นความบาปร้ายแรงก็มีความหยิ่งทางศาสนาซึ่งจัดเป็นความบาปอันดับต้นสุดของความบาปต่าง ๆ เรามักให้คำชมเชยหรือมอบรางวัลแก่ผู้นำที่อวดตัว เราหัวเราะในเรื่องขบขันที่หยิ่งจองหอง เราดูถูกบรรดาคนที่อยู่นอกแวดวงความเชื่อตามที่ตนยึดถือ คนที่อวดตัวไม่ต้องการรับการสำแดงจากพระเจ้า¡±
Deere ได้กล่าวต่อไปว่า ¡°ทั้งองค์พระผู้เป็นเจ้าและอัครสาวกได้กล่าวย้ำซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า พระเจ้าทรงยกคนที่ถ่อมลง แต่ทรงเหยียดคนที่ยกตัวขึ้น¡± (มัทธิว 23:12; ลูกา 14:11; 18:14; ยากอบ 4:6 และ 1เปโตร 5:5) ถ้าเราเคยได้ยินพระสรุเสียงของพระองค์อย่างแท้จริง เราต้องยึดมั่นสวมกอดความถ่อมใจไว้ พระเยซูทรงมีใจถ่อมที่อ่อนสุภาพ (มัทธิว 11:29) เช่นเดียวกับสาวกอื่น ๆ ที่ติดตามพระองค์ก็มีใจถ่อมสุภาพ เราอาจมีผู้นำที่อวดตัวในคริสตจักร แต่คนเช่นนั้นก็ถูกกันออกจากแวดวงของการเป็นมิตรสหายอันสนิทสนมของพระเยซู¡±
ลูกา 1:52 ได้กล่าวว่า ¡°พระองค์ทรงถอดเจ้านายจากพระที่นั่ง และพระองค์ทรงยกผู้น้อยขึ้น¡±นอกจากนั้นในยากอบ 4:10 ได้กล่าวว่า ¡°ท่านทั้งหลายจงถ่อมใจลงต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า และพระองค์จะทรงยกชูท่านขึ้น¡± และในลูกา 14:11 ได้กล่าวว่า ¡°เพราะว่าทุกคนที่ได้ยกตัวขึ้นจะต้องถูกเหยียดลง และผู้ที่ถ่อมตัวลงนั้นจะได้รับการยกขึ้น¡±
เปาโลได้รับประสบการณ์ที่สูงส่งแต่ท่านได้ถ่อมใจลง ท่านได้ชี้แจงตามที่กล่าวไว้ใน 2โครินธ์12:1-10 ซึ่งมีรายละเอียดดังการอรรถาธิบายดังนี้
พระธรรม 2 โครินธ์ที่เราได้อ่านตอนต้นเป็นข้อความที่ชี้แจงและโต้แย้งกับคนที่มีความเห็นตรงข้ามกับเปาโล เพราะคนเหล่านี้ไม่ได้ยอมรับในสิทธิอำนาจในฐานะที่เปาโลก็เป็นอัครทูตคนหนึ่งของพระเยซู คือมีการหมิ่นประมาทว่า ท่านไม่มีประสบการณ์อย่างใกล้ชิดกับพระเยซูอย่างแท้จริง แต่เราก็เห็นว่า
แทนที่เปาโลจะโต้ตอบคนเหล่านั้นด้วยคำพูดที่แสดงถึงความเชื่อและประสบการณ์อย่างลึกซึ้งกับพระเจ้าและกิจการการรับใช้ต่าง ๆ ที่ตนได้กระทำไป ท่านกลับใช้วิธีอื่นซึ่งตรงกันข้ามในการชี้แจงหรือโต้ตอบคนเหล่านั้น คือการยอมถ่อมลงหรือความอ่อนแอของท่าน
ก่อนที่จะกล่าวข้อความตามที่บันทึกในบทที่ 12 เปาโลได้ชี้แจงในบทที่ 11 ให้เห็นถึงเบื้องหลังชีวิตของท่านที่สามารถอวดได้ ท่านได้กล่าวถึงคุณสมบัติของท่านและการรับใช้ต่าง ๆ ที่มีมากมายเพียงพอในการสั่งสอนผู้อื่น เปาโลยอมรับว่า การอวดตนเองเช่นนั้นไม่มีประโยชน์เป็นเหมือนคนโง่หรือคนบ้า ท่านได้กล่าวตรงข้ามใน 2โครินธ์ 11:30 ว่า ¡°ถ้าข้าพเจ้าจำเป็นต้องอวด ข้าพเจ้าก็จะอวดสิ่งที่แสดงว่า ข้าพเจ้าเป็นคนอ่อนกำลัง¡±
เปาโลได้ชี้แจงความจริงในบทที่ 12 ถึงเรื่องที่ควรใช้ในการอวดตัว คำสอนของเปาโลได้ใช้วิธีการของประติทรรศน์เพื่อกระทำให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านเข้าใจความจริงที่สำคัญ คือท่านได้พูดถ้อยคำประติทรรศน์เพื่อที่จะให้คริสเตียนเกิดความคิดหรือทัศนะใหม่ที่ถูกต้องในเรื่องการอวดตัว
ก่อนอื่นท่านได้พูดออกตัวถึงเรื่องการอวดตัวด้วยการกล่าวว่า ตนเองก็มีอะไรที่จำต้องอวด ¡°แม้ว่าจะไม่มีประโยชน์อะไร¡± คือก่อนหน้าท่านได้พูดถึงประสบการณ์ในฐานะที่เป็นอัครทูตซึ่งท่านมีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งเชื้อชาติ, การศึกษา, การทำงาน, การที่ต้องรับความทุกข์ทรมานต่าง ๆ , การมีความกระวนกระวายถึงคริสตจักรทั้งปวง ในข้อที่ 2 นี้ท่านได้เริ่มกล่าวถึงประสบการณ์ส่วนตัวที่ท่านมีกับพระเยซูคริสต์เจ้าโดยการอ้างถึงชายคนหนึ่ง (ซึ่งหมายถึงท่านเอง) ¡°ข้าพเจ้ารู้จักกับชายคนหนึ่งผู้เลื่อมใสในพระคริสต์¡¦..¡± แม้ว่าเปาโลพยายามที่จะเลี่ยงการอวดตัวตนเองแต่ท่านก็อดที่จะอวดตัวในประสบการณ์อันลึกซึ้งนั้นไม่ได้ (ข้อ 5)
เปาโลอ้างถึง ¡°ชายคนหนึ่ง¡± ซึ่งเป็นการกล่าวอ้อม ๆ ที่โยงมาถึงตัวท่านเอง เปาโลฉลาดที่จะไม่บอกว่าตนเองเป็นคนที่ได้รับประสบการณ์อันล้ำลึกกับพระเยซู แต่เป็นของ ¡°ชายคนหนึ่ง¡± เพราะถ้าหากไม่กล่าวเช่นนั้นอาจทำให้คำสอนที่ท่านต้องการจะสอนในเรื่องการถ่อมใจมีน้ำหนักลดน้อยลง
ท่านได้พูดเรื่องที่ตนสามารถอวดได้จากการมีประสบการณ์ในสวรรค์ชั้นที่ 3 หรือเมืองบรมสุขเกษมที่เกิดขึ้นกับ ¡°ชายคนหนึ่ง¡± ท่านได้อ้างอย่างที่บรรดาผู้เผยพระวจนะในพระคัมภีร์เดิมมักใช้ในการอธิบายเรื่องที่ตนได้รับการทรงสำแดง คือต้องระบุถึงการสำแดงได้เกิดขึ้นเมื่อไร ดังเช่นที่กล่าวในพระธรรมอาโมส 1:1; ฮักกัย 1:1 เป็นต้น สำหรับประสบการณ์ของเปาโลได้เกิดขึ้นเมื่อ 14 ปีที่แล้ว เรื่องที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องที่ไปด้วยกายหรือไปแค่จิตใจนั้น เปาโลได้ออกตัวว่าไม่ทราบ แต่พระเจ้าทรงทราบ เปาโลพยายามหลีกเลี่ยงที่จะอวดประสบการณ์ที่ได้ไปเมืองบรมสุขเกษม เพียงแต่ชี้แจงให้ผู้ฟังได้ทราบอ้อม ๆ ว่า ท่านเคยมีประสบการณ์จริงแต่ก็ไม่อยากที่จะใช้สิ่งนี้เพื่อที่จะอวดตัวเอง สิ่งที่ท่านอยากจะอวดคืออะไร ข้อที่ 5 ได้บอกว่า ¡°สำหรับข้าพเจ้าเอง ข้าพเจ้าจะไม่อวดเลย นอกจากจะอวดถึงการอ่อนแอของข้าพเจ้า¡± เปาโลได้นำผู้อ่านหรือผู้ฟังเข้าสู่เรื่องที่ตนต้องการอวดคือความอ่อนแอของตน เพราะถ้าตนเองอ่อนแอเมื่อไรก็แข็งแรงขึ้นเมื่อนั้นซึ่งความหมายดังกล่าวได้กล่าวในข้อที่ 7-10
เปาโลได้กล่าวว่า ¡°เพื่อไม่ให้ข้าพเจ้ายกตัวจนเกินไปเนื่องจากได้เห็นการสำแดงมากมายนั้นก็ทรงให้มีหนามใหญ่ในเนื้อของข้าพเจ้า หนามนั้นเป็นทูตของซาตานคอยทุบตีข้าพเจ้าเพื่อไม่ให้ข้าพเจ้ายกตัวเกินไป¡± (ข้อ 7)
การที่ได้รับการสำแดงมากมายนั้นก็อาจทำให้ตนเองอยากที่จะอวดตัว เพราะสิ่งนี้เป็นสามัญธรรมดาของมนุษย์ แต่พระเจ้าไม่ประสงค์ให้เปาโลผู้รับการสำแดงมากมายจากพระองค์แล้วอวดตัว จึงให้เปาโลมีหนามใหญ่ในตนเอง หนามนี้ก็มีเพื่อที่จะทำให้เปาโลไม่อวดตัวจนเกินไป
เราไม่ทราบแน่ชัดว่า หนามนี้คืออะไร บางท่านมีความเห็นว่า อาจเป็นปัญหาทางสายตา, หรือการฟังที่ไม่ดี, หรือประสบการณ์อันปวดร้าวในอดีต, หรือการเป็นโรคลมบ้าหมู ฯลฯ เราไม่อาจทราบว่าหนามนั้นคืออะไร เรารู้แต่เพียงว่า หนามนั้นทำให้เปาโลเจ็บปวดและได้บั่นทอนการใช้ชีวิตของท่าน ทำให้ท่านอ่อนแอเป็นทุกข์ ตามปกติเมื่อเราถูกหนามตำก็มีแต่ตนเองที่รู้สึกเจ็บปวด ส่วนคนอื่น ๆ ไม่อาจรู้ได้หรือเห็นได้ สำหรับกรณีของเปาโลที่ต้องมีหนามใหญ่ เราทราบแต่เพียงเพื่อให้เปาโลอ่อนแอและไม่ยกตัวจนเกินไป
ในช่วงที่ผมเป็นศิษยาภิบาลที่คริสตจักรไทยเพรสไบทีเรียนในนิวยอร์คซึ่งเป็นช่วงสั้น ๆ ในระหว่างปี 1998-99 มีเรื่องหนึ่งที่ผู้นำคริสตจักรที่นั่นรู้สึกว่าเป็นเหมือนหนามที่ทิ่มแทงจิตใจของพวกเขาคือเรื่องที่คริสเตียนไทยอื่น ๆ ได้มาเปิดโบสถ์ไทยในแถบละแวกเดียวกันและมีการติดต่อสมาชิกไปร่วมกิจกรรมในลักษณะที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นการแย่งลูกแกะ ผมเป็นผู้เลี้ยงประเภทที่มักให้โอกาสแกะในการเลือกที่จะเข้าคอกหรือกินหญ้าในทุ่งที่แกะนั้น ๆ พอใจ และมักไม่ปิดโอกาสให้มีการแข่งขันในระหว่างโบสถ์ เพราะถ้าแข่งกันมากเท่าไรผู้นำคริสตจักรต่าง ๆ จะต้องทำงานมากขึ้นหรือสร้างผลงานให้เป็นที่ถูกใจสมาชิก หากเรายึดความคิดในแง่ของการไม่ผูกขาดและเปิดโอกาสให้มีคริสตจักรมากที่สุด บางทีผลดีจะตกอยู่กับบรรดาลูกแกะทั้งหลายเพราะเขาสามารถมีทางเลือกมาก ๆ ในการบริโภคพระพรร่วมกัน แต่ผู้นำคริสตจักรที่ผมเคยรับใช้มีความคิดตรงข้ามกลับรู้สึกว่า การมีโบสถ์ไทยมากขึ้นเป็นเหมือนกับการมีหนามมาทิ่มแทงตนจนกระทั่งมีความคิดต้องการให้ผมไปพูดกับผู้นำอีกโบสถ์ว่า ขออย่ามายุ่งกับพวกเรา ปล่อยให้พวกเราอยู่ลำพังได้ไหม ผมได้แนะนำคำพูดหนึ่งที่ทำให้พวกเขายิ่งโกรธมากขึ้น ผมบอกว่าเราต้อง ¡±ทำใจ¡± เขาก็พูดว่า คนกำลังทุกข์ใจจะแย่อยู่แล้วยังมาบอกให้ทำใจ ผมก็ไม่ได้โต้ตอบอะไรอีก เพราะเห็นว่า การมีหนามที่ทิ่มแทงอาจทำให้เห็นว่ามิใช่มีแต่เราเท่านั้นที่พระเจ้าทรงใช้ ยังมีคนอื่น ๆ อีกที่พระองค์กำลังให้รับใช้ตามที่ต่าง ๆ
พระเจ้าให้คนของพระองค์มีประสบการณ์ที่ล้ำลึกสูงส่ง แต่ประสบการณ์ในความล้ำลึกจากพระเจ้ามักกระทำให้คนนั้นเกิดความทะนง ถ้าหากคนที่ได้รับการสำแดงที่ล้ำลึกแล้วเกิดความทะนง การสำแดงนั้นก็ไม่เป็นผลดีต่อการรับใช้และไม่เป็นการถวายพระเกียรติ หากมนุษย์รับแต่สิ่งที่สูงส่งแล้วมนุษย์ไม่มีการถูกควบคุม มนุษย์ก็จะมีความโน้มเอียงไปในทางที่เห็นแก่ตัวหรือชั่วร้าย เพราะธรรมชาติของมนุษย์มี 2 สภาพที่ตรงข้ามอันเป็นความดีและความชั่วซึ่งขัดแย้งกันในตัวเองเสมอ ๆ
การสำแดงเนื่องจากการที่ตนถูกรับไปที่เมืองบรมสุขเกษมในขณะที่ยังไม่ตายและการที่มีหนามใหญ่ในเนื้อหนังของเปาโลเป็นประติทรรศน์ที่พระเจ้าทรงให้เกิดขึ้นกับเปาโลผู้เป็นผู้รับใช้คนสำคัญ สองสิ่งที่ตรงกันข้ามก็อยู่คู่กันในชีวิตของเปาโล ในข้อที่ 8 เปาโลได้วิงวอนองค์พระผู้เป็นเจ้าถึง 3 ครั้งเพื่อให้หนามที่ทำให้ท่านทุกข์ทรมานนั้นหลุดออกจากร่างกายของท่าน แต่พระเจ้าก็ตรัสกับเปาโลว่า ¡°การที่มีคุณของเราก็พอแก่เจ้าแล้ว เพราะความอ่อนแอมีที่ไหนเดชของเราก็มีฤทธิ์เต็มขนาดที่นั่น¡± การมีหนามก็ทำให้เปาโลอ่อนแอและทำให้ไม่ยกตัวหรืออวดตัวจนเกินไป นอกจากนั้น การมีหนามที่ทำให้อ่อนแอนี้ก็เป็นโอกาสที่เปาโลจะรับพระคุณของพระเจ้า เพราะที่ใดที่อ่อนแอ, ฤทธิ์ของพระเจ้าก็มีมากขึ้นที่นั่น เพราะพระเจ้าจะทรงเทฤทธิ์อำนาจลงเหนือผู้ที่ถ่อมใจ
จากประสบการณ์ของเปาโลก็ทำให้ท่านเห็นว่า การมีชีวิตในพระคริสต์ที่ต้องเผชิญกับการประทุษร้าย ความยากลำบาก การถูกข่มเหง ความอับจน ซึ่งกระทำให้เกิดความอ่อนแอในชีวิต แต่จากสภาพที่อ่อนแอนั้นเองก็กระทำให้ท่านถ่อมใจ การถ่อมใจเช่นนั้นก็เป็นการทำให้ได้รับการเสริมกำลังจากพระเจ้า
ดังนั้น เปาโลจึงสรุปว่า ¡°เพราะว่าข้าพเจ้าอ่อนแอเมื่อใด ข้าพเจ้าก็จะแข็งแรงมากเมื่อนั้น¡±
เมื่อ 6 ปีที่แล้วที่ผมได้ป่วยลงเพราะมีเนื้องอกติดอยู่ที่ก้านสมองและเบียดกับสมองเล็ก หลังจากที่ได้ผ่าตัดเนื้องอกออกไปก็ทำให้ตนเองไม่มีแรงนอนนิ่ง ๆ อยู่บนเตียงในโรงพยาบาล ในเวลานั้นเองที่ผมรู้ตัวว่า ตนไม่มีความสามารถอะไรอีกต่อไป แล้วได้ทูลขอต่อพระเจ้าว่า ขอให้ผมสามารถมีบทบาทของศาสนาจารย์อีก หลังจากนั้นก็มีกำลังมากขึ้น สุขภาพก็ดีกลับคืน สามารถกลับบ้านได้ และต่อมาสามารถทำงานหน้าที่ของศาสนาจารย์ได้ และสามารถมีชีวิตอย่างปกติจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
ในเวลาที่ตนเองได้ประจักษ์ถึงการหมดกำลัง หมดสภาพที่จะอวดตัวได้อีก ก็เป็นเวลาที่พระเจ้าจะให้กำลัง พระคุณของพระพระคริสต์ที่เปาโลได้รับนั้น ก็เป็นพระคุณที่มีมาถึงเราทั้งหลายในปัจจุบันด้วย
การอวดตัวเป็นสิ่งที่พระเจ้าไม่ทรงพอพระทัย เพราะการอวดตัวเป็นการทำให้อัตตาหรือตนเองมีความทะเยอทะยานที่จะเป็นเหมือนพระเจ้า แต่จิตใจที่ถ่อมลงก็เป็นสิ่งที่พระเจ้าทรงพอพระทัย เพราะจากสภาพที่ถ่อมลงนั่นเอง พระองค์จะทรงประทานฤทธิ์อำนาจ และจะยกผู้ที่ถ่อมลงนั้นขึ้น
ในช่วงนี้ก็อยู่ในระหว่างการเลือกตั้งผู้นำคนใหม่ของประเทศ คนส่วนใหญ่กำลังจับตาดูว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไประหว่างบุชหรือกอร์ หลังจากนี้เพียง 2 สัปดาห์เราก็จะรู้ว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่แทนคนเก่าที่ชื่อว่า บิล คลินตัน
ผมจะไม่พูดถึงเรื่องการเลือกตั้งแต่อยากให้เราคิดถึงชีวิตของบิล คลินตันซึ่งคนจำนวนไม่น้อยบอกว่าถ้าไม่มีการห้ามเป็นประธานาธิบดีเกินกว่า 2 สมัยติดต่อกัน เขาก็จะได้เป็นประธานาธิบดีอีก
บิล คลินตันเป็นประธานาธิบดีในลักษณะทั้งเก่งและเฮง เขามีความสามารถเฉพาะตัวและได้เป็นผู้นำในช่วงระยะที่สหรัฐอเมริกามีความรุ่งเรืองมั่งคั่งที่สุด บิล คลินตันอาจได้เป็นประธานาธิบดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง แต่เขาก็มีปัญหาพัวพันในเรื่องศีลธรรมและต่อมาได้กล่าวต่อหน้าประชาชนอเมริกันโดยมีภรรยาและเพื่อนร่วมงานยืนอยู่ด้านหลังซ้ายขวาว่า ¡°I did not have sexual relations with that woman!¡± และต่อมาก็ถูกไต่สวนและถูก impeachment แม้ว่าเขาหลุดพ้นคดีออกมาได้แต่สิ่งนี้เป็นหนามที่ทิ่มแทงเขาตลอดไป เขาได้รับการยกย่องอย่างมากที่สุดก็เป็นแค่ ¡°good president¡± แทนที่จะได้เป็น ¡°great president¡±
สำหรับผมกลับมีความเข้าใจว่า สิ่งที่เป็นประติทรรศน์ที่เกิดขึ้นกับคนหนึ่ง ๆ ที่มีทั้งสิ่งที่น่ายกย่องและน่าเกียจชังนี้ แท้จริงแล้วอาจเป็นคุณต่อบิล คลินตันเอง เพราะภายหลังเมื่อเขาพ้นจากตำแหน่งประธานาธิบดีไปแล้ว เขายังคงสามารถรับใช้ประเทศชาติและสร้างคุณประโยชน์แก่ส่วนรวมได้อีก ในอนาคต, เขาคงมีความระมัดระวังและมีความถ่อมใจมากขึ้น ผมเข้าใจว่า บิล คลินตันจะเป็นอดีตประธานาธิบดีที่จะทำคุณประโยชน์ให้แก่สหรัฐอเมริกาได้มากกว่าอดีตประธานาธิบดีทั้งปวง
เช่นเดียวกับเราทั้งหลายซึ่งเคยประสบกับความรุ่งโรจน์ในชีวิตแต่ต่อมาก็รู้สึกว่าตนเองมีหนามที่คอยทิ่มแทงตนเองเสมอ ๆ หนามของแต่ละคนอาจแตกต่างกันและคนอื่นอาจรู้หรือไม่รู้ว่าตนเองกำลังมีหนามในชีวิต แต่เจ้าตัวเองรู้เต็มอกว่าตนกำลังมีหนามที่คอยทิ่มแทงให้เกิดความปวดร้าวอยู่เป็นอาจิณ และหนามนั้นก็ทำให้อ่อนแอไร้กำลัง
แต่จากพระธรรมในวันนี้ก็ชี้ให้เห็นถึงประสบการณ์ของเปาโลที่ได้ประจักษ์ว่า การมีหนามในชีวิตนั้น แท้จริงเป็นพระคุณของพระเจ้า เพราะ ¡°ความอ่อนแอมีที่ไหนเดชของพระเจ้าก็มีฤทธิ์ขึ้นเต็มขนาดที่นั่น¡±
เปาโลเกิดความกระจ่างหรือมีความคิดใหม่ในสิ่งที่เป็นประติทรรศน์ในชีวิตของตน คือ ท่านกลับชื่นใจในบรรดาความอ่อนแอของตน เพราะท่านได้พบความจริงในองค์พระผู้เป็นเจ้าเนื่องจากความอ่อนแอ ¡°เพราะว่าข้าพเจ้าอ่อนแอเมื่อใด ข้าพเจ้าก็จะแข็งแรงมากเมื่อนั้น¡±
เราอาจยกย่องคนที่มีความสำเร็จเนื่องจากความดีและความสามารถของเขา แต่มักมองข้ามคนอื่นหรือแม้กับตัวเองที่กำลังรู้สึกระอาใจเพราะเหตุที่ตนกำลังมีหนามใหญ่ในชีวิต แต่ความจริงก็คือ ¡°ความชื่นใจ¡± และ ¡°ความภูมิใจ¡± จะเกิดขึ้นกับตนเองเนื่องจากความอ่อนแอของตน เพราะในเวลาที่คนใดอ่อนแอก็เป็นเวลาเดียวกับที่พระเจ้าจะให้กำลังที่แข็งแรงคนนั้น

การเทศนาประติทรรศน์ในลักษณะผสมขั้วตรงข้าม (Harmonious Paradox)
ก่อนหน้านี้ ผู้เขียนได้นำเสนอบทเทศนาที่ให้เห็นถึงคำสั่งสอนของพระเยซูและเปาโลในเชิงประติทรรศน์ลักษณะการพูดใหม่ (reframing) ที่ทำให้เกิดการกระตุ้นหรือชักนำให้เห็นภาพใหม่หรือความจริงใหม่คือให้มองสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองอย่างลึกซึ้งด้วยสายตาใหม่
ในบทนี้ ผู้เขียนจะนำเสนอประติทรรศน์อีกประเภทหนึ่งซึ่งเรียกว่า ประติทรรศน์ลักษณะผสมขั้วตรงข้าม (harmonious paradox) ซึ่งทำให้มองดูความจริงให้ลึกลงไปอีกระดับหนึ่ง ส่วนบทต่อไปผู้เขียนจะกล่าวถึงประติทรรศน์อีกประเภทหนึ่งซึ่งเรียกว่า ประติทรรศน์ลักษณะมือจับสองข้าง (two-handled paradox) ซึ่งจะให้กระจ่างเกี่ยวกับพระลักษณะของพระเจ้า ส่วนประติทรรศน์ลักษณะผสมขั้วตรงข้ามที่จะกล่าวในบทนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ร่วมกันของสิ่งตรงข้ามที่แตกต่าง
การศึกษาความจริงของประติทรรศน์มิใช่เพื่อที่จะสืบหาดูว่าประติทรรศน์มีวิธีการอย่างไรที่จะสร้างผลให้เป็นเช่นนั้นเช่นนี้ แต่เป็นการศึกษาถึงการถ่วงดุลหรือความกดดัน (tension) ที่สื่อนำไปสู่ความจริงด้วยการเทศนาที่มีกลยุทธที่ดีและเหมาะสม
ความกดดันที่เกิดขึ้นเนื่องจากการผสมกันของขั้วตรงข้ามเป็นประติทรรศน์ที่จะนำพาให้ไปถึงความจริงที่ ล้ำลึก สิ่งที่ตรงข้ามของสองสิ่งเมื่อมีการผสมกันก็สร้างความจริงใหม่ให้กับสิ่งนั้นหรือผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งได้รับความกดดันจาก 2 ขั้วที่แตกต่างกัน
ประติทรรศน์ลักษณะผสมขั้วตรงข้ามคือการยึดถือความจริงของทั้งสองฝ่ายร่วมกันโดยไม่ทิ้งฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือไม่ยึดถือแต่ความจริงของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทั้งนั้น แต่ต้องเป็นการร่วมสลับกันไป
อธิปไตยของพระเจ้ากับความรับผิดชอบของมนุษย์ก็ให้ตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับความหมายของประติทรรศน์ เพราะประติทรรศน์แห่งอธิปไตยของพระเจ้ากับความรับผิดชอบของมนุษย์ก็ก่อให้เกิดความตึงเครียดในประกาศเป็นพยานของคริสเตียน ความรอดนั้นเป็นเนื่องจากพระประสงค์ของพระเจ้า (การทรงเลือก) หรือเป็นอิสรภาพของมนุษย์ที่เลือกตอบรับพระกิตติคุณ พระประสงค์ของพระเจ้าที่มีต่อชีวิตของมนุษย์เป็นการปฏิเสธการเลือกพระเจ้าของมนุษย์เช่นนั้นหรือ? เป็นไปได้อย่างไรที่การเลือกของ 2 ฝ่าย (มนุษย์และพระเจ้า) จะคงมีพร้อม ๆ กันด้วยการไม่ล่วงล้ำหรือเป็นการชักนำการเลือกของอีกฝ่ายหนึ่ง ลักษณะดังกล่าวคือการที่มีสิ่งที่ตรงข้ามซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์ต่อกันได้ก่อให้เกิดความตึงเครียดขึ้น ความตึงเครียดนี้เองเป็นตัวผลักดันให้เกิดประกายความคิดที่ทำให้เข้าลึกในความจริงอันล้ำลึก ประติทรรศน์ที่มีความจริงหรือ 2 ขั้วตรงกันข้ามที่อยู่ในความหมายเดียวกันก็เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความล้ำลึกหรือนำพาให้ผู้ฟังหรือผู้ที่ต้องการเรียนรู้ความจริงมีบรรลุถึงสัจจธรรม

