Á¦¸ñ
  Commentary of Romans
À̸§
   Á¤½Âȸ [ E-mail ]
ȨÆäÀÌÁö
  http://www.kpmthai.org
÷ºÎÈ­ÀÏ


พระธรรมโรม

คำนำ
เนื้อความ
l. ประวัติศาสตร์ตีความหมายพระธรรมโรม
ll. คานน และผู้เขียน IV. จุดประสงค์ และเป้าหมาย
- คานน และผู้เขียน - จุดประสงค์
- หลักฐานภายนอก - เป้าหมาย
- หลักฐานภายใน V. เวลาเขียน และสถานที่
- อัครทูตเปาโล - เวลาเขียน
III. ผู้รับจดหมาย - สถานที่
a. เมืองโรม VI. ลักษณะของพระธรรมโรม
b. คริสตจักรโรม
- ต้นกำเนิด
- ผู้รับ

I. ประวัติศาสตร์ตีความหมายพระธรรมโรม
พระธรรมโรมเป็นหนังสือสำคัญในพันธสัญญาใหม่ , พระธรรมโรมเป็นจดหมายฉบับสุด
ท้าย หลังจากเขียนจดหมายช่วงแรก คือ 1,2 เธสะโลนิกา / กาลาเทีย / 1,2 โครินธ์ และเป็นฉบับแรกของจดหมายช่วงหลัง คือ จดหมายจากคุก , จดหมายถึงศิษยาภิบาล หนังสือโรมเป็นตัวแทนด้านศาสนศาสตร์ของโปรเตสแตนท์ เราไม่สามารถหยั่งถึงในความล้ำลึกของหนังสือเล่มนี้ได้
ออกัสติน , ลูเธอร์ , คาลวิน และนักศาสนศาสตร์ ในประวัติศาสตร์ ได้ค้นคว้าหนังสือเล่มนี้เพื่อที่จะเข้าใจในความล้ำลึกของมัน (Shaw)
พระธรรมโรม ได้รับการยกย่องจากนักศาสนศาสตร์ในประวัติศาสตร์ เมื่อเราพิจารณานักศาสนศาสตร์ผู้มีชื่อเสีย เราพบว่าเขาได้ทำทั้ง 2 ด้าน คือ ศาสนศาสตร์หลักข้อเชื่อ และการอธิบายพระคัมภีร์ และพระธรรมโรมก็เป็นหนึ่งในนั้น ที่ได้มีการวิเคราะห์ด้านศาสนศาสตร์หลักข้อเชื่อ และการเขียนอธิบายควบคู่ไปด้วย นักศาสนศาสตร์ในสมัยก่อน (เช่น ออริเจน ,ออกัสติน) และนักปฏิรูปศาสนาอย่างลูเธอร์ กับคาลวิน และเมื่อไม่นานมานี้ ฮัดจ์ (Hodge) ,โกเดท (Godet) , คาร์ลบาธ (Karl Barth) ซึ่งเป็นนักศาสนศาสตร์ที่มีความสามารถพิเศษ เคยเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งด้าน
ศาสนศาสตร์หลักข้อเชื่อ กับการอธิบายพระธรรมโรม
ฐานะของพระธรรมโรมในประวัติศาสตร์นั้น สำคัญยิ่ง จึงทำให้หนังสือคู่มือพระธรรมโรมมีความสำคัญมากด้วย ซึ่งเราอาจกล่าวได้ว่า ประวัติศาสตร์การตีความหมายพระธรรมโรมนี้ เป็นประวัติศาสตร์การตีความหมายพระคัมภีร์ใหม่เลยทีเดียว ¡¦ จุดเริ่มต้นของการค้นคว้าโรมนั้นเริ่มที่ประวัติศาสตร์คริสตจักร และนักศาสนศาสตร์ทุกคนต่างให้ความสนใจในพระธรรมโรม เราจึงมีข้อมูลเป็นจำนวนมาก แม้ว่าเปาโลจะเขียนหนังสือเล่มนี้ที่เมืองโครินธ์ในเวลาไม่กี่วัน แต่ก็ทำให้เราเข้าใจในงานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ที่เคลื่อนไหวในการเขียนนั้น และเรากำลังจะก้าวมาถึงประวัติศาสตร์การตีความหมายพระธรรมโรม ของนักศาสนศาสตร์แต่ละคน
เราเชื่อว่า ออริเจน (Origen , 185-254) คือ ผู้เขียนคู่มือพระธรรมโรม เป็นคนแรก เขาได้ยึดวิธีการตีความหมายตามรูปแบบของ อริสโทบุลุส (Aristobulus) – ฟิโล (Philo) – แพนเททานุส (Pantetaenus)- คลีเมนต์ (Clement) คือ ได้ตีความหมายแบบเรื่องเปรียบเทียบในอเล็กซานเดรีย และออริเจนมีความรู้ลึกในพระวจนะ , คู่มือพระธรรมโรมของออริเจน ถือเป็นงานของเขาในช่วงสุดท้าย ต้นฉบับที่เป็นภาษากรีกหลงเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย แต่เราอาศัยข้อมูลในภาษาลาตินมากกว่า
หลังจากออริเจน ก็มี คริสโซโทม (Chrysostom , 347 – 409) เป็นผู้ที่ตีความหมายตามตัวอักษร (Literal school) คู่มือพระธรรมโรมของเขา เขียนเมื่อปี ค.ศ. 387 – 397 ที่อันทิโอก เขาเทศนา 32 เรื่อง คู่มือนี้แปลออกเป็นหลายภาษาโดยที่เน้นจริยธรรมมากกว่าศาสนศาสตร์ จึงไม่เด่นในด้านนี้ ผู้ที่อยู่ในยุคเดียวกัน และศาสนศาสตร์แบบเดียวกัน คือ ธีโอโดเร (Theodore of Mapsuestia , 350 – 428) และธีโอโดเรท (Theodoret , 386 – 457) นักศาสนศาสตร์เหล่านี้อยู่ในบริเวณที่ใช้ภาษากรีกเป็นภาษาแม่
บริเวณที่ใช้ภาษาลาตินนั้นมี อัมโบรเซียสเทอร์ (Ambrosiaster) ที่เขียนคู่มือจดหมายฝากของเปาโล 13 ฉบับ โดยมีคู่มือพระธรรมโรมเป็นเล่มแรก แต่คู่มือของเขาบางเล่มไม่ค่อยชัดเจนนัก บางฉบับใช้ชื่ออัมโบรส (St. Ambrose) ที่เป็นพี่เลี้ยงของออกัสติน บางเล่มใช้ชื่อ มัคนายก
ฮิลารี่ (Hilary the Deacon) หนังสือเหล่านี้เขียนขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 306 – 384
ตัวแทนของคริสตจักรตะวันตก คือ ออกัสติน (Augustine , 354 – 430) เขาเขียนคู่มือพระธรรมโรม โดยพยายามแก้ไขศาสนศาสตร์ของออริเจน และคริสโซโทม คู่มือของเขาได้เป็นแบบอย่างแก่นักศาสนศาสตร์ในบริเวณภาษาลาติน (อาเบลาร์ด , อาควินัส) และนักปฏิรูปด้วย
ฝ่ายตรงกันข้าม คือ พิลากิอุส (Pelagius; เสียชีวิตเมื่อปี 420) โดยที่คู่มือพระธรรมโรมของเขาเคยเป็นภาคผนวกท้ายเล่มของคู่มือพระธรรมโรมของเจอโรมด้วย แต่สุดท้าย พบความจริงว่า เป็นข้อเขียนของพิลากิอุส แต่ก็มีข้อมูลบางส่วนที่หายไป
ในยุคกลางของกรีก มีคนชื่อ ยอห์นแห่งดามัสกัส (John of Damascus ; เสียชีวิตปี 754) การเขียนของเขา(Sacra Parallela)คล้ายคลึงกับคริสโซโทม หลังจากนั้นมี ธีโอฟีลักต์ (Theophylact) ซึ่งเป็นบิชอปของบัลกาเรีย , เวคูเมนิอุส (Oecumenius) ซึ่งเป็นบิชอปของ ทรีดา และจิดาเบนุส (Zigabenus) ที่อยู่ในช่วงปี ค.ศ.1118 คู่มือพระธรรมโรมของเขายังมีอิทธิพลอยู่
ในยุคกลางของลาติน มีคนชื่อ นักบุญฮิวโก (Hugo of St. Victor , 1097-1141) ที่ตีความหมายแบบลึกลับ และ อาเบลาร์ด (Abelard, 1079-1142) ที่ใช้วิธีแบบเรื่องเปรียบเทียบ ของออริเจน และออกัสติน แต่นักศาสนศาสตร์ในยุคนี้ คือ โธมัส อควินัส (Thomas Aquinas)
(1225 -1274) เขาเป็นผู้สืบทอดศาสนศาสตร์ออกัสติน เขาเป็นผู้วางแบบแผนศาสนศาสตร์ของโรมันคาทอลิก เขาเป็นนักศาสนศาสตร์หลักข้อเชื่อ และนักเขียนคู่มือพระคัมภีร์ด้วย โดยเขาใช้แนวทางความรู้ และตรรกะวิทยาของออกัสตินในการเขียนคู่มือพระคัมภีร์
ยุคปฏิรูปศาสนา ถือเป็นจุดสุดยอดในการเขียนคู่มืออธิบายพระคัมภีร์ , การปฏิรูปศาสนานั้นมาจากการศึกษาพระคัมภีร์ และมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนภาษาดั้งเดิมในพระคัมภีร์อีราสมุส (Erasmus, 1416 -1536) ได้แนะนำพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม ฉบับภาษากรีก ในปี 1516 ที่ทำให้เปิดทางศึกษาพระวจนะ เพื่อนของเขา ชื่อโคเลท (Colet , 1467-1519) สอนพระธรรมโรมใน มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด
วีรบุรุษของยุคปฏิรูปศาสนา คือ มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther, 1483 – 1546) หลังจากเขาได้เป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย วิเทนเบิร์ก 3 ปี เขาได้สอนพระธรรมโรม
3/11/1515 – 7/9/1516 เมื่อเขาสอนพระธรรมโรม เขาเข้าใจแก่นแท้ของพระธรรมโรม คือ การถือว่าเป็นผู้ชอบธรรมโดยความเชื่อ การปฏิรูปศาสนาอยู่บนพื้นฐานพระธรรมกาลาเทีย และโรม .วิธีที่จะเข้าใจพระวจนะ คือ การใช้ต้นฉบับที่คัดลอกมาจากภาษาดั้งเดิม จากการวิเคราะห์จากประวัติศาสตร์ และจากการวิเคราะห์ทางโครงสร้างภาษา คู่มือพระธรรมโรมของลูเธอร์ ซ่อนไว้นาน แต่ได้เจอที่ห้องสมุด วาติกันของโรม ซึ่งเป็นของมหาวิทยาลัยไฮเดนเบิร์ก ในปี 1908 ต่อศาสตราจารย์
ฟิเดอร์ (Johannes Ficker) เรียลเรียงโดยผู้เรียบเรียง มีปัญหาบ้าง แต่เราได้เห็นความสามารถของลูเธอร์ ในฝ่ายวิญญาณ และความรู้
นักศาสนศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ในยุคปฏิรูปศาสนา คือ คาลวิน (John Calvin, 1509 – 1564) คู่มือของเขาได้ (Commentarii in omnes epistolas Pauli Apost.) ผลิตในปี 1539 ที่สตราบรูก หลังจากเขียน ¡°แก่นแท้ของศาสนาคริสต์¡± 3 ปี Institutes of the Christian Religion) ศาสนศาสตร์ของเขาได้สืบทอดจากออกัสติน (Augustine) วิธีที่ใช้ในการตีความหมาย คือ การตีความหมายตามตัวอักษร ด้วยความรู้ที่ลึก และชัดเจน และใช้สายตาฝ่ายวิญญาณอย่างลึกซึ้ง คู่มือของเขามีสิทธิอำนาจจนถึงบัดนี้ ผู้ช่วย คาลวิน คือ เบซา (Beza , 1519 – 1605) ได้ศึกษาฉบับภาษาดั้งเดิม (ปี 1565) และคู่มือพันธสัญญาใหม่ (ปี 1594)
ผู้ช่วยลูเธอร์ ชื่อ เมแลงชตัน (Malanchthon , 1497 – 1560) เป็นนักศาสนศาสตร์ที่มีชื่อเสียงผู้หนึ่ง ในยุคปฏิรูปศาสนา คู่มือของเขา (Annotationes) และคำนำคู่มือพระธรรมโรมของลูเธอร์ พิมพ์ในปี 1522 และคู่มือพระธรรมโรม (Commentarii in Ep. ad Rom.) พิมพ์ในปี 1540 คู่มือพันธสัญญาเดิม ของโกรธิอุส (Grotius , 1583 –1645) พิมพ์ที่ปารีส ในปี 1644 ได้แสดงลักษณะปรัชญาของยุคนั้น คู่มือ (Paraphrase and Annotations) ฮามมอนด์ (Hammond , 1605 – 1660) ใช้วิธีการวิเคราะห์จากประวัติศาสตร์
นักปรัชญาที่มีชื่อเสียง ชื่อ ล็อค (Locke, 1662 – 1704) ได้ศึกษาจดหมายฝากของเปาโล คือ กาลาเทีย / 1,2 โครินธ์ / โรม / เอเฟซัส และใช้วิธีการวิเคราะห์จากประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ มีคนที่อยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับ คาลวิน ชื่อ อาร์เมเนียส (Armius , 1560 – 1609 ) และ เอสทิอูส (Estius , เสียชีวิต 1616) ได้เขียนคู่มือจดหมายฝากเปาโล (In omnes Pauli ¡¦ epistolas commentar)
ยุคต่อมา เบนเกล (Bengel , 1687 – 1752) นักศาสนศาสตร์ยอดเยี่ยม ที่เคยเป็นศาสนาจารย์ใน คริสตจักร Luther เป็นบิดาแห่งลัทธิเคร่งศาสนา เขียนคู่มือพันธสัญญาใหม่ (Gnomon Novi Testamenti) เราได้เห็นความรู้สึก และมีสายตาฝ่ายวิญญาณที่ลึกของเขา ได้ช่วยนักศาสนศาสตร์จนถึงบัดนี้ ในยุคเดียวกัน เวทสเทน (Wetstein , 1693 – 1754) ช่วยเหลือในการค้นคว้าพระคัมภีร์ภาษาดั้งเดิม ข้อมูลโบราณเกี่ยวกับยุคพันธสัญญาใหม่
ใน ศตวรรษที่ 19 นักศาสนศาสตร์ หลายคนได้เกิดขึ้น ยุคนี้นักศาสนศาสตร์ได้รับการสืบทอดจากยุคปฏิรูปที่ศึกษาภาษาดั้งเดิม และวิพากษ์วิจารณ์ทางประวัติศาสตร์ และต่อเนื่องจากยุคโบราณ จุดศูนย์กลางการศึกษาเป็น เยอรมัน ต่อมา อังกฤษ
โทลุต (Tholuck, 1799 – 1877) ที่เป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย ฮาเลย์ฟริจเซ (Fritzsche , 1801 – 1846) ที่เป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย ทีอีแซน เด เวทท์ (De Wette , 1780-1849)ที่เป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย เบอร์ลิน บีชล็อก (Beyschlog ,1823 – 1900) ที่เป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย ฮาเลย์ ได้พัฒนาคู่มือพระคัมภีร์ โดยใช้วิธีวิพากษ์วิจารณ์
ไมเยอร์ (Meyer, 1800-1873) ที่เป็นคาดินัล เขียนคู่มือพันธสัญญาใหม่ กับศาสศาตร์ คู่มือของเขาเริ่มจากวิพากษ์วิจารณ์ภาษาดั้งเดิม และใช้วิธีประวัติศาสตร์ และไวยากรณ์ คู่มือของเขาได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และมีสิทธิอำนาจจนถึงบัดนี้ ไมเยอร์ และเดเวิท เขียนคู่มืออนุรักษ์นิยม และเสรีนิยม ทั้งสองได้เป็นผู้ที่ริเริ่มโครงสร้างคู่มือในยุคสมัยใหม่ โกเดท (Godet , 1812 – 1900) และโอทราแมร์ (Oltramare) เป็นนักศาสนศาสตร์ของฝรั่งเศส แต่คู่มือทั้งสองมีจุดอ่อนในการวิพากษ์วิจารณ์ภาษาดั้งเดิม ลังเก (Lange , 1802-1884) เป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย โบน เขียนคู่มือที่มีความรู้ลึกเกี่ยวกับพระคัมภีร์ และมีความสมบูรณ์ในสายตาฝ่ายวิญญาณ แต่สิทธิอำนาจทางศาสนศาสตร์ไม่แข็งแรง ,, ลิพสิอุส (Lipsius , 1830-1892) , จูลิเดอร์ (Jülicher) , เลทสมัน (Lietzmann) ที่เป็นชาวเยอรมัน ได้ช่วยศึกษาภาษาดั้งเดิม
ในศตวรรษที่ 19 มีชื่อ อัลฟอร์ด (Aiford , 1810 – 1871) นักศาสนศาสตร์เขียนคู่มือในภาษาอังกฤษ คู่มือของเขา (Greek Testament) ตีความหมายจากภาษากรีกโดยตรง มีสิทธิอำนาจสูงสุดจนถึงบัดนี้ ที่ใช้มุมมองศาสนศาสตร์อนุรักษ์นิยม
ในยุคเดียวกันมี ไลท์ฟูท (Lightfoot, 1828 – 1889) เขาไม่ได้เขียนคู่มือทั้งหมด แต่มีน้ำหนัก ,, เวสท์คอทท์ (Westcott , 1825 – 1901) เขียนคู่มือของยอห์น เขาเป็นนักศาสนศาสตร์ยอดเยี่ยมที่อยู่ในบริเวณที่ใช้ภาษาอังกฤษ
นักศาสนศาสตร์จกอังกฤษ เวิร์ดสเวอร์ธ (Wordsworth, 1809-1885) ที่เป็นบิชอร์ปของ
ลินคอร์น , โจเวท (Jowett , 1817 – 1893) ศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ได้เขียนคู่มือจดหมายฝากเปาโล , โมล (Moule , เสียชีวิตปี 1879) แห่งเคมบริดจ์ , กิฟฟอร์ด (Gifford , เสียชีวิตปี 1881) บิชอปใหญ่ของลอนดอน
ในศตวรรษที่ 19 เริ่มมีนักศาสนศาสตร์ ชาวอเมริกัน สจ๊วท (Stuart,1780 – 1852) ศาสตราจารย์ในเอ็นโดเวอร์เซมินารี่ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากโทลุค ชาวเยอรมัน , อัดจ์ ( Hodge , 1797 – 1878) นักศาสนศาสตร์ ผู้มีชื่อเสียงที่เริ่มเขียนคู่มือพระธรรมโรม ของเขา และจัดพิมพ์ในปี 1835 เขาได้รับอิทธิพลจากเยอรมัน แต่เขาใช้ศาสนศาสตร์ของคาลวิน , บีท (Beet) ศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยเวสเลย์ เขาเขียนคู่มือพระคัมภีร์ตามศาสนศาสตร์เมธอดิสต์
หลังศตวรรษที่ 19 มีคนชื่อ จาห์ท (Zahn, 1838-1938) ศาสตราจารย์ของ มหาวิทยาลัยเอลังเกน เขาเป็นผู้นำของนักศาสนศาสตร์พันธสัญญาใหม่อนุรักษ์นิยม , เดนนี่ (Denny , 1856 – 1917) ศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยกลาสโกลว์ เขาเป็นนักศาสนศาสตร์พันธสัญญาใหม่ที่มีชื่อเสียงในสก๊อตแลนด์ ได้เขียนคู่มือพระธรรมโรมที่ดี เขาเขียนคู่มือแนวทางการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ และโครงสร้างทางภาษา ปลายศตวรรษที่ 16 คู่มือพระธรรมโรมที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ คู่มือของ ซานเดย์ และเฮดลาม (Sanday – Headlam) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ICC (International Critical Commentary) เป็นคู่มือที่ลึกซึ้งในภาษาดั้งเดิม และศาสนศาสตร์ คู่มือนี้ผลิตครั้งแรกในปี 1895 และต่อมาเรื่อยๆ
หลังจากคู่มือ ICC การเขียนคู่มืออธิบายพระคัมภีร์ก็เข้าสู่ภาวะการถดถอย ลักษณะศาสนศาสตร์ ของศตวรรษที่ 20 นั้นเป็นการเริ่มใช้วิธีกล่าวแก้ (apologetics) คาร์ล บาธ (Barth, 1886 –1968) ปรากฏตัวในด้านศาสนศาสตร์ ด้วยการเป็นผู้เขียนคู่มือพระธรรมโรม โดยเปิดเผยระบบ
ศาสนศาสตร์ของเขาเอง ,, บรูนเนอร์ (Brunner, 1889 – 1966) เขียนคู่มือพระธรรมโรม แนวทางเดียวกับคาร์ล บาธ เป็นคู่มือสั้นๆ แต่มุ่งเน้นการมองในฝ่ายวิญญาณ กลุ่มกล่าวแก้ค้นหาพระวจนะ ที่เป็นคำพูดของมนุษย์ในพระคัมภีร์ เขาละเลยการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ และโครงสร้างทางภาษา จนดูเหมือนว่าไม่มีทางที่จะเป็นการอธิบายที่ดีกว่าคู่มือในสมัยเดิม
ลักษณะของการเขียนคู่มือ ในศตวรรษที่ 20 นั้นได้เปลี่ยนจุดศูนย์กลางจากเยอรมันสู่อเมริกา ซึ่งได้ผลิตหนังสือใหม่ ๆ ออกมาเรื่อยๆ กลุ่มอนุรักษ์นิยมเขียนคู่มือที่มีเนื้อหาเดิมๆ ซ้ำๆ แต่กลุ่มเสรีนิยม ขาดความลึกซึ้งในการตีความหมาย