ประติทรรศน์กับการเมือง
การเมืองมักมีเรื่องของประติทรรศน์เกี่ยวข้องด้วย เช่นระบบรัฐสภาซึ่งเป็นสภาบันนิติบัญญัติและควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล
ระบบสภาผู้แทนราษฎร์ที่ยังคงทำงานได้อย่างปกติจะต้องประกอบด้วยพรรคการเมืองของรัฐบาลและพรรคการเมืองตรงข้ามที่เป็นฝ่ายค้าน การมีขั้วพรรคการเมืองตรงข้ามซึ่งคู่ขนานกันและมุ่งทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หนึ่ง ๆ ก็กระทำให้ภาระกิจด้านการเมืองและด้านนิติบัญญัติคงดำเนินต่อไปจนบรรลุถึงความสำเร็จ แต่ถ้าหากมีเพียงขั้วเดียวก็ไม่อาจเป็นระบบสภาผู้แทนที่ทำหน้าที่ได้อย่างถี่ถ้วน เพราะเป็นการใช้อำนาจทางนิติบัญญัติที่ปราศจากการถ่วงดุล
ประเทศไทยในระยะต้นปี 2000 ที่ผ่านไปก็ได้มีอุบัติการณ์ที่ผู้แทนราษฎร์ซึ่งเป็นฝ่ายค้านจำนวนหนึ่งได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎร์โดยหวังที่จะกดดันรัฐบาลโดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีให้ประกาศยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ ข้ออ้างที่ฝ่ายค้านใช้เพื่อเรียกร้องให้ยุบสภาก็คือ หากสภาผู้แทนไม่มีฝ่ายค้านก็ทำให้สภาผู้แทนไม่อยู่ในฐานะที่จะทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ แต่นายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้นำพากับการสร้างกระแสของฝ่ายค้าน ยังคงปฏิบัติหน้าที่ในฐานะของรัฐบาลอย่างปกติต่อไปและไม่มีการประกาศยุบสภา เพราะรัฐบาลอ้างว่า ยังมีผู้แทนฝ่ายค้านจำนวนหนึ่งที่ยังคงทำหน้าที่อยู่ในสภาผู้แทน และยังมีร่างพระราชบัญญัติสำคัญ 2 ฉบับคือกฎหมายงบประมาณแผ่นดินและกฏหมายการเลือกตั้งซึ่งจะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติและมีการประกาศใช้แล้วจึงจะมีการยุบสภาผู้แทนเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ ถ้ามีการเลือกตั้งแต่ไม่มีกฏหมายที่จะใช้ในการเลือกตั้งก็ไม่สามารถที่จะทำการเลือกตั้งใหม่ได้ และที่สำคัญคืออายุการเป็นผู้แทนก็เหลืออีกเพียงเล็กน้อย ดังนั้นจึงเห็นว่า สภาผู้แทนควรที่จะคงอยู่ทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าเสร็จสิ้นภาระกิจทางนิติบัญญัติดังกล่าว
คนจำนวนมากมีความเข้าใจถึงพลังหรือการทำหน้าที่ของขั้วตรงข้ามสองขั้วที่ต้องอยู่คู่กันเพื่อดำเนินร่วมกันต่อไป ถ้าหากขาดขั้วหนึ่งหรืออีกขั้วหนึ่งไม่ทำงานสลับร่วมกันอย่างมีเอกภาพก็มีผลต่อขั้วตรงข้ามและกับตนเองด้วย กลไกดังกล่าวสามารถส่งผลหรือเป็นพลังที่สร้างผลให้เป็นอย่างหนึ่งอย่างใดหากมีการผสมขั้วตรงข้ามหรือสลับกันไปมาอย่างเป็นธรรมชาติหรือตามหลักการที่ถูกต้องก็จะยังประโยชน์อย่างมหาศาลต่อส่วนรวม แต่ถ้าเป็นการปั่นขั้วเพื่อให้มีผลต่อฝ่ายตรงข้ามในลักษณะที่วิปริตหรือเป็นการบิดเบือนอย่างมีเหล่มีเหลี่ยม บางทีก็ไม่ได้สร้างผลเป็นรูปธรรมใด ๆ กลับถูกตราหน้าว่าเป็นคนที่สิ้นคิดไร้ปัญญา
ในสภาพปกติขององค์กรหนึ่ง ๆ ที่มีอำนาจซึ่งสามารถกระทำสิ่งที่ส่งผลต่อประชาชนก็มักเป็นเรื่องของขั้วอำนาจ 2 ขั้วที่ตรงข้ามกันซึ่งจะต้องอยู่คู่กันเพื่อร่วมกันทำหน้าที่ แม้การอยู่คู่กันและร่วมกันทำงานตามหน้าที่ของตนมักมีความขัดแย้งระหว่างกันเป็นอาจิน แต่นั่นก็คือเรื่องปกติตามระบบประชาธิปไตย กลไกดังกล่าวที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งการเคารพในทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์จะก่อให้ประเทศชาติเจริญเติบโต หากมีข้อผิดพลาดหรือเกิดปัญหาก็จะเป็นปัญหาที่สร้างความเสียหายหรือความยุ่งยากที่น้อยกว่า ในระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยจำเป็นที่จะต้องมีการทำงานร่วมกันที่ก่อให้เกิดความสมดุลในวิถีทางการเมือง หรือเพื่อให้กลไกของการปกครองยังคงดำเนินต่อไป หากไม่มีการถ่วงดุลของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายค้าน ก็อาจทำให้อำนาจการปกครองได้รับความเสียหายคือไม่มีฝ่ายตรวจสอบที่จะคอยกำกับความถูกต้องหรือความเป็นธรรมในสังคม ขั้วอำนาจที่ตรงกันข้ามจำเป็นที่จะต้องคงอยู่ร่วมกันในระบบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตย หากปราศจากขั้วตรงข้ามซึ่งได้แก่ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ค้านอำนาจกันก็ทำให้ระบบประชาธิปไตยไม่เป็นไปตามครรลองแห่งรัฐศาสตร์ที่มีกลไกที่สร้างอำนาจที่เป็นธรรมแก่ประชาชนทั้งหมดทั่วประเทศ


ประติทรรศน์ในตะวันออกกลาง
ในทุกวันนี้ได้เกิดการขัดแย้งกันในกลุ่มชนสองฝ่ายที่อาศัยในแถบตะวันออกกลางซึ่งได้แก่ชนชาติปาเลสไตน์และอิสราเอล ดูเหมือนว่าต่างฝ่ายต่างพยายามที่จะยึดครองอำนาจของตนในแถบบริเวณนั้นและปฏิเสธอีกฝ่ายที่ตรงกันข้าม ความจริงพระเจ้ามีน้ำพระทัยที่จะให้กลุ่มชนที่เป็นตรงข้ามอยู่ในบริเวณนั้นอย่างสันติ ในพระคัมภีร์ได้กล่าวถึงการอวยพรเหนือคนที่เป็นเชื้อสายของอับราฮามที่เกิดจากภรรยาสองคนคือนางฮาการ์ซึ่งมีลูกชื่อว่า ¡°อิชมาเอล¡± และนางซาราห์ที่มีลูกชื่อว่า ¡°อิสอัค¡± พระเจ้าทรงสัญญาที่จะอวยพรเชื้อสายของอิชมาเอลดังที่กล่าวในปฐมกาล 17:20 ว่า ¡°ฝ่ายอิชมาเอลนั้นเราฟังเจ้าแล้ว เราจะอำนวยพรแก่เขาและกระทำให้เขามีพงศ์พันธ์มากอย่างยิ่ง เขาจะเป็นบิดาของเจ้านายสิบสององค์ และเราจะกระทำให้เขาเป็นชาติใหญ่ชาติหนึ่ง¡± เช่นเดียวกับอิสอัคที่พระเจ้าได้สัญญาดังที่กล่าวในข้อที่ 21 ว่า ¡°ฝ่ายพันธสัญญาของเรา เราจะตั้งไว้กับอิสอัคผู้ซึ่งซาราห์จะคลอดให้แก่เจ้าปีหน้าในฤดูนี้¡± เราได้เห็นถึงพระประสงค์ที่จะให้เกิดประติทรรศน์ในระหว่างชนชาติหรือประเทศที่อาศัยในบริเวณเดียวกัน

ชีวิตคริสเตียนกับประติทรรศน์
ในชีวิตคริสเตียนก็มีสิ่งที่เป็นประติทรรศน์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของคนที่เชื่อศรัทธาในพระเจ้า ในประสบการณ์ชีวิตของหลายคนที่เชื่อในพระเจ้าที่ทรงรักมนุษย์แต่มักประสบกับสิ่งที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือมีความสงสัยในพระเจ้าที่ทรงรัก เพราะชีวิตของตนที่มีความสัมพันธ์กับพระเจ้าที่ทรงรักก็อาจพบกับเหตุการณ์เลวร้ายต่าง ๆ เช่น หญิงที่สูญเสียสามีและมีลูกเล็ก ๆ อีก 5 คนที่ต้องเลี้ยงดูและตนเองก็ไม่มีรายได้เพียงพอหรือมีทรัพย์สินมากพอที่จะใช้จ่ายจุนเจือครอบครัวของตน
คริสเตียนในสมัยคริสตจักรยุคแรกต้องถูกข่มเหง คนจำนวนมากต้องสูญเสียชีวิตอย่างทรมานเพราะความเชื่อในพระเจ้า เราควรเข้าใจอย่างไรกับพระเจ้าที่ทรงรักที่อนุญาตให้เกิดภัยพิบัติกับลูก ๆ ของพระองค์ เพราะสิ่งนี้เป็นความขัดแย้งที่จะต้องเข้าใจในเชิงประติทรรศน์ในลักษณะผสมขั้วตรงข้าม จากสภาพที่ขัดแยงเช่นนั้นเอง เราก็ได้เห็นถึงการเติบโตและการขยายตัวของคริสตจักรคู่กับการที่คริสเตียนถูกทำร้าย, ฆ่า, หรือการเพียงพยายามที่จะกำจัดให้คริสเตียนหมดสิ้นไป

ประติทรรศน์กับภาพยนตร์
ในภาพยนตร์เรื่อง Forrest Gump ซึ่งใช้วิธีการประติทรรศน์ในการเสนอเนื้อหา เราได้เห็นถึงชีวิตที่ประติทรรศน์ตลอดทั้งเรื่องของ Forrest Gump และดูเหมือนว่า โดยกลไกของประติทรรศน์ก็กลับกลายเป็นทางออกและก่อให้เกิดความสำเร็จในชีวิตของคนที่มี IQ 75 ซึ่งต่ำกว่าคนปกติ ตอนท้ายเรื่อง Forrest Gump ได้พูดที่หน้าหลุมศพของภรรยาที่ชื่อว่า Jenny ว่า เพื่อนทหารที่ชื่อว่า Dan ได้บอกว่าชีวิตถูกลิขิตล่วงหน้าไว้แล้ว แต่แม่บอกว่า ชีวิตล่องลอยไปตามกระแสลม แต่สำหรับตัวของเขาเข้าใจว่า ชีวิตเป็นเฉกเช่นทั้งสองและเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ความเห็นในลักษณะประติทรรศน์ของ Forrest Gump นี้ก็สื่อให้เข้าถึงความหมายที่ล้ำลึกซึ่งปกติธรรมดาไม่อาจเข้าใจหรือไปถึงได้ หากมีการยอมรับหรือเข้าใจถึงชีวิตแต่เพียงแง่หนึ่ง ๆ หรือยึดขั้วหนึ่งเป็นสรณะก็ไม่อาจที่จะได้คำตอบแห่งชีวิตหรือไปถึงความรุ่งโรจน์ได้ คนธรรมดาหรือคนที่ผิดปกติก็จะจมแต่ในความทุกข์
ทรมานตลอดไปหากยึดแต่ความจริงของขั้วหนึ่ง ๆ แต่ถ้ายอมให้ตนเข้าสู้สองสิ่งตรงข้ามที่ขัดแย้งกันในตัวก็ทำให้ผู้นั้นสามารถที่จะให้ตนไปถึงความหมายที่ล้ำลึกอันประเสริฐยิ่งได้แม้ว่าคนนั้นอาจเป็นคนที่ขาดสติปัญญาหรือเป็นคนที่ไม่อยู่ในเงื่อนไขปกติเหมือนคนทั่ว ๆ ไป เช่นเดียวกับคนที่อยู่ในสภาพที่ปกติ หากได้เข้าถึงประติทรรศน์ก็ย่อมที่จะก่อให้เกิดชัยชนะอันน่าประหลาดใจสามารถเข้าถึงความหมายที่ล้ำลึกซึ่งโดยปกติธรรมดาไม่อาจที่จะเข้าถึงได้ซึ่งยังผลก่อให้เกิดความปลื้มปิติอย่างล้นพ้น ความหมายสองอย่างที่ขัดแย้งกันและร่วมอยู่ด้วยกันหรือไปด้วยกันมิใช่เป็นการกระทำให้เกิดการจนมุมแต่ตรงข้ามกลับเป็นการหลุดพ้นหรือทางออก

การทรงกำหนดไว้ล่วงหน้า (Predestination)
คำสอนในพระคัมภีร์ได้กล่าวถึงพระเจ้าผู้ทรงมีอำนาจอธิปไตย (Sovereignty of God) เหนือมนุษย์ก็มีความหมายเกี่ยวข้องในแง่ที่ว่า เสรีภาพของมนุษย์ยังคงมีควบคู่ไปด้วยกัน ในประเทศไทยก็มีบางอย่างที่มีลักษณะคล้ายกับที่กล่าวนี้ เช่น ระบบการปกครองของประเทศไทยเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มีความคิดเห็น 2 ประการในพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้องกับความหมายของการทรงกำหนดไว้ล่วงหน้า หนึ่ง พระเจ้าทรงมีอำนาจสูงสุดเหนือจักรวาล ทรงรู้ล่วงหน้าและทรงกำหนดล่วงหน้าในสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ทั้งปวง ถ้าพระองค์ไม่อาจควบคุมมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์ พระองค์ก็มิใช่องค์อธิปไตยและไม่อาจเป็นพระเจ้าได้ สอง การทรงกำหนดไว้ล่วงหน้าของพระเจ้ามิได้เพิกถอนการเลือกของฝ่ายมนุษย์ การที่พระเจ้ายังคงรักษาอำนาจอธิปไตยของพระองค์เหนือทุกสิ่งทุกอย่างและขณะเดียวกันยังคงให้มนุษย์มีเสรีภาพในการเลือกของตนเป็นสิ่งที่มีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่ทรงมีพระปัญญาอันล้ำเลิศอย่างไม่มีที่จำกัดจะสามารถรักษาเช่นนั้นไว้ได้ แต่สำหรับมนุษย์, การที่จะเข้าใจความจริงที่ขัดแย้งเช่นนั้นก็ต้องใช้เวลาเป็นร้อย ๆ ปีในการแสวงหาความจริงและการถกเถียงกัน
มีความเห็นซึ่งแยกออกเป็น 2 กลุ่มในเรื่องการกำหนดไว้ล่วงหน้าคือ
Calvinism ที่เชื่อว่าพระเจ้าทรงมีพระคุณอันไม่มีสิ่งใดสามารถขัดขวางได้เหนือคนที่ทรงเลือกสรรรเพื่อให้ผู้นั้นมาถึงความรอด
Arminianism มีความเชื่อว่าพระคุณของพระเจ้าเป็นแหล่งแห่งการไถ่ให้รอด แต่มนุษย์สามารถที่จะปฏิเสธการทรงเลือกของพระเจ้าได้
ในความเชื่อของ Calvinism นั้น พระเจ้าทรงเลือกมนุษย์ ส่วนของ Arminianism นั้น มนุษย์หรือผู้เชื่อเป็นผู้เลือกพระเจ้า
คำสอนเรื่องการทรงกำหนดไว้ล่วงหน้าของพระเจ้าเป็นความจริงอันล้ำเลิศของพระคัมภีร์ คำสอนนี้เน้นในเรื่องเสรีภาพและความรับผิดชอบของมนุษย์เช่นเดียวกับพระเจ้าที่ทรงมีอำนาจอธิปไตย โดยความจริงดังกล่าวก็เป็นสิ่งตรงข้ามหรือไม่อาจรับกันให้คู่กันไป เพราะต่างปฏิเสธกันและกัน แต่ความจริงในแง่ของประติทรรศน์นั้นมีความจำเป็นที่จะต้องให้สิ่งตรงข้ามหรือที่ไม่รับกันคงดำเนินร่วมพร้อม ๆ กัน

บทเทศนาเชิงประติทรรศน์ในลักษณะผสมขั้วตรงข้าม
บทเทศนาเชิงประติทรรศน์ในลักษณะผสมขั้วตรงข้าม (Harmonious Paradox) จาก
พระคริสตธรรมคัมภีร์ 3 ตอนซึ่งมีหัวข้อและข้อพระคัมภีร์ดังนี้
1. ก่อนหาพบก็รันทด หลังพบแล้วก็เปรมปรีดิ์ มัทธิว 13:44
2. คำถามที่ไม่แน่ใจของคนที่มั่นใจ มัทธิว 11:2-11
3. ข้าพเจ้าผู้ซึ่งมิใช่ข้าพเจ้าแต่พระคริสต์ต่างหาก กาลาเตีย 2:20
4.
(1) ก่อนหาพบก็รันทด หลังพบแล้วก็เปรมปรีดิ์
นิทานประติทรรศน์ (paradox) และการแสวงหาแผ่นดินสวรรค์
มัทธิว 13:44
กาลครั้งหนึ่ง มีชายสูงอายุคนหนึ่งได้เดินทางเข้าไปในหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งพร้อมกับนำอ่างน้ำขนาดปากกว้าง 18 นิ้วใบหนึ่งและไม้กวนด้ามหนึ่งติดตัวไปด้วย เมื่อไปถึงหมู่บ้านนั้นก็เข้าไปในที่ดินที่ไม่มีเจ้าของแล้วตักดินใส่ลงในอ่าง จากนั้น ชายชราก็เดินไปที่บ่อน้ำซึ่งอยู่ใกล้ ๆ แล้วเขาก็โยกคันส่งน้ำเพื่อชักน้ำจากบ่อน้ำลงในอ่างท่วมเหนือผิวดินประมาณหนึ่งนิ้ว แล้วชายชราก็นั่งลงที่ข้างบ่อน้ำแล้วลงมือกวนน้ำโคลนในอ่างด้วยไม้กวนที่ได้นำติดตัวมา เขาได้กวนน้ำโคลนนานสักพักหนึ่ง ก็สังเกตเห็นมีก้อนหินเล็ก ๆ ที่มีประกายอยู่ในอ่างน้ำโคลน เขาจึงหยิบก้อนหินที่ติดโคลนขึ้นส่องดูแล้วลุกขึ้นโยกคันส่งน้ำเพื่อล้างหินก้อนนั้น ขณะที่เขาชูหินขึ้นส่องดูอีกครั้งก็มีคนจำนวนหนึ่งยืนมุงดูเขาอยู่ด้วย ทุกคนก็ประหลาดใจส่งเสียงร้องดังลั่นเพราะหินที่ชายชรากำลังส่องดูนั้นคือก้อนทองคำ จากนั้นชายชราก็ได้ใส่ก้อนทองคำนั้นลงในถุงผ้าแล้วนั่งกวนน้ำโคลนดังเดิม พอกวนไปสักพักหนึ่งก็เห็นก้อนหินที่มีประกายในอ่าง ชายชราก็นำก้อนหินที่ติดโคลนนั้นล้างน้ำที่บ่อก็พบว่าเป็นก้อนทองคำ ชายชราได้ทำเช่นนั้นอีก 5 - 6 รอบจนได้ทองคำจำนวนหนึ่งใส่ในถุงแล้วเขาก็ได้เทน้ำโคลนลงดินแล้วหลังจากล้างอ่างน้ำที่บ่อน้ำเสร็จก็หันหลังเดินออกจากหมู่บ้านนั้นพร้อมกับอ่างน้ำและไม้กวนของตน
ผู้คนในหมู่บ้านที่ได้เห็นเหตุการณ์นั้นก็พากันตื่นเต้นดีใจ ต่างพากันกลับไปที่บ้านและนำอ่างน้ำและไม้กวนที่มีลักษณะเดียวกัน ทั้งชวนคนอื่น ๆ มาตักดินจากที่ดินแปลงนั้นแล้วเติมน้ำจากบ่อลงในอ่างน้ำ แล้วนั่งลงใช้ไม้กวนน้ำโคลนซึ่งทำเหมือนอย่างชายชรานั้นทุกประการ พวกเขาได้กวนแล้วกวนอีก เวลาได้ผ่านไปเป็นชั่วโมง ๆ แต่ก็ไม่มีใครเห็นก้อนหินที่มีประกายในอ่างของตนเอง แม้ใช้มือลูบคลำในอ่างน้ำก็ไม่อาจเจอก้อนหินใด ๆ หลายคนเริ่มเบื่อและเหนื่อยกับการกวนที่ไม่อาจได้อะไรเหมือนอย่างชายชรานั้น คนที่ร่ำรวยมีทองคำก็เลิกกวนหาทองคำเพราะตนเองก็มีทองคำมากอยู่แล้ว เด็ก ๆ ก็เลิกกวนน้ำโคลนหาทองคำแล้วกลับไปเล่นกับเพื่อน ๆ เพราะคิดว่าการเล่นสนุกก็ดีกว่า ชายหนุ่มหญิงสาวก็เลิกกวนน้ำโคลนหาทองคำเพราะคิดว่ากลับไปใช้ชีวิตมุ่งหาความรักจะดีกว่า นักธุรกิจจำนวนหนึ่งก็เลิกกวนน้ำโคลนหาทองคำเพราะคิดว่ากลับไปทำธุรกิจของตนจะดีกว่า คนที่ยากจนก็เลิกกวนหาทองคำเพราะคิดว่ากลับไปเป็นขอทานอาจจะได้อะไร ๆ บ้าง ในที่สุดก็เหลือแต่หญิงชรายากจนคนหนึ่งที่ยังคงนั่งกวนหาทองคำอยู่คนเดียว เธอนั่งกวนอยู่อย่างนั้นไม่หยุดตั้งแต่เช้าจดเย็นพอตกกลางคืนก็กลับไปนอนแล้วรุ่งเช้าก็กลับมากวนอีก แต่เธอก็ไม่อาจพบทองคำได้ ถึงกระนั้น เธอก็คงนั่งกวนเช่นนั้นต่อไปอย่างไม่หยุด จนกระทั่งตอนเย็น, ชายชราที่เคยกวนน้ำโคลนแล้วพบทองคำก็ได้กลับมาปรากฎตัวพร้อมทั้งสอบถามหญิงชราว่า ¡°เธอกำลังทำอะไรอยู่?¡± หญิงชราผู้น่าสงสารได้ตอบว่า ¡°เมื่อวันก่อนฉันได้เห็นชายชราคนหนึ่งตักดินใส่อ่างแล้วเติมน้ำที่บ่อแล้วนั่งลงใช้ไม้กวนน้ำโคลน ต่อมาไม่นานก็เห็นก้อนหินที่มีประกายในอ่างน้ำ แล้วเขาก็ได้เอาก้อนหินนั้นไปล้างน้ำแล้วปรากฏว่าหินนั้นคือทองคำ¡± นางได้พูดอย่างอ่อนใจพร้อมทั้งถอนหายใจว่า ¡°ฉันได้พยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนอย่างชายคนนั้น แต่ทำไมฉันจึงไม่อาจกวนพบทองคำได้¡± ชายชรานั้นได้ตรวจดูอ่างน้ำและไม้กวน ทั้งดินและน้ำพร้อมทั้งลักษณะการกวนก็เหมือนกับที่เขาทำทุกประการ ชายชราได้แสดงความประหลาดใจด้วยการเกาศรีษะและอุทานออกมาว่า ¡°เธอก็ทำทุกอย่างเหมือนที่ฉันทำ แต่ทำไมจึงกวนหาทองคำไม่พบ¡± ในที่สุดชายชราก็ค้นพบสาเหตุที่ทำให้หญิงชรากวนหาทองคำไม่ได้ ชายชราได้ตอบว่า ¡°มีอีกสิ่งหนึ่งคือ เวลาที่เธอกวนน้ำโคลนหาทองคำนั้น เธอไม่สามารถที่จะคิดถึงทองคำได้¡± คือการที่จะค้นพบสิ่งมีค่าได้ก็เพราะได้มุ่งหาสิ่งนั้นโดยไม่คิดถึงสิ่งนั้น
พระคัมภีร์มีคำสอนมากมายในเรื่องแผ่นดินสวรรค์หรือแผ่นดินของพระเจ้า เช่นจากมัทธิว 13:44
สิ่งแรกที่พระเยซูตรัสในเรื่องแผ่นดินสวรรค์ก็คือแผ่นดินสวรรค์เป็นเรื่องที่ต้องแสวงหาและจะค้นพบด้วยความบังเอิญ การแสวงหาที่จะทำให้ค้นพบได้นั้นมิใช่เป็นการแสวงหาที่เต็มไปด้วยความคิดในใจถึงสิ่งที่ตนพยายามค้นหา
ความจริงก็คือ มีหลาย ๆ สิ่งที่เป็นของดีที่สุดในชีวิตของเราที่ได้จากการค้นพบอย่างบังเอิญหรือที่ฝรั่งเรียกว่า ¡°accidental discoveries¡± มีคู่สมรสมากมายที่ได้แต่งงานกันก็เนื่องด้วยการค้นพบอย่างบังเอิญ คือต่างฝ่ายต่างมิได้คิดหมายในใจตั้งแต่แรกว่า การที่ได้เริ่มต้นด้วยการทักทายกันในการนมัสการของเช้าวันหนึ่งจะเป็นเหตุให้เริ่มต้นได้รู้จักกัน แล้วต่อมามีโอกาสทำงานรับใช้ในโบสถ์ และในที่สุดก็เกิดความรักกันและแต่งงานกันในที่สุด และบัดนี้ก็มีลูกโตเป็นหนุ่มเป็นสาวพร้อมที่จะมีครอบครัวของตนเอง
พระเยซูตรัสว่า ¡°แผ่นสวรรค์เปรียบเหมือนขุมทรัพย์ซ่อนไว้ในทุ่งนา เมื่อมีผู้ได้พบแล้วก็กลับซ่อนเสียอีก และเพราะความปรีดีจึงไปขายสรรพสิ่งซึ่งเขามีอยู่แล้วไปซื้อนานั้น¡±
ความจริงก็คือ การค้นพบอย่างบังเอิญอาจไม่ใช่เป็นการบังเอิญ แต่เป็นโอกาสที่ผู้นั้นจะเปิดจิตใจออกกว้างในการค้นพบสิ่งที่ดีกว่าประเสริฐกว่าซึ่งนอกเหนือความคิดที่ตนเองได้มุ่งหมายไว้ คนที่ไม่อาจพบของดีโดยบังเอิญได้ก็เป็นคนที่มักมีใจจดจ่อในสิ่งหนึ่ง ๆ ตามความมุ่งหมายของตน คนที่มักกำหนดในใจถึงคนที่จะเป็นคู่ครองของตนว่าจะต้องเป็นเช่นนี้เช่นนั้นก็มักเป็นคนที่มีโอกาสน้อยที่สุดที่จะค้นพบคู่ชีวิตที่เป็นขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่
คนที่จะค้นพบขุมทรัพย์ได้ก็เป็นเหมือนกับชายชราที่กวนหาน้ำโคลนที่ไม่มีค่าอะไรในอ่างน้ำโดยไม่คิดถึงทองคำ คนยิวจำนวนมากที่ปฏิเสธพระเยซู เพราะเขาคิดกวนหาพระมาซีฮาให้ได้ดังใจปรารถนาของเขาซึ่งจะต้องเป็นลักษณะของกษัตริย์ที่มีอำนาจเกรียงไกร หลายคนมาหาพระเยซูก็เพราะเขามีความมุ่งหมายอย่างหนึ่ง ๆ เช่นขอให้รักษาโรคให้หาย หรือให้มีทรัพย์เงินทองชื่อเสียงเกียรติยศ หรือให้ได้โอกาสต่าง ๆ เท่านั้น แต่สิ่งเหล่านั้นแต่ลำพังก็มิใช่ความหมายแผ่นดินสวรรค์หรือเป็นทรัพย์สมบัติที่ซ่อนอยู่
ครั้งหนึ่งเมื่อ 25 ปีที่แล้วขณะที่ผมกำลังแตกหนุ่มเริ่มรู้สึกอยากมีแฟน เวลานั้นก็ได้รู้จักสาวอนุชนในโบสถ์ซึ่งเป็นคนที่ผมคิดหมายปอง ต่อมา ผมมีโอกาสไปเข้าค่ายยุวคริสต์ที่ค่ายอบรมแบ๊บติสต์ หาดจอมเทียนพัทยา ในค่ายนั้นก็มีวิทยากรที่มาเทศนาเป็นประจำคืออาจารย์ศรัณย์ ชัยรัตน์ ท่านมีคำเทศนาที่ผมชื่นชอบมาก และทุกครั้งท่านมักเล่าถึงประสบการณ์ของท่านกับพระเจ้าในเรื่องการทูลอธิษฐานและพระเจ้าก็มีพระดำรัสตอบกลับมา พอผมกลับมาถึงบ้านก็ลงมือเขียนจดหมายทันทีถึงอาจารย์ศรัณย์ซึ่งอยู่ที่พิษณุโลก เล่าให้ท่านฟังว่าผมชอบผู้หญิงคนหนึ่ง พร้อมทั้งระบุว่าเป็นใครชื่ออะไร เป็นลูกหลานของใคร เรียนหนังสือที่ไหน แต่จำไม่ได้ว่าได้บอกส่วนสูงและน้ำหนักด้วยหรือเปล่า รู้แต่ว่าได้เจียรนัยมากมายถึงความเหมาะสมที่จะได้เธอเป็นคู่ครองของผม แต่ผมเองก็ไม่แน่ใจว่า พระเจ้าเห็นด้วยหรือไม่ ผมจึงขอร้องอาจารย์ศรัณย์ว่า กรุณาช่วยทูลถามพระเจ้าว่า สาวคนนี้เป็นคนที่พระเจ้าพอพระทัยที่จะให้เป็นคู่ครองของผมหรือเปล่า?
ต่อมาไม่ถึง 10 วันก็มีจดหมายจากพิษณุโลกส่งมาถึงผม พอได้รับจดหมายก็ดีใจเพราะเข้าใจว่าคงมีคำตอบจากพระเจ้า ตอนนั้นก็รู้สึกดี ได้พูดในใจว่า พระเจ้าก็ตอบเร็วดีเหมือนกัน พอเปิดจดหมายอ่านก็พบว่า ผู้เขียนจดหมายนั้นมิใช่อาจารย์ศรัณย์แต่เป็นคนหนึ่งในทีมของท่านที่ชื่อว่าป้าสุนิภา เนื้อหาที่เขียนในจดหมายก็แสดงออกถึงความเมตตาในลักษณะที่ว่า ¡°หนูมนตรี, ใจเย็น ๆ หน่อย¡± ผมจำไม่ได้ว่าท่านได้เขียนข้อความอะไรบ้าง เพราะสิ่งที่ผมอยากอ่านให้พบคือคำตอบว่า ¡°ใช่¡± หรือ ¡°ไม่ใช่¡± จำได้แต่ว่า เนื้อหาที่เขียนมาเป็นคำแนะนำในลักษณะอบรมสั่งสอนมากกว่า และในตอนท้ายของจดหมายก็ได้แนะให้ผมอ่านพระธรรมมัทธิว 6:33
จากการอ่านพระธรรมดังกล่าวและจากข้ออื่น ๆ ที่อยู่ก่อนหน้าก็เห็นว่า ผมเองไม่ได้กระวนกระวายเรื่องอาหาร, เครื่องดื่ม, หรือเสื้อผ้านุ่งห่ม ถ้ามีความกระวนกระวายก็เป็นเรื่อง ¡°แฟน¡± มากกว่า แต่ถึงอย่างไรก็ตามหากต้องการให้ผมประยุกต์ความหมายของพระธรรมดังกล่าวเข้ากับเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ ของผม ก็คงมีความหมายให้เข้าใจว่า จงละความกระวนกระวายเรื่องคนรักแล้วให้มุ่งแสวงหาแผ่นดินของพระเจ้าและความชอบธรรมของพระองค์ก่อน แล้วพระเจ้าจะประทาน ¡°แฟน¡± ให้เอง เมื่อเข้าใจอย่างนั้นก็ทำให้ซา ๆ ลงในความคิดเรื่องแฟน
ต่อมาไม่นานก็เกิดปิ๊งกับสาวอีกคน ผมก็ใช้วิธีเดิมคือเขียนจดหมายไปหาอาจารย์ศรัณย์เพื่อขอให้ท่านทูลถามขอคำตอบจากพระเจ้าเพื่อยืนยันว่า คนนี้ใช่หรือไม่ ต่อมาไม่เกิน 10 วันก็ได้รับจดหมายตอบกลับมาจากป้า สุนิภา คราวนี้ก็ไม่มีคำตอบเหมือนเดิมและในตอนท้ายของจดหมายก็ย้ำอีกว่า จงแสวงหาแผ่นดินของพระเจ้าและความชอบธรรมของพระองค์ก่อน แล้วพระองค์จะทรงเพิ่มเติมสิ่งทั้งปวงเหล่านี้ให้ จากจดหมายนั้นก็ทำให้ผมยังคงมีความรู้สึกเช่นเดิมคือ ¡°ไม่มีคำตอบจากสวรรค์¡±
หลังจากนั้น แม้ผมเกิดปิ๊งกับสาวคนใดก็ไม่คิดที่จะเขียนจดหมายถึงอาจารย์ศรัณย์อีก ถึงพยายามเขียนถึงอจ.ศรัณย์และป้าสุนิภาก็คงไม่ได้ผลคือไม่อาจรู้คำตอบว่า ¡°ใช่¡± หรือ ¡°ไม่ใช่¡± และบัดนี้ท่านทั้งสองก็ได้ไปอยู่กับพระเจ้าที่เมืองบรมสุขเกษมแล้ว จึงไม่รู้ว่าจะเขียนจดหมายถึงใครได้อีก นับจากเวลานั้นจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ผมก็ยังคงไม่เข้าใจหรือไม่ได้รับคำตอบอะไรที่แน่ชัดในเรื่องดังกล่าว เพียงแต่รู้ว่าหากมีโอกาสถามอีกคงถามว่า ¡°จะเอา¡± หรือ ¡°ไม่เอา¡± มากกว่า อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ก็คือ ผมจะไม่สามารถพบคู่ครองของตนได้ หากเป็นการหาด้วยการคิดถึงแต่คนนั้น ๆ ที่ตนมุ่งมั่น
อะไรคือแผ่นดินสวรรค์? อะไรคือขุมทรัพย์? พระเยซูมิได้ตอบคำถามดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน ความหมายของแผ่นดินสวรรค์เป็นลักษณะการปกครองของพระเจ้าหรือการครอบครองอยู่เหนือของพระเจ้า บางครั้งพระเยซูได้เอ่ยถึงแผ่นดินสวรรค์ในลักษณะของชีวิตนิรันดร์หรือชีวิตที่อุดมครบบริบูรณ์ แม้ว่าพระเยซูไม่ได้ตรัสอย่างชัดเจนว่า ¡°อะไรคือแผ่นดินสวรรค์¡± แต่ก็ได้เฉลยว่า ¡°แผ่นดินสวรรค์เปรียบเหมือนการค้นพบขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ในทุ่งนา¡±
ในบริเวณพื้นที่ในสมัยของพระเยซูนั้น มักมีภัยสงครามเกิดขึ้น เมื่อชาวบ้านได้ยินว่า จะมีข้าศึกรุกเข้ามาในบ้านเมืองของตนเอง ต่างคนก็เอาทรัพย์สมบัติอันมีค่าของตนไปซ่อนในที่ดินหนึ่ง ๆ ซึ่งมีแต่ตนเองเท่านั้นที่รู้ว่าที่ดินตรงไหนมีทรัพย์สมบัติของตนซ่อนอยู่ หลังจากภัยสงครามแล้วจึงค่อยกลับมาขุดทรัพย์สมบัติกลับคืนเป็นของตน แต่บางครั้งคนที่ฝังสมบัตินั้นถูกฆ่าตายหรือเสียชีวิตอย่างกระทันหัน เมื่อเป็นเช่นนั้น สมบัตินั้น ๆ ก็คงถูกฝังต่อไปเรื่อย ๆ เวลาผ่านไปพื้นที่ต่าง ๆ ก็มีการเปลี่ยนมือเปลี่ยนเจ้าของหรืออาจกลายเป็นที่รกล้างซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของ ต่อมาก็มีบางคนมาทำนาหรือขุดหาบางสิ่งในพื้นที่นั้น ๆ ในที่สุดก็ขุดพบขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่โดยบังเอิญ
การค้นพบขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนที่มุ่งแสวงหาบางอย่างด้วยความหิวกระหาย และขณะเดียวกันเป็นคนที่ไม่มีความคิดฝังใจในสิ่งที่ตนกำลังมุ่งหา เพราะถ้าเขาคิดที่จะพบในสิ่งที่อยู่ในความคิดของตน เขาจะไม่สามารถค้นพบอย่างบังเอิญได้ หรืออีกนัยหนึ่งการที่จะค้นพบขุมทรัพย์ได้ก็เป็นอย่างชายชราที่กวนน้ำโคลนหาทองคำโดยที่เขาไม่คิดถึงทองคำเลย
พระเยซูได้ตรัสในมัทธิว 13:52 ว่า หากใครก็ตามมีความเข้าใจเรื่องแผ่นดินสวรรค์แล้วก็จะเป็นดังต่อไปนี้ ¡°ฝ่ายพระองค์ตรัสกับเขาว่า ¡®เพราะฉะนั้นพวกธรรมจารย์ทุกคนที่ได้เรียนรู้ถึงแผ่นดินพระเจ้าแล้วก็เป็นเหมือนเจ้าของบ้านที่เอาทั้งของใหม่และของเก่าออกจากคลังของตน¡¯¡± หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ หากผู้ใดได้เรียนรู้เรื่องแผ่นดินของพระเจ้าแล้ว ผู้นั้นจะเป็นเหมือนคนที่ขุดพบทรัพย์สมบัติที่เอาออกมาจากชีวิตของตนเอง
เราแต่ละคนมีขุมทรัพย์ที่พระเจ้าทรงซ่อนอยู่ในชีวิตของตนเอง การที่จะพบขุมทรัพย์หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับคนนั้น ๆ เข้าใจตามคำตรัสของพระเยซูที่ทรงสอนในเรื่องแผ่นดินสวรรค์ และให้ชีวิตของตนเป็นไปตามคำสอนของพระองค์