II. คานน และผู้เขียน
ฉบับดั้งเดิม : ฉบับดั้งเดิมที่มีสิทธิอำนาจส่วนใหญ่ได้บรรจุพระธรรมโรมันเข้าเป็นหนึ่ง
ในจำนวนหนังสือเหล่านั้นด้วย ศาสตราจารย์ทีเซนดรอฟ ได้รวบรวมพระคัมภีร์ในภาษาดั้งเดิม (Novum Testamentum Graecum) ที่มีคนใช้มาก แต่ปัจจุบัน ฉบับของเวสท์คอทท์ – ฮอร์ท (Westcott – Hort) และฉบับเนสเทล (Nestle) เป็นฉบับที่ดี ฉบับที่มีสิทธิอำนาจ คือ ฉบับสำเนาวาติกัน (B) ฉบับสำเนาทะเลตาย , (X) ในศตวรรษที่ 4 และฉบับสำเนาอเล็กซานเดรีย (A), ฉบับสำเนาเอฟราอิม (C) – ในศตวรรษที่ 5 ทั้ง 4 ฉบับนี้ได้บรรจุพระธรรมโรมไว้ด้วย แต่ฉบับสำเนา C มีปัญหาบ้าง หลังจากนั้นรองลงมามีฉบับสำเนา D2 (ศตวรรษที่ 6) , E3 , F2 , G3 , K2 , L2 , P2 (ศตวรรษที่ 9) ฉบับสำเนาตัวเขียนที่ดีที่สุดเป็นฉบับที่ 17 รองลงมามีฉบับที่ 47 และ 67 การแปลในสมัยเดิมที่มีสิทธิอำนาจ คือฉบับวัลเกต (Vulgate) ซึ่งเป็นภาษาละติน และฉบับที่แปลเป็นภาษาซีเรีย และภาษาอียิปต์
เมื่อทำการตัดสินคานนว่า บทที่ 15 – 16 เป็นส่วนหนึ่งของพระธรรมโรม หรือไม่ ?? (โดยเฉพาะบทที่ 16) เพราะฉบับของลัทธิมาซิออน(Marcion)ไม่มีสองบทนี้ ฉบับสำเนา L (Syriac, Chrysostom ,Theodoret) บอกว่า เนื้อความของ 16:25 – 27 เป็นส่วนท้ายของบทที่ 14 / ฉบับสำเนา AD (Armenian) บอกว่า อยู่ตอนท้ายของทั้งบทที่ 14 และ 16 ด้วย !!

คานนและผู้เขียน :
ความเป็นคานนของพระคัมภีร์ และผู้เขียนพระคัมภีร์ สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก เพราะเงื่อนไขสำคัญที่สุดของการเป็นคานน คือ ถูกเขียนโดยอัครทูต พระธรรมโรมมีสิทธิอำนาจมากที่สุดในพันธสัญญาใหม่ กลุ่มมาซิออน ที่เป็นลัทธิ เทียมเท็จกลุ่มแรก กล่าวว่า พระธรรมโรมมีสิทธิอำนาจมากที่สุดในพันธสัญญาใหม่ กลุ่มมาซิออนเป็นลัทธิเทียมเท็จกลุ่มแรกที่กล่าวว่าพระธรรมโรมเป็นจดหมายฝากเปาโล แม้กลุ่มทวิงเกนที่เคยเอาเรื่องกับหนังสือทุกเล่มในพันธสัญญาใหม่ก็ยังยอมรับว่า 1-2 โครินธ์ ,กาลาเทีย และโรม เป็นหนังสือของเปาโล บางคนคัดค้านว่าพระธรรมโรมไม่ได้เป็นของเปาโล (Evanson, Loman etc.) แต่กลุ่มเสรีนิยมส่วนใหญ่ก็ยังยอมรับว่าเปาโลเป็นผู้เขียนพระธรรมโรม
หลักฐานภายนอก :
เมื่อพระธรรมโรมเป็นหนังสือเล่มแรก ๆ ของพันธสัญญาใหม่ เราพบว่าอัครทูตคนอื่น ๆ ได้รับอิทธิพลจากพระธรรมโรมในการเขียนพันธสัญญาใหม่ด้วย / 1 เปโตร และยากอบได้มีเนื้อความบางส่วนใกล้เคียงกับพระธรรมโรม นี่เป็นสิ่งที่ยืนยันจากพระคัมภีร์ด้วยกันเอง
หลักฐานภายนอกที่อยู่นอกพระคัมภีร์ สังเกตได้จากกลุ่มมาซิออน (ช่วงกลางศตวรรษที่ 2) ที่เป็นพยานปากแรก ในคัมภีร์ของมาซิออน ถือว่า พระธรรมโรมเป็นจดหมายของเปาโล ,พระคัมภีร์ฉบับโมราทอรี่ (ประมาณ ค.ศ.200) ได้รวมพระธรรมโรมเป็นคานน ,ฉบับละตินเก่า และ
ซีเรียก็เช่นกัน ในจดหมายฝากของเคลเมนต์แห่งโรม (Clement of Rome, ?? – 99) ได้ดึงข้อมูลมาจากพระธรรมโรมหลายที่ (1:21 , 2:24 , 4:7-9 , 6:1 , 1:29 , 9:4-5 , 13:1-2 ) จดหมายฝากอิกนาเทียส (Ignatius) ดึงข้อมูลจากพระธรรมโรม 1:13 , 6:4-5,7 , 7:6 , 8:11 , 9:23 , 15:5 และจดหมายของโพลิขาป (Policarp , 69 -155) ใช้ข้อมูลใน 6:3 , 12:10 , 13:8, 14:10 หลังจากยุคของศิษย์ ของเขา ชื่อ อิเรเนอุส (Iraeneus , 130 - ?? ) ได้ดึงข้อมูลจากพระธรรมโรมมากยิ่งขึ้น วีรชนจัสติน (Justin Martyr , 100 – 165) และฮิพพลิทุส (Hipplytus , ศตวรรษที่ 3) ก็ได้นำข้อมูลของพระธรรมโรม มาใช้ด้วย การดึงข้อมูลเหล่านี้ เป็นสมมุติฐานที่ชัดเจนว่า พระธรรมโรมเป็นงานเขียนของเปาโล
หลักฐานภายใน :
หลักฐานภายในบ่งบอกชัดเจนว่า พระธรรมโรมเป็นหนังสือของเปาโล ผู้เขียนเองก็กล่าวว่า เขาคือ เปาโล (1:1) เมื่อเราพิจารณาเนื้อความในหนังสือเล่มนี้ พบว่าตรงกับเนื้อความใน กิจการ ในประวัติศาสตร์ และใกล้เคียงกับเนื้อความ ในจดหมายฝากเล่มอื่นๆ ในโรม 15:19 ¡° คือด้วยอิทธิฤทธิ์แห่งหมายสำคัญ และการอัศจรรย์ ในฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ จนข้าพเจ้าได้ประกาศข่าวประเสริฐของพระคริสต์อย่างถ้วนถี่ ตั้งแต่กรุงเยรูซาเล็มอ้อมไปยังเมืองอิลลีริคุม ¡° เป็นการเดินทางในเที่ยวที่ 3 ตรงกับเนื้อความในกิจการด้วย เพราะในกิจการกล่าวว่า เขาได้ประกาศในเอเซียไมเนอร์ ,มาซิโดเนีย และอาคายา และเขาตั้งใจที่จะไปประกาศในโรม (กจ.19:21 ; 25:11) ความปรารถนาของเขาที่มีต่อโรมนั้นแรงกล้า (โรม 1:15 ; 15:22-24) โดยที่การเดินทางครั้งสุดท้ายสู่เยรูซาเล็มนั้น ท่านได้นำเงินถวายจากคริสตจักรต่างๆ เดินทางไปด้วย (กจ.24:17) เนื้อความนี้ตรงกับ โรม 15:25 และใน 15:26 บอกว่าผู้ถวาย เป็นชาวมาซิโดเนีย และอาคายา เป็นเนื้อความที่ต่อเนื่องกับการสอนเรื่องการถวายของเปาดล ใน 1โครินธ์16:1-4 ,, คริสตจักรโครินธ์ได้ถวายเงินตามคำสอนของเขา และหลังจากเปาโลไปถึงเมืองโครินธ์ เขาได้รับเงินจากมาซิโดเนีย และอาคายา จึงได้เริ่มเขียนพระธรรมโรมที่เมืองโครินธ์ นั้นเอง และเมื่อเราได้ใคร่ครวญถึงความกว้างขวาง และล้ำลึกของหนังสือเล่มนี้ เราได้เห็นว่า ต้องเป็นเปาโลที่มีความรู้ลึกซึ้งเป็นผู้เขียน
แม้ว่าจะมีนักศาสนศาสตร์ ออกมาปฏิเสธ เช่น เอวานสัน (Evanson , 1792) แต่คำโต้แย้งของเขาไม่เป็นปัญหาเลย ,,
อัครทูตเปาโล :
เปาโลเป็นเผ่าเบนยามิน (รม.11:1 , ฟป.3:5) เขาเป็นชาวยิวโดยสายเลือด เกิดในเมืองทาร์ซัส เมืองหลวงของซิริเซีย ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของโรม ชื่อ ¡°เซาโล¡± เป็นชื่อเดียวกับ ¡°ซาอูล¡± กษัตริย์องค์แรกของอิสราเอล หลายคนในเผ่าเบนยามิน มีชื่อ ¡°ซาอูล¡± /¡±เซาโล¡± ศูนย์กลางของวัฒนธรรม มี 3 แห่ง คือ ทาร์ซัส , เอเธนส์ และอเล็กซานเดรีย และทาร์ซัสจึงเป็นเมืองที่ใหญ่โตมาก (กจ.21:39) เขาได้สืบทอดสัญชาติโรม (กจ.22:28) เขามีความภาคภูมิใจในด้านศาสนา เพราะเขาอยู่ในกลุ่มฟาริสี (กจ.23:6) เบื้องหลังครอบครัวของเขาคงจะร่ำรวย และมีความสุข พ่อแม่ของเขาคงทำประโยชน์แก่รัฐบาลโรม จึงได้รับสัญชาติเป็นการตอบแทน เขาเติบโตในเบื้องหลังทางศาสนายิว ภายใต้การปกครองของโรม และวัฒนธรรมกรีก
พระเจ้าเตรียมเขาเพื่อการประกาศข่าวประเสริฐของพระคริสต์ เขาได้เดินทางไปตามทางหลวงของโรม ใช้วัฒนธรรมกรีกโดยมีศาสนาของชาวยิว .. วัฒนธรรมของโลกในตอนนี้มีศาสนาของยิว ,วัฒนธรรมของกรีก และกฏหมายของโรมปรากฎอยู่ด้วย ดังนั้น ทั้ง 3 อย่างนี้ ได้ประสานกันอย่างกลมกลืนอยู่ในชีวิตของเปาโล
เปาโลเริ่มเรียนธรรมบัญญัติ เมื่ออายุ 6 ขวบ เปาโลได้เป็นลูกแห่งธรรมบัญญัติ ที่ได้จารึกอยู่ในจิตใจของเขา (กจ.22:3) เมื่อเขาเดินทางไปกรุงเยรูซาเล็ม เขาได้เรียนจากกามาลิเอล (ซึ่งมีชื่อเสียงมากในยุคนั้น) ท่านเรียนหลักข้อเชื่อของชาวยิว เรียกว่า ¡°ทัลมุด (Talmud) ¡° เมื่ออายุ 10 – 12 ขวบ เขามีสิทธิ์เข้าไปร่วมพิธีต่าง ๆ ในกรุงเยรูซาเล็ม กามาลิเอล เป็นรับบีที่สอนธรรมบัญญัติที่มีชื่อเสียงกับ อีซีมมัย อัคคิมพอ อย่างไรก็ตามเซาโลกลายเป็นผู้ที่รักษาธรรมบัญญัติอย่างเคร่งครัด
เปาโลได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมกรีก ที่เกิดของเขา ,ทาร์ซัสเป็นจุดศูนย์กลางของวัฒนธรรมของกรีกโบราณ ผู้สอนของเขากามาลิเอล มีความรู้ที่ลึกเกี่ยวกับ ¡°ทัลมุด¡± เขานำกรีกมาใช้ (กจ.17:28 ; 1คร.15:33 ; ทต.1:12) เขาได้ถกเถียงกับนักปราชญ์กรีก (กจ.17:18) เมื่อเราเห็นสิ่งเหล่านี้ เปาโลเป็นผู้ที่มีความรู้ลึกในด้านไวยากรณ์กรีกโบราณ และปรัชญา
หลังจากเซาโลขึ้นไปเยรูซาเล็ม เขาอยู่ที่นั่นนานหรือไม่นั้น ยังถกเถียงกันอยู่ ถ้าเรายอมรับว่า เขาอยู่ในเยรูซาเล็มนาน กิจการบทที่ 26:4 - จะเป็นหลักฐานที่ดี ถ้าอยู่อยู่เยรูซาเล็มเรื่อย ๆ เขาคงจะมีโอกาสที่จะพบกับพระคริสต์ บางคนเห็นด้วย (Ramsay , Godet) บางคนไม่เห็นด้วย (Moffatt) ถ้าเขาไม่ได้พบพระคริสต์ในช่วงที่พระเยซูคริสต์รับใช้ (ค.ศ 27-29) เขาคงกลับบ้านเกิดของเขา และอยู่ที่นั่น
เซาโลแต่งงานเมื่อเขาอยู่ในเยรูซาเล็ม หรือเมื่อเขาอายุยังน้อยอยู่นั้น ยังไม่แน่ชัด
เคลเมนท์แห่งอเล็กซานเดรีย ยูเซบิอุส และลูเธอร์ ยอมรับจุดนี้ แต่นักศาสนศาสตร์คาทอลิก ปฏิเสธจุดนี้ เขามีความรู้ชัดเจนเกี่ยวกับจริยธรรม ระหว่างสามีภรรยากัน เมื่อเราเห็นจุดนี้ ทำให้เรารู้ว่า เขาคงแต่งงานแล้ว คนโสดใน 1โครินธ์7:7 ไม่ใช่หมายถึงคนที่ไม่มีภรรยา แต่หมายถึง คนที่เคยมีภรรยาแล้ว
กิจการพูดถึงเซาโล ข่มเหงศาสนาใหม่ที่เป็นศาสนาคริสต์ เขาได้พบกับพระเยซูคริสต์ บนถนนดามัสกัส ระหว่างปี ค.ศ. 29 – 37 แต่ยังไม่แน่ชัดว่าปีไหน ?? หลังจากเปาโลกลับใจใหม่ เขาได้ใช้เวลาสามปี ในอาระเบีย หลังจากนั้นเมื่อเขาไปเยี่ยมกรุงเยรูซาเล็ม เขาไม่ได้รับการต้อนรับ หลังจากนั้นเขาจึงกลับบ้าน ของตนเองที่ ทาร์ซัส และเตรียมตัว หลังจากนั้นเขาได้ไปเยี่ยมกรุงเยรูซาเล็ม ครั้งที่สอง กับบารนาบัส อัครสาวกแต่ละคนยอมรับและไม่สงสัยเขา เขาได้รับใช้ในคริสตจักรอันทิโอก นี่เป็นจุดศูนย์กลางของคริสตจักรคนต่างชาติ หลังจากนั้นพระองค์ทรงเรียกเขากับบารนาบัส ด้วยกันที่จะประกาศข่าวประเสริฐ
เปาโล กับบารนาบัส ประกาศพระกิตติคุณเที่ยวแรก แถบเอเซียไมเนอร์ เขาเปลี่ยนชื่อจากเซาโล เป็นเปาโล ในการประกาศเที่ยวแรกของเขาที่เกาะไซปรัส (กจ.13:9) ในสมัยนั้น เมื่อชาวยิวเดินทางไปต่างประเทศ เขามักจะใช้ชื่อแบบกรีก หรือโรมัน ตั้งแต่การประกาศในเที่ยวที่สอง เปาโลได้แยกกับบารนาบัส โดยร่วมงานกับสิลาส ลูกา และทิโมธี ในการประกาศ และตั้งคริสตจักรในบริเวณเอเซียไมเนอร์ และยุโรป เปาโลใช้วิธีการประกาศในธรรมศาลา ในวันสะบาโต ว่าพระคริสต์เป็นพระเมสิยาห์ที่ชาวยิวรอคอยอยู่ ซึ่งทำนายไว้ในพันธสัญญาเดิม แต่เปาโลล้มเหลวในวิธีของชาวยิวเพราะถูกต่อต้านจากชาวยิวเสมอ แต่เมื่อเขาประกาศที่ ทีรันนัสในเอเฟซัส (กจ.19:9) เขาทุ่มเทประกาศกับชาวต่างชาติ ในการเดินทางเที่ยวที่ 2 และ 3 เขาเขียนจดหมาย = 1-2 ธส. , กท. , 1-2 คร. และโรม จดหมายเหล่านี้ เขียนเมื่อเขาเดินทาง ได้ตอบสนองความต้องการของคริสตจักร แต่ละที่ แต่จดหมายฝากเหล่านี้กลายเป็นพระวจนะ โดยการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์
หลังจากการประกาศเที่ยวที่ 3 เขาได้ตามรอยพระบาทแห่งการทนทุกข์ของพระคริสต์ เขาได้รับการข่มเหงจากชาวยิว และถูกจับติดคุก 2 ปีที่ซีซารียา ต่อมาถูกส่งตัวไปที่โรม ติดคุกที่นั่น 2ปี พระธรรมกิจการได้บันทึกถึงเรื่องนี้ เมื่อเปาโลติดคุกอยู่ เขาได้เขียน ¡°จดหมายจากคุก¡± ซึ่งประกอบด้วย เอเฟซัส ,ฟิลิปปี,โคโลสี ,ฟีเลโมน
ประวัติศาสตร์ในช่วงหลังของเปาโล มีความคิด 2 ประการ คือ
1) ติดคุกที่โรม คศ. 62-64 และเสียชีวิตที่นั่น (Moffatt, Scott)
2) ได้รับการปล่อยตัวออกไปเยี่ยมเอเซียไมเนอร์ (ฟป.1:25-26 ; ฟม.22)
การประกาศในสเปน (รม.15:28) และโดนจับครั้งที่ 2 ติดคุกอีกครั้ง และเขียน 1-2 ทธ. ,ทิตัส (จม.ศิษยาภิบาล) หลังจากนั้นถูกประหารชีวิต (Clement of Rome, Eusebius, Jerome, Ramsay, Mayor ,Zahn ,Godet) โดยที่หนังสือนี้ จะใช้ตามความคิดประการหลัง ถ้าเรายอมรับว่าเปาโลเป็นผู้เขียนจดหมายศิษยาภิบาลทั้ง 3 เล่ม เขาจะไม่ได้เขียนเมื่อเขาติดคุกครั้งแรก แต่เราไม่ได้คิดว่าเขาถูกปล่อยตัวนานมาก เราเชื่อว่าเปาโลได้รับการข่มเหง ในช่วงกษัตริย์เนโรปกครอง เขามีสัญชาติโรม เขาขึงไม่ได้ถูกตรึงที่ไม้กางเขน เหมือนเปโตรที่ถูกฆ่าอย่างโหดเหี้ยม เขาถูกประหารชีวิตเพราะความเชื่อของเขา เขาคงเสียชีวิตประมาณ คศ.65 หรือ 66 เราจะพิจาณาว่าประวัติของเปาโล ซึ่งรวบรวมโดยโกเดท (Godet)
ค.ศ. 7 – 37 : เป็นฟาริสี
ค.ศ. 37 : กลับใจที่ถนนสู่ดามัสกัส (อายุประมาณ 30 ปี)
ค.ศ. 37 – 44 : วาระแห่งการเตรียมตัว (ที่อาระเบีย และทาร์ซัส)
ค.ศ. 44 – 51 : ประกาศเที่ยวแรก
ค.ศ.51 : ประชุมสภาที่เยรูซาเล็ม
ค.ศ. 52 – 54 : ประกาศเที่ยวที่สอง
ค.ศ. 54 – 59 : ประกาศเที่ยวที่สาม
*ฤดูร้อน ค.ศ. 59 – ฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 61 : โดนจับคุกที่ซีซารียา
*ฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 61 – ฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 62 : เดินทางโดยเรือ , เรือแตก ,ถึงโรม
*ฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 62 – ฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 64 : อยู่ในคุกโรม , เขียนจดหมายจากคุก
*ฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 64 – 66 หรือ 67 : ได้รับการปล่อยตัว ,ติดคุกครั้งที่สอง ,
เขียนจดหมาย ศบ. , ถูกประหารชีวิต