(2) คำถามที่ไม่แน่ใจของคนที่มั่นใจ
มัทธิว 11:2-11
เป็นสิ่งที่น่าสังเกตคือหากใครมีภาพลักษณ์ (image) คนหนึ่งคนใดในใจของตน ภาพลักษณ์เช่นนั้นมักบดบังไม่ให้เห็นถึงภาพลักษณ์ลักษณะตรงข้ามของคนนั้น โดยเฉพาะภาพลักษณ์ที่ฝังลึกในจินตนาการของตนซึ่งยากที่จะทำให้ผู้นั้นมองเห็นสิ่งอื่น ๆ ที่แตกต่างจากภูมิความคิดของตนเอง เรามักมีความคิดอย่างนั้นกับคนที่เราเคยเกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์ก่อนหน้า แม้แต่การคิดถึงบุคคลต่าง ๆ ในพระคัมภีร์ก็มักมองเห็นแต่เฉพาะด้านหนึ่ง ๆ ของใครต่อใครในพระคัมภีร์แล้วทึกทักว่า คนนั้น ๆ ก็เป็นเช่นนั้นแต่เพียงอย่างเดียว
เราคงจดจำเรื่องที่เปโตรได้ปฏิเสธพระเยซูถึง 3 ครั้งแต่เราก็ลืมไปว่า เปโตรมีคำเทศนาที่ทรงพลานุภาพที่สุดดังที่บันทึกไว้ในพระธรรมกิจการ หรือเรามักเห็นถึงสตรีหลายคนที่มาอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากพระเยซู แต่ก็ลืมไปว่า พระเยซูต้องรับการอุปถัมภ์ด้านการเงินจากสตรีและการที่สตรีเป็นพวกแรกที่ได้พบเห็นและออกประกาศถึงการเป็นขึ้นจากความตายของพระเยซูเจ้าในขณะที่ชายทุกคนได้หนีไปหลบซ่อนตัว เราจดจำถึงเรื่องของกษัตริย์ดาวิดที่ได้ล่วงละเมิดทางเพศกับนางบัทเชบา แต่ลืมถึงเรื่องความกล้าหาญและความอ่อนน้อมถ่อมใจและความจงรักภักดีที่มีต่อพระเจ้า เราทั้งหลายมักถูกจำกัดอยู่ในบริบทของประเพณีหรือค่านิยมในสังคมที่มักทำให้เรายังคงจดจำถึงความเลวร้ายหรือความผิดพลาดของผู้อื่นและลืมความดีหรือคุณค่าของกันและกัน หรือตรงกันข้าม บางครั้ง เรามักจดจำในความดีหรือเหตุการณ์อันประทับใจและพอใจที่จะลืมในสิ่งอื่นซึ่งตรงกันข้ามโดยเฉพาะในเรื่องของตนเองหรือพวกพ้อง
ความจริงที่เราควรจะจำจดเสมอก็คือ เราทั้งหลายทุก ๆ คนต่างมีความหลากหลายมากกว่าที่จะถูกตัดสินด้วยความนึกคิดเพียงอย่างหนึ่ง ๆ หรือจำกัดคนหนึ่ง ๆ ด้วยฐานะหรือตำแหน่งหนึ่ง ๆ หรือการที่ผู้นั้นได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หนึ่ง ๆ หรือการมีประสบการณ์หนึ่ง ๆ เท่านั้น คงเป็นความสูญเปล่าและเสียเวลาโดยใช่เหตุในการพิพากษาใคร โดยเฉพาะการที่เราเพียงแต่คำนึงถึงเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ของคนนั้น ๆ แล้วสรุปว่าชีวิตทั้งสิ้นของผู้นั้นก็คือเช่นนั้นเอง ความจริงก็คือ เราทุกคนต่างเป็นคนที่ดีกว่าหรือมีคุณค่ามากกว่าความผิดพลาดหรือความชั่วร้ายอย่างหนึ่ง ๆ ของผู้นั้น ตราบใดที่แต่ละคนยังคงมีลมหายใจอยู่ ทุกคนยังคงเป็นนาฏกรรมอันมีชีวิตที่คงเคลื่อนไหวซึ่งสามารถผลิตเรื่องราวที่น่าสนใจหรือสิ่งที่มีคุณค่าได้ เราทุกคนไม่ควรถูกประทับตรา, ถูกแขวนยี่ห้ออย่างถาวรเนื่องด้วยชีวิตในอดีตเพียงฉากเดียวเท่านั้น เราทั้งหลายไม่ควรที่จะทำเช่นนั้นกับใครก็ตามที่อยู่รอบข้าง และไม่สมควรที่จะทำอย่างนั้นกับใครต่อใครที่ปรากฏในพระคริสต์คัมภีร์หากเรามีโอกาสศึกษาเรียนรู้เพื่อให้ได้ประโยชน์จากความจริงอันเป็นพระวจนะของพระเจ้า
ให้เราพิจารณาดูชีวิตของยอห์นบัพติศโต ไม่ทราบว่าเรายังคงจดจำอะไรที่เกี่ยวข้องกับท่านผู้นี้บ้าง เราคงจำได้ถึงการเทศนาในถิ่นทุรกันดารที่เรียกร้องให้ประชาชนกลับใจเสียใหม่ การสวมเสื้อผ้าที่ทำด้วยขนอูฐและใช้หนังสัตว์คาดเอว อาหารที่ท่านรับประทานคือจักจั่นและน้ำผึ้งป่า เราคงเห็นภาพที่ท่านได้เรียกพวกสะดูสีและฟาริสีที่น่านับถือที่สุดในเวลานั้นว่า ¡°เจ้างูร้าย¡± สิ่งที่เราได้เห็นจากชีวิตของยอห์นบัพติศโตคือความเด็ดเดี่ยวมั่นคง, มีความกล้าหาญ, เต็มไปด้วยพละกำลัง ท่านเป็นคนที่มั่นใจและเป็นคนแรกที่ประกาศการเริ่มต้นออกกระทำพระราชกิจของพระเยซู ในวันที่ยอห์นเห็นพระเยซูเสด็จมาหาก็ได้ประกาศว่า ¡°จงดูพระเมษโปดกของพระเจ้า ผู้ทรงรับความผิดบาปของโลกไปเสีย¡± (ยอห์น 1:29) ท่านมีความมั่นใจว่า พระเยซูทรงเป็นพระมาซีฮา ทรงเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของโลก
แต่จากพระธรรมมัทธิว เราได้เห็นถึงอีกภาพหนึ่งของยอห์นบัพติศโตซึ่งแตกต่างอย่างยิ่งจากภาพก่อนหน้าซึ่งเป็นภาพที่สว่างไสวเต็มไปด้วยสีสันอันรุ่งโรจน์ ภาพที่ปรากฏในมัทธิว 11:2-11 ก็แสดงให้เห็นถึงชีวิตของยอห์นที่เป็นภาพสีเทาสลัว ๆ ซึ่งเราอาจไม่เชื่อว่าเป็นคนเดียวกัน เพราะบัดนี้ ยอห์นบัพติศโตกำลังถูกจำขังในคุก และไม่เพียงเท่านั้น สิ่งที่เป็นคำถามที่พูดออกมาจากปากของท่านก็เป็นคำถามที่เราอาจไม่คิดเลยว่าเป็นคนเดียวกันที่เคยประกาศอย่างมั่นใจว่าพระเยซูทรงเป็นใคร ยอห์นกำลังสงสัยและต้องการที่จะให้พระเยซูยืนยันว่า พระองค์เป็นใครกันแน่ เราทั้งหลายคงเห็นด้วยว่า ในบรรดาใครต่อใครก็มียอห์นบัพติศโตที่เป็นคนที่รู้แน่ชัดที่สุดว่า พระเยซูทรงเป็นใคร แต่ท่านกลับส่งศิษย์ของตนไปถามพระเยซูว่า ¡°ท่านเป็นผู้ที่จะมานั้นหรือ หรือจะต้องคอยผู้อื่น¡±
อะไรได้เกิดขึ้นกับคนที่มีความแน่ใจและมั่นใจ อะไรได้ทำให้ยอห์นผู้ที่มีความกล้าหาญเต็มไปด้วยความคิดที่มั่นคงต้องกลายเป็นคนที่มีความสงสัยขึ้นมา ก่อนหน้านี้ ยอห์นได้รู้แน่แท้ว่า พระเยซูทรงเป็นพระมาซีฮาจริง ๆ แต่บัดนี้กลับไม่มีความแน่ใจ อะไรกำลังเกิดขึ้นในจิตใจของคนที่มีความมั่นใจที่ตั้งคำถามแสดงถึงความไม่แน่ใจ มีอะไรกำลังเกิดขึ้นกับคนที่ถามลูกที่ตนคลอดออกมาและเลี้ยงจนโตกับมือของตนด้วยคำถามว่า เธอเป็นลูกของฉันแน่หรือ?
สิ่งที่เราควรตระหนักเสมอก็คือ ความสงสัยอย่างนั้นได้เกิดขึ้นเช่นเดียวกับความมั่นใจที่ได้เกิดขึ้นก่อนหน้า เราทั้งหลายทุกคนต่างมีช่วงเวลาแห่งการอุทิศถวายที่มีพลังอันเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวเช่นเดียวกับช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความไม่แน่ใจขาดความเชื่อมั่นเกิดความท้อแท้หมดกำลังใจ เวลานั้นยอห์นกำลังจะถูกตัดศรีษะเนื่องจากกษัตริย์ที่ขลาดเขลาที่ได้รับปากสัญญาจะให้ทุกอย่างกับหญิงที่สร้างความรัญจวนใจเนื่องด้วยการเต้นรำในงานเลี้ยงอาหารค่ำ เราได้เห็นถึงชีวิตของยอห์นซึ่งกำลังจะจบลงด้วยสาเหตุอันน่าอดสู คนที่ก่อนหน้าได้ประกาศสัจจธรรมต่อทุกคนทุกระดับและดำเนินชีวิตด้วยความชอบธรรม แต่กำลังจะจบชีวิตลงด้วยคนที่ไร้คุณธรรมที่เพียงแต่ต้องการรักษาวาจาที่ไร้สติอย่างสิ้นเชิง
ในช่วงชีวิตสุดท้ายของยอห์นที่กำลังถูกจำจองอยู่ในคุกเพื่อรอการตัดศีรษะก็เป็นเวลาที่ยอห์นกำลังมีคำถามที่แสดงให้เห็นถึงความไม่แน่ใจในพระเยซู ยอห์นมีคำถามที่ต้องการได้รับคำตอบ ต้องการความกระจ่างยอห์นรู้ว่า พระเยซูเท่านั้นซึ่งเป็นผู้ที่ทำให้ยอห์นเกิดคำถามก็เป็นคนเดียวกันที่จะให้คำตอบได้
การมีคำถามไม่ใช่เป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่การที่มีคำถามแล้วไม่ได้รับอนุญาตให้ถามเป็นสิ่งที่เลวร้าย คำถามเป็นสื่อหรือหนทางแห่งการที่จะรักพระเจ้าด้วยสิ้นสุดความคิด โดยทางคำถามก็เป็นการนำเราให้ก้าวต่อไปและเพิ่มพูนความเข้าใจในเรื่องที่มีความสำคัญ เราไม่ควรมองข้ามถึงคำถามของยอห์นหรือคำถามของใครก็ตาม หรือแม้แต่คำถามที่เป็นข้อสงสัยของตนเอง บางครั้งการมีคำถามที่ดีอาจมีความสำคัญมากกว่าการได้รับคำตอบที่พึงพอใจ
การมีคำถามอาจทำให้เกิดความอึดอัด บ่อยครั้ง, การตั้งคำถามในคริสตจักรอาจทำให้เห็นเป็นเครื่องหมายแห่งการขาดความเชื่อหรือการก่อกวน เช่นเดียวกับภายในบ้านที่บางคนเห็นว่าการมีคำถามเป็นเรื่องการล่วงละเมิด แต่ความจริงอาจมิใช่เป็นเช่นนั้น คำถามก็เป็นเพียงช่องทางที่จะเปิดความคิดของตนให้กระจ่างหรือให้พ้นจากการถูกจำกัดหรือการมีความคิดที่ถูกพันธนาการ คำถามของเราเป็นสื่อที่จะเสาะหาความจริงในสิ่งหนึ่ง ๆ และสามารถสะท้อนถึงสภาพจริงของตนเอง บางทีจากคำถามของเราอาจทำให้เห็นถึงความแตกต่างของตนเองกับคนอื่นไม่ว่าคนในครอบครัว, ครูบาอาจารย์, หรือศาสนาจารย์, หรือพี่น้องคริสเตียนอื่น ๆ หรือเราอาจพบเห็นว่า เราก็มีความคิดเห็นสอดคล้องกับคนอื่นเมื่อเราได้ถามคำถามออกไป ทุก ๆ คนควรมีสิทธิเสรีที่จะคงความคิดที่เป็นของตนเอง หากปราศจากเสรีภาพในการถามก็ปราศจากการได้รับคำตอบที่ตรงกับสภาพจริงของผู้นั้น ถ้าเราไม่อาจรับการเรียนรู้จากสภาพชีวิตจริงของเรา การเรียนรู้นั้นอาจไม่สมจริงหรือไม่เกิดคุณประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม
เสรีภาพแห่งการตั้งคำถามที่สามารถถามในสิ่งที่คาค้างในใจของตนก็เป็นการเปิดโอกาสให้คนนั้น ๆ เป็นบุคคลดังที่ควรจะเป็น และที่สำคัญเป็นการปฏิบัติต่อกันด้วยศักดิ์ศรีและการให้เกียรติต่อกันและกัน
ในสมัยตอนเป็นเด็ก ผมได้เลี้ยงปลาทองตัวเล็ก ๆ จำนวนหนึ่งไว้ในตู้ปลา ต่อมามีคนแนะนำว่า ทำไมไม่เลี้ยงปลาทองในบ่อน้ำบ้าง ผมก็ว่า ถ้าปล่อยปลาทองที่ยังเล็ก ๆ อยู่ลงในบ่อ บางทีปลาทองจะว่ายน้ำหลงทางและอาจจมน้ำตายเพราะบ่อน้ำก็กว้างและลึก คนที่แนะนำผมก็ได้แต่หัวเราะ เราทุกคนอาจมีสิ่งที่สร้างความฉงนให้แก่ตนเอง แต่ถ้าเรามีคำถามที่ได้ถามออกไป บางทีอาจเป็นโอกาสที่เราจะได้รับการปลดปล่อยซึ่งสามารถว่ายออกไปในท้องน้ำกว้างใหญ่แห่งความเข้าใจ
ก่อนหน้านี้ยอห์นบัพติศโตได้ประกาศการเป็นพระมาซีฮาของพระเยซูในขณะที่ท่านเป็นผู้เผยพระวจนะของพระเจ้าที่กำลังรับใช้อยู่ในโลกกว้างที่มีอิสระ แต่ในขณะที่ตนเองกำลังติดอยู่ในคุกอันจำกัดและคับแคบและอีกไม่นานจะถูกประหารชีวิต ยอห์นได้เริ่มตั้งคำถามใหม่ถามพระเยซูว่า ¡°ท่านเป็นผู้นั้นหรือ¡±? จากคำถามนั้นเอง พระเยซูได้ชี้แจงถึงการเป็นพระมาซีฮาซึ่งตรงตามความหมายของพระธรรมที่อ้างอิงจากพระธรรมอิสยาห์ แม้ว่ายอห์นกำลังอยู่ในสถานการณ์เช่นใด พระเยซูก็ทรงเป็นพระมาซีฮาของทุกคนรวมทั้งยอห์นด้วย
การมีความมั่นใจในพระเยซูและการเกิดความสงสัยเนื่องจากที่เคยมั่นใจในพระองค์ก็เป็นประติทรรศน์ (paradox) ซึ่งมีสิ่งตรงข้ามอยู่คู่กันที่เกิดขึ้นในคนเดียวกัน แต่ถึงกระนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตเช่นนั้น พระเยซูได้ตรัสว่า ¡°เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ในบรรดาคนซึ่งเกิดจากผู้หญิงมานั้น ไม่มีผู้ใดใหญ่กว่ายอห์นผู้ให้รับ บัพติศมา แต่ว่าผู้ที่ต่ำต้อยที่สุดในแผ่นดินสวรรค์ก็ยังใหญ่กว่ายอห์นเสียอีก¡±
การติดตามพระเยซูอาจเริ่มต้นจากความเชื่อวางใจและมั่นใจในพระเยซู แต่ก็มีบ่อยครั้งที่เกิดคำถามที่ไม่แน่ใจในพระเยซูเช่นเดียวกับยอห์น แต่พระเยซูได้ตรัสถึงคนที่มีความมั่นใจแต่มีคำถามที่ไม่แน่ใจว่า ¡°ในบรรดาคนซึ่งเกิดจากผู้หญิงมานั้น ไม่มีผู้ใดใหญ่กว่ายอห์นผู้ให้รับบัพติศมา¡± นอกจากนั้น พระเยซูยังตรัสเสริมต่อไปว่า ส่วนคนที่แสวงหาแผ่นดินด้วยใจร้อนรนจนกระทั่งได้แผ่นดินสวรรค์เป็นของตนก็เป็นคนที่ใหญ่กว่ายอห์นเสียอีก
พระเยซูได้ตรัสว่า แผ่นดินสวรรค์มาใกล้แล้วและพระองค์ทรงเป็นผู้ที่นำแผ่นสวรรค์มาตั้งอยู่ในโลกนี้ จากการติดตามพระเยซูคริสต์นี้เอง ก็เป็นการเข้าสู้อาณาจักรของพระเจ้าอันไพศาลอันไม่จำกัดซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าองค์ยิ่งใหญ่สูงสุด
ในการระลึกถึงการทรงเป็นขึ้นจากความตายของพระเยซูคริสต์เจ้านั้น สิ่งที่สำคัญก็คือ พระเจ้าได้ยินยอมให้พระบุตรที่ทรงรักยิ่งนั้นถูกทรมานและสิ้นพระชนม์ แต่พระบุตรองค์เดียวกันที่ยอมเชื่อฟังพระบิดาจนถึงที่สุดก็ทรงเป็นขึ้นจากความตาย อุโมงค์เดียวกันที่เป็นที่ฝังพระศพก็กลายเป็นอุโมงค์เดียวกันที่ว่างเปล่า
การมีคำถามข้อสงสัยที่แสดงความไม่แน่ใจในพระเยซูของคนที่มีความศรัทธาในพระองค์และกำลังมีชีวิตที่ดูเหมือนสูญเปล่าทุกข์ทรมานและกำลังจะหมดอนาคตนั้น ในสายพระเนตรของพระเยซูกลับทรงเห็นว่า ¡°ในบรรดาคนซึ่งเกิดจากผู้หญิงมานั้น ไม่มีผู้ใดใหญ่กว่ายอห์นเสียอีก¡±
บางทีเรา ๆ ท่าน ๆ ก็อาจเป็นอย่างนั้นเช่นกัน