III . ผู้รับจดหมาย :
A. เมืองโรม
เมืองโรมตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำทีเบล เป็นเขตการปกครองที่ 7 และเป็นเมืองหลวงของอาณา
จักรโรม ดาเนียลได้ทำนายถึงบาบิโลน มีเดีย และเปอร์เซีย กรีก และอาณาจักรโรม เป็นอาณาจักรที่ 4 (ดนล.2:40) เชื่อว่าโรมเป็นอาณาจักรนิรันดร์ อาณาจักรโรมเริ่มต้นจากตำนานโรมอร์ส และตั้งเป็นประเทศ กคศ.510 ซึ่งในช่วง กคศ. ใช้ระบบสาธารณรัฐ แต่ตั้งแต่ คศ. เป็นต้นมา ใช้ระบบอาณาจักร
กรุงโรมเป็นเมืองที่มีความหรูหรา โดยมีคำกล่าวไว้ว่า ¡°ถนนทุกสายมุ่งสู่โรม¡± แสดงถึงการเป็นจุดศูนย์กลางของโลกในทุกส่วน วัฒนธรรมโรมนั้นใหญ่โตกว้างขวาง แต่วัฒนธรรมกรีกเป็นสิ่งละเอียดละเมียดละไม ในกรุงโรมมีตึกแถวขนาดใหญ่, มีระบบประปา , มีโรงละครขนาดใหญ่ และตลาด โดยที่ถนนทุกสายมีจุดหมายอยู่ที่กรุงโรมแห่งนี้ ความเจริญรุ่งเรืองของกรีกได้ถูกพัฒนาโดยวัฒนธรรมของชาวโรม ทำให้เกิดความรุ่งเรืองในแบบของโรม มีการพัฒนากฎหมายที่มีชื่อเสียง และปกครองอาณาจักรนี้ด้วยกฎหมาย
ในเมืองโรมนี้ มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากกว่าชาวโรม เพราะเมื่ออาณาจักรโรมมีชัยในการสงคราม ชาติอื่นก็ได้เข้ามาเป็นทาสอยู่ในโรม และนอกจากนั้นก็เข้ามาเพื่อการค้าขาย หรืออพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่นั่น เมื่อเปาโลเขียนพระธรรมโรม จำนวนประชากรในเมืองหลวงแห่งนี้มีมากกว่าหนึ่งล้านคน เมื่อเขาเขียนพระธรรมโรมในปี 57 – 58 นั้น ผู้ปกครองเผด็จการที่ปกครองโรมอยู่ คือเนโร แต่ยังมีความสงบสุขเพราะนักปรัชญาเซเนคาอยู่เป็นที่ปรึกษาองค์จักรพรรดิ์อยู่
B. คริสตจักรโรม :
ต้นกำเนิด : เราไม่มีข้อมูลของผู้รับจดหมายโรม และนักวิชาการได้คาดไว้ 3 แนวทาง
(1) เปโตรเป็นผู้ก่อตั้ง (นักศาสนศาสตร์คาทอลิก) (2) ผู้ตั้งคริสตจักรโรม คือ ผู้ที่เคยไปเยี่ยมเยรูซาเล็ม (กจ.2:4) (Koppe , Baur) / (3) ชาวยิว และชาวต่างชาติได้ก่อตั้งคริสตจักรอย่างปกติทั่วไป (Ambrosiaster , Godet , Thiessen)
นักวิชาการโรมันคาทอลิก บอกว่าเปโตรเดินทางไปประกาศ ที่เมืองโรมใน ค.ศ. 42 – 43 ซึ่งเป็นช่วงของจักรพรรดิ์เกลาดิโอ (ค.ศ.41 – 54) โดยที่เขาอยู่ที่นั่นประมาณ 25 ปี และได้ก่อตั้ง
คริสตจักรขึ้นที่นั่น ในแง่นี้เราพบว่า โรมันคาทอลิกต้องการสื่อว่า เปโตร คือสันตะปาปาองค์แรก และต้องการปกป้องสิทธิ์อำนาจของสันตะปาปาองค์ต่อมา มีการบันทึกว่าเปโตร และเปาโลเป็นผู้ก่อตั้งคริสตจักรโรม (Dionysius of Corinth in Eusebius , H.E. II.xxv , 8; Irenaeus , Heresies , III.3:2,3) ตามข้อมูลบอกว่าท่านทั้งสองได้สละชีพเพื่อพระคริสต์ในกรุงโรม (Eusebius , ibid ; Tertullian ,Scorpiace 25; Caius in Eus., ibid , 6,7 ; Ignatius , Rom.4:3 ; 1 Clement 5:4)
แต่มีข้อมูลน้อยมากที่บ่งบอกว่าเปโตรเป็นผู้ตั้งคริสตจักรโรม นอกจากข้อมูลของเจอโรม ที่เป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลของคาทอลิกไว้ และได้มีข้อมูล อ้างถึงว่าเปโตรเป็นผู้ก่อตั้งนักวิชาการโปรเตสแตนท์ บางคนยอมรับเพื่อการยืนยันนี้ (Thiersch) แต่ส่วนใหญ่ปฏิเสธการยืนยันนี้ เปโตรเคยไปร่วมสภาเยรูซาเล็ม (กจ.15 , ค.ศ.49) ดังนั้นท่านจะไปเมืองโรมก่อน คศ. 49 ก็เป็นไปไม่ได้ และที่บางคนบอกว่าท่านไปโรมหลังออกจากคุก ก็เป็นไปไม่ได้เหมือนกัน (กจ.12:17) แต่เมื่อเราดูจดหมายของเขา น่าจะไปแคว้นปอนทัสมากกว่า (1ปต.1:1) และหากเปาโลเป็นผู้ก่อตั้งคริสตจักรโรม ท่านจะไม่ใช่ผู้เขียนพระธรรมโรม เพราะเปาโลมีความเชื่อว่าถ้าคนอื่นก่อตั้งคริสตจักรแล้ว เขาจะไม่ตั้งซ้ำซ้อนอีก (รม.15:20) ถ้าเปโตรอยู่ในเมืองโรม¡¦ทำไม่มีชื่อในส่วนการทักทายด้วยจดหมายโรม ซึ่งมีชื่อทั้งหมด 26 คน เป็นการไม่ถูกต้องที่จะเชื่อว่า เปโตรมีอำนาจกว่าเปาโล ต่อคริสตจักรโรม นักวิชาการโปรเตสแตนท์ส่วนใหญ่เข้าใจว่า เปโตรไปถึงโรมระหว่างช่วงที่บันทึกโรม และจดหมายจากคุก หรือหลังจาก คศ. 62 เปโตรและเปาโล คงจะเดินทางไปถึงที่นั่นใน่เวลาไล่เลี่ยกัน และทั้งสองได้ช่วยคริสตจักรโรมที่มีอยู่ก่อนแล้ว อิเรเนอุส (Irenaeus) กล่าวว่า เปโตรกับเปาโล เป็นผู้ก่อตั้งคริสตจักรโรม
จาก พระธรรมกิจการ บท 2 – เราพบว่ามีคนจากหลายที่มายังเยรูซาเล็ม เมื่อเทศกาล
เพนเทคศเต รวมทั้งชาวยิวจากโรมด้วย และพวกเขาได้กลับใจรับพระเยซูคริสต์ จึงกลับไปทำการก่อตั้งคริสตจักรขึ้นที่เมืองของเขา คือโรม (กจ.2:10)
ในเวลานั้น ในโรมมีชาวยิวเป็นจำนวนมาก และชาวยิวบางคนเป็นคริสเตียนแน่นอน ชาวยิวได้อพยพสู่โรมตั้งแต่ยุคแมคคาบี เมื่อ พอมเพ มีชัยต่ออิสราเอล ในปีก่อน ค.ศ 63 เขาพาเชลยศึกชาวยิวมายังโรมเป็นจำนวนมาก เมื่อชาวยิว 50 คนไปเยี่ยมเมืองโรม ในปีก่อน คศ.6 เขารู้ว่ามีชาวยิวที่นั่นถึง แปดพันคน (Josephus, Ant.17:11) และเมื่อมีชาวยิวที่ไหน จะมีธรรมศาลาที่นั่น ธรรมศาลาเป็นที่ ๆ ดีที่สุดในการประกาศข่าวประเสริฐในยุคพันธสัญญาใหม่ เราจึงคาดได้ว่ามีผู้เชื่อในโรมนานมาแล้ว อาณาจักรโรมมีใจกว้างขวางเรื่องศาสนาต่างชาติอยู่แล้ว และโดยเฉพาะชาวยิวที่เติบโตเจริญรุ่งเรืองอยู่ในเมืองโรม ส่งผลให้ชาวโรมเกิดความหวาดระแวง ในกิจการ 18:2 จักรพรรดิ์เคลาดิอัส(Claudius) ได้ผลักดันชาวยิวออกจากโรม นักประวัติศาสตร์ที่ชื่อ สวิสท์เนีย ก็มีบันทึกที่อ้างอย่างเดียวกันนี้ ¡°คริสทุส (Chrestus) เป็นต้นตอของเหตุร้าย ที่ส่งผลให้ชาวยิวต้องถูกผลักดันให้ออกจากเมืองโรม ¡°:Judaeos impulsore Chrestos assidue tumultuantes Roma expulit , (Suetonius , Claud.c.25) ข้าราชการของโรมไม่ชอบเหตุขัดแย้งกัน ระหว่างชาวยิวที่เชื่อ และไม่เชื่อ ชาวโรมซึ่งระแวงการเติบโตของชาวยิวอยู่แล้ว จึงฉวยโอกาสขับไล่พวกเขาออกจากโรม การข่มเหงของจักรพรรดิ์เคลาดิอัส จบสิ้นลงเมื่อเขาเสียชีวิต ในเดือน ตุลาคม คศ.54
เมื่อเนโรเข้ามาปกครอง ชาวยิวมีเสรีภาพเต็มที่ เมื่อเราพิจารณาข้อมูลเหล่านี้ เราจึงยอมรับว่าผู้เชื่อ ชาวยิวได้เห็นผู้ก่อตั้งคริสตจักรโรมเอง ถ้าเราจำกัดว่า ชาวยิวที่เคยไปเยรูซาเล็มเป็นผู้ก่อตั้งนั้น ก็ดูจะไม่ถูกต้องนัก แต่เรายอมรับว่าคนเหล่านี้ได้สนับสนุนการก่อตั้งคริสตจักรอย่างแน่นอน
เราเข้าใจว่า คริสตจักรโรมนั้นไม่มีผู้ก่อตั้งอย่างชัดเจน แม้เปโตร หรือเปาโล และในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่แค่ผู้ที่เคยไปเยรูซาเล็มเท่านั้นที่กลับมา ก่อตั้งคริสตจักรโรม , คริสตจักรหลายแห่งในพันธสัญญาใหม่ นั้นไม่ได้ถูกก่อตั้งโดยตรงจากอัครทูต ¡¦ บางแห่งมีผู้ก่อตั้งอย่างชัดเจน เช่น คริสตจักรเธสะโลนิกา ,คริสตจักรโครินธ์ , คริสตจักรเอเฟซัส ,คริสตจักรฟิลิปปี ,, บางแห่งไม่ชัดเจนในเรื่องผู้ก่อตั้ง เช่น คริสตจักรโคโลสี ,คริสตจักรเลาดีเซีย ,คริสตจักรลีเอลาโบลี และคริสตจักรโรมเองก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย อัมโบรเซียสเตอร์ บอกว่า ¡° ชาวยิวเป็นประชากรของจักรวรรดิ์โรม และเขาอยู่ในกรุงโรมในยุคอัครทูต ธรรมบัญญัติของยิวนั้นได้เชิญชวนให้ชาวโรม เชื่อในพระคริสต์ และถือรักษาธรรมบัญญัติด้วย เขาไม่มีประสบการเรื่องการอัศจรรย์ หรือไม่ได้รับการช่วยเหลือ จากอัครทูตคนใดโดยตรง แต่เขายอมรับความเชื่อในพระคริสต์ และธรรมบัญญัติของยิวด้วย¡±(Ambrosiaster, quoted by Sanday & Headlam).
บางครั้ง ข้อพระคัมภีร์ ได้อ้างว่า ถูกก่อตั้งโดยผู้เชื่อชาวต่างชาติ (รม.15:14-16) ในสมัยนั้นมีคนเป็นจำนวนมาก เข้ามาในกรุงโรม ซึ่งในกลุ่มนั้น อาจเป็นผู้เชื่อ หรืออาจมีบางคนรู้จักพระเยซูคริสต์ ผ่านทางเปาโลก็เป็นได้ เมื่อชาวยิวกับชาวต่างชาติคงใช้เวลาในการปรับตัว อาจเป็นไปได้ว่าธรรมบัญญัติในพระธรรมโรมตัดประเพณีแบบศาสนายิวออก และถูกแยกออกจากธรรมศาลาของยิว จนสุดท้ายความสัมพันธ์ระหว่างยิวกับคนต่างชาติ ก็ปราศจากกำแพงขวางกั้นอีกต่อไป
หลังจาก ชาวยิวกลับเข้าสู่กรุงโรมอีกครั้ง ประมาณ คศ.54 (ผู้ยืนยันคือ Zahn) เมื่อเราพิจารณาสถานการณ์เหล่านี้ คริสตจักรโรมคงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะมีทำเลที่ทำการที่เหมาะสมอย่างยิ่ง เมื่อเราสังเกตเนื้อความพระธรรมโรม ดูเหมือนว่าธรรมบัญญัติที่นั่นมีมาตรฐานทางความเชื่อสูงอยู่แล้ว
ผู้รับ :
ผู้รับจดหมายโรม เป็นยิวหรือต่างชาตินั้น เป็นข้อโต้แย้งประการหนึ่ง ของนักศาสนศาสตร์ใน ศตวรรษที่ 19 กลุ่มทวิงเก้นท์ ชื่อ Baur ยืนยันว่า ชาวยิวเป็นผู้รับจดหมาย แต่ Weizscäcker
ยืนยันว่าคนต่างชาติเป็นผู้รับ Holtzmann กล่าวว่า เราไม่สามารถรู้ได้แน่ชัด กลุ่มที่ยืนยันว่าชาวยิวเป็นผู้รับนั้น มีหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) คำว่า ¡°เรา¡± ใน 3:9 หมายถึง ชาวยิว (2) 4:1 ¡°บรรพบุรุษของเราตามสายโลหิต¡± (3) ผู้ที่รู้จัก
ธรรมบัญญัติ ใน 7:1-6 หมายถึง ชาวยิว (4) บทที่ 9 – 11 พูดถึงความรอดของชาวยิว (Baur เน้นจุดนี้ ) // (5) หลักข้อเชื่อใน บทที่ 1-11 นี้ อธิบาย ข่าวประเสริฐโดยผ่านทางธรรมบัญญัติ เขาจึงใช้ข้อพระคัมภีร์จากพันธสัญญาเดิมบ่อยครั้ง
อีกแง่หนึ่ง มีหลักฐานที่ชี้ว่า ชาวต่างชาติเป็นผู้รับจดหมาย ดังนี้
(1) ใน 1:5 พูดถึงชาวต่างชาติ , 15:16 ผู้เขียนยืนยันว่า เป็นอัครทูตสำหรับชาวต่างชาติ (2) 1:13 , 11:13 บอกว่าผู้รับจดหมาย เป็นชาวต่างชาติ (3) ในสมัยนั้น ชาวต่างชาติหลาย ๆ คนมาตั้งถิ่นฐานในกรุงโรม จากสาเหตุเหล่านี้ นักวิชาการหลายคนเข้าใจว่า ผู้รับจดหมายน่าจะเห็นชาวต่างชาติ
ข้าพเจ้า (ผู้เขียน) เข้าใจว่า ผู้เขียนพระธรรมโรม ไม่ได้คิดถึงว่า ผู้รับจดหมายจะเป็นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (ชาวยิวหรือชาวต่างชาติ) พระธรรมโรมมีหลักฐานหลายแห่งที่ชี้ว่า ชาวยิว และชาวต่างชาติเป็นผู้รับจดหมาย เมื่อเปาโลอธิบายหลักข้อเชื่อ เรื่องความบาป เขากล่าวถึงความบาปของชาวต่างชาติก่อน (1:18 – 32) และเขาอธิบายความบาปของชาวยิวด้วย (2:1-29) เมื่อเปาโลอธิบายหลักข้อเชื่อเรื่องความรอด เขากล่าวถึงความรอดของทั้งสองกลุ่ม (บทที่ 11) ,, ในบทที่ 16 เมื่อเขาเอ่ยชื่อเพื่อฝากความระลึกถึงก็มีหลายกลุ่มด้วยกัน เช่นปริสคา และอาควิลลา (กจ.18:2) อันโดรนิคัส และยูนีอัส ญาติของเปาโล , เฮโรดิโอน ญาติของเปาโล เป็นชาวยิว ,มารีย์ (ข้อ6) ก็เป็นชื่อของชาวยิว ,อาเปลเลส และอาริสโทบูลลัส (ข้อ 10) เป็นชื่อของชาวยิว ,, ชาวต่างชาติ คือ อูสบานัส (9) ,อัมพลีอาทัส (8) , รูฟัส (13) , ยูเรีย (15) อย่างนี้เป็นชื่ออย่างชาวโรม นอกจากนั้นล้วนแล้วแต่เป็นชื่อตามอย่างชาวกรีก
เปาโลประกาศข่าวประเสริฐในธรรมศาลา ด้วยการใช้เบื้องหลังของธรรมบัญญัติ หลังจากที่เขาได้รับใช้ในห้องประชุมทีรันนัส (กจ.19:9) เขายืนยันว่า เขาเป็นอัครทูตของชาวต่างชาติ
แต่เขาไม่ได้ละทิ้งความหวังในความรอดของชาวยิว หลังจากการประกาศเที่ยวที่ 3 เขาได้เตรียมการประกาศใหญ่ในกรุงโรม เขาไม่จำเป็นต้องแยกแยะผู้รับจดหมาย ว่าเป็นชาวยิว หรือต่างชาติ , เปาโลมองกว้างไกล คือ ความรอดของมนุษย์ทุกชาติ ดังนั้นปัญหาเรื่องผู้รับจดหมาย คงจะเป็นแค่กระบวนการเท่านั้น ข้าพเจ้า (ผู้เขียน) อยากจะสรุปว่า คริสตจักรโรมนั้นไม่ได้อยู่ใต้อำนาจของชาวยิว เพราะต่างชาติมีอำนาจมากกว่าชาวยิวเสียอีก แต่ชาวยิวก้ยังคงอิทธิพลอยู่ (Sandy & Headlam , Denny , Thiessen)