(3) ข้าพเจ้าผู้ซึ่งมิใช่ข้าพเจ้า แต่พระคริสต์ต่างหาก
กาลาเตีย 2:20
จำนวนคนที่เป็นคริสเตียนก็มีมากมายและหลากหลาย ผู้ที่เป็นคริสเตียนล้วนเป็นคนที่เชื่อว่าพระเยซูคือองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ช่วยให้รอด แต่ในท่ามกลางคริสเตียนซึ่งมีมากมายเป็นสิบ ๆ คณะก็ไม่ได้มีการยืนยันยอมรับเสมอไปว่า ทุก ๆ คนที่อ้างตนว่าเป็นคริสเตียนแล้วจะมีคริสเตียนอื่น ๆ ยินยอมร่วมสัมพันธ์หรือใช้ชีวิตกับคริสเตียนนั้น ๆ ทันที แม้ต่างฝ่ายต่างเป็นคริสตศาสนิกชน แต่เราก็เห็นถึงพ่อแม่ที่อยู่ในคริสตจักรแบ๊บติสต์ซึ่งไม่ประสงค์ที่จะส่งลูกของตนไปเรียนรู้เรื่องความเชื่อกับบาดหลวงหรือแม่ชีในโรงเรียนเคธอริก หรือไม่ต้องการให้ลูกของตนเรียนพระคัมภีร์กับกลุ่มเคลิสเมติก นอกจากนั้นในกลุ่มคริสเตียนที่เป็นโรมันเคธอริก, นาซารีนส์, เพรสไบทีเรียน, เมธอลิสต์, แบ๊บติสต์, เพ็นเตคอส, และอื่น ๆ คงไม่ยอมรับกลุ่มมอร์มอนหรือลัทธิมูนเป็นคริสเตียนตามความเชื่อในบริบทของคริสตศาสนาศาสตร์พระคัมภีร์ใหม่ (New Testament Christology) เพราะกลุ่มเหล่านั้นต้องการขยายเพิ่มเติมเรื่องอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากขอบเขตคริสตศาสนศาสตร์ของพระคัมภีร์ใหม่
เป็นความจริงที่ว่า การที่จะอ้างตนว่าเป็นคริสเตียนที่แท้จริงมิใช่เพียงเพราะการตั้งชื่อตนเองให้เหมือนอย่าง คริสเตียนทั่ว ๆ ไป หรือไม่ใช่เพราะตนได้ทำอะไรที่คริสเตียนอื่น ๆ ทำกันแล้วสามารถสรุปว่า ผู้นั้นคือคริสเตียน ผมคงไม่ได้กลายเป็นคนอเมริกันทันทีหากผมเพียงแต่กินฮ๊อดด๊อก, แฮมเบอร์เกอร์, ดื่มโค๊กเป็นประจำ และขับรถไปไหนมาไหนด้วยรถฟอร์ต, และสามารถพูดภาษาอังกฤษอย่างต่อยหอยได้ การเป็นคนอเมริกันคงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการมีสัญชาติอเมริกันเป็นสำคัญ
แม้ผมเห็นว่า บรรดาพี่น้องมอร์มอนเป็นคนที่เอาจริงเอาจังในการประกาศศาสนา เป็นมิชชั่นนารีที่สะอาดเรียบร้อย มีครอบครัวที่อบอุ่นไม่ละเมิดศีลธรรมทางเพศ เป็นประชากรที่ดีมาก ๆ ที่แสดงความอารีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แต่ผมก็เห็นว่า แม้มอร์มอนนับว่าเป็นคริสเตียนหรือมีชื่อที่เรียกตนเองว่า ¡°The Church of Jesus Christ of Latter Day Saints¡± หรือมีความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวกันที่ทรงเป็นพระบิดา, พระบุตร, และพระวิญญาณบริสุทธิ์ซึ่งเป็นพระเจ้าแห่งตรีเอกานุภาพก็ตาม แต่การยืนยันตนเองเช่นนั้นก็ไม่ได้จัดว่า มอร์มอนมีความเชื่อในพระเยซูตามคริสตศาสนศาสตร์ของพระคัมภีร์ใหม่ เพราะทุกครั้งที่พี่น้องมอร์มอนไปเคาะประตูเยี่ยมใครตามบ้านก็มักจะมีอะไรอื่น ๆ อีกที่จะบอกกล่าวในเรื่องความเชื่อที่นอกเหนือจากที่กล่าวไว้ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ใหม่ด่งบกสนบอกเล่าว่า พระเจ้าได้ทรงสำแดงเป็นพิเศษต่างหากด้วยการประทานให้มีคัมภีร์มอร์มอนอีกเล่มหนึ่ง
แต่ถึงกระนั้น ผมก็ไม่เคยขัดข้องที่จะคบหากับมอร์มอนหรือใครก็ตามที่อ้างตนว่าเป็นคริสเตียน แม้ว่าผมกับผู้นั้นมีความเชื่อในคริสตศาสนศาสตร์พระคัมภีร์ใหม่ที่แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ คนที่ไม่ยึดถือหรือไม่ได้เชื่อถือในคริสตศาสนศาสตร์ของพระคัมภีร์ใหม่อย่างจริงจังหรือคนที่ไปไกลล้ำหน้าคริสตศาสนศาสตร์ของพระคัมภีร์ใหม่อย่างเช่นกลุ่มมอร์มอนหรือลักธิมูนนั้น พวกเขาล้วนเป็นพี่น้องคริสเตียนที่ผมควรคบค้าสมาคมด้วย คนที่มีความเชื่อที่แตกต่างจากผมหรือการที่ผมมีความเชื่อที่แตกต่างจากผู้นั้นก็ไม่ได้มีผลที่จะกีดกันไม่ให้เราสมาคมร่วมสัมพันธ์กันในฐานะที่เราต่างเป็นคริสเตียน แต่ถึงกระนั้น การมีความสัมพันธ์ต่อกันหรือการติดต่อกันควรมีหลักเกณท์บางอย่างที่ต่างใช้ยึดถือเหมือนกัน มิเช่นนั้น การเกี่ยวข้องกันนั้น อาจก่อให้เกิดการเป็นปฏิปักษ์หรือกลายเป็นศัตรูมากขึ้นหรือตรงข้ามเป็นการหลอกลวงเสแสร้งใส่หน้ากากเล่นละครเข้าหากันมากกว่า คือเราควรที่จะร่วมสัมพันธ์ต่อกันไปเรื่อย ๆ หากเราต่างตั้งมั่นในความซื่อตรงที่อยู่บนฐานแห่งความรักอันไม่จำกัด (Unconditional Love) เพราะความสัตย์จริงเช่นนั้นเป็นบทนำหรือ prelure แห่งการร่วมกันรับใช้ในท่ามกลางจารีตประเพณีที่หลากหลาย
Robert R. Kopp ซึ่งเป็นศิษยาภิบาลคนหนึ่งที่มีคำเทศนาที่ผมชื่นชอบ ท่านได้เล่าเรื่องการเสวนากับอีกฝ่ายซึ่งมีความเชื่อตรงกันข้ามกับตนเองและต่างฝ่ายต่างยังคงมีความสัตย์จริงต่อกัน ครั้งหนึ่งท่านได้ไปพูดในการสัมมนากับรับบีในศาสนายิวที่มหาวิทยาลัย Cranford ใน New Jersey ถึงเรื่องการวางรางหญ้าที่มีกุมารน้อยบรรทมอยู่ในที่สาธารณะระหว่างช่วงเทศกาลคริสตมาส หลังจากที่ท่านได้อภิปรายในที่ประชุมถึงเรื่องศาสนศาสตร์ของคริสเตียนที่ไม่อาจลงรอยกับศาสนศาสตร์ของชาวยิวในเรื่อง ¡°พระเยซู¡± ที่ทรงเป็นพระมาซีฮา ทันใดนั้นก็มีรับบีสูงอายุท่านหนึ่งยืนขึ้นพูดว่า ¡°สหายคริสเตียนของเรานั้นพูดถูกต้อง และผมคงจะต้องถูกปรับโทษถึงความพินาศแน่ถ้าหากคำพูดของเขานั้นถูกต้อง แต่ผมก็อยากเอาวิญญาณของผมเป็นเดิมพัน (betting) ว่าเขาเป็นฝ่ายที่ไม่ถูกต้องเช่นเดียวกับที่เขาเดิมพันว่าเขาเป็นฝ่ายที่ถูกต้อง¡± Kopp ได้พูดต่อไปอีกว่า ความจริงก็คือ ¡°ความรอดเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับพระเจ้าเท่านั้น¡± ตัวเขาเองเป็นคนที่เล็กน้อยเกินกว่าที่จะตัดสินว่าใครจะรอดหรือไม่รอด จากการประชุมในคืนนั้นที่วิทยาลัย Cranford ซึ่งไม่อาจลงเอยกันได้นั้น ได้ปรากฎสิ่งหนึ่งที่แน่ชัดก็คือ ¡°ความสัตย์จริง¡± ที่เกิดขึ้นในที่ประชุมนั้นได้ส่งเสริมให้มีการพูดคุย (dialogue) และการร่วมกันรับใช้กันและกันในท่ามกลางศาสนาต่าง ๆ หรือการมีศาสนสัมพันธ์ (interfaith) ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องหนึ่ง ๆ ที่แตกต่างกัน
การที่เรายืนยันถึงความแตกต่างของตนต่อกันก็เป็นการสถาปนาความน่าเชื่อถือที่มีวุฒิภาวะและสามารถเกื้อกูลให้บรรลุถึงเป้าหมายหรือความสำเร็จ คือก่อนที่จะปฏิสันถารที่จะไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันก็ควรที่จะให้เป็นอย่างที่แม่ชีคนหนึ่งที่อยู่ใน Maryland ได้กล่าวว่า ¡°ถ้าคุณผิด, คุณก็ไม่สมควรที่จะโต้เถียง แต่ถ้าคุณถูก, คุณก็ไม่จำเป็นที่จะต้องโต้แย้งใด ๆ ¡° คือทุกคนจะต้องยืนหยัดบนความจริงเป็นสำคัญ
Kopp ได้เล่าถึงประสบการณ์การศึกษาของท่านในไฮเดนเบิร์กประเทศเยอรมันเมื่อปี 1973 ท่านมีโอกาสเรียนกับนักศาสนศาสตร์คนหนึ่งที่มีชื่อว่า Dr. Wolfgang Lswe ซึ่งเป็นนักศาสนศาสตร์ร่วมสมัยอันมีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งซึ่งยอมรับตนเองเป็นส่วนตัวว่า เขาเป็นคริสเตียนที่ฝักใฝ่ในลัทธิมาร์กซ์ (A Christian-Maxist) ตอนนั้น Kopp ก็เหมือนกับนักศึกษาต่างประเทศทั่วไปที่ต้องพยายามคล้อยตามอาจารย์ผู้สอนเพื่อที่จะให้ตนสอบผ่านแล้วจะได้ไปเรียนต่อในระดับปริญญาเอกได้ ตัวเขาเองก็เคยเป็นทั้งนักศึกษาและอาจารย์ในวิทยาลัยพระคริสตธรรมมาก่อนคือเขาต้องคล้อยตามการสอนของอาจารย์หรืออาจารย์ก็อยากได้ศิษย์ที่คล้อยตามการสอนของตน เพราะประสบการณ์การเรียนการสอนในวิทยาลัยพระคริสตธรรมก็แตกต่างจากที่มีในคริสตจักรเพราะอนาคตของนักศึกษาแต่ละคนจะต้องขึ้นอยู่กับคะแนนและการแนะนำของอาจารย์หากนักศึกษาผู้นั้นต้องการที่จะศึกษาต่อ เมื่อเป็นเช่นนั้น Kopp จึงพยายามที่จะแสดงความรู้ในสิ่งที่ คาร์ล มาร์กซ์ ได้พูดไว้ในการอภิปรายที่ชั้นเรียนหรือใน paper ของเขา จนกระทั่งวันหนึ่ง Dr. Lswe ได้เรียก Kopp ไปพบในห้องทำงานของท่านซึ่งตอนแรก Kopp คิดว่าคงเรียกตัวมาเพื่อการชมเชย หลังจากที่ Kopp ก้าวเข้าไปในห้องทำงานแล้ว Dr. Lswe ได้พูดอย่างหนักแน่นชัดเจนว่า ¡°Kopp, ผมรู้ว่าคุณเป็นนักศาสนศาสตร์ชาวอเมริกันที่กำลังศึกษาเพื่อเตรียมตัวไปเรียนต่อปริญญาเอกที่ปรินส์ตัน ผมรู้ว่าคุณตั้งใจที่จะเป็นศิษยาภิบาลหรืออาจารย์สอนพระคริสตธรรมในอนาคต ผมจึงขอความกรุณาจากคุณอย่างหนึ่งได้หรือไม่ว่า ให้คุณเริ่มต้นพูดอย่างคริสเตียนและหยุดพูดเหมือนอย่าง Marxist เพื่อที่ผมจะได้เชื่อถือคุณได้¡± หรืออีกนัยหนึ่งคือ ¡°ให้เป็นตัวของตนเอง ให้เป็นของแท้ ไม่ใช่ของปลอม¡±
จากการเรียนรู้ถึงการใช้ชีวิตก็พบว่า ¡°ความสัตย์จริงเป็นนโยบายที่ดีที่สุด¡± (Honesty is the best policy) ความสัตย์จริงเริ่มต้นจากการสำรวจและประเมินตนเองก่อน หลังจากที่รู้ว่าตนเป็นใครแล้วจึงสามารถที่จะอธิษฐานหรือทำงานเพื่อที่จะให้บรรลุถึงการเป็นคนเช่นนั้นได้
ความสัตย์ซื่อก็กระทำให้เห็นภาพความจริงในจิตใจของตนได้ชัดเจน เพราะความซื่อสัตย์กระทำให้จิตใจของตนได้รับการขัดเกลาซึ่งก่อให้ความนึกคิดที่เป็นแง่ลบถูกแทนที่ด้วยความคิดที่เป็นแง่บวก หากใครก็ตามที่มีอิทธิพลทางความคิดที่เป็นบวก ผู้นั้นจะเกิดสันติสุขในจิตใจและสามารถประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงานต่าง ๆ การที่จะได้ความคิดที่เป็นแง่บวกก็ต้องเริ่มต้นด้วยการมีใจที่สัตย์ซื่อเป็นเบื้องต้น
ครั้งหนึ่ง ผมมีโอกาสฝึกเล่นเทนนิสกับครูสอนเทนนิสคนหนึ่ง ครูได้บอกว่า ผมจะต้องฝึกฝนจนกระทั่งเกิดความคิดและความรู้สึกว่า ไม้เร็ตเก็ตที่ใช้ตีลูกเทนนิสนั้นเป็นเหมือนแขนของผมจนถึงขั้นลืมไปเลยว่าผมกำลังถือไม้เร็ตเก็ตอยู่ในมือ คือถ้าผมตบตีลูกเทนนิสด้วยไม้เร็ตเก็ตโดยมีความรู้สึกเหมือนกับกำลังใช้ฝ่ามือของผมตบลูกเทนนิส ผมจะสามารถหวดลูกเทนนิสให้ไปตกที่จุดซึ่งผมต้องการ หลังจากได้ฝึกตามที่ครูได้สอนก็ได้ผลตามอย่างที่ครูได้พูดไว้
เทคนิคดังกล่าวก็ใช้กับการตีกอล์ฟได้เหมือนกัน คือนักกอล์ฟต้องฝึกให้เคยชินจนกระทั่งรู้สึกว่า ไม้ตีกอล์ฟเป็นแขนของเขา และลูกกอล์ฟกับหลุมกอล์ฟเป็นคู่รักที่เพิ่งผ่านพิธีแต่งงานใหม่ ๆ ซึ่งรักใคร่ดื่มด่ำเสห่หาต่อกันซึ่งกำลังถูกส่งตัวไปฮันนีมูนยังหมู่เกาะแดนสวรรค์เพื่อเป็นของกันและกันในหลุมรักอันเปี่ยมสุขล้น หากเป็นเช่นนั้นจริง ก็จะเกิดไทเกอร์ วูดส์เพิ่มขึ้น เพราะคนนั้น ๆ จะสามารถตีลูกกอล์ฟในลักษณะสั่งลูกกอล์ฟให้ไปลงในหลุมดังใจปรารถนาได้
สิ่งที่กล่าวไปก็มีความหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นคริสเตียน คือถ้าหากเราต้องการที่จะเป็นคริสเตียนซึ่งเป็นตัวแทนของพระคริสต์ในโลกนี้ เราทั้งหลายจำเป็นที่จะต้องเป็นสาวกของพระองค์ที่มีเป้าหมายหรือความมุ่งหมายตามคำกล่าวของเปาโลที่ว่า ¡°ข้าพเจ้าเองไม่มีชีวิตอยู่ต่อไป แต่พระคริสต์ต่างหากที่ทรงมีชีวิตอยู่ในข้าพเจ้า¡± (กาลาเตีย 2:20)
ถ้าพระเยซูทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าในชีวิตของเราก็หมายความว่า พระองค์ทรงนำและทรงควบคุมชีวิตของเราอย่างแท้จริง การพูด, การดำเนินชีวิต, การกระทำของเราจึงควรเป็นเหมือนอย่างพระองค์ ถ้ามีคนถามว่า เราจะเป็นเหมือนพระเยซูได้อย่างไร? ผมก็ขอตอบว่า ¡°ให้อ่านพระคริสต์ธรรมภาคพันธสัญญาใหม่¡± หากถามต่อไปให้ชัดเจนมากขึ้นก็ขอตอบว่า ¡°ให้อ่านคำเทศนาบนภูเขาของพระเยซู (มัทธิว บทที่ 5-7) หรือถ้ามีคนต้องการให้พูดเจาะจงมากขึ้น ก็ขอตอบว่า ¡°พระเยซูตรัสว่า ¡®จงรักพระองค์ผู้เป็นพระเจ้าของเจ้าด้วยสุดจิตสุดในของเจ้า ด้วยสุดกำลังและสิ้นสุดความคิดของเจ้า และรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง¡¯¡± นอกจากนั้นพระเยซูยังตรัสต่อไปอีกว่า ¡°ให้เจ้าทั้งหลายรักซึ่งกันและกัน เรารักเจ้าทั้งหลายมาแล้วอย่างไร เจ้าจงรักกันและกันอย่างนั้น¡± สิ่งที่พระองค์ตรัสนี้มีความหมายว่า ให้รักอย่างไม่จำกัด ไม่ลำเอียง ไม่ใช่เพราะผลประโยชน์ คือให้รักแม้ว่าตนเองจะต้องเจ็บปวดหรือต้องสูญเสียชีวิตของตนก็ตาม (อ่าน มัทธิว 22:34-40 และ ยอห์น 13:34-35)
หากต้องการให้จำกัดความหมายอย่างสรุปของ ¡°การเป็นคริสเตียนคืออะไร?¡± คำตอบคือ ¡°การรักพระเจ้าและการมีความสัตย์สุจริตที่อุดมไปด้วยความรักเมตตาต่อผู้อื่น¡± ซึ่งทั้ง 2 เป็นสิ่งตรงข้ามที่จะต้องควบคู่กันเสมอ
มีศิษยาภิบาลท่านหนึ่งได้ไปเยี่ยมเยียนสมาชิกที่บ้านซึ่งเป็นสุภาพสตรีสูงอายุท่านหนึ่ง ต่างฝ่ายก็ดีใจที่ได้พบปะกัน สตรีสูงอายุได้เชิญชวนศิษยาภิบาลไปนั่งคุยกันในห้องรับแขก ขณะที่คุยกัน ศิษยาภิบาลก็เหลือบเห็นชามถั่ว Macadamia บนโต๊ะที่ตั้งอยู่ข้างหน้า ถั่วแม๊กคาดาเมียมีแหล่งผลิตจากเกาะฮาวายเป็นถั่วที่เคี้ยวได้มันอร่อยมากและราคาแพงกว่าถั่วชนิดอื่น ๆ จากการสังเกตของสตรีสูงอายุก็ทราบว่า ศิษยาภิบาลคงอยากลองชิมถั่วแม๊กคาดาเมียบ้าง จึงได้เอ่ยปากเชิญชวนศิษยาภิบาลหยิบกินได้โดยไม่ต้องเกรงใจ ศิษยาภิบาลก็ออกตัวขอหยิบกินเคี้ยวเล่นแค่เม็ดสองเม็ดเท่านั้น หลังจากถั่วเข้าปากเคี้ยวหมดไปหนึ่งเม็ดก็ทำให้อยากเคี้ยวอีก หญิงสูงอายุก็บอกว่า ¡°Be my guest, help yourself.¡± หลังจากสนทนาผ่านไปได้ไม่นานก็ปรากฎว่า ถั่วแม๊กคาดาเมียซึ่งตอนแรกมีเต็มชามก็เหลือเพียง 2 เม็ดเท่านั้น ศิษยาภิบาลก็เริ่มสำนึกผิดที่ตนเองลืมตัวเคี้ยวเพลินจนกินถั่วของสตรีนั้นเกือบหมดจึงได้กล่าวขอโทษและบอกว่า ¡°เขาจะไปซื้อถั่วนั้นมาเติมให้เต็มชาม¡± หญิงสูงอายุก็บอกว่า ¡°ไม่เป็นไรดอก ฉันเองก็แก่มากแล้ว ฟันก็หลุดร่วงไปเกือบหมดปาก ฉันเองก็ไม่รู้ว่า ใครจะมาช่วยกินถั่วพวกนี้ให้หมดไป ก็ดีแล้วที่มีท่านมาช่วยกิน ก่อนหน้านี้ก็ได้แต่เสียดายตอนที่ได้แต่ใช้ปากดูดและใช้ลิ้นเลียช๊อกกอเล็ตที่มีใส้ถั่วแม๊กคาดาเมีย¡±
เมื่อช่วงคริสตมาสที่ผ่านไป สมาชิกสตรีท่านหนึ่งก็ได้ยื่นของขวัญคริสตมาสให้ผมชิ้นหนึ่ง ผมก็ได้กล่าวขอบคุณโดยไม่ทราบว่าในกล่องของขวัญนั้นคืออะไร ผมได้วางกล่องของขวัญนั้นในรถซึ่งตากแดดอยู่ในบริเวณที่จอดรถ พอกลับถึงบ้านตอนเย็นก็เปิดห่อของขวัญก็พบว่า เป็นช๊อกกอเล็ตใส้ถั่วแม๊กคาดาเมียแต่ก็เริ่มละลายจนเสียรูป ผมได้วางช๊อกกอเล็ตกล่องนั้นไว้ที่โต๊ะอาหารแต่ก็ไม่มีใครหยิบไปกินแม้แต่ชิ้นเดียว หลังจากผ่านไปแล้วหลายวัน ผมจึงเอาช๊อกกอเลต 4-5 ก้อนใส่ในถ้วยและเติมน้ำแล้วใส่เข้าเครื่องไมโครเวฟอุ่นให้ร้อน 3 นาทีแล้วเติมคอฟฟิเมตกวนสักหน่อยก็ได้เครื่องดื่มช๊อกกอเล็ตร้อน ๆ ที่อร่อยชื่นใจ ส่วนถั่วก็นำไปล้างน้ำเย็นแล้วหยิบเข้าปากเคี้ยวมันอร่อยดี
ชีวิตของเราก็มีช๊อกกอเล็ตที่หวานซึ่งเป็นเหมือนความรักและมีอะไรที่มัน ๆ สนุก ๆ ปนปนอยู่ แต่บางครั้งเราอาจรู้สึกว่า เราไม่มีความรักเพียงพอที่จะให้แก่กันหรือไม่ก็มีความรักที่ผิดรูปหรือเสียรูปไปแล้ว ความจริงก็คือ ความรักก็ยังมีคุณภาพในตัวของมันเอง เพียงแต่ขอให้เรามีความพึงพอใจที่จะให้ความรักแก่กันและกันต่อไป เราสามารถที่จะให้ความรักของเราที่มีคุณค่ามีรสชาดเอร็ดอร่อยแก่คนอื่นได้ หากเราได้มีความสัมพันธ์กับพระเจ้าอย่างติดสนิท แล้วพระองค์จะประทานความรักของพระองค์ในจิตใจ แล้วเราจะให้ความรักนั้นเสริมสร้างให้เรามอบความดีแก่กันและกันต่อไป
เราอาจมีช๊อกกอเล็ตที่เหลือจากการกินหรือไม่มีใครสนใจที่จะกินอีก แต่เราก็สามารถนำช๊อกกอเล็ตนั้นไปบดผสมป่านกับไอสครีมกลายเป็น milk-shake ที่อร่อย หรือไปผัดข้าวกลายเป็นข้าวผัดช๊อกกอเล็ตที่ชวนรับประทาน
การเป็นคริสเตียนคือการรักพระเจ้าและมีความมั่นคงที่สัตย์สุจริตต่อผู้อื่น ทั้งสองสิ่งนี้ดูเหมือนอาจไปด้วยกันไม่ได้เพราะบ่อยครั้งมีการขัดแย้งกัน แต่ถ้าคงพยายามให้ควบคู่ไปด้วยกันแล้วก็จะทำให้เกิดผลและนำความยินดีแก่ตนเองและผู้ที่เกี่ยวข้อง
เปาโลได้กล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่มิใช่ข้าพเจ้าอีกต่อไป แต่พระคริสต์ต่างหาก ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะชีวิตของท่านมิได้ดำเนินตามชีวิตเดิมของตนอีกต่อไป แต่เป็นชีวิตที่ตรึงไว้กับพระองค์เพื่อที่พระคริสต์จะมีชีวิตในตนเอง การที่เราตายกับพระคริสต์ก็คือการมีชีวิตใหม่ของพระคริสต์ในเรา ดังนั้นคริสเตียนจึงไม่ใช่เป็นผู้ที่มีชีวิตของตนอีกต่อไป แต่เป็นชีวิตใหม่ที่พระคริสต์ทรงประทานให้ และชีวิตใหม่ก็ไม่ใช่ชีวิตเดิมของตนอีกต่อไป ชีวิตที่ว่านี้จึงมิใช่ข้าพเจ้าอีกต่อไป แม้ชีวิตที่ตนมีอยู่จะรู้สึกเป็นของตนเองอยู่ แต่ความจริงเป็นของพระคริสต์ต่างหาก

ประติทรรศน์ในลักษณะมือจับสองข้างที่คู่กันแต่อยู่ห่างกัน
(Two Handled Paradox)
ในการศึกษาหรือการเข้าถึงความจริงอันล้ำลึกนั้น จะต้องมีชีวิตที่อยู่ในความกดดันของสิ่งตรงข้ามที่ควบคู่ไปด้วยกัน เพราะการอยู่ในความกดดันของความคิดตรงข้ามหรือสิ่งตรงข้าม 2 ประการจะนำพาให้ไปสู่ความจริงหรือทางออกหรือมรรคผลซึ่งสภาพดังกล่าวมักพบในชีวิตประจำวัน เช่น การแข่งขันกีฬา, การเมือง-การเลือกตั้ง, ประสบการณ์ชีวิตคริสเตียนที่มีการขัดแย้ง หรือการรับประสบการณ์ในพระเจ้าที่มีสิ่งตรงข้ามเกิดขึ้นในชีวิตของคน ๆ เดียวกันซึ่งปรากฏมากมายในพระคัมภีร์ เช่นโยบได้กล่าวถ้อยคำอันสำคัญที่มีความหมายของประติทรรศน์ ¡°ข้าพเจ้ามาจากครรถ์มารดาของข้าพเจ้าตัวเปล่าและข้าพเจ้าจะกลับไปตัวเปล่า พระเจ้าประทาน (gave) และพระเจ้าทรงเอาไปเสีย (taken away)¡± ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนี้ โยบยังคงกล่าวว่า ¡°สาธุการแด่พระนามของพระเจ้า¡± (โยบ 1:21) การมีจิตใจสาธุการในพระเจ้าเมื่อได้รับของประทานก็เป็นความดีที่สำคัญ แต่ถ้ายังคงสาธุการเมื่อตนต้องสูญเสียก็เป็นความดีที่ล้ำเลิศ เราสาธุการแด่พระนามของพระเจ้าในวาระที่เป็นทั้ง ¡°Thanksgiving¡± และ ¡°Thankslosing¡± คือไม่ว่าเราจะอยู่ในสถานการณ์ใด หรือได้รับสภาพใด หรือไม่ได้รับสภาพใดก็ตาม เราก็ยังคงมีจิตใจที่ยกย่องสาธุการแด่พระนามของพระเจ้า การเกิดความขัดแย้งในประสบการณ์หรือการมีรูปแบบที่ปรากฎหลากหลายตรงข้ามกันเป็นประติทรรศน์ที่จะเสริมสร้างให้คนนั้น ๆ เติบโตบรรลุวุฒิภาวะ
ในพระคัมภีร์ที่เป็นคำสอนของพระเยซูและเปาโลนั้น เราได้พบถึงการนำเสนอความจริงด้วยวิธีการของประติทรรศน์ในลักษณะการสร้างภาพหรือความคิดใหม่ (reframe paradox)
ในบทถัดมา, เราได้ศึกษาถึงประติทรรศน์ในลักษณะผสมขั้วตรงข้าม (harmonious paradox) คือการที่เราจะเข้าถึงความจริงอันล้ำลึกด้วยการผสม 2 สิ่งที่ตรงข้ามควบคู่ไปด้วยกัน
สำหรับในบทนี้จะเป็นการศึกษาถึงประติทรรศน์ลักษณะที่ 3 คือ Two-handled Paradox หรือ มือจับสองข้างที่ห่างกันแต่คู่กัน ซึ่งเป็นเหมือนสว่านที่ใช้เจาะพื้นดินที่มีมือจับสองข้างและด้ามยาวที่มีปลายเป็นเกลียวแหลมคม ประติทรรศน์ลักษณะมือจับสองข้างนี้แตกต่างจากประติทรรศน์ผสมขั้วตรงข้ามคือให้สิ่งที่ตรงข้ามอยู่ออกห่างจากกันให้มากแต่ให้อยู่ห่างบนจุดที่ได้สมดุลแล้วยิ่งกดลงไปในจุดที่ได้สมดุลโดยมีมือจับสองข้างที่อยู่ห่างออกจากกันที่คู่กันไป ในที่สุดจะสามารถเจาะพื้นดินที่แข็งให้ทะลุได้
เรื่องที่จะนำมาศึกษา 2 เรื่องดังต่อไปนี้จะทำให้เข้าถึงความจริงหรือความล้ำลึกโดยอาศัยประติทรรศน์ในลักษณะมือจับสองข้างที่ห่างกันแต่คู่กัน (two-handled paradox) ซึ่งได้แก่เรื่องตรีเอกานุภาพและพระเยซูผู้ทรงเป็นพระเจ้าแท้และมนุษย์สมบูรณ์ ประติทรรศน์ลักษณะนี้ก็ต่างจากประติทรรศน์ในลักษณะผสมขั้วตรงข้ามซึ่งมีสิ่งตรงข้ามสองสิ่งที่อยู่คู่ติดกัน

(1) ตรีเอกานุภาพ
มัทธิว 28:19-20; 2 โครินธ์ 13:14; ยอห์น 16:15
มีคำมากมายที่ไม่สามารถอธิบายความหมายได้ทั้งหมด เช่นคำว่า ¡°รัก¡± ซึ่งพจนานุกรมได้ให้ความหมายว่า ¡°ชอบอย่างผูกพันพร้อมด้วยชื่นชมยินดี¡± แต่เราก็รู้ว่า คำอธิบายเช่นนั้นก็ยังไม่เพียงพอตามความหมายที่แท้จริงของคำว่า ¡°รัก¡± เช่นเดียวกับคำว่า ¡°จูบ¡± ที่ให้ความหมายว่า ¡°เอาจมูกสัมผัสสูดแสดงความรักหรือความใคร่¡± ไม่ทราบว่าเราเห็นด้วยกับการอธิบายความหมายดังกล่าวตามพจนานุกรมที่ได้บัญญัติไว้หรือไม่? ความจริงก็คือ เรารู้ว่า ¡°การจูบ¡± หรือ ¡°kiss¡± ของฝรั่ง (หรือรวมถึงของไทยในปัจจุบัน) ไม่ใช่ใช้จมูกแต่ใช้ริมฝีปาก หรือบางที่อาจต้องใช้ลิ้นด้วย
ยิ่งกว่านั้น ถ้าคิดถึงคำที่อธิบายความหมายของพระเจ้าก็เป็นเรื่องที่ยากยิ่ง เราผู้เป็นมนุษย์ที่มีความจำกัดจะอธิบายพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่ผู้ทรงสร้างโลกและจักรวาลอย่างครบถ้วนได้อย่างไร ครั้งหนึ่งเซนต์ออกัสตินได้พยายามขบคิดที่จะเข้าใจพระเจ้าทั้งหมด หรือต้องการอธิบายพระเจ้าอย่างครบถ้วนทั้งหมดแต่ก็ไม่อาจจะทำได้ เขาได้ออกไปเดินที่ชายหาดก็พบเด็กคนหนึ่งขุดหลุมทราย แล้วก็เอาถังตักน้ำจากทะเลแล้วเทลงในหลุม เด็กคนนั้นวิ่งไปมาเพื่อตักน้ำในทะเลใส่หลุมครั้งแล้วครั้งเล่า จนในที่สุดออกัสตินถามเด็กนั้นว่า ¡°ทำอย่างนั้นทำไม¡± เด็กก็ตอบว่า ¡°ผมพยายามตักน้ำทะเลทั้งหมดใส่ลงในหลุม¡± ออกัสตินจึงได้ประจักษ์ว่า เขาก็เป็นเหมือนเด็กคนนั้นที่พยายามจำกัดพระเจ้าให้อยู่ในความคิดของตนเอง หากมนุษย์คนใดเพียงพยายามที่จะเข้าใจพระเจ้าครบถ้วนตามความจำกัดของตน บางทีพระเจ้านั้น ๆ คือผู้ที่ถูกสร้างขึ้นมาเหมือนอย่างมนุษย์คนนั้น ๆ
ถึงกระนั้น มนุษย์ผู้ที่ใช้ความคิดเพื่อแสวงหาความเข้าใจก็ยังคงต้องใช้ความคิดเพื่อที่จะเข้าถึงความจริงของพระเจ้า และเรื่องของพระเจ้าที่มนุษย์จะรับได้นั้นจะต้องให้ความกระจ่างเพียงพอในเรื่องที่ไม่อาจกระจ่างได้ทั้งหมด มนุษย์จึงเพียงพยายามที่จะเข้าใจพระเจ้าเท่าที่กรอบของพระคัมภีร์ได้เปิดเผย กรอบความคิดที่นักศาสนศาสตร์ได้นำเสนอแก่คริสเตียนเพื่อที่จะยึดถือเพื่อให้เป็นกรอบที่จะขยายความเชื่อให้กว้างขึ้นเพื่อการมีสัมพันธภาพกับพระเจ้าก็คือ ¡°หลักความเชื่อในเรื่องตรีเอกานุภาพ หรือ Trinity¡± จริงอยู่คำว่า ¡°ตรีเอกานุภาพ¡± ไม่มีการกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ แต่หลักความเชื่อนี้ก็เป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้เราเข้าใจถึงพระเจ้าที่เกินกว่าที่มนุษย์จะเข้าถึงได้ทั้งหมด แม้ความจริงก็คือ การศึกษาเรื่องตรีเอกานุภาพอาจตกในสภาพที่ว่า ¡°ถ้าพยายามหาความเข้าใจในเรื่องตรีเอกานุภาพมากเท่าไรก็อาจทำให้สูญเสียความคิด แต่ถ้าไม่ใส่ใจหรือเฉยเมยกับเรื่องตรีเอกานุภาพก็อาจทำให้ต้องสูญเสียจิตวิญญาณ¡± (If you try to understand the Trinity, you may just lose your mind; but if you ignore the Trinity, you may just lose your soul.)
ข้อพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องตรีเอกานุภาพคือมัทธิว 28:19-20 ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระมหาบัญชา
2 โครินธ์ 13:14 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอวยพร (การสามัคคีธรรมของคริสเตียนที่ต่างอยู่ห่างจากกันหรือแยกกันอยู่ แต่ก็ยังอยู่ในความสัมพันธ์ในองค์พระผู้เป็นเจ้า)
การศึกษาเรื่องตรีเอกานุภาพเป็นการศึกษาถึง divine economy ซึ่งหมายถึงการศึกษาถึง manner of arrangement or functioning of God คำว่า ¡°economy¡± คือการเข้าใจถึงบทบาทของพระเจ้าที่ได้สำแดงแก่มนุษย์ การสำแดงของพระเจ้ามักเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพระเจ้าหรือความสัมพันธ์ของพระเจ้ากับมนุษย์ ในที่นี้คำว่า ¡°economy¡± มิได้หมายถึง ¡°การประหยัด¡± หรือการใช้สอยให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามความหมายที่คนส่วนใหญ่เข้าใจในแง่ของเศรษฐศาสตร์ แต่เป็นการศึกษาใน ¡°ความเป็นบุคคล¡± ที่พระเจ้าทรงสำแดงแก่มนุษย์ดังที่ปรากฏในพระคัมภีร์
มีคำอธิบายพระเจ้าตรีเอกานุภาพด้วยตัวอย่างของน้ำ-ไอน้ำ-น้ำแข็ง แต่ก็ขาดความหมายของการมีอิสระจากกันในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่นเดียวกับการใช้ราก-ลำต้น-ผลของต้นไม้หนึ่ง ๆ ซึ่งให้ความหมายแต่เพียงบางแง่ หรือการใช้การเป็นสามี-พ่อ-ลูกในคนเดียวกันก็มีความจำกัดที่ว่า การเป็นสามีหรือพ่อหรือลูกไม่อาจมีบทบาทต่างหากพร้อม ๆ กันในเวลาเดียวกัน และบทบาทหนึ่ง ๆ ก็จำต้องมีบทบาทอื่นเข้ามาร่วมสัมพันธ์หรือคู่กัน ในโลกนี้หรือสิ่งใด ๆ ที่พระเจ้าทรงสร้างในโลกก็ไม่อาจใช้เป็นตัวแทนหรือตัวอย่างเพื่ออธิบายความจริงทั้งหมดของพระเจ้า
ตรีเอกานุภาพ คือ One God in three Persons. หรือ God is One in Being, and three in Persons. Person มีความหมายว่า Mask or Representation. ดังนั้นคำว่า persons มิได้หมายถึงการเป็นหนึ่ง ๆ ของ 3 สาระ (Substance) หรือหมายถึงมีพระเจ้า 3 องค์ แต่เป็นการสำแดงออกเป็น 3 ลักษณะหรือ 3 พระภาคในพระเจ้าองค์เดียว
เฉลยธรรมบัญญัติ 6:4 ได้กล่าวถึงพระเยโฮวาห์ทรงเป็นพระเจ้าเดียว One God เช่นเดียวกับ 1 โครินธ์ 8:4 ¡°มีพระเจ้าแท้แต่องค์เดียว¡±
ในพระคัมภีร์ใหม่ได้กล่าวในยอห์น 10:30 ¡°เรากับพระบิดาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน¡± ซึ่งหมายถึงพระเยซูหรือพระบุตรทรงเป็นพระเจ้า
ในยอห์น 14:16 พระเยซูกล่าวถึง ¡°ผู้ช่วย¡± หรือ ¡°Comforter¡± ที่เป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่จะมาอยู่กับสาวก หรือพระเจ้าที่จะมาสถิตกับสาวกซึ่งมาจากพระบิดา (ยน. 15:26)
ยอห์น 16:15 เป็นการสรุปถึง พระเจ้าแห่งตรีเอกานุภาพ
การที่จะเข้าใจในความจริงแห่งตรีเอกานุภาพคือการใช้ประติทรรศน์ในระบบคิดของเราคือความจริงที่ตรงกันข้ามที่ควบคู่กันไปซึ่งจะต้องให้ขั้วอยู่ห่างจากกัน ดังคำพูดที่ว่า One God in Three Persons; Three Persons in One God.
พระลักษณะของพระเจ้าที่ทรงเป็นตรีเอกานุภาพเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่อาจเข้าใจได้ตามความคิดอันจำกัดของตนเอง จำเป็นที่จะต้องเข้าถึงความจริงนี้ด้วยเชิงประติทรรศน์ที่เป็นลักษณะมือจับสองข้างที่อยู่ห่างจากกันซึ่งคู่กัน
ความเข้าใจในลักษณะการยึดถือสิ่งที่ตรงกันข้ามซึ่งควบคู่ไปด้วยกันโดยให้คู่กันให้ห่างออกจากกันและให้ได้จุดที่สมดุลก็เป็นสิ่งที่จะช่วยให้เข้าถึงความล้ำลึกในหลักข้อเชื่อที่สำคัญของคริสเตียนในเรื่องที่เกี่ยวกับตรีเอกานุภาพ

สมมุติฐาน, อุปทาน, การอรรถาธิบาย
การนิยามความหมายของความเชื่อในพระคัมภีร์ที่ผิดเพียนไปก็เนื่องจากสาเหตุหนึ่ง ๆ จาก 2 ประการที่จะกล่าวต่อไป หรือเนื่องจากสาเหตุของ 2 ประการรวมกัน
หนึ่ง จาก preconceived (ความคิดทึกทักล่วงหน้า) ที่ตนเองใช้ในการนิยามความจริงที่มักขึ้นอยู่กับศาสนศาสตร์ที่ตนเองปักใจยึดถือ (particular theological commitment) เรามักจะเข้าใจความหมายของพระคัมภีร์ตอนที่ตนเองอ่านตามสมมุติฐาน (มูลฐานที่ยอมรับตกลงกันเองโดยปริยาย) หรือ presuppositions (สิ่งที่ตนสมมุติหรือทึกทักล่วงหน้า) ของตนเอง เช่นเดียวกับการที่เรามีความโอนเอียงหรือโน้มเอียงในการอธิบายความหมายของพระคัมภีร์ตอนที่ confirm หรือเข้ากับอุปทานหรือความคิดที่ตนยึดมั่นถือมั่นหรือตาม biases ของตน
สอง การใช้ระบบหรือวิธีการ methodology ที่เหลวไหล sloppy หรือการอรรถาธิบายที่ไม่ได้เข้าถึงภาษาเดิมและบริบทเดิมของพระคัมภีร์เพื่อการนิยามความหมายของพระคัมภีร์ การใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสมก็ทำให้ไม่อาจเข้าถึงความหมายที่แท้จริงได้
หลักข้อเชื่อ
ตั้งแต่เริ่มแรกของคริสตศาสนา ศาสนศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทโดยตรงในชีวิตคริสเตียน คือได้ใช้ศาสนศาสตร์เพื่อการประยุกต์กับชีวิตและการประกาศเผยแพร่ความเชื่อ ความเชื่อที่ประยุกต์กับชีวิตและการประกาศเผยแพร่นั้นได้มีการเรียบเรียงเป็นหลักข้อเชื่อต่าง ๆ ดังนั้น หลักข้อเชื่อจึงเป็นเนื้อหาที่ใช้อธิบายศาสนศาสตร์และเพื่อการเปิดเผยความจริงของคริสตศาสนา
ความจำเป็นที่ต้องมีหลักข้อเชื่อก็เพื่อการอธิบายศาสนศาสตร์ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเนื่องจาก หนึ่ง มนุษย์ เป็นผู้ที่มีสติปัญญา ถ้าสิ่งใดก็ตามที่ไม่อาจใช้ความคิดเพื่อความเข้าใจและการอธิบายอย่างมีเหตุมีผล ก็อาจเป็นการยากที่จะให้มนุษย์มีจิตใจจงรักภักดีต่อสิ่งนั้น ๆ ได้ สอง ความเข้าใจเป็นมูลฐานที่จำเป็นต่อการมีชีวิตที่อุทิศถวาย ความเชื่อจึงต้องอธิบายและกระทำให้กระจ่างอย่างชาญฉลาด แต่ก็มิได้หมายความว่าความเชื่อจะถูกจำกัดด้วยเหตุผล เพียงแต่มีความหมายว่า ความเชื่อต้องได้รับการเปิดเผยด้วยความคิดที่เปิดกว้างและการมีหลักที่มั่นคง
นอกจากนั้น ประโยชน์ของหลักข้อเชื่อได้แก่
1. เป็นข้อความแห่งความเชื่อที่ผู้เชื่อจะใช้ยืนยันความเชื่อของตนก่อนการรับศีลบัพติศมา
2. เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการดำเนินหรือพัฒนาพันธกิจต่าง ๆ ของคริสตจักร
3. เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการประกอบการพิจารณาคำเทศนาและคำสอนต่าง ๆ
4. เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการเข้าใจความหมายของพระคริสตธรรมคัมภีร์
5. เพื่อใช้ในในการปกป้องความเชื่อและการต่อต้านคำสอนเทียมเท็จ
6. เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการเป็นพยานและการเผชิญกับภัยที่คุมคาม
หลักข้อเชื่อที่คริสตจักรยึดถือเป็นข้อความที่ประกาศต่อสาธารณชน มิใช่เป็นข้อความส่วนตัวที่ไม่เปิดเผย เมื่อคริสตจักรต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่มีผลต่อชีวิตหรือความตาย หรือสภาพการอันฉุกเฉินที่ไม่อาจอยู่เงียบ ๆ แต่ต้องพูดออกมา แม้การพูดเช่นนั้นอาจบั่นทอนต่อความปลอดภัย, ความนิยม, หรือความสำเร็จก็ตาม จากเหตุดังกล่าว คริสตจักรจึงได้กำหนดหลักข้อเชื่อขึ้น
หลักข้อเชื่อที่ได้บัญญัติขึ้นมีลักษณะการเขียนที่แตกต่างกัน 4 ประเภทคือ
1. Creeds ซึ่งเป็นลักษณะข้อความสั้น ๆ ที่ยืนยันความเชื่อของตนเอง คำว่า Creed มาจากคำใน ภาษาลาตินตรงกับคำว่า credo ซึ่งแปลว่า I believe หรือ "ข้าพเจ้าเชื่อวางใจ" หลักข้อเชื่อดัง
กล่าวได้แก่ หลักข้อเชื่ออัครธรรมทูต หลักข้อเชื่อไนเซีย เป็นต้น
2. Confession ซึ่งมีลักษณะข้อความคล้ายกับ Creed เพียงแต่ว่า Confession มีเนื้อหาที่
ยาวกว่าและมีหัวข้อต่าง ๆ รวมอยู่ในฉบับเดียวกัน หลักข้อเชื่อที่ว่านี้ได้แก่ The Scots Confession of 1560, The Second Helvetic, The Westminster Confession of Faith, The Confession of 1967.
Catechisms เป็นหลักข้อเชื่อที่ใช้ลักษณะคำถามคำตอบในการชี้แจงเรื่องความเชื่อเช่น The Heidelberg Catechism, The Shorter Catechism, The Larger Catechism.
หลักข้อเชื่อที่เหลือเป็นลักษณะของการประกาศหรือยืนยันถึงความเชื่อซึ่งเป็น The Declaration of Theological หรือ The Statement of Faith ข้อความของหลักข้อเชื่อนี้ได้เรียบเรียงและประกาศใช้ เมื่อคริสตจักรต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เลวร้ายหรือกำลังอยู่ในวิกฤตการณ์เป็นต้น

(2) พระเยซูทรงเป็นพระเจ้าแท้และมนุษย์สมบูรณ์
หลักข้อเชื่อไนเซีย
หลักข้อเชื่อไนเซียเป็นแก่นความเชื่อที่สำคัญในเรื่องพระเยซูที่ทรงเป็นพระเจ้าแท้และมนุษย์สมบูรณ์ หลักข้อเชื่อไนเซียเป็นข้อความที่เป็นหลักความเชื่อแรกสุดซึ่งได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากทุกคริสตจักร หลักข้อเชื่อนี้ได้พัฒนาขึ้นมาจากผลการประชุม 2 สภาคือ สภาคริสตจักรไนเซียในปีคศ. 325 และสภาคอนสแตนติโนเปิลในปีคศ. 381 และได้รับการยอมรับอย่างถาวรในการประชุมสภาคาซิดอนในปี 451 คริสตจักรได้ใช้เวลากว่า 2 ศตวรรษในการโต้เถียงในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นพระเจ้าและการเป็นมนุษย์ของพระเยซูคริสต์ ในช่วงเวลาดังกล่าวคริสตจักรได้โต้แย้งกันในความหมายของคำ 2 คำที่มีความหมายที่แตกต่างกันซึ่งเกี่ยวกับประเด็นของพระเยซูคือคำว่า ¡°homoousia¡± (unity of substance หรือการเป็นสาระเดียวกัน) และคำว่า ¡°homoiousia¡± (likeness or coequality หรือการเป็นเหมือนหรือตามอย่างหรือการร่วมเสมอภาพกัน)
หลักข้อเชื่อนี้เป็นข้อความศาสนศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของคริสตจักร และเป็นหลักข้อเชื่อเดียวที่ได้รับการยอมรับจาก 3 นิกายในคริสตศาสนาคือ โรมันเคธอริก โปรเตสแตนท์ กรีกออโธด๊อกซ์ ทั้ง 3 นิกายนี้ต่างให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกเกี่ยวกับความเป็นพระเจ้าและความเป็นมนุษย์ของพระเยซูและพระลักษณะที่ทรงเป็นพระเจ้าของพระวิญญาณบริสุทธิ์

เบื้องหลังที่มาของหลักข้อเชื่อไนเซีย
เดิมทีคริสตจักรโดยทั่วได้ยอมรับว่าพระเยซูทรงเป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์ ต่อมามีนักศาสนศาสตร์ชื่อว่า อารีอุส (Arius) ซึ่งเป็นเพสไบเตอร์แห่งเมืองอาเล็กซันเดียได้ตั้งคำถามขึ้นมาท้าทายความเข้าใจและความเชื่อของคริสเตียนเกี่ยวกับพระเยซูในลักษณะที่ว่า เมื่อพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าและมนุษย์ แล้วความเป็นพระเจ้าของพระเยซูนั้นทรงเป็นในแง่ใด?
อารีอุสได้เน้นว่า พระวาทะหรือพระบุตรเป็นผู้ที่ถูกสร้างขึ้นโดยพระเจ้า มีสาระ (substance) ที่แตกต่างจากพระเจ้า พระองค์ต้องมีที่เริ่มต้นและเป็นสิ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ พระคริสต์อยู่ในฐานะสูงสุดในบรรดาสิ่งทั้งปวงที่ได้รับการทรงสร้างขึ้น สิ่งที่อารีอุสกล่าวนี้มีความประสงค์ที่จะชี้ให้เห็นว่า พระบุตรไม่ได้มีความรู้หรือมีสภาพที่เท่าเทียมกับพระบิดา เมื่อพระเยซูเป็นมนุษย์ก็ไม่อาจที่จะเท่าเทียมกับพระบิดาได้
หลักข้อเชื่อไนเซียได้ยืนยันว่า พระเจ้าได้เสด็จมาอย่างสมบูรณ์ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์โดยทางพระเยซูคริสต์ สิ่งนี้ได้ทำให้กระจ่างด้วยข้อความในหลักข้อเชื่อที่ว่า ¡°ทรงเป็นพระเจ้าบริบูรณ์แห่งพระเจ้าแท้¡± ¡°ทรงเป็นหนึ่งเดียว ที่ไม่ใช่ถูกสร้างขึ้น¡± ¡°ทรงเป็นสาระเดียวกับพระบิดา¡± ข้อความหลักข้อเชื่อไนเซียเป็นข้อความที่เน้นในการเป็นพระเจ้าของพระเยซูที่ทรงเป็นเช่นเดียวกับพระบิดาซึ่งมีข้อความดังต่อไปนี้
¡°ข้าพเจ้าเชื่อวางใจในพระเจ้าองค์เดียว พระบิดาผู้ทรงฤทธิ์ที่สุดซึ่งทรงสร้างฟ้าสวรรค์และโลกและสิ่งที่ประจักษ์และไม่ประจักษ์แก่ตา ข้าพเจ้าเชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเป็นพระบุตรองค์เดียวของพระเจ้า ทรงเป็นหนึ่งเดียวกับพระบิดาก่อนทรงสร้างกัลปจักรวาลทั้งมวล ทรงเป็นพระเจ้าบริบูรณ์แห่งพระเจ้าแท้ แสงสว่างแห่งแสงสว่าง ทรงเป็นพระเจ้าที่ไม่ใช่ถูกสร้างขึ้น ทรงเป็นสาระเดียวกับพระบิดา พระองค์ทรงสร้างสรรพสิ่ง พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์เพื่อมนุษย์ และเพื่อช่วยเราให้รอดพ้น ทรงกำเนิดเป็นมนุษย์โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ทางมารีย์สาวพรหมจารีย์เพื่อเรา ทรงสภาพมนุษย์ แล้วทรงถูกตรึงที่ไม้กางเขนเพื่อเราทั้งหลายในสมัยปอนทิอัสปีลาตปกครอง พระองค์ทรงทนทุกข์ทรมานจนสิ้นพระชนม์ ทรงถูกบรรจุไว้ในอุโมงค์และในวันที่สามทรงเป็นขึ้นจากความตายตามที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์ และได้เสด็จขึ้นสวรรค์ประทับ ณ เบื้องขวาของพระบิดา พระองค์จะเสด็จมาอีกด้วยพระสิริเพื่อพิพากษาทั้งคนเป็นและคนตาย พระราชอาณาจักรของพระองค์ไม่รู้สิ้นสุด
ข้าพเจ้าเชื่อวางใจในพระวิญญาณบริสุทธิ์องค์พระผู้เป็นเจ้าและผู้ทรงประทานชีวิต พระองค์ผู้ทรงมาจากพระบิดาและพระบุตร ผู้ทรงรับการนมัสการและการสรรเสริญพร้อมกับพระบิดาและพระบุตร พระองค์ได้ตรัสทางพวกผู้เผยพระวจนะ ข้าพเจ้าเชื่อมั่นในสากลคริสตจักรอันบริสุทธิ์เดียวและคริสตจักรที่สืบจากอัครธรรมทูต ข้าพเจ้ารับว่ามีพิธีบัพติศมาเดียวเพื่อการยกบาป ข้าพเจ้าเชื่อมั่นในการคืนชีพของผู้ที่ตายแล้ว และชีวิตโลกหน้าที่จะมาถึง อาเมน¡±
ผู้นำคริสตจักรในสมัยเริ่มแรกได้เพียงพยายามที่จะให้คริสเตียนมีความเชื่อที่ได้สมดุลในความจริงที่เกี่ยวข้องกับพระลักษณะของพระเจ้าซึ่งทรงปรากฎเป็น 3 คือพระบิดา, พระบุตร, และพระวิญญาณบริสุทธิ์ มนุษย์อยู่ในความจำกัดไม่อาจเข้าถึงพระเจ้าโดยอาศัยความจำกัดของตนได้ คือถ้าใช้ความคิดหรือตรรกะสามัญธรรมดาของมนุษย์เพื่อคิดถึงความเป็นพระเจ้าก็จะทำให้มนุษย์ไม่อาจเข้าถึงพระเจ้าได้เลย จำเป็นที่จะต้องอาศัยความคิดในเชิงประติทรรศน์เพื่อที่จะให้มนุษย์เข้าถึงความจริงแห่งตรีเอกานุภาพ เรื่องที่สำคัญของตรีเอกานุภาพก็คือพระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่ทรงเป็นพระเจ้าเช่นเดียวกับพระบิดา ประติทรรศน์ในลักษณะมือจับสองข้างที่ห่างออกจากกันซึ่งคู่ไปด้วยกันจะช่วยให้มนุษย์สามารถคิดอย่างเข้าถึงความจริงดังกล่าวได้
เช่นเดียวกับความเชื่อในพระเยซูที่ทรงเป็นพระเจ้าแท้และมนุษย์สมบูรณ์ ความเชื่อซึ่งขัดแย้งกันตามการคิดจากประสบการณ์ของมนุษย์ก็ต้องอาศัยประติทรรศน์เข้ามาช่วยในการคิดเพื่อให้รับได้กับความจริงดังกล่าว ประติทรรศน์จึงเป็นคำอธิบายที่จะให้คริสเตียนคงอยู่ในความเชื่อที่มีต่อพระเยซูในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพระผู้ไถ่ให้รอดและทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงอยู่ในสภาพเป็นมนุษย์แท้เหมือนอย่างเราทั้งหลายและทรงเป็นพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ พระองค์จึงเป็นคนกลางที่นำเราให้มีความสัมพันธ์กับพระเจ้าได้
ประติทรรศน์ลักษณะมือจับสองข้างที่อยู่ห่างจากกันซึ่งคู่ไปด้วยกันจึงช่วยให้คริสเตียนเข้าถึงความจริงอันเป็นประติทรรศน์พระลักษณะของพระเจ้าซึ่งทรงเป็นพระเจ้าองค์เดียวที่เป็น 3 และพระเยซูที่ทรงเป็นพระเจ้าแท้และมนุษย์ที่สมบูรณ์