IV. จุดประสงค์ และเป้าหมาย
จุดประสงค์ :
เมื่อเราเปรียบเทียบกับพระธรรมโรม และกิจการ เราเข้าใจจุดประสงค์ของพระธรรมโรมอย่างชัดเจน การประกาศเที่ยวที่ 3 ของเปาโลมีปัญหา และผลงานเยอะ เขามีเป้าหมายที่จะประกาศข่าวประเสริฐจนถึงสุดปลายแผ่นดินโลก เขาอยากจะหาที่ใหม่ ,, ที่ใหม่นั้น คือ เมืองโรม ที่เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรดรม (กจ.19:21) เป้าหมายของเขาไม่ใช่โรมเท่านั้น เขาอยากจะประกาศจนถึงสเปนที่เป็นสุดปลายแผ่นดินโลกในสมัยนั้น ผ่านทางเมืองโรม (รม.15:28) เขาไม่รู้จักเหนื่อย , เรี่ยไรจากคริสตจักรต่างชาติ และช่วยคริสตจักรเยรูซาเล็ม (1คร.16:1-4 ; รม.15:26-27) เขาแวะเยรูซาเล็ม หลังจากนั้นเขาพยายามไปโรม สถานที่สุดท้ายในการประกาศเที่ยวที่ 3 ของ
เปาโล คือ เมืองโครินธ์ ,, คริสตจักรโครินธ์มีปัญหาเยอะ เขาส่งจดหมายอย่างน้อยสามครั้ง ช่วงประกาศเที่ยวที่ 3 เมื่อเปาโลถึงโครินธ์ , คริสตจักรโครินธ์ได้แก้ไขปัญหา เปาโลก็เลยสามารถไปเยี่ยมเมืองโรม ในเวลานั้นถึงฤดูหนาว เขาจำเป็นต้องรอคอยอีกสามเดือน รอคอยจนถึงฤดูใบไม้ผลิ (กจ.20:13) ช่วง 3 เดือนนี้ เขาส่งจดหมายพระธรรมโรมฉบับนี้
เป้าหมาย :
จุดประสงค์ของพระธรรมโรมนี้ ชัดเจน แต่เป้าหมายบางสิ่งบางอย่าง เราเข้าใจเป้าหมายของหนังสือเล่มนี้ได้ยาก มีหลายวิธีด้วยกันที่จะเข้าใจความคิดเห็นต่าง ๆ ในเรื่องนี้ Sandy และ
Headlam ได้แยกระหว่างมุมมองประวัติศาสตร์ และหลักข้อเชื่อ , ผู้เขียนเป็นจุดศูนย์กลาง ชาวยิวหรือชาวต่างชาติ แต่ส่วนใหญ่แยกเป้าหมาย 3 อย่าง คือ หลักข้อเชื่อ ,การโต้เถียง ,ความกลมกลืนกัน
(1) หลักข้อเชื่อ : (Origen , Chrysostom , Oecumenius , Lather , Calvin. Melanchthon , Godet etc.) นักวิชาการส่วนใหญ่ ยอมรับมุมมองนี้ Melanchthon เรียกพระธรรมโรมว่า ¡°การสรุปหลักข้อเชื่อของศาสนาคริสต์¡± Godet รียกพระธรรมโรมว่า ¡°เป็นคำถาม – คำตอบ หลักข้อเชื่อ และจริยธรรม¡± Hilgenfeld บอกว่าพระธรรมโรม เป็น ¡°คำสอนข่าวประเสริฐสมบูรณ์แบบสำหรับชาวต่างชาติ¡± สิ่งที่แน่นอนที่สุด คือ พระธรรมโรม เป็นหนังสือหลักข้อเชื่อ หลักข้อเชื่อนั้นมีระบบชัดเจน
แต่หนังสือโรมไม่ได้รวมหลักข้อเชื่อทั้งหมด พระธรรมโรมนี้ไม่มีหลักข้อเชื่อคริสตจักร เหมือนพระธรรมเอเฟซัส ไม่มีหลักข้อเชื่อพระคริสต์ เหมือนพระธรรมโคโลสี , ไม่มีหลักข้อเชื่ออนาคตศาสตร์เหมือน 1 และ 2 เธสะโลนิกา หลักข้อเชื่อ 3 อย่างนี้ เป็นหลักข้อเชื่อที่สำคัญ หลายร้อยปี ช่วงคริสตจักรยุคแรก เหตุฉะนั้น หนังสือเหล่านี้ไม่ใช่การสรุปศาสนศาสตร์ระบบทั้งหมด เปาโลเน้นความชอบธรรมโดยความเชื่อ เปาโลเรียกสิ่งนี้ว่า ¡°ข่าวประเสริฐของข้าพเจ้า¡±
(2) การโต้เถียง : Baur เป็นกลุ่มทวินเกน เขายืนยันว่าหนังสือโรมไม่ได้เน้นหลักข้อเชื่อ แต่เน้นประวัติศาสตร์ ชาวยิวโจมตีลัทธิเอบีโอน ที่ต่อต้านพระคริสต์ เหตุฉะนั้น บทที่ 9-11 เป็นจุดศูนย์กลางของพระธรรมโรม , พระธรรมโรมมีลักษณะการโต้เถียงกัน แต่วิธีนี้เป็นวิธีอย่างหนึ่งเพื่อที่จะอธิบาย เป้าหมายสูงกว่านี้ การโต้เถียงไม่ใช่จุดที่สำคัญที่สุด
(3) ความกลมกลืนกัน (Lipsius , Fileider) :ผู้ที่ยืนยันจุดประสงค์นี้ บอกว่า เปาโลอยากจะทำให้กลมกลืนกันระหว่างผู้เชื่อชาวต่างชาติ กับชาวยิว
การยืนยัน 3 อย่างข้างบนนี้ อาจรวมเป้าหมายของพระธรรมโรม บางคนเข้าใจว่า พระธรรมโรมเป็นจดหมายส่วนตัว (Deismann , Schoot etc.) แต่เราเข้าใจว่าหนังสือโรมอยากจะเตรียมตัวการประกาศใหญ่ของเปาโลในโรม เปาโลอยากจะโฟกัส (เน้น) ความชอบธรรมโดยความเชื่อ เพื่อเตรียมการประกาศของเขาในโรม