ตารางเปรียบเทียบประเภทของประติทรรศน์


การสร้างรูปใหม่
(Heuristic or Refram) การประสมขั้วสองสิ่งตรงข้ามเข้าด้วยกัน
(HARMONIOUS) การแยกขั้วสิ่งตรงข้ามให้ออกห่างจากกันที่ให้ร่วมไปด้วยกัน
(TWO-HANDLED)
มโนภาพ ภาพที่ปรากฏในใจ
¡°การสร้างภาพใหม่¡± ในการมองสิ่งที่ขัดแย้ง ขั้วหรือสองเสาที่รวมเข้าด้วยกันซึ่งก่อให้เกิดทัศนะใหม่
ให้ขั้วตรงข้ามทั้งสองออกห่างจากกันเพื่อก่อให้เกิดสัมฤทธิผล
ลักษณะความกดดัน เกิดขึ้นกับตนเองแต่ได้ก็มีทางออกหรือการแก้ไข ขั้วตรงข้ามให้เข้าร่วมกัน
ให้ขั้วตรงข้ามออกห่างจากกัน
สื่อ, ตัวอย่างที่ใช้อธิบาย ความเชื่อ vs. การกระทำ
การพิพากษา vs. ไม่ถูกพิพากษา
อุปมาแผ่นดินของพระเจ้า1
การสวนตรงข้าม2 ชีวิตนิรันดร์:
ปัจจุบัน vs. อนาคต
การทรงกำหนดไว้ล่วงหน้า vs. อิสระเสรีในการเลือก
กฎหมาย vs. พระบัญญัติ
พระเยซู: พระเจ้าแท้แต่มนุษย์สมบูรณ์
พระเจ้า: ทรงไกลล้นพ้นแต่ทรงสถิตในทุกสิ่งทุกอย่าง
พระเจ้า: ทรงเป็นสามในหนึ่ง (ตรีเอกานุภาพ)
มนุษย์: บาปแต่เป็นฉายาของพระเจ้า
นำพาไปสู่ ความล้ำลึกแห่งชีวิตในแผ่นดินของพระเจ้า ความล้ำลึกในสัมพันธ์ภาพ: การกระทำของพระเจ้า และ ความมุ่งหมายของพระองค์ ความล้ำลึกในพระลักษณะหรือลักษณะของพระเจ้าและมนุษย์
สิ่งที่พึงระวัง การพยายามที่จะให้ผู้ฟังให้ยอมรับหรือเข้าถึงความหมาย การเน้นในขั้วหนึ่งมากเกินกว่าอีกขั้วหนึ่งซึ่งทำให้ไม่เกิดความสมดุล การที่ให้สิ่งตรงข้ามที่เป็นขาวและดำรวมกันจนกลายเป็น ¡°สีเทามืดมัว¡±





บทที่ 4
วิเคราะห์แบบสอบถามของแต่ละกลุ่มศึกษา

บทนี้จะนำผลที่ได้รับจากการนำเสนอบทเรียนตามรายละเอียดของบทที่ 2-4 ซึ่งได้ทำการสอนหรือเทศนากับพี่น้องในคริสตจักรไทย 4 แห่งซึ่งได้แก่ 1) คริสตจักรไทยแคลิฟอร์เนียในเมือง Anaheim 2) คริสตจักรไทยมิชชั่นในเมือง Los Alamitos 3) คริสตจักรที่หนึ่งไทยเพรสไบทีเรียนในเมือง Covina 4) คริสตจักรไทยเอ๊าท์ริชในเมือง Pasadena การสอนได้เริ่มครั้งแรกในวันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม 2000 และได้สิ้นสุดเป็นครั้งสุดท้ายในวันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2001 สิ่งที่ได้จากการตอบสนองของผู้เรียนก็จะวัดผลโดยอาศัยแบบสอบถามที่ได้ให้ผู้เรียนกรอกเป็นครั้งแรกในชั่วโมงแรก และให้กรอกซ้ำในแบบสอบถามเดิมในชั่วโมงสุดท้ายของการเรียน ข้อมูลจากแบบสอบถามจะให้ค่าตัวเลขที่แตกต่างกันระหว่างก่อนฟังคำสอนและหลังจากฟังคำสอนไปแล้ว จำนวนคนที่เข้าเรียนในแต่ละคริสตจักรก็มีมากกว่าข้อมูลที่จะแสดงให้เห็น คือข้อมูลต่าง ๆ เป็นของคนที่เรียนตั้งแต่ครั้งแรกจนกระทั่งถึงครั้งสุดท้ายเท่านั้น

คริสตจักรไทยแคลิฟอร์เนีย
คริสตจักรแห่งนี้ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1994 มีสมาชิก 55 คน ไม่มีศิษยาภิบาลประจำเต็มเวลา แต่มีผู้ทำหน้าที่ศิษยาภิบาลคือ นายแพทย์สิริชัย ชยสิริโสภณ สถานที่ ๆ ใช้ในการนมัสการตั้งอยู่ที่ 2528 W. La Palma Ave., Ahaheim นับจากเวลาที่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันก็เป็นคริสตจักรที่ได้เติบโตมากที่สุดแห่งหนึ่ง การสอนของผู้เขียนในคริสตจักรแห่งนี้เป็นการสอนในชั้นเรียนของรวีวารศึกษาผู้ใหญ่ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์เวลา 11:30 – 12:30 น. ผู้ที่เข้าเรียนครั้งแรกก็มีจำนวน 20 คน รวมทั้งหมด 8 ครั้ง แต่จำนวนผู้ที่เรียนตลอดมีเพียง 9 คน โดยผลของการกรอกแบบสอบถามก็มีรายละเอียดดังต่อไป






คริสตจักรไทยแคลิฟอร์เนีย
#1 pre post increase #2 pre Post increase #3 pre post increase
1.1 1 5 +80% 1.1 4 5 +20% 1.1 3 3 0%
1.2 1 5 +80% 1.2 4 4 0% 1.2 3 3 0%
1.3 1 5 +80% 1.3 3 4 +20% 1.3 5 5 0%
1.4 4 5 +20% 1.4 4 4 0% 1.4 5 5 0%
1.5 4 5 +20% 1.5 4 4 0% 1.5 4 5 +20%
1.6 4 5 +20% 1.6 4 4 0% 1.6 4 5 +20%
1.7 5 5 0% 1.7 5 5 0% 1.7 5 5 0%
1.8 5 5 0% 1.8 4 4 0% 1.8 5 5 0%
1.9 5 5 0% 1.9 4 5 +20% 1.9 4 5 +20%
1.10 1 5 +80% 1.10 1 5 +80% 1.10 3 5 +40%
1.11 1 1 0% 1.11 3 4 +20% 1.11 1 5 +80%
1.12 5 5 0% 1.12 5 5 0% 1.12 5 5 0%
1.13 5 5 0% 1.13 4 5 +20% 1.13 5 5 0%
1.14 5 5 0% 1.14 4 5 +20% 1.14 5 5 0%
1.15 5 5 0% 1.15 5 5 0% 1.15 5 5 0%
2.1 5 5 0% 2.1 4 5 +20% 2.1 3 4 +20%
2.2 5 5 0% 2.2 5 4 -20% 2.2 4 5 +20%
2.3 5 5 0% 2.3 4 4 0% 2.3 4 4 0%
2.4 4 5 +20% 2.4 4 4 0% 2.4 4 5 +20%
2.5 5 5 0% 2.5 3 4 +20% 2.5 4 4 0%
2.6 5 5 0% 2.6 4 4 0% 2.6 4 4 0%
2.7 3 3 0% 2.7 4 3 -20% 2.7 4 5 +20%
2.8 4 5 +20% 2.8 4 4 0% 2.8 4 5 +20%
2.9 5 5 0% 2.9 3 4 +20% 2.9 5 5 0%
2.10 3 5 +40% 2.10 3 4 +20% 2.10 4 5 +20%
2.11 4 5 +20% 2.11 4 4 0% 2.11 4 5 +20%
2.12 4 5 +20% 2.12 5 5 0% 2.12 4 5 +20%
รวม 1.1-1.15 52 71 +36.53% รวม 1.1-1.15 57 68 +19.29% รวม 1.1-1.15 65 71 +9.23%
รวม 2.1-2.12 52 58 +11.53% รวม 2.1-2.12 46 49 +6.52% รวม 2.1-2.12 48 56 +16.66%
รวม 1.1-2.12 104 129 +24.03% รวม 1.1-2.12 103 117 +13.59% รวม 1.1-2.12 113 127 +12.38%




คริสตจักรไทยแคลิฟอร์เนีย
#5 pre post increase #6 pre Post increase #8 pre post Increase
1.1 4 5 +20% 1.1 0 4 +80% 1.1 5 5 0%
1.2 4 5 +20% 1.2 1 4 +60% 1.2 5 5 0%
1.3 1 2 +20% 1.3 4 4 0% 1.3 5 5 0%
1.4 5 5 0% 1.4 5 4 -20% 1.4 5 5 0%
1.5 4 4 0% 1.5 5 5 0% 1.5 1 5 +80%
1.6 4 4 0% 1.6 5 4 -20% 1.6 5 5 0%
1.7 4 5 +20% 1.7 5 3 -40% 1.7 5 5 0%
1.8 4 5 +20% 1.8 4 5 +20% 1.8 5 5 0%
1.9 4 4 0% 1.9 1 4 +60% 1.9 5 5 0%
1.10 5 5 0% 1.10 5 0 -100% 1.10 3 5 +40%
1.11 5 4 -20% 1.11 5 4 -20% 1.11 5 3 -40%
1.12 5 5 0% 1.12 5 5 0% 1.12 5 5 0%
1.13 5 5 0% 1.13 5 5 0% 1.13 3 5 +40%
1.14 5 5 0% 1.14 5 5 0% 1.14 5 5 0%
1.15 5 5 0% 1.15 5 5 0% 1.15 5 5 0%
2.1 5 4 -20% 2.1 3 4 +20% 2.1 5 4 -20%
2.2 5 4 -20% 2.2 5 5 0% 2.2 5 5 0%
2.3 5 4 -20% 2.3 5 5 0% 2.3 5 5 0%
2.4 5 4 -20% 2.4 4 5 +20% 2.4 3 5 +40%
2.5 5 4 -20% 2.5 5 5 0% 2.5 5 5 0%
2.6 5 4 -20% 2.6 4 4 0% 2.6 5 5 0%
2.7 4 4 0% 2.7 4 4 0% 2.7 3 4 +20%
2.8 4 4 0% 2.8 5 4 -20% 2.8 5 5 0%
2.9 4 4 0% 2.9 5 5 0% 2.9 4 4 0%
2.10 5 4 -20% 2.10 4 5 20% 2.10 4 3 -20%
2.11 4 4 0% 2.11 5 4 -20% 2.11 5 5 0%
2.12 5 5 0% 2.12 5 5 0% 2.12 5 5 0%
รวม 1.1-1.15 64 68 +6.25% รวม 1.1-1.15 60 61 +1.63% รวม 1.1-1.15 67 73 +8.95%
รวม 2.1-2.12 56 49 -12.50% รวม 2.1-2.12 54 65 +16.66% รวม 2.1-2.12 54 55 +1.85%
รวม 1.1-2.12 120 117 -2.50% รวม 1.1-2.12 114 126 +10.52% รวม 1.1-2.12 121 128 +5.78%



คริสตจักรไทยแคลิฟอร์เนีย
#14 pre post increase #18 pre Post increase #20 pre post Increase
1.1 5 5 0% 1.1 3 1 +40% 1.1 3 3 0%
1.2 5 5 0% 1.2 1 1 0% 1.2 3 4 +20%
1.3 5 5 0% 1.3 4 5 +20% 1.3 4 4 0%
1.4 5 5 0% 1.4 3 5 +40% 1.4 5 5 0%
1.5 5 5 0% 1.5 1 1 0% 1.5 4 3 -20%
1.6 5 5 0% 1.6 3 3 0% 1.6 3 4 +20%
1.7 0 5 +100% 1.7 5 5 0% 1.7 3 4 +20%
1.8 0 5 +100% 1.8 5 3 -40% 1.8 2 3 +20%
1.9 5 5 0% 1.9 1 2 +20% 1.9 5 5 0%
1.10 5 5 0% 1.10 1 1 0% 1.10 5 5 0%
1.11 5 5 0% 1.11 3 1 -40% 1.11 3 3 0%
1.12 5 5 0% 1.12 5 5 0% 1.12 5 5 0%
1.13 5 5 0% 1.13 5 5 0% 1.13 5 5 0%
1.14 5 5 0% 1.14 5 5 0% 1.14 5 4 -20%
1.15 5 5 0% 1.15 5 3 -40% 1.15 5 5 0%
2.1 3 3 0% 2.1 1 3 +40% 2.1 2 1 -20%
2.2 4 3 -20% 2.2 3 3 0% 2.2 2 2 0%
2.3 5 5 0% 2.3 3 3 0% 2.3 2 4 +40%
2.4 5 5 0% 2.4 1 2 +20% 2.4 3 4 +20%
2.5 5 5 0% 2.5 5 5 0% 2.5 3 4 +20%
2.6 5 5 0% 2.6 3 3 0% 2.6 2 4 +40%
2.7 3 3 0% 2.7 1 1 0% 2.7 1 3 +40%
2.8 4 5 +20% 2.8 1 3 +40% 2.8 4 3 -20%
2.9 5 5 0% 2.9 3 2 -20% 2.9 0 4 +80%
2.10 5 5 0% 2.10 3 3 0% 2.10 3 4 +20%
2.11 5 5 0% 2.11 3 5 +40% 2.11 5 5 0%
2.12 5 5 0% 2.12 2 3 +20% 2.12 5 4 -20%
รวม 1.1-1.15 65 75 +15.38% รวม 1.1-1.15 50 46 -8.00% รวม 1.1-1.15 61 62 +1.63%
รวม 2.1-2.12 54 54 0% รวม 2.1-2.12 29 35 +20.68% รวม 2.1-2.12 32 42 +32.25%
รวม 1.1-2.12 119 129 +15.38% รวม 1.1-2.12 79 81 +2.53% รวม 1.1-2.12 93 104 +11.82%





สรุปจากการอ่านข้อมูลของคริสตจักรไทยแคลิฟอร์เนีย
1. จำนวนผู้ที่กรอกแบบสอบถามทั้งก่อนและหลังการเรียน 9 คน
2. จำนวนผู้ที่มีคะแนนข้อ 1.1-1.15 ที่เพิ่มขึ้นหลังจากการเรียน 8 คน
3. จำนวนผู้ที่มีคะแนนข้อ 1.1-1.15 ที่ลดลงหลังจากการเรียน 1 คน
4. เฉลี่ยคะแนนของข้อ 1.1-1.15 ของทั้ง 9 คนที่กรอกแบบสอบถาม +14.97 %
5. จำนวนผู้ที่มีคะแนนข้อ 2.1-2.12 ที่เพิ่มขึ้นหลังจากการเรียน 7 คน
6. จำนวนผู้ที่มีคะแนนข้อ 2.1-2.12 ที่คงเดิมหลังจากการเรียน 1 คน
7. จำนวนผู้ที่มีคะแนนข้อ 2.1-2.12 ที่ลดลงหลังจากการเรียน 1 คน
8. เฉลี่ยคะแนนของข้อ 2.1-2.12 ของทั้ง 9 คนที่กรอกแบบสอบถาม +8.94%
9. เฉลี่ยคะแนนทั้งหมดข้อ 1.1-2.12 ของทั้ง 9 คนที่กรอกแบบสอบถาม +9.52%
10. จำนวนผู้ที่มีคะแนนทั้งหมดข้อ 1.1-2.12 ที่เพิ่มขึ้นหลังจากการเรียน 8 คน
11. จำนวนผู้ที่มีคะแนนทั้งหมดข้อ 1.1-2.12 ที่ลดลงหลังจากการเรียน 1 คน
12. จำนวนเปอร์เซนต์ของผู้เรียนทั้งหมดที่ได้ประโยชน์จากการเรียน 88.88%

คริสตจักรไทยมิชชั่น
คริสตจักรแห่งนี้ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1991 ปัจจุบันมีสมาชิก 91 คน ศิษยาภิบาลคือศาสนาจารย์
ยงยุทธ ฟูเกียรติสุทธ์ สถานที่ ๆ ที่ใช้นมัสการตั้งอยู่ที่ 4000 Green Ave., Los Alamitos คริสตจักรแห่งนี้มีสมาชิกส่วนใหญ่อยู่ในวัยศึกษาและหนุ่มสาววัยทำงานและมีพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ที่เป็นผู้ควบคุมดูแลคริสตจักร การสอนของผู้เขียนในคริสตจักรแห่งนี้ได้สอนบทเรียนในชั้นเรียนรวีวารศึกษาของคริสตจักรซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่เวลา 9.30-10.30 น. ผู้เข้าเรียนครั้งแรกมี 25 คน แต่ที่คงมาเรียนตลอดมีเพียง 10 คน ผลของการกรอกแบบสอบถามของ 10 คนมีดังนี้







คริสตจักรไทยมิชชั่น
#2 pre post increase #12 pre Post increase #15 pre post increase
1.1 4 5 +20% 1.1 5 5 0% 1.1 1 1 0%
1.2 1 5 +80% 1.2 5 5 0% 1.2 1 1 0%
1.3 3 5 +40% 1.3 5 4 -20% 1.3 5 1 -80%
1.4 5 5 0% 1.4 5 5 0% 1.4 4 3 -20%
1.5 5 5 0% 1.5 5 5 0% 1.5 5 1 -80%
1.6 5 5 0% 1.6 5 5 0% 1.6 3 3 0%
1.7 4 5 +20% 1.7 5 5 0% 1.7 5 5 0%
1.8 5 5 0% 1.8 4 3 -20% 1.8 4 5 +20%
1.9 4 5 +20% 1.9 4 4 0% 1.9 2 5 +60%
1.10 2 4 +40% 1.10 3 4 +20% 1.10 5 1 -80%
1.11 1 3 +40% 1.11 5 5 0% 1.11 1 1 0%
1.12 1 5 +80% 1.12 5 5 0% 1.12 5 5 0%
1.13 5 5 0% 1.13 5 5 0% 1.13 5 1 -80%
1.14 5 5 0% 1.14 3 4 +20% 1.14 5 5 0%
1.15 5 5 0% 1.15 4 5 +20% 1.15 5 5 0%
2.1 4 4 0% 2.1 3 3 0% 2.1 4 3 -20%
2.2 5 5 0% 2.2 5 5 0% 2.2 5 5 0%
2.3 5 5 0% 2.3 5 5 0% 2.3 5 5 0%
2.4 5 4 -20% 2.4 3 3 0% 2.4 5 5 0%
2.5 4 4 0% 2.5 4 4 0% 2.5 4 5 +20%
2.6 4 4 0% 2.6 4 4 0% 2.6 3 2 -20%
2.7 3 4 +20% 2.7 2 2 0% 2.7 4 5 -20%
2.8 3 4 +20% 2.8 3 4 +20% 2.8 5 4 -20%
2.9 4 4 0% 2.9 2 2 0% 2.9 5 5 0%
2.10 3 4 +20% 2.10 3 3 0% 2.10 3 4 +20%
2.11 4 3 -20% 2.11 4 4 0% 2.11 4 5 +20%
2.12 5 5 0% 2.12 3 3 0% 2.12 1 5 +80%
รวม 1.1-1.15 55 72 +30.90% รวม 1.1-1.15 68 64 -5.88% รวม 1.1-1.15 56 43 -23.21%
รวม 2.1-2.12 49 50 +2.04% รวม 2.1-2.12 41 42 +2.43% รวม 2.1-2.12 58 53 -8.62%
รวม 1.1-2.12 104 122 +17.30% รวม 1.1-2.12 109 106 +2.75% รวม 1.1-2.12 114 96 -15.78%




คริสตจักรไทยมิชชั่น
#17 pre post increase #18 pre Post increase #19 pre post Increase
1.1 5 5 0% 1.1 2 5 +60% 1.1 5 5 0%
1.2 5 5 0% 1.2 2 5 +60% 1.2 1 5 +80%
1.3 5 4 -20% 1.3 5 5 0% 1.3 5 5 0%
1.4 5 4 -20% 1.4 5 5 0% 1.4 5 5 0%
1.5 5 4 -20% 1.5 5 5 0% 1.5 3 4 +20%
1.6 5 4 -20% 1.6 5 5 0% 1.6 5 4 -20%
1.7 5 5 0% 1.7 3 5 +40% 1.7 5 5 0%
1.8 5 4 -20% 1.8 4 1 -60% 1.8 5 5 0%
1.9 5 4 -20% 1.9 4 1 -60% 1.9 1 5 +80%
1.10 5 5 0% 1.10 1 1 0% 1.10 1 1 0%
1.11 1 4 +60% 1.11 4 5 -20% 1.11 1 1 0%
1.12 5 4 -20% 1.12 5 5 0% 1.12 5 5 0%
1.13 5 5 0% 1.13 5 1 -80% 1.13 5 5 0%
1.14 5 5 0% 1.14 5 5 0% 1.14 5 5 0%
1.15 5 5 0% 1.15 5 5 0% 1.15 5 5 0%
2.1 4 4 0% 2.1 2 3 20% 2.1 3 3 0%
2.2 3 4 +20% 2.2 4 3 -20% 2.2 5 5 0%
2.3 4 4 0% 2.3 4 5 20% 2.3 5 5 0%
2.4 4 4 0% 2.4 3 3 0% 2.4 4 4 0%
2.5 4 4 0% 2.5 5 4 -20% 2.5 4 4 0%
2.6 4 4 0% 2.6 5 5 0% 2.6 4 4 0%
2.7 4 3 -20% 2.7 4 2 -40% 2.7 4 3 -20%
2.8 4 4 0% 2.8 5 4 -20% 2.8 4 4 0%
2.9 4 3 -20% 2.9 5 3 -40% 2.9 5 5 0%
2.10 3 3 0% 2.10 4 4 0% 2.10 4 3 -20%
2.11 4 4 0% 2.11 4 5 +20% 2.11 4 4 0%
2.12 4 4 0% 2.12 4 4 0% 2.12 4 5 +20%
รวม 1.1-1.15 71 67 -5.63% รวม 1.1-1.15 60 59 -16.66% รวม 1.1-1.15 57 64 +12.28%
รวม 2.1-2.12 46 45 -2.17% รวม 2.1-2.12 49 45 -8.16% รวม 2.1-2.12 50 49 -2.00%
รวม 1.1-2.12 117 112 -4.27% รวม 1.1-2.12 109 104 -3.66% รวม 1.1-2.12 107 113 -3.73%



คริสตจักรไทยมิชชั่น
#21 pre post increase #22 pre Post increase #23 pre post Increase
1.1 5 5 0% 1.1 5 5 0% 1.1 3 5 +40%
1.2 5 4 -20% 1.2 4 4 0% 1.2 5 5 0%
1.3 3 4 +20% 1.3 5 5 0% 1.3 3 3 0%
1.4 5 4 -20% 1.4 3 2 -20% 1.4 3 4 +20%
1.5 3 4 +20% 1.5 5 3 -40% 1.5 4 5 +20%
1.6 4 4 0% 1.6 5 3 -40% 1.6 4 3 -20%
1.7 5 5 0% 1.7 5 5 0% 1.7 5 5 0%
1.8 5 5 0% 1.8 5 2 -60% 1.8 5 4 -20%
1.9 5 4 -20% 1.9 4 4 0% 1.9 5 2 -60%
1.10 5 5 0% 1.10 5 5 0% 1.10 5 3 -40%
1.11 4 3 -20% 1.11 4 1 -60% 1.11 3 2 -20%
1.12 5 5 0% 1.12 3 1 -40% 1.12 5 3 -40%
1.13 5 5 0% 1.13 2 1 -20% 1.13 5 5 0%
1.14 5 5 0% 1.14 4 5 -20% 1.14 5 5 0%
1.15 5 5 0% 1.15 5 5 0% 1.15 5 5 0%
2.1 3 3 0% 2.1 3 4 +20% 2.1 3 2 -20%
2.2 4 5 +20% 2.2 3 5 +40% 2.2 5 5 0%
2.3 5 5 0% 2.3 5 5 0% 2.3 5 5 0%
2.4 4 5 +20% 2.4 5 3 -40% 2.4 5 5 0%
2.5 4 3 -20% 2.5 4 4 0% 2.5 5 5 0%
2.6 4 3 -20% 2.6 5 5 0% 2.6 5 4 -20%
2.7 4 4 0% 2.7 5 5 0% 2.7 3 3 0%
2.8 3 4 +20% 2.8 4 3 -20% 2.8 4 4 0%
2.9 5 5 0% 2.9 1 5 +80% 2.9 3 5 +40%
2.10 3 3 0% 2.10 3 3 0% 2.10 4 5 +20%
2.11 4 5 +20% 2.11 2 5 +60% 2.11 4 5 +20%
2.12 5 5 0% 2.12 5 5 0% 2.12 3 4 +20%
รวม 1.1-1.15 64 67 +4.68% รวม 1.1-1.15 64 61 -4.68% รวม 1.1-1.15 65 59 -9.23%
รวม 2.1-2.12 48 50 +4.16% รวม 2.1-2.12 45 53 -17.77% รวม 2.1-2.12 49 50 -2.04%
รวม 1.1-2.12 112 117 +4.46% รวม 1.1-2.12 109 114 -4.58% รวม 1.1-2.12 114 109 -4.38%




คริสตจักรไทยมิชชั่น
#24 pre post increase
1.1 3 4 +20%
1.2 3 4 +20%
1.3 2 4 +40%
1.4 4 4 0%
1.5 4 5 +20%
1.6 3 5 +40%
1.7 4 5 +20%
1.8 5 5 0%
1.9 5 5 0%
1.10 5 4 -20%
1.11 2 4 +40%
1.12 5 5 0%
1.13 5 5 0%
1.14 5 5 0%
1.15 5 5 0%
2.1 2 3 +20%
2.2 4 5 +20%
2.3 5 5 0%
2.4 4 4 0%
2.5 3 4 +20%
2.6 4 4 0%
2.7 2 4 +40%
2.8 4 5 +20%
2.9 4 4 0%
2.10 2 3 +20%
2.11 3 4 +20%
2.12 4 3 -20%
รวม 1.1-1.15 60 69 +15.00%
รวม 2.1-2.12 41 48 +17.07%
รวม 1.1-2.12 101 117 +15.84%