V. เวลาเขียนและสถานที่
เวลาเขียน :
จุดประสงค์ของหนังสือเล่มนี้ เราสามารถเข้าใจเวลาเขียน เมื่อเราเปรียบเทียบพระธรรมโรมกับกิจการ สองอย่างนี้ เราสามารถเข้าใจ เวลาอย่างชัดเจน
(1) เปาโลได้ประกาศสำเร็จภาคตะวันออก ตั้งแต่กรุงเยรูซาเล็มอ้อมไปยังเมืองอิลลีรีคุม ¡°(รม.15:19) และเปาโลมีความปรารถนา จะไปประกาศที่สเปน และจะแวะมาหาคริสตจักรโรม และวางแผนการประกาศภาคตะวันตก (รม.15:23) ¡° เหตุฉะนั้นเวลาที่เขียนพระธรรมโรม เป็นช่วงสุดท้ายของการประกาศเที่ยวที่ 3 การประกาศที่อิลลีรีคุม ไม่ได้บันทึกในกิจการ แต่เราเข้าใจว่า การประกาศที่อิลลีรีคุม นั้น อยู่ระหว่างการประกาศที่เอเฟซัส กับประเทศกรีก (กจ.20:1-2)
(2) เปาโลอยากไปเยรูซาเล็ม เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ขัดสน โดยการเรี่ยไรเงินไปให้แก่ธรรมิกชนในเยรูซาเล็ม จากแคว้นมาซิโดเนีย และแคว้นอาคายา (15:25-26) การถวายทรัพย์ครั้งนี้ พูดถึงใน 1-2 โครินธ์ ด้วย (1คร.16:1-4 , 2 คร.8-9) เหตุฉะนั้น พระธรรมโรมนี้ได้เขียนขึ้นแล้ว หลังจากเปาโลเก็บเงินถวาย และหลังจากพระธรรม 1-2 โครินธ์ (แต่นักศาสนศาสตร์บางคน เข้าใจว่าการเดินทางของเปาโลครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังการประกาศเที่ยวที่ 2 เมื่อมีการประชุมที่เยรูซาเล็มในกิจการ 15 ประมาณปี คศ. 53-54 ผู้ยืนยัน คือ Clement
(3) ในขณะนี้เปาโลยังมีอิสระไม่ถูกจองจำ แต่เขาคาดว่าต้องพบกับวิกฤติการณ์ จากชาวยิวในเยรูซาเล็ม (15:31)
(4) เปาโลยังไม่เคยไปโรม (1:10-13) แต่เขามีความปรารถนาที่จะไปเยี่ยมโรม เรื่องนี้ตรงกับ
กิจการ 19:21 ¡°ครั้นสิ้นเหตุการณ์เหล่านั้นแล้ว โดยพระวิญญาณเปาโลได้ตั้งใจว่า เมื่อไป
ทั่วแคว้นมาซิโดเนียกับแคว้นอาคายาแล้ว จะเลยไปยังกรุงเยรูซาเล็มและพูดว่า ¡°เมื่อข้าพเจ้าไปที่นั่นแล้ว ข้าพเจ้าจะต้องไปเห็นกรุงโรมด้วย¡±
เมื่อเราดูข้อมูลเหล่านี้ เราจึงสรุปได้ว่า เปาโล เขียนพระธรรมโรม หลังจากการเดินทางประกาศเที่ยวที่ 3 และก่อนที่จะไปยังกรุงเยรูซาเล็ม ในกิจการ 20 เปาโลอยู่ในเมืองโครินธ์ได้ 3 เดือน เขาได้ไปเยี่ยมเมืองฟิลิปปี และโตรอัส และเขาได้ไปถึงกรุงเยรูซาเล็มทางเรือ ดังนั้นเมื่อเขาอยู่ในเมืองโครินธ์ 3 เดือน เป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเขียนพระธรรมโรม แต่เราก็ไม่สามารถรู้ว่าเขียนในปีไหนแน่ ?? โดยที่นักศาสนศาสตร์แต่ละคนเข้าใจต่าง ๆ กันไป เช่น ปีคศ. 55-56 (Greijdanus) , ปีคศ.56 (Thiessen), ปีคศ.57-58 (Lightfoot) , ปีคศ.58 (Zahn,
Jülicher, Sanday & Headlam), ปีคศ.59 (Godet , Dodd) – แต่เราสรุปได้ว่า พระธรรมโรมถูกเขียนขึ้นระหว่าง ปีคศ. 56-59