สรุปจากการอ่านข้อมูลของคริสตจักรไทยมิชชั่น
1. จำนวนผู้ที่กรอกแบบสอบถามทั้งก่อนและหลังการเรียน 10 คน
2. จำนวนผู้ที่มีคะแนนข้อ 1.1-1.15 ที่เพิ่มขึ้นหลังจากการเรียน 4 คน
3. จำนวนผู้ที่มีคะแนนข้อ 1.1-1.15 ที่ลดลงหลังจากการเรียน 6 คน
4. เฉลี่ยคะแนนของข้อ 1.1-1.15 ของทั้ง 10 คนที่กรอกแบบสอบถาม +0.80%
5. จำนวนผู้ที่มีคะแนนข้อ 2.1-2.12 ที่เพิ่มขึ้นหลังจากการเรียน 4 คน
6. จำนวนผู้ที่มีคะแนนข้อ 2.1-2.12 ที่ลดลงหลังจากการเรียน 6 คน
7. เฉลี่ยคะแนนของข้อ 2.1-2.12 ของทั้ง 10 คนที่กรอกแบบสอบถาม +1.89%
8. เฉลี่ยคะแนนของทั้งหมดข้อ 1.1-2.12 ทั้ง 10 คนที่กรอกแบบสอบถาม +1.27%
9. จำนวนผู้ที่มีคะแนนทั้งหมดข้อ 1.1-2.12 ที่เพิ่มขึ้นหลังจากการเรียน 4 คน
10. จำนวนผู้ที่มีคะแนนทั้งหมดข้อ 1.1-2.12 ที่ลดลงหลังจากการเรียน 6 คน
11. จำนวนเปอร์เซนต์ของผู้เรียนทั้งหมดที่ได้ประโยชน์จากการเรียน 40.00 %

คริสตจักรที่หนึ่งไทยเพรสไบทีเรียน
คริสตจักรแห่งนี้ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1973 ปัจจุบันมีสมาชิก 128 คน ศิษยาภิบาลคือศาสนาจารย์
ดร.ประจวบ เดชะวรรณ สถานที่ ๆ ที่ใช้นมัสการตั้งอยู่ที่ 1047 North Barranca Ave., Covina คริสตจักรแห่งนี้มีสมาชิกที่มีวัยแตกต่างกันตั้งแต่เด็กเล็กจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่สูงอายุ การสอนของผู้เขียนในคริสตจักรแห่งนี้ได้สอนบทเรียนในชั้นเรียนรวีวารศึกษาผู้ใหญ่ของคริสตจักรซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ เวลา 11.15-12.15 น. รวมทั้งหมด 8 ครั้ง ผู้เข้าเรียนครั้งแรกมี 25 คน แต่ที่คงมาเรียนตลอดมีเพียง 13 คน ผลของการกรอกแบบสอบถามของ 10 คนมีดังนี้









คริสตจักรที่หนึ่งไทยเพรสไบทีเรียน
#1 pre post increase #2 pre Post increase #8 pre post Increase
1.1 5 5 0% 1.1 5 5 0% 1.1 3 4 +20%
1.2 5 5 0% 1.2 5 5 0% 1.2 3 0 -60%
1.3 4 5 +20% 1.3 5 5 0% 1.3 4 4 0%
1.4 4 5 +20% 1.4 5 5 0% 1.4 4 4 0%
1.5 4 5 +20% 1.5 5 5 0% 1.5 3 4 +20%
1.6 4 5 +20% 1.6 5 5 0% 1.6 4 4 0%
1.7 5 5 0% 1.7 5 5 0% 1.7 4 4 0%
1.8 5 5 0% 1.8 5 5 0% 1.8 3 4 +20%
1.9 5 5 0% 1.9 5 5 0% 1.9 4 4 0%
1.10 5 5 0% 1.10 5 5 0% 1.10 5 5 0%
1.11 4 4 0% 1.11 5 5 0% 1.11 4 0 -80%
1.12 5 5 0% 1.12 5 5 0% 1.12 5 5 0%
1.13 5 5 0% 1.13 5 5 0% 1.13 5 5 0%
1.14 5 5 0% 1.14 5 5 0% 1.14 4 5 +20%
1.15 5 5 0% 1.15 5 5 0% 1.15 5 5 0%
2.1 4 4 0% 2.1 4 4 0% 2.1 4 5 +20%
2.2 5 5 0% 2.2 4 4 0% 2.2 5 5 0%
2.3 5 5 0% 2.3 4 4 0% 2.3 4 4 0%
2.4 5 5 0% 2.4 4 4 0% 2.4 4 4 0%
2.5 5 5 0% 2.5 5 5 0% 2.5 4 4 0%
2.6 5 5 0% 2.6 4 5 +20% 2.6 5 5 0%
2.7 4 4 0% 2.7 3 3 0% 2.7 5 5 0%
2.8 4 5 +20% 2.8 3 5 +40% 2.8 5 5 0%
2.9 4 5 +20% 2.9 5 5 0% 2.9 5 5 0%
2.10 4 5 +20% 2.10 4 4 0% 2.10 4 4 0%
2.11 5 5 0% 2.11 4 5 20% 2.11 5 5 0%
2.12 5 5 0% 2.12 5 5 0% 2.12 4 5 +20%
รวม 1.1-1.15 65 74 +13.84% รวม 1.1-1.15 75 75 0% รวม 1.1-1.15 60 57 -5.00%
รวม 2.1-2.12 55 58 +5.45% รวม 2.1-2.12 49 53 +8.16% รวม 2.1-2.12 54 56 +3.70%
รวม 1.1-2.12 120 132 +10.00% รวม 1.1-2.12 124 128 +3.22% รวม 1.1-2.12 104 113 +5.76%



คริสตจักรที่หนึ่งไทยเพรสไบทีเรียน
#9 pre post increase #10 pre Post increase #11 pre post Increase
1.1 2 5 +60% 1.1 5 5 0% 1.1 3 3 0%
1.2 2 4 +40% 1.2 5 5 0% 1.2 0 3 +60%
1.3 4 5 20% 1.3 4 5 +20% 1.3 5 5 0%
1.4 5 5 0% 1.4 5 5 0% 1.4 5 5 0%
1.5 5 5 0% 1.5 5 5 0% 1.5 5 5 0%
1.6 5 5 0% 1.6 4 4 0% 1.6 5 5 0%
1.7 5 5 0% 1.7 5 5 0% 1.7 3 5 +40%
1.8 5 5 0% 1.8 5 5 0% 1.8 4 3 -20%
1.9 4 5 +20% 1.9 5 5 0% 1.9 5 5 0%
1.10 5 5 0% 1.10 5 5 0% 1.10 5 5 0%
1.11 1 1 0% 1.11 4 4 0% 1.11 3 5 40%
1.12 5 5 0% 1.12 5 5 0% 1.12 5 5 0%
1.13 5 5 0% 1.13 5 5 0% 1.13 5 5 0%
1.14 5 5 0% 1.14 5 5 0% 1.14 5 5 0%
1.15 5 5 0% 1.15 5 5 0% 1.15 5 5 0%
2.1 4 3 -20% 2.1 4 4 0% 2.1 3 3 0%
2.2 5 5 0% 2.2 5 5 0% 2.2 3 3 0%
2.3 5 5 0% 2.3 4 4 0% 2.3 5 5 0%
2.4 5 5 0% 2.4 5 4 -20% 2.4 3 5 +40%
2.5 4 5 +20% 2.5 5 4 -20% 2.5 4 5 +20%
2.6 4 4 0% 2.6 4 4 0% 2.6 3 3 0%
2.7 3 3 0% 2.7 3 3 0% 2.7 3 2 -20%
2.8 3 4 +20% 2.8 3 4 +20% 2.8 5 5 0%
2.9 5 4 -20% 2.9 4 4 0% 2.9 5 5 0%
2.10 3 3 0% 2.10 3 3 0% 2.10 5 5 0%
2.11 4 4 0% 2.11 5 5 0% 2.11 5 5 0%
2.12 5 5 0% 2.12 5 5 0% 2.12 5 5 0%
รวม 1.1-1.15 63 70 +11.11% รวม 1.1-1.15 72 73 +1.38% รวม 1.1-1.15 63 69 +9.52%
รวม 2.1-2.12 50 42 -16.00% รวม 2.1-2.12 50 49 -2.00% รวม 2.1-2.12 49 51 +4.08%
รวม 1.1-2.12 119 112 -5.04% รวม 1.1-2.12 122 122 0% รวม 1.1-2.12 112 120 +7.14%



คริสตจักรไทยที่หนึ่งเพรสไบทีเรียน
#12 pre post increase #14 pre Post increase #15 pre post Increase
1.1 5 5 0% 1.1 3 4 +20% 1.1 3 4 +20%
1.2 5 5 0% 1.2 3 5 +20% 1.2 5 4 -20%
1.3 5 5 0% 1.3 5 5 0% 1.3 4 4 0%
1.4 5 5 0% 1.4 5 5 0% 1.4 4 5 +20%
1.5 5 5 0% 1.5 5 5 0% 1.5 5 5 0%
1.6 5 5 0% 1.6 5 5 0% 1.6 5 5 0%
1.7 5 5 0% 1.7 4 4 0% 1.7 5 5 0%
1.8 5 5 0% 1.8 5 4 -20% 1.8 3 3 0%
1.9 5 5 0% 1.9 4 5 +20% 1.9 4 4 0%
1.10 1 1 0% 1.10 4 4 0% 1.10 3 4 20%
1.11 3 3 0% 1.11 3 3 0% 1.11 3 3 0%
1.12 5 5 0% 1.12 5 5 0% 1.12 5 5 0%
1.13 1 1 0% 1.13 5 5 0% 1.13 5 5 0%
1.14 3 5 +40% 1.14 5 4 -20% 1.14 5 4 -20%
1.15 5 5 0% 1.15 5 5 0% 1.15 5 5 0%
2.1 3 3 0% 2.1 3 3 0% 2.1 3 3 0%
2.2 5 5 0% 2.2 5 5 0% 2.2 5 5 0%
2.3 5 5 0% 2.3 5 5 0% 2.3 5 4 -20%
2.4 4 3 -20% 2.4 5 5 0% 2.4 3 3 0%
2.5 5 5 0% 2.5 5 5 0% 2.5 5 3 -40%
2.6 4 5 +20% 2.6 5 5 0% 2.6 5 4 -20%
2.7 5 5 0% 2.7 2 4 +40% 2.7 2 4 +40%
2.8 4 4 0% 2.8 3 5 +40% 2.8 5 4 -20%
2.9 3 3 0% 2.9 4 5 +20% 2.9 5 4 -20%
2.10 4 4 0% 2.10 4 4 0% 2.10 4 3 -20%
2.11 5 4 -20% 2.11 5 5 0% 2.11 4 3 -20%
2.12 3 5 +40% 2.12 5 5 0% 2.12 4 3 -20%
รวม 1.1-1.15 63 60 -4.76% รวม 1.1-1.15 66 68 +6.06% รวม 1.1-1.15 64 65 +1.56%
รวม 2.1-2.12 50 51 +2.00% รวม 2.1-2.12 51 56 +7.84% รวม 2.1-2.12 50 43 -14.00%
รวม 1.1-2.12 113 111 -1.76% รวม 1.1-2.12 117 124 +5.98% รวม 1.1-2.12 114 108 -5.26%



คริสตจักรที่หนึ่งไทยเพรสไบทีเรียน
#16 pre post increase #18 pre Post increase #24 pre post Increase
1.1 1 0 +20% 1.1 4 3 -20% 1.1 1 5 +80%
1.2 5 5 0% 1.2 4 4 0% 1.2 1 5 +80%
1.3 5 5 0% 1.3 5 5 0% 1.3 3 4 +20%
1.4 1 5 +80% 1.4 5 5 0% 1.4 2 4 +40%
1.5 4 5 +20% 1.5 5 5 0% 1.5 2 4 +40%
1.6 5 5 0% 1.6 5 5 0% 1.6 3 5 +40%
1.7 4 5 +20% 1.7 5 4 -20% 1.7 5 5 0%
1.8 5 5 0% 1.8 4 3 -20% 1.8 4 5 +20%
1.9 5 5 0% 1.9 4 4 0% 1.9 2 4 +40%
1.10 5 5 0% 1.10 1 5 +80% 1.10 5 5 0%
1.11 5 5 0% 1.11 1 3 +40% 1.11 3 4 +20%
1.12 5 5 0% 1.12 5 0 -100% 1.12 5 5 0%
1.13 5 5 0% 1.13 5 5 0% 1.13 5 5 0%
1.14 5 5 0% 1.14 5 5 0% 1.14 5 5 0%
1.15 5 5 0% 1.15 5 5 0% 1.15 5 5 0%
2.1 4 4 0% 2.1 5 4 -20% 2.1 3 3 0%
2.2 5 5 0% 2.2 5 5 0% 2.2 5 5 0%
2.3 3 4 +20% 2.3 4 4 0% 2.3 4 4 0%
2.4 5 5 0% 2.4 1 4 +60% 2.4 3 4 +20%
2.5 5 5 0% 2.5 5 5 0% 2.5 3 3 0%
2.6 5 5 0% 2.6 4 5 +20% 2.6 4 4 0%
2.7 5 5 0% 2.7 3 3 0% 2.7 3 2 -20%
2.8 5 5 0% 2.8 3 4 +20% 2.8 4 5 +20%
2.9 5 5 0% 2.9 5 5 0% 2.9 3 5 +40%
2.10 4 5 +20% 2.10 3 4 +20% 2.10 3 4 +20%
2.11 5 5 0% 2.11 5 4 -20% 2.11 3 4 +20%
2.12 5 5 0% 2.12 5 5 0% 2.12 4 5 +20%
รวม 1.1-1.15 60 70 +16.66% รวม 1.1-1.15 63 61 -3.17% รวม 1.1-1.15 51 65 +27.45%
รวม 2.1-2.12 56 58 +3.57% รวม 2.1-2.12 48 52 +8.33% รวม 2.1-2.12 42 48 +14.28%
รวม 1.1-2.12 116 128 +10.34% รวม 1.1-2.12 111 113 +1.80% รวม 1.1-2.12 93 113 +21.50%




คริสตจักรที่หนึ่งไทยเพรสไบทีเรียน
#25 pre post increase
1.1 4 4 0%
1.2 5 3 -40%
1.3 5 5 0%
1.4 5 5 0%
1.5 3 2 -20%
1.6 5 3 -40%
1.7 5 4 -20%
1.8 3 4 +20%
1.9 5 4 -20%
1.10 5 5 0%
1.11 5 3 -40%
1.12 5 5 0%
1.13 5 5 0%
1.14 0 4 +80%
1.15 5 5 0%
2.1 5 4 -20%
2.2 5 5 0%
2.3 4 4 0%
2.4 4 4 0%
2.5 5 4 -20%
2.6 5 3 -40%
2.7 4 3 -20%
2.8 5 4 -20%
2.9 4 4 0%
2.10 5 5 0%
2.11 4 5 +20%
2.12 4 5 +20%
รวม 1.1-1.15 65 62 -4.61%
รวม 2.1-2.12 54 50 -7.40%
รวม 1.1-2.12 119 112 -5.88%



สรุปจากการอ่านข้อมูลของคริสตจักรที่หนึ่งไทยเพรสไบทีเรียน
1. จำนวนผู้ที่กรอกแบบสอบถามทั้งก่อนและหลังการเรียน 13 คน
2. จำนวนผู้ที่มีคะแนนข้อ 1.1-1.15 ที่เพิ่มขึ้นหลังจากการเรียน 9 คน
3. จำนวนผู้ที่มีคะแนนข้อ 1.1-1.15 ที่เท่าเดิมหลังจากการเรียน 1 คน
4. จำนวนผู้ที่มีคะแนนข้อ 1.1-1.15 ที่ลดลงหลังจากการเรียน 4 คน
5. เฉลี่ยคะแนนของข้อ 1.1-1.15 ของทั้ง 13 คนที่กรอกแบบสอบถาม +4.57%
6. จำนวนผู้ที่มีคะแนนข้อ 2.1-2.12 ที่เพิ่มขึ้นหลังจากการเรียน 9 คน
7. จำนวนผู้ที่มีคะแนนข้อ 2.1-2.12 ที่ลดลงหลังจากการเรียน 4 คน
8. เฉลี่ยคะแนนของข้อ 2.1-2.12 ของทั้ง 13 คนที่กรอกแบบสอบถาม +1.36%
9. เฉลี่ยคะแนนทั้งหมดข้อ 1.1-2.12 ของทั้ง 13 คนที่กรอกแบบสอบถาม +3.15%
10. จำนวนผู้ที่มีคะแนนทั้งหมดข้อ 1.1-2.12 ที่เพิ่มขึ้นหลังจากการเรียน 8 คน
11. จำนวนผู้ที่มีคะแนนทั้งหมดข้อ 1.1-2.12 ที่เท่าเดิมหลังจากการเรียน 1 คน
12. จำนวนผู้ที่มีคะแนนทั้งหมดข้อ 1.1-2.12 ที่ลดลงหลังจากการเรียน 4 คน
13. จำนวนเปอร์เซนต์ของทั้งหมดที่ได้ประโยชน์จากการเรียน 61.53%

คริสตจักรไทยเอ๊าท์ริช
คริสตจักรแห่งนี้ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1979 ปัจจุบันมีสมาชิก 120 คน ศิษยาภิบาลคือศาสนาจารย์
ดร.วิชาญ ฤทธิ์นิมิตร สถานที่ ๆ ที่ใช้นมัสการตั้งอยู่ที่ 978-984 North Lake Ave., Pasadena คริสตจักรแห่งนี้มีสมาชิกที่มีวัยแตกต่างกันตั้งแต่เด็กเล็กจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่สูงอายุ ผู้เขียนได้สอนบทเรียนในชั้นเรียนอบรมผู้นำของคริสตจักรซึ่งตรงกับวันจันทร์ เวลา 19.00-21.30น. รวมทั้งหมด 4 ครั้ง ผู้เข้าเรียนครั้งแรกมี 6 คน แต่ที่คงมาเรียนตลอดมี 4 คน ผลของการกรอกแบบสอบถามของ 4 คนมีดังนี้







คริสตจักรไทยเอ๊าท์ริช
#1 pre Post increase #2 pre Post increase #3 pre post Increase
1.1 4 5 +20% 1.1 4 5 +20% 1.1 5 5 0%
1.2 5 5 0% 1.2 4 5 +20% 1.2 5 4 -20%
1.3 5 5 0% 1.3 1 5 +80% 1.3 5 5 0%
1.4 4 5 +20% 1.4 1 4 +60% 1.4 5 5 0%
1.5 5 5 0% 1.5 5 5 0% 1.5 5 5 0%
1.6 5 5 0% 1.6 5 5 0% 1.6 4 5 +20%
1.7 5 5 0% 1.7 4 4 0% 1.7 4 5 +20%
1.8 5 5 0% 1.8 5 3 -40% 1.8 4 4 0%
1.9 4 5 +20% 1.9 1 5 +80% 1.9 5 5 0%
1.10 5 5 0% 1.10 5 5 0% 1.10 4 5 +20%
1.11 4 5 +20% 1.11 1 5 +80% 1.11 4 4 0%
1.12 5 5 0% 1.12 5 5 0% 1.12 5 5 0%
1.13 5 5 0% 1.13 1 5 +80% 1.13 4 5 +20%
1.14 5 5 0% 1.14 3 5 +40% 1.14 4 4 0%
1.15 5 5 0% 1.15 5 5 0% 1.15 5 5 0%
2.1 3 4 +20% 2.1 3 3 0% 2.1 4 4 0%
2.2 4 5 +20% 2.2 3 3 0% 2.2 4 4 0%
2.3 5 5 0% 2.3 5 5 0% 2.3 4 4 0%
2.4 4 4 0% 2.4 5 5 0% 2.4 4 4 0%
2.5 4 4 0% 2.5 5 5 0% 2.5 3 5 +40%
2.6 4 4 0% 2.6 4 5 +20% 2.6 4 5 +20%
2.7 3 4 +20% 2.7 5 5 0% 2.7 4 3 -20%
2.8 3 4 +20% 2.8 4 5 +20% 2.8 4 5 +20%
2.9 4 4 0% 2.9 4 4 0% 2.9 4 4 0%
2.10 4 4 0% 2.10 4 4 0% 2.10 4 4 0%
2.11 4 4 0% 2.11 5 4 -20% 2.11 3 4 +20%
2.12 5 5 0% 2.12 5 5 0% 2.12 4 5 +20%
รวม 1.1-1.15 71 75 +5.63% รวม 1.1-1.15 50 69 +38.00% รวม 1.1-1.15 69 71 +2.89%
รวม 2.1-2.12 47 51 +8.51 รวม 2.1-2.12 52 53 +1.92% รวม 2.1-2.12 47 51 +8.51%
รวม 1.1-2.12 118 126 +6.77% รวม 1.1-2.12 102 122 +19.60% รวม 1.1-2.12 116 122 +5.17%





คริสตจักรไทยเอ๊าท์ริช
#4 pre post increase
1.1 3 5 +40%
1.2 4 4 0%
1.3 2 3 +20%
1.4 4 5 +20%
1.5 3 4 +20%
1.6 4 4 0%
1.7 4 4 0%
1.8 5 3 -40%
1.9 3 3 0%
1.10 3 5 +40%
1.11 1 3 +40%
1.12 4 5 +20%
1.13 4 5 +20%
1.14 4 5 +20%
1.15 5 5 0%
2.1 3 4 +20%
2.2 3 3 0%
2.3 4 5 +20%
2.4 3 4 +20%
2.5 4 4 0%
2.6 4 5 +20%
2.7 3 4 +20%
2.8 2 3 +20%
2.9 3 3 0%
2.10 3 3 0%
2.11 4 3 -20%
2.12 4 5 +20%
รวม 1.1-1.15 53 63 +18.86%
รวม 2.1-2.12 40 46 +15.00%
รวม 1.1-2.12 93 109 +17.20%



สรุปจากการอ่านข้อมูลของคริสตจักรไทยเอ๊าท์ริช
1. จำนวนผู้ที่กรอกแบบสอบถามทั้งก่อนและหลังการเรียน 4 คน
2. จำนวนผู้ที่มีคะแนนข้อ 1.1-1.15 ที่เพิ่มขึ้นหลังจากการเรียน 4 คน
3. เฉลี่ยคะแนนของข้อ 1.1-1.15 ของทั้ง 13 คนที่กรอกแบบสอบถาม +14.40%
4. จำนวนผู้ที่มีคะแนนข้อ 2.1-2.12 ที่เพิ่มขึ้นหลังจากการเรียน 4คน
5. เฉลี่ยคะแนนข้อ 2.1-2.12 ของทั้ง 4 คนที่กรอกแบบสอบถาม +8.06%
6. เฉลี่ยคะแนนทั้งหมดข้อ 1.1-2.12 ของทั้ง 4 คนที่กรอกแบบสอบถาม +11.65%
7. จำนวนผู้ที่มีคะแนนทั้งหมดข้อ 1.1-2.12 ที่เพิ่มขึ้นหลังจากการเรียน 4 คน
8. จำนวนเปอร์เซนต์ของทั้งหมดที่ได้ประโยชน์จากการเรียน 100.%

สรุปคะแนนที่ได้จากแบบสอบถาม

คริสตจักร จำนวนเริ่มต้น จำนวนที่กรอกใบสอบถาม ได้ประโยชน์ คงเดิม ลดลง %ที่ได้ประโยชน์
1. คจ.ไทยแคลิฟอร์ฯ 20 9 8 - 1 88.88%
2. คจ.ไทยมิชชั่น 25 10 4 - 6 40%
3. คจ.ที่หนึ่งไทยเพรสฯ 25 13 8 1 4 61.53%
4. คจ.ไทยเอ๊าท์ริช 6 4 4 - - 100%
รวม 126 36 24 1 11 เฉลี่ย 66.66%












บทที่ 5
บทสรุปและคำแนะนำ

บทสรุป
การเทศนาเชิงประติทรรศน์ในบริบทของคริสตจักรไทยที่ได้นำเสนอในลักษณะของบทเรียนหรือ
บทเทศนาซึ่งได้อาศัยกลุ่มศึกษา 4 กลุ่มซึ่งได้ดัดแปลงมาจากรูปแบบแนวทางที่ Dr. Richard P. Hansen ซึ่งได้กำหนดรูปแบบของประติทรรศน์ออกเป็น 3 ลักษณะดังกล่าวที่กล่าวในบทต้นก่อนหน้านี้ โดยคาดหมายว่าบทเรียนต่าง ๆ ที่ได้นำเสนอไปนั้น จะสามารถทำให้ผู้เรียนเข้าความหมายของคำสอนของพระเยซูและเปาโลในเชิงประติทรรศน์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจถึงความจริงที่ล้ำลึกกว่าและสามารถนำไปประยุกต์กับความเชื่อของตนที่ทำให้ตนเองมีชีวิตที่เป็นสุขและสามารถผ่อนคลายความเครียดในชีวิตประจำวันได้
ผลลัพท์ที่ได้จากแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคนที่ร่วมการศึกษาก็มีการตอบสนองที่แตกต่างกัน สิ่งแรกที่ได้เห็นก็คือมีคนส่วนน้อยที่ให้ความสนใจติดตามการเรียนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบ คือถ้าจะเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ก็มีเพียง 28.57% ของจำนวนคนทั้งหมดที่ได้เริ่มต้นเรียนตั้งแต่ชั่วโมงแรก ในบรรดาคนที่มาร่วมในการเรียนก็มีบางคนได้รับประโยชน์คือมีการยอมรับในข้อความที่เป็นประติทรรศน์ซึ่งมีคะแนนเป็น +38% แต่สำหรับบางคนก็กลับมีความเห็นถดถอยเป็น –23.21% เช่นเดียวกับบทเรียนคำสอนประติทรรศน์ที่ให้ประโยชน์ในด้านชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณและช่วยให้พ้นจากความเครียดซึ่งบางคนก็ได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นหลังจากที่ได้ฟังคำสอนซึ่งได้คะแนนเพิ่มเป็น +32.25% ในขณะที่บางคนกลับรู้สึกมีชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณที่ถดถอยหรือทำให้เกิดความเครียดในตนเองมากขึ้นคือได้คะแนนเป็น –17.77%
การสอนในกลุ่มแรกและกลุ่มสุดท้ายก็มีผลลัพท์ของคะแนนเฉลี่ยที่อยู่ในขั้นที่ดีและดีมากคือได้คะแนนเพิ่มขึ้นเป็น 88.88% และ 100% ส่วนกลุ่มที่ 2 และ 3 นั้นได้คะแนนต่ำซึ่งได้คะแนนเท่ากับพอใช้และไม่ดีนักคือ 61.53% และ 40% ซึ่งลักษณะเช่นนี้ก็คล้ายคลึงกับคำอุปมาเรื่องเมล็ดพืชซึ่งหว่านแล้วตกลงในดิน 4 ชนิด (มัทธิว 13:1-23)
สาเหตุที่มีความแตกต่างของผลลัพท์ที่ได้จากการเรียนรู้ก็มาจากพื้นฐานที่แตกต่างกัน และการสอนที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
แม้ผลของการตอบสนองอาจได้ตัวเลขที่ไม่สูงหรือไม่ได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ได้จำนวนคนที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การสอนเชิง
ประติทรรศน์ควรยุติลง หรือไม่สมควรที่จะมีการศึกษาค้นคว้าต่อไปอีก เพราะความจริงที่เป็นคำตรัสหรือคำสอนของพระเยซูก็เป็นอย่างที่พระองค์ได้ตรัสกับสาวกว่า ¡°ข้อลับลึกแห่งแผ่นดินสวรรค์ทรงโปรดให้ท่านทั้งหลายรู้ได้ แต่คนเหล่านั้นไม่โปรดให้รู้¡± (มัทธิว 13:11) แม้อาจมีจำนวนน้อยคนที่ได้รับการเปิดเผย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่มีคนรู้ได้แต่น้อยไม่เป็นสิ่งที่สำคัญหรือไม่สมควรที่จะทุ่มเทศึกษาหาความจริงต่อไปอีก กลับตรงข้ามจำเป็นที่จะต้องแสวงหาเพิ่มเติมต่อไปเรื่อย ๆ เพราะสิ่งที่ได้รับการรู้เห็นแต่น้อยนั้นคือปัจจัยสำคัญของความจริงแห่งแผ่นดินสวรรค์ที่ถูกซ่อนอยู่
แม้คำสอนหรือคำเทศนาเชิงประติทรรศน์ซึ่งเป็นความล้ำลึกที่ไม่ใช่ทุกคนจะได้รับประโยชน์ หรือไม่ใช่ทุกคนจะรับได้หรือเข้าถึงได้ แต่ถึงกระนั้น ประติทรรศน์ก็เป็นอุปกรณ์ทางธรรมอันสำคัญ เพราะพระเยซูหรือเปาโลรวมทั้งผู้รับใช้พระเจ้าคนอื่น ๆ ได้ใช้ประติทรรศน์ในการสื่อความจริงแห่งสัจจธรรมของพระเจ้าและเป็นสิ่งที่เกื้อหนุนส่งเสริมให้ได้ชีวิตที่รุ่งโรจน์ทางฝ่ายจิตวิญญาณ คำสอนเชิงประติทรรศน์นี้เป็นแนวทางหรือวิธีการที่จะช่วยเปิดความคิดหรือจินตนาการให้กว้างออกไปจากขอบเขตที่จำกัด หากเป็นเช่นนั้นก็สามารถที่จะไปถึงความจริงที่ล้ำลึกได้