สถานที่เขียน :
ข้อมูลได้บอกว่า เขียนที่เมืองโครินธ์ เมื่อเราพิจารณาบทที่ 16 การทักทายของเปาโล ก็ได้บ่งบอกชัดเจนว่าเปาโล เขียนจากเมืองโครินธ์
(1) เฟบีเป็นมัคนายิกาของคริสตจักรที่อยู่ในเมืองเคนเดรีย ที่เป็นเมืองท่าของโครินธ์
(2) กายอัส เจ้าของบ้านผู้ดูแลเปาโล มีบ้านเป็นสถานที่ประชุมนมัสการ (16:23) เปาโลได้ให้บัพติศมาแก่กายอัส ที่เมืองโครินธ์ (1คร.1:14)
(3) เอริสทัส สมุหบัญชีของเมือง เป็นคนเดียวกันกับ เอรัสทัส ใน 2 ทิโมธี4:20 ที่อยู่ในเมืองโครินธ์

VI. ลักษณะของพระธรรมโรม
พระธรรมโรมเป็น 1 ในจดหมายที่สำคัญที่สุด 4 เล่มของจดหมายฝากเปาโล พระธรรมโรม
กับกาลาเทีย เน้นหลักข้อเชื่อ แต่กาลาเทียเป็นลักษณะของการถกเถียง แต่พระธรรมโรมมีลักษณะของวิทยานิพนธ์ อธิบายอย่างมีเหตุผล แม้หนังสือโรมเป็นหนังสือแห่งหลักคำสอน แต่ไม่ได้พูดถึงหลักข้อเชื่อทุกเรื่องในศาสนศาสตร์ระบบ ศาสนศาสตร์ในพระธรรมโรมนี้เป็นความชอบธรรมโดยความเชื่อ เปาโลเน้น ¡°ข่าวประเสริฐของข้าพเจ้า¡± โฟกัสของศาสนศาสตร์เกี่ยวข้อกับยุคใดยุคหนึ่ง หัวข้อหลักข้อเชื่อที่สำคัญก่อนและหลังประชุมนิเคอา คือ หลักข้อเชื่อเรื่องพระคริสต์ ในยุคกลางจะเน้นศาสนศาสตร์ระบบทุกด้าน แต่ยุคสมัยนี้แยกแยะระหว่างศาสนศาสตร์ดั้งเดิม และศาสนศาสตร์อื่น ๆ โดยแยกแยะได้จากมุมมองที่มีต่อพระคัมภีร์ ความชอบธรรมโดยความเชื่อ นั้นเป็นหลักข้อเชื่อในยุคพันธสัญญาใหม่ และเป็นพื้นฐานที่หนักแน่นสำหรับศาสนาคริสต์
เปาโลไม่ได้เป็นผู้สร้างหลักข้อเชื่อนี้ มีรากฐานของหลักข้อเชื่อนี้แล้วในพันธสัญญาเดิม และได้รับการพัฒนาโดยคำสอนของพระคริสต์ และเปาโลจึงได้สรุปรวบรวมขึ้นมาอย่างชัดเจน หลังจากนั้นหลักข้อเชื่อนี้ถูกทำลายโดยโรมันคาทอลิก แต่ก็ฟื้นขึ้นมาใหม่โดยนักปฏิรูปศาสนา แต่ในอนาคต หลักข้อเชื่ออาจถูกทำลาย และทำให้ฟื้นขึ้นมาใหม่อีกครั้งก็เป็นได้
ถ้าหลักข้อเชื่อนี้ เป็นเสาหลักของประวัติศาสตร์คริสตจักร หนังสือโรมก็เป็นหนังสือที่มีความสำคัญมาก ในอดีตเมื่อนักศาสนศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ได้ร่วมกันปฏิรูปศาสนาคริสต์ เขาใช้พระธรรมโรมเป็นมาตรฐาน
แต่พระธรรมโรม ก็ไม่ใช่วิทยานิพนธ์ของนักศาสนศาสตร์ แต่เป็นจดหมายดังเช่นจดหมายฝากของเปาโลฉบับอื่นๆ เมื่อเราเขียนจดหมาย เราก็เขียนเพื่อตอบสนองอีกฝ่ายหนึ่ง พระธรรมโรมได้พูดถึงคริสตจักรโรม และบอกว่ามีความจำนงที่จะประกาศในโรม ส่วนหลักข้อเชื่อที่ปรากฏในบทที่ 1-11 และส่วนที่นำมาใช้ในบทที่ 12 – 16 พูดถึงปัญหาที่คริสตจักรโรมได้พบ แต่พระธรรมโรมที่เป็นจดหมาย ที่เรียบร้อยเพราะ คริสตจักรที่จะรับจดหมายนี้อยู่ในเมืองโรม ซึ่งเป็นเมืองที่ประเสริฐที่สุด และถือว่าเป็นเมืองนิรันดร์ในสมัยนั้น เมื่อเปาโลเขียนจดหมายสำหรับเมืองนี้ ท่าทีของเขาจำเป็นต้องสุภาพ และเขียนเนื้อความที่ดีที่สุด
พระธรรมโรมกับจดหมายอื่นๆ ในพันธสัญญาใหม่ มีความใกล้เคียงกัน พระธรรมเป็นจดหมายฝากเปาโลในช่วงแรก และเป็นตัวแทนคำสอนของเปาโล (2ปต.3:15) จดหมายอื่นๆ ในพันธสัญญาใหม่ ได้รับอิทธิพลจากพระธรรมโรมด้วย เราได้พบเห็นจากหลายที่ ที่มีความคล้ายคลึงกัน

ความคล้ายคลึงกันของพระธรรม1เปโตร . กับพระธรรมโรม
โรม 1เปโตร โรม 1เปโตร
2:6 1:17 10:25 1:20
2:7,10 1:7 12:1 2:5
4:24 1:21 12:2 1:14
6:4 3:21 12:6, 7 4:10, 11
6:10 3:18 12:13 4:9
6:18 2:24 12:17 3:9
8:17 4:13 13:1-4 2:13-14
8:18 5:1 13:13 4:3
9:23 2:6-8 13:14 4:1
9:25, 26 2:10

ความคล้ายคลึงกันของพระธรรมยากอบ กับพระธรรมโรม
โรม ยากอบ โรม ยากอบ
2:1 4:11 4:20 1:2-4
2:13 1:22 7:23 4:1
4:1 2:22

ความคล้ายคลึงกันของพระธรรมฟิลิปปี กับพระธรรมโรม
โรม ฟิลิปปี โรม ฟิลิปปี
1:8-11 1:3-4, 7-10 8:29 3:21
2:18 1:10 10:3 3:9
2:28 3:3 11:1 1:9, 3:4-5
6:5, 9:31-32 3:10 12:1 4:18
6:21, 16:18 3:19 12:16-19 2:2-4
เหล่าอัครปิตาในคริสตจักร ยุคแรกก็ได้อ้างอิงข้อมูลในพระธรรมโรม บ่อยครั้งพระธรรมโรมจึงเป็นจดหมาย ฉบับสำคัญที่มีน้ำหนักมากที่สุดฉบับหนึ่ง


โครงร่างพระธรรมโรม

1. คำนำ 1:1-7
1.1 คำทักทาย 1-7
1.2 คำขอบคุณ และคำอธิษฐาน 8-15
1.3 หัวข้อ – แก่นแท้ของข่าวประเสริฐ 16 –17

2. หลักข้อเชื่อ 1:8 – 11:36
2.1 หลักข้อเชื่อเรื่องความบาป 1:18 – 3:20
2.1.1 ความบาปของคนต่างชาติ 1:18 – 32
(1) ด้านศาสนา 18-25
(2) ด้านจริยธรรม 26 – 32

2.1.2 ความบาปของชาวยิว 2:1 – 3:8
a. การพิพากษาสากล 2:1-16
(1) การพิพากษาสำหรับชาวยิว 1-5
(2) การพิพากษาสากล 6-11
(3) มาตรฐานการพิพากษา 12-16
b. ความบาปแห่งการปฏิเสธธรรมบัญญัติ 2:17-29
c. คำถาม – คำตอบ 3:1-8

2.1.3 ความบาปของมนุษยชาติ 3:9-20

2.2 หลักข้อเชื่อเรื่องความรอด 3:21 – 8:39
2.2.1 การนับว่าเป็นคนชอบธรรม 3:21 – 5:21
a.มาตรฐานของคนชอบธรรม 3:21-31
(1) ความชอบธรรมของพระเจ้า 21-26
(2) ความเชื่อ 27 – 31
b. เบื้องหลังความชอบธรรมในพันธสัญญาเดิม 4:1-25
(1) ไม่ใช่โดยการประพฤติ 1-8
(2) ไม่ใช่พิธีเข้าสุหนัต 9-12
(3) ไม่ใช่ธรรมบัญญัติ 13 – 16
(4) โดยความเชื่อเท่านั้น 17 – 25
c. ผลของการถูกนับว่าเป็นคนชอบธรรม 5:1-21
(1) ชีวิตที่เปี่ยมล้นสันติสุข และพระคุณ 1 – 11
(2) การนำมาใช้โดยสากล – อาดัมและพระคริสต์ 12 – 21