คำแนะนำ
สิ่งที่ควรที่จะศึกษาต่อไปก็คือ การค้นหาความหมายที่ลึกลงไปอีกในความหมายของประติทรรศน์ และการที่เราจะศึกษาเรื่องคำสอนเชิงประติทรรศน์ในศาสนาหรือลัทธินิกายอื่น ๆ เช่นศาสนาพุทธ, ลัทธิเต๋า, เซ็น เป็นต้น คือให้มีการศึกษาดูถึงความแตกต่างระหว่างประติทรรศน์ของคริสเตียนที่มีพระเจ้าเป็นศูนย์กลาง กับประติทรรศน์ที่ไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้านอกจากการไม่ยึดมั่นถือมั่นในตนเอง
นอกจากนั้น หวังว่าจะมีศึกษาถึงเทคนิคของการสร้างบทเทศนา และการมีกลยุทธวิธีการที่ดีและชาญฉลาดที่เข้ากับวัฒนธรรมประเพณีของไทยซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยถ่ายทอดคำสอนทั้งที่เป็นคำสอนที่เป็นประติทรรศน์หรืออื่น ๆ ซึ่งต้องใช้เชิงประติทรรศน์เพื่อการนำให้เข้าถึงความจริงอันเป็นความล้ำลึกแห่งพระคำของพระเจ้า โดยเฉพาะการหว่านพระวจนะซึ่งจะไปตกลงในดินของบุคคลที่ได้รับการทรงเลือกสรรไว้ซึ่งคนจำนวนนี้ก็อาจมีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับจำนวนคนส่วนใหญ่ซึ่งไม่ได้รับประโยชน์หรือเกิดผลดังตัวอย่างที่เห็นได้จากดินอื่น ๆ อีก 3 ประเภทหรือจำนวนคนส่วนใหญ่ที่ไม่เกิดผลอันใดหลังจากที่ได้หว่านเมล็ดลงไปในที่ดินนั้นแล้ว

บทส่งท้าย
Paradox หรือประติทรรศน์เป็นเหมือนเกลือที่ใช้ปรุงรสอาหารให้เอร็ดอร่อยมากขึ้น แต่เกลือก็มิใช่เป็นตัวอาหารที่จะกินต่างเป็นอาหารหรือต้องใส่มาก ๆ ในอาหารที่รับประทาน ประติทรรศน์เป็นเหมือนเกลือที่ช่วยเสริมรสชาดของอาหาร ประติทรรศน์เป็นตัวเสริมให้เข้าสู่ความจริงหรือความล้ำลึกของพระเจ้าได้มากยิ่งขึ้น ประติทรรศน์มิใช่สูตรสำเร็จที่สามารถสร้างผลในทุกครั้ง แต่เป็นเพียงตัวเสริมที่ก่อให้เกิดการทำงานหรือสร้างผลในปัจจัยหรือตัวการหรือสารหลัก ๆ ที่มีอยู่ เช่นเดียวกับสารเกลือแร่หรือไวตามินที่ช่วยเร่งสารอาหารอื่น ๆ ให้ทำงานหรือสร้างคุณประโยชน์แก่ร่างกายคือก่อให้เกิดพลังงาน, บำรุงร่างกาย, และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
ประติทรรศน์จะต้องควบคู่ไปกับความเชื่อ เพราะคริสเตียนไม่แสวงหาความเข้าใจเพื่อที่จะเชื่อ แต่แสวงหาความเชื่อเพื่อที่จะเข้าใจ ในความจริงก็คือ ¡°ถ้าข้าพเจ้าไม่เชื่อ, ข้าพเจ้าก็จะไม่เข้าใจ¡± คริสเตียนมีความเข้าใจเช่นนี้ คือความเชื่อเป็นสิ่งที่นำพาเราให้ท่องไปในอาณาบริเวณที่ชีวิตนั้นจะอยู่กับพระเจ้าและจะอยู่อย่างเสรีกับพระองค์ จะอยู่กับพระองค์อย่างบุตรมิใช่ลูกจ้างหรือทาส
ประติทรรศน์จะต้องควบคู่ไปกับพระวิญญาณบริสุทธิ์ เพราะพระเยซูได้ตรัสว่า พระวิญญาณแห่งความจริงจะเสด็จมาแล้วพระองค์จะนำท่านทั้งหลายไปสู่ความจริงทั้งมวล¡± ยอห์น 16:13
ถึงกระนั้น เราก็ยังอยู่ในความจำกัดดังที่เปาโลได้กล่าวไว้ใน 1 โครินธ์ 13:12 เราเห็นได้อย่างสลัว ๆ ไม่ชัดเจน ความรู้ไม่สมบูรณ์ ไม่อาจรู้แจ้งทะลุปุโปร่งได้ จึงต้องอาศัยประติทรรศน์ควบคู่ไปกับความเชื่อและการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ เพื่อที่จะช่วยเราเดินผ่านชีวิตที่ยังสลัว ๆ , การมีความรู้ที่ไม่สมบูรณ์ การไม่อาจรู้แจ้งได้จนกว่าเราจะได้ไปอยู่กับพระเจ้าในสวรรค์ และที่นั่น เราจะรู้แจ้งในทุกสิ่ง
ขณะที่ยังอยู่ในโลกที่สลัว ๆ และมีความจำกัด เปาโลได้แนะนำให้ตั้งอยู่ใน 3 สิ่ง และใน 3 สิ่งก็มีความรักเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด (อ่าน 1โครินธ์ 13:13 และทั้งหมดของบทที่ 13)
การที่เข้าถึงความจริงด้วยการมีความคิดที่เป็นประติทรรศน์ซึ่งมีประเด็นสำคัญคือความกดดันที่เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งตรงข้ามที่ทำให้เกิดความขัดแย้งก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่นำพาให้ผู้นั้นเจริญเติบโตหรือก้าวหน้าหรือถูกยกระดับสู่วุฒิภาวะซึ่งชีวิตนั้นจะกลับกลายจากผู้ที่อยู่ในความมืดกลับกลายเป็นความสว่าง หรือผู้ที่หมดสิ้นกลายเป็นผู้ที่มีทุกสิ่งทุกอย่าง หรือผู้ที่หมดกำลังก็กลายเป็นผู้เข้มแข็ง หรือคนที่จนตรอกแต่ก็มีทางออก
ในพระธรรมอิสยาห์ 40:28-31 ได้กล่าวว่า
¡°ท่านไม่เคยรู้หรือ ท่านไม่เคยได้ยินหรือ พระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าเนืองนิตย์ คือพระผู้สร้างที่สุดปลายแผ่นดินโลก พระองค์มิได้ทรงอ่อนเปลี้ยหรือเหน็ดเหนื่อย ความเข้าพระทัยของพระองค์ก็เหลือที่จะหยั่งรู้ได้ พระองค์ประทานกำลังแก่คนอ่อนเปลี้ยและแก่ผู้ที่ไม่มีกำลัง พระองค์ทรงเพิ่มแรง
แม้คนหนุ่ม ๆ จะอ่อนเปลี้ยและเหน็ดเหนื่อยและชายฉกรรจ์จะล้มลงทีเดียว
แต่เขาทั้งหลายผู้รอคอยพระเจ้าจะเสริมเรี่ยวแรงใหม่ เขาจะบินขึ้นด้วยปีกเหมือนนกอินทรีเขาจะวิ่งและไม่เหน็ดเหนื่อย เขาจะเดินและไม่อ่อนเปลี้ย¡±
ในจำพวกนกต่าง ๆ ก็มีวิธีการบินที่แตกต่างกัน นกฮัมมิ่งเบิร์ดซึ่งตัวเล็กก็จริงแต่ก็ต้องใช้พลังมหาศาลจากน้ำหวานที่ดูดจากดอกไม้เพื่อใช้เป็นพลังงานทำให้ตนมีกำลังบินไปไหนมาไหนได้ นกกระจอกซึ่งมีชีวิตอยู่ทั่วทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นที่ร้อนอบอ้าวหรือที่หนาวเย็นเช่นในอาลาสก้า นกกระจอกต้องอาศัยกำลังของตนในการบินขึ้นสู่ท้องอากาศ และมันก็บินได้ไม่นานก็ต้องลงมาเกาะที่หนึ่งที่ใด นกกระจอกไม่สามารถบินสูงและให้ได้ระยะไกล ๆ ได้ เพราะกำลังของตนมีจำกัดไม่เพียงพอจะต้องลงมาพักหายเหนื่อยแล้วจึงบินต่อได้
แต่สำหรับนกอินทรีที่บินขึ้นสู่ที่สูงนั้น มันมิได้อาศัยแต่กำลังของตนเท่านั้น แต่ได้อาศัยสภาพความกดดันของอากาศที่แตกต่างกันในการช่วยพยุงตัวของมันขึ้น นกอินทรีรู้ว่า หากตนเองได้กางปีกกระโจนเข้าไปหรือบินเข้าไปในความกดอากาศที่แตกต่างกัน ก็จะมีแรงดันใต้ปีกของตนที่กางออกยกตนเองขึ้นสู่ที่สูง เมื่อเป็นเช่นนั้น นกอินทรีจึงสามารถโผบินร่อนไปมาได้นาน ๆ โดยมิต้องอาศัยกำลังของตนเองเท่านั้น
ความกดดันซึ่งเกิดจากความแตกต่างที่ผสมเกี่ยวข้องกันก็ทำให้เกิดเป็นพลังที่จะยกตนเองขึ้นและสามารถร่อนไปมาได้นาน ๆ โดยไม่ต้องเหน็ดเหนื่อย
เราได้เห็นเรือที่เป็นเหล็กซึ่งหนักเป็นหมื่น ๆ ตันลอยบนพื้นน้ำทะเลหรือเครื่องบินลำตัวเป็นเหล็กซึ่งหนักเป็นพัน ๆ ตันบินล่องลอยอยู่ในท้องฟ้าได้ สิ่งที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ตรงข้ามกับสภาพธรรมชาติทั่วไปก็เนื่องจากมีความกดอากาศที่แตกต่างกันเข้ามาเกี่ยวข้อง การอยู่ในความกดอากาศที่แตกต่างกันก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เห็นสิ่งมหัศจรรย์ได้ ความกดดันจึงเป็นคำตอบที่ทำให้เห็นถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ โดยเฉพาะมนุษย์เองซึ่งแม้มีภายในที่เป็นช้างน้ำที่คอยถ่วงตัวเองอยู่ แต่ถ้าให้ชีวิตของตนเองอยู่ในความกดดันแห่งประติทรรศน์ ผู้นั้นจะถูกยกตัวและสามารถบินหรือร่อนไปมาได้อย่างนักอินทรี
คนที่รอคอยพระเจ้า คือผู้ที่มีใจจดจ่ออยู่ที่พระเจ้าซึ่งเป็นผู้ที่ยินยอมให้ตนเองอยู่ภายใต้พระคุณของพระองค์ ผู้นั้นจะได้รับการเสริมเรี่ยวแรงใหม่และเขาจะสามารถบินหรือร่อนไปมาโดยไม่ต้องอาศัยกำลังของตนเอง แต่เนื่องจากได้อยู่ในความกดดันของคำสอนที่เป็นประติทรรศน์ซึ่งมีความขัดแย้งหรือสิ่งตรงข้ามที่ควบคู่ไปด้วยกัน












ภาคผนวก
Questionnaires แบบสอบถาม (1)
The following is a list of statement. Please make your choice based on your knowledge as ration from 1 to 5 :
ขอให้เลือกตอบข้อความต่อไปนี้ตามความเห็นของท่าน โดยเลือกตอบตามลำดับหมายเลขจาก 1 ถึง 5

Note: 1 = Strongly Disagree or Never, ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งหรือไม่เคยเห็นด้วย
2 = Disagree or Rarely, ไม่เห็นด้วยหรือไม่ค่อยเห็นด้วย
3 = Uncertain or Moderate, ไม่แน่ใจหรือเห็นด้วยบ้าง
4 = Agree or Nearly Always, เห็นด้วยหรือค่อนข้างเห็นด้วย
5 = Strongly Agree or Always, เห็นด้วยเต็มที่หรือเห็นด้วยเสมอ

Disagree Agree
1. We live by dying. 1 2 3 4 5
เราดำรงชีวิตด้วยการสูญเสียชีวิต
2. We will lose our life if we try to save it. 1 2 3 4 5
เราจะสูญเสียชีวิตของเราหากเราพยายามรักษาชีวิตไว้

3. Being poor is blessed. 1 2 3 4 5
เป็นคนยากจนก็เป็นสุข

4. We are triumph through defeat. 1 2 3 4 5
เราได้ชัยชนะด้วยการยอมแพ้

5. We are made great by becoming little. 1 2 3 4 5
เรายิ่งใหญ่ได้ด้วยการยอมเล็กน้อย

6. We are made free by becoming bond servants. 1 2 3 4 5
เราเป็นไทด้วยการยินยอมรับใช้




7. If you lose your life for Christ and for the gospel 1 2 3 4 5
will save it.
เราจะรักษาชีวิตของตนด้วยการยินยอมสูญเสียเพื่อ
พระคริสต์และข่าวประเสริฐ

8. You are predestinated yet you have your own free will. 1 2 3 4 5
ท่านเป็นผู้ที่ได้รับการทรงกำหนดไว้แล้วล่วงหน้าแต่ก็มี
เจตนาอันอิสระของตนเอง

9. We can gain strength by becoming weak. 1 2 3 4 5
เราสามารถรับการเสริมกำลังด้วยการเป็นคนอ่อนแอ

10. Jesus is immortal actually lived and buried. 1 2 3 4 5
พระเยซูทรงเป็นอมตะที่ทรงพระชนม์และถูกบรรจุในอุโมงค์

11. Being rich is cursed. 1 2 3 4 5
เป็นคนมั่งมีก็เป็นความวิบัติ

12. God is one in three persons. 1 2 3 4 5
พระเจ้าทรงเป็นองค์เดียวในสามพระองค์

13. Jesus is very God, only begotten son, not made yet born 1 2 3 4 5
through Mary¡¯s womb.
พระเยซูทรงเป็นพระเจ้าแท้, ทรงเป็นพระบุตรองค์เดียว
ที่มิได้ถูกสร้างขึ้น แต่บังเกิดโดยผ่านทางครรถ์ของนางมารีย์

14. Human being is sinful yet still bears God¡¯s image. 1 2 3 4 5
มนุษย์เป็นคนบาปหนาแต่ยังเป็นฉายาของพระเจ้า

15. Jesus is truly God and truly man. 1 2 3 4 5
พระเยซูทรงเป็นพระเจ้าแท้และมนุษย์แท้


Questionnaires แบบสอบถาม (2)

The following is a list of questionnaires on spirituality and daily life stress and stress reduction. Please make your choice based on your understanding, digit from 1 to 5 as applied to yourselves.
คำถามต่อไปนี้เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณ, ความเครียดที่มีในชีวิตประจำวัน และการผ่อนคลายความเครียด กรุณาเลือกคำตอบตามความเข้าใจที่ประยุกต์กับชีวิตของท่าน โดยเลือกตอบตามลำดับจากหมายเลขที่ 1- 5
Note: 1 = Not at all, ไม่เคยเลย
2 = Rarely, นาน ๆ สักครั้ง
3 = Sometimes, เป็นบางครั้งบางคราว
4 = Most of the Time, เกือบตลอดเวลา
5 = All the Time or Always, ทุกครั้งหรือทุกเวลา

Not at all Always
1. I have a personal time to read the Bible everyday. 1 2 3 4 5
ข้าพเจ้ามีเวลาส่วนตัวในการอ่านพระคัมภีร์ทุกวัน

2. I always pray to God everyday. 1 2 3 4 5
ข้าพเจ้าอธิษฐานกับพระเจ้าทุกวัน

3. I attend Sunday worship almost every week. 1 2 3 4 5
ข้าพเจ้าร่วมนมัสการในวันอาทิตย์ทุกสัปดาห์

4. I am able to apply biblical principles to my daily life. 1 2 3 4 5
ข้าพเจ้าสามารถประยุกต์หลักคำสอนเข้ากับชีวิตประจำวันของ
ข้าพเจ้า

5. I am satisfied with the relationship with other church members. 1 2 3 4 5
ข้าพเจ้ามีความพอใจในสัมพันธภาพที่มีกับสมาชิกอื่น ๆ ของ
คริสตจักร



6. I like to serve the others. 1 2 3 4 5
ข้าพเจ้ายินดีรับใช้ผู้อื่น


7. I share my faith in Jesus Christ to others regularly. 1 2 3 4 5
ข้าพเจ้าได้แบ่งปัน, เป็นพยานความเชื่อในพระเยซู
แก่ผู้อื่นเป็นประจำ

8. In conflict situation, I tend to be calm, pray, and trust the Lord. 1 2 3 4 5
ในสถานการณ์ที่มีการขัดแย้ง, ข้าพเจ้ามีแนวโน้มที่สงบ
มีการอธิษฐานและไว้วางใจในองค์พระผู้เป็นเจ้า

9. I meditated on the Bible and pulpit message when I was in 1 2 3 4 5
stressful situation.
ข้าพเจ้าได้ภาวนา, ระลึกถึงพระคำและคำเทศนาเมื่อข้าพเจ้าอยู่
ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด

10. When others disagree with me, I take it graciously and thank 1 2 3 4 5
God for it.
เมื่อผู้อื่นไม่เห็นด้วยกับข้าพเจ้า, ข้าพเจ้ารับด้วยใจกรุณาและ
ขอบพระคุณพระเจ้า

11. Sunday message(s) give me comfort and strength to cope with 1 2 3 4 5
my daily stresses and problems.
คำเทศนาในวันอาทิตย์ได้ให้การประเล้าประโลมใจและให้กำลัง
ที่จะรับมือกับความตึงเครียดประจำวันและปัญหาต่าง ๆ

12. I understand that life is stressful and full of conflict. This is the 1 2 3 4 5
way God wants me to experience.
ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ในชีวิตมีความเครียดมากและเต็มไปด้วย
การขัดแย้ง สิ่งนี้เป็นวิถีชีวิตที่พระเจ้าทรงประสงค์ให้ข้าพเจ้า
มีประสบการณ์



BIBLIOGRAPHY

Allen, Diogenes. Christian Belief in a Postmodern World: The Full Wealth of
Conviction. Louisvelle: Westminster/John Knox Press, 1989.

. Three Outsinders. Cambridge: Cowley Press, 1983.

. ¡°The Paradox of Freedom and Authority.¡± Theology Today 36 (July 1979):
167-175.

. Philosophy for Understanding Theology. Atlanta: John Know Press, 1985.

Anderson, Ray, ed. Theological Foundations for Ministry. Grand Rapids: Eerdmans,
1979.

Anderson, Herbert. ¡°Toward a Constructive Anthropoloty: Hiltner¡¯s Paradoxical View of
Persons.¡± Journal of Psychology and Christianity 4 (Winter 1985): 47-55.

Astley, Jeffrey. ¡°Paradox and Christology.¡± King¡¯s Theology Review 7 (Spring 1984):
9-13.

Austin, W.H. ¡°Complementarity and Theological Paradox.¡± Zygon 2 (December 1967):
365-388.

Barclay, William, The Apostles¡¯ Creeds for Everyman. New York: Haper & Row,
Publishers, 1967

Basinger, David. ¡°Biblical Paradox: Does Revelation Challenge Logic?¡± Journal of
Evangelical Theological Society 30 (June 1987): 205-213.

Belden, Albert D. ¡°G.K. Chesterton, The Prince of Paradox.¡± London Quarterly
Historical Review 181 (October 1956): 295-299.

Borg, Marcus J. ¡°Meeting Jesus Again for the First Time.¡± The Living Pupilt (Jul-Sept.
2000): 7-15.

Calvin, John. Institutes of the Christian Religion. Edited by John T. McNeill.
Philadelphia: Westminster Press, 1960.

Carson, D.A Divine Sovereignity and Human Responsibility: Biblical Perspectives in
Tension. UK: Marshall Pickering, 1994.

Chesterton, G.K. Orthodoxy. Garden City, NY: Doubleday, 1959.

Cohen, Eric J. ¡°Induced Christian Neurosis: An Examination of Pragmatic Paradoxes and the Christian Faith.¡± Jorunal of Psychology and Theology 10 (Spring 1982): 5-12.

Colie, Rosalie L. Paradoxica Epidemica: The Renaissance Tradition of Paradox.
Princeton: Princeton University Press, 1966.

Craddock, Fred B. As One Without Authority. Nashville: Abigndon, 1971.

. Preaching. Nashville: Abingdon, 1985.

Czegledy, Alexander. ¡°The Modern Paradox of Christ¡¯s Lordship.¡± Scottish Journal of
Theology 12 (1959): 361-372.

Deere Jack. Surprised by the Voice of God. Grand Rapids: Zondervan, 1996

Donald W. Musser & Joseph L. Price, ed. A New Handbook of Christian Theology.
Abingdon Press, 1992.

Dowey, Edward A, Jr. A Commentary on the Confession of 1967 and An Introduction to
the Book of Confession. Philadelphia: The Westminster Press, 1968.

Elliot, Charles. Praying Through Paradox. London: Fount Paperbacks, 1987.

Elberts, Harry W., Jr. We Believe. Philadelphia: The Geneva Press, 1987.

Falletta, Nicholas. The Paradoxxicon. Garden City, NY: Doubleday, 1983.

Fee, Gordon D. and Douglas Stuart. How To Read the Bible For All Its Worth. 2nd ed.
Grand Rapids: Zondervan, 1993.

Feider, Paul A. Healing and Suffering: The Christian Paradox. London: Darton, Longman
and Todd, 1988.

Fiddes, Paul S. Freedom and Limit: A Dialogue Between Literature and Christian
Doctrine. London: MacMillan, 1991.

Fiorenza, Francis S. ¡°The Crisis of Scriptural Authority: Interpretation and Reception.¡±
Interpretation 44 (October 1990): 353-368.

Firet, Jocob. Dynamics in Pastoring. Grand Rapids: Eerdmans, 1986.

Fisher, James. ¡°Pauline Literary Forms and the Thought Patters.¡± Catholic Biblical
Quarterly 39 (Apritl 1977): 209-223.

Forsyth, P.T. Positive Preaching and the Modern Mind. London: Independent Press,
1907.

Foster, Michael B. Mystery and Philosoghy. London: SCM Press, 1957.

Gold, Daniel. ¡°The Paradox in Writing on Religion.¡± Havard Theological Review 83
(1990): 321-332.

Glenn, Erickson. Fossa, John A. Dictionary of Paradox. University Press of America,
1998

Hall, George B. ¡°D.M. Baille: A Theology of Paradox.¡± In Christ, Church and
Society: Essays on John Baillie and Donald Baillie, ed. David A.S. Ferguson,
65-85. Edinburgh: T & T Clark, 1993.

Hazelton, Roger. ¡°Nature of Christian Paradox.¡± Theology today 6 (October 1949):
43-48.

Holmes, Arthour F. Faith Seeks Understanding. Grands Rapids: Eerdmans, 1971.

Keller, Edward B. Some Paradoxes of Paul. New York: Philosophical Library, 1974.

Kopp Rober R. ¡°Be The Ball.¡± Golf in The Real Kindom. Internet: CSS
Publishing Company, 2000.

Kraft, Charles H. Christianity with Power: Your World view and Your Experience of the
Supernatural. Ann Arbor: Servant, 1989.

Ladd, George E. A Theology of the New Testament. Grand Rapids: Eerdmans, 1974.

Leith, John H. Basic Christian Doctrine. Louisville: Westminster/John Knox Press, 1993.

. Presbyterian Creeds of the Churches. Louisville: John Know Press, 1982.

Macgregor, Geddes. The Nicene Creed. Grand Rapids: Eerdmans Pubishing, 1980.

Mackenzie, Donald. Christianity-The Paradox of God. New York: Revell, 1933.

Macquarie, John. Thinking About God. London: SCM Press, 1975.

Mark, James. ¡°Paradox and Affirmation.¡± Modern Church 24 (1981): 60-71.

Noll, Mark A. Between Faith and Criticism: Evangelicals, Scholarship, and the Bible.
Leicester, UK: Apollos, 1991.

Packer, J.I. Evangelism and the Sovereignty of God. Downers Grove: Intervarsity, 1961.

Rogers, Jack. Presbyterian Creeds. Philadelphia: The Westminster Press, 1985.


Scharlemann, Martin H. ¡°The Paradox in Perspective.¡± Concordia Journal 28, (May),
1957.

Shaw, Marvin C. The Paradox of Intention: Reaching the Goal by Giving Up the Attempt
to Reach it. Atlanta: Scholars Press, 1987.

Simcox, Carrol E. Living the Creed. New York: Morehouse-Gorham Co., 1950.

Slatte, Howard A. The Pertinence of the Paradox. New York: Humanities Press, 1968.

Smith, Cyprian. The Way of Paradox: Spiritual Life as Taught by Meister Eckhart.
London: Darton, Longman and Todd, 1987.

Smith, Kenwyn. Paradoxes of Group Life. San Francisco: Jossey-Bass, 1987.

Stein, Robert H. The Method and Message of Jesus¡¯ Teachings. Philadelphia:
Westminster Press, 1978.

Stenger, Mary Ann. ¡°The Significance of Paradox for Theological Verification:
Difficulties and Possibilities.¡± International Journal of the Philosophy of Religion
14 (1983): 171-182.

Stott, John R.W. The Contemporary Christian. Leicester: Intervarsity Press, 1992.

Talbott, Roger G. ¡°Professor of Paradox¡± Good News For The Hard O. Internet: CSS
Publishing, 1995.

Taylor, Daniel. The Myth of Certainty. Waco: Word Books, 1986.

Thielicke, Helmut. Evangelical Faith. Vol. 1. Grand Rapids: Eerdman¡¯s, 1974.

Timiadis, Emilianos. The Nicene Creed. Philadelphia: Fortress Press, 1983.

Tozer, A. W. The Knowledge of the Holy. San Francisco: Harper and Row, 1961.

Veith, Gene Edward, Jr. Loving God with All Your Mind. Leicester: Intervarsity Press,
1987.

Wilterdink, Garret A. ¡°Christology and The Paradoxical Nature of Human Existence.¡±
Reformed Review 24 (Spring 1971): 124-132.

กีรติ บุญเจือ, สารานุกรมปรัชญา, กรุงเทพ: ไทยวัฒนาพานิช, 2522.
ปทานุกรมอังกฤษ-ไทย, กรุงเทพ: ไทยวัฒนาพานิช, 2530.
พจนานุกรม ฉบับราชบัญฑิตสถาน พ.ศ. 2525, กรุงเทพ: บริษัทอักษรเจริญทัศน์, 2539.

Dissertation

Hansen Richard P. ¡°The Contrarian Preacher: Communicating Paradox to a Pragmatic
World.¡± D.Min. diss. Fuller Theological Seminary, 1996.

Thumsucharitkul, Thanaporn. ¡°The Development of The Walk Thru Church History
Seminar for The Thai Christian Laity: Adapting The Walk Thru The Bible
Techniques to Church History in the Thai Context.¡± D.Min. diss. International
Theological Seminary, 2000.


2018-07-08 06:54:17


   

°ü¸®Àڷα×ÀÎ~~ Àüü 293°³ - ÇöÀç 2/20 ÂÊ
278
Dr. Chana
2020-01-17
346
277
Dr. Chana
2019-12-26
308
276
Dr. Chana
2019-09-16
347
275
Dr. Chana
2019-09-16
440
274
Dr. Chana
2019-09-16
436
273
Dr. Chana
2019-09-16
328
272
Dr. Seung H
2019-09-09
329
271
Dr. Chana
2019-08-10
459
270
Á¤½Âȸ
2019-08-04
434
269
Dr. Chana
2019-07-26
310
268
Dr. Chana
2019-07-10
335
267
Dr. Chana
2019-05-11
356
266
Dr. Chana
2019-02-15
362
265
Dr. Chana
÷ºÎÈ­ÀÏ : PTS Entrya.doc (101888 Bytes)
2019-01-26
393
264
Dr. Chana
2019-01-13
385