2.2.2 หลักข้อเชื่อเรื่องการชำระให้บริสุทธิ์ 6:1 – 8:17
a. พื้นฐานเรื่องการชำระให้บริสุทธิ์ 6:1-11
- ตายและเป็นขึ้นร่วมกัน
b. ลักษณะของการชำระให้บริสุทธิ์ 6:12 – 7:6
(1) ความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างเจ้านายและทาส 6:12-23
(2) ความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างสามีและภรรยา 7:1-6
c. หนทางสู่การชำระให้บริสุทธิ์ 7:7 – 8:17
(1) ทางเก่า – ความล้มเหลวของธรรมบัญญัติ 7:7 – 25
(a) การไร้ความสามารถของธรรมบัญญัติ 7:7-13
(b) ความล้มเหลวของธรรมบัญญัติ 7:14 - 25
(2) ทางใหม่ – การพัฒนาในพระวิญญาณบริสุทธิ์ 8:1-17
(a) หลุดพ้นจากความบาป 1 – 11
(b) ได้เป็นบุตรของพระเจ้า 12 – 17

2.2.3 หลักข้อเชื่อเรื่องการรับกายใหม่ 8:18 – 39
a. การรอคอยเพื่อรับกายใหม่ 18 – 25
(1) ของสรรพสิ่งที่ทรงสร้าง 18 – 22
(2) ของผู้เชื่อ 23 – 25
b. การรับประกันกายใหม่ 26 – 30
(1) การขอร้องของพระวิญญาณบริสุทธิ์ 26 – 27
(2) การเลือกสรรของพระเจ้า 28 – 30
c. การเฉลิมฉลองการรับกายใหม่ 31 – 39

2.3 ประวัติศาสตร์แห่งความรอด 9:1-29
การปฏิเสธ และการกลับสู่สภาพเดิมของชาวอิสราเอล
2.3.1 การเลือกสรรของพระเจ้า 9:1-29
a. ความห่วงใยต่ออิสราเอล 1-5
b. ผู้ถูกเลือกสรรเท่านั้นเป็นอิสราเอลแท้ 6 – 13
c. สิทธิขาดในการเลือกสรร 14 – 18
d. ความเหมาะสมของการเลือกสรร 19 – 29

2.3.2 การปฏิเสธของอิสราเอล 9:30-10:21
a. ความชอบธรรมและความเชื่อ 9:30-33
b. การปฏิเสธนำสู่การไร้ความเชื่อ 10:1-15
c. การปฏิเสธเป็นความจริงตามคำทำนาย 10:16-21

2.3.3 อิสราเอลกลับสู่สภาพเดิม 11:1-36
a. การปฏิเสธของอิสราเอลไม่ใช่จุดจบ 1-2
b. ความเป็นไปได้ที่อิสราเอลจะกลับสู่สภาพเดิม 13-24
c. ความรอดแห่งอิสราเอล 25 – 32
d. คำสรรเสริญ 33 – 36

3 หลักปฏิบัติ 12:1-15:3
3.1 การชี้แนะสำหรับคริสตจักร 12:1-21
3.1.1 คำนำ 1-2
3.1.2 บทบาทของอวัยวะ 3-8
3.1.3 การกระทำด้วยความรัก 9-13
3.1.4 รักศัตรู 14-21

3.2 การชี้แนะสำหรับสังคม 13:1-14
3.2.1 เชื่อฟังผู้มีอำนาจ 1-7
3.2.2 แบกภาระด้านความรัก 8-10
3.2.3 การตื่นตัว 11-14

3.3 การชี้แนะในการสามัคคีธรรม 14:1 –15:13
3.3.1 ไม่วิพากษ์วิจารณ์ 14:1-12
3.3.2 แก้ไขด้านความรัก 14:13 – 23
3.3.3 กระทำดีต่อกันและกัน 15:1-13

4. สรุป 15:14 – 16:27
4.1 เรื่องส่วนตัว 15:14 – 33
4.1.1 อธิบายเกี่ยวกับการประกาศ 14 - 21
4.1.2 แผนการณ์ในอนาคต 22 - 29
4.1.3 กระทำดีต่อกันและกัน 30 – 33

4.2 คำทักทาย 16:1-23
4.2.1 แนะนำตัวเฟบี 1 – 2
4.2.2 คำทักทายของเปาโล 3 – 16
4.2.3 คำเตือนให้ระวังผู้สอนเท็จ 17 – 20
4.2.4 คำทักทายของผู้ร่วมงานของเปาโล 21 – 23

4.3 คำสรรเสริญ 16:24 - 27

















การอภิปรายพระธรรมโรม
¡° เราสามารถเข้าใจพระคัมภีร์ทั้งเล่มโดยพระธรรมโรม ¡°(คาลวิน) ¡° พระธรรมโรมเป็นศูนย์กลางของพันธสัญญาใหม่แท้ ¡° (ลูเธอร์) ในศาสนาคริสต์พันธสัญญาเดิมเป็นเหมือนนาส่วนพันธสัญญาใหม่เป็นเหมือนต้นไม้ พระธรรมโรมเป็นเหมือนลำต้น ศาสนศาสตร์ในศาสนาคริสต์มาจากพระคัมภีร์ใหม่ พระคัมภีร์เดิมเป็นพื้นฐานของพระคัมภีร์ใหม่ พระกิตติคุณเป็นสะพานระหว่าง พระคัมภีร์เดิมและพระคัมภีร์ใหม่ แก่นแท้ของศาสนาคริสต์ คือ จดหมายฝากในพระคัมภีร์ใหม่ของเปาโล
เราแน่ใจว่าพระธรรมโรมเป็นส่วนที่ดีที่สุดของเปาโล ออกัสตินได้กลับใจใหม่จากพระธรรมโรม 13:11-14 และกลายเป็นคนใหม่ เขาเป็นผู้จัดระเบียบโรมันคาลิค / ลูเธอร์ ได้เริ่มโปรเตสแตนท์ เมื่อเขาเข้าใจในพระธรรมโรม 1:16-17 - ข้อคิดของพระธรรมโรมนี้ เป็นข้อคิดของศาสนาคริสต์
¡°ความชอบธรรมโดยความเข้าใจ¡± เป็นหัวข้อสำคัญของพระธรรมโรม ทั้งพันธสัญญาเดิม และพันธสัญญาใหม่ - พระธรรมโรมอธิบายในเรื่องนี้ แบบการสอน และวิทยานิพนธ์ เมื่อเราเปรียบเทียบพระธรรมโรม กับพระธรรมเล่มอื่นๆ ในพันธสัญญาใหม่ เราจะพบลักษณะต่างๆ เช่น กาลาเทีย และ 2 โครินธ์ มีลักษณะ คือ โต้ตอบขัดแย้ง , 1เธสะโลนิกา และ 2 เธสะโลนิกา มีลักษณะอภิบาลศาสตร์ , ฟิลิปปี มีเนื้อความที่หนุนใจ ในพระธรรมโรม เมื่อเปรียบเทียบกับพระธรรมเล่มอื่น ๆ แล้ว ข้อความจะมีความสมบูรณ์มากกว่า ทั้งในด้านศาสตร์ต่าง ๆ ด้วย
พระธรรมโรมประกอบด้วย 16 บท มี 433 ข้อ มีคำศัพท์ประมาณ 7,000 คำ พระธรรมโรมนี้ ยาวกว่าจดหมายฝากโดยทั่วไปในพันธสัญญาเดิม เมื่อเราคิดถึงน้ำหนักของเนื้อความในพระธรรมโรมนั้น ความจริงสั้น แต่ควรจะยาวกว่านี้ เรารู้สึกประทับใจหนังสือเล่มนี้อธิบายแก่นแท้ และความจริงในศาสนาคริสต์ หลายคนกลับใจใหม่เพราะหนังสือเล่มนี้ และคริสตจักรได้รับการฟื้นฟู
ชื่อของหนังสือเล่มนี้ ตอนแรกสั้น แต่ภายหลังเพิ่มเติม หรือทำให้ยาวขึ้น เช่นถึงชาวโรม อัครทูตเปาโลที่บริสุทธิ์ และได้รับการอวยพรในทุกที่ถึงชาวโรม









บทที่ 1
ดหมายของเปาโล ซึ่งมีไปถึงธรรมิกชนในกรุงโรม
คำแสดงความนับถือ
1 เปาโล ผู้รับใช้ของพระเยซูคริสต์ ผู้ซึ่งพระองค์ทรงเรียกให้เป็นอัครทูต และได้ทรงตั้งไว้ให้ประกาศข่าวประเสริฐของพระเจ้า
2 คือข่าวประเสริฐที่พระองค์ได้ทรงสัญญาไว้ล่วงหน้า โดยทางพวกผู้เผยพระวจนะของพระองค์ ในพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์
3 ข่าวประเสริฐนั้นเกี่ยวกับพระบุตรของพระองค์ คือพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา ผู้ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์สืบเชื้อสายจากดาวิด
4 แต่ฝ่ายพระวิญญาณแห่งความบริสุทธิ์นั้นบ่งไว้ด้วยฤทธานุภาพ คือโดยการเป็นขึ้นมาจากความตายว่า เป็นพระบุตรของพระเจ้า
5 โดยทางพระองค์นั้นพวกข้าพเจ้าได้รับพระคุณและหน้าที่เป็นอัครทูต เพื่อเห็นแก่พระนามของพระองค์ .ไปประกาศแก่ชนชาติต่างๆให้เขาเชื่อฟัง
6 รวมทั้งพวกท่านที่พระเจ้าทรงเรียกให้เป็นคนของพระเยซูคริสต์ด้วย
7 เรียน บรรดาท่านที่อยู่ในกรุงโรมผู้ซึ่งพระเจ้าทรงรัก และทรงเรียกให้เป็นธรรมิกชน ขอพระคุณและสันติสุขซึ่งมาจากพระเจ้าพระบิดาของเราทั้งหลาย และจากพระเยซูคริสตเจ้า จงดำรงอยู่กับพวกท่านเถิด
ความปรารถนาของเปาโลที่จะไปเยือนกรุงโรม
8 ประการแรก ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณพระเจ้าของข้าพเจ้า โดยทางพระเยซูคริสต์ เหตุด้วยท่านทั้งหลายเพราะว่าความเชื่อของพวกท่านเลื่องลือไปทั่วโลก
9 เพราะพระเจ้าผู้ซึ่งข้าพเจ้าได้รับใช้ ด้วยชีวิตจิตใจของข้าพเจ้า ในการประกาศข่าวประเสริฐเรื่องพระบุตรของพระองค์นั้น ทรงเป็นพยานของข้าพเจ้าว่า เมื่อข้าพเจ้าอธิษฐานนั้น ข้าพเจ้าระลึกถึงท่านทั้งหลายเสมอไม่ว่างเว้น
10 ข้าพเจ้าทูลขอว่า ถ้าเป็นที่พอพระทัยพระเจ้าแล้ว ให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปเยี่ยมท่านทั้งหลาย โยอย่างหนึ่งอย่างใดในที่สุดนี้
11 เพราะข้าพเจ้าปรารถนาที่จะได้พบท่านทั้งหลาย เพื่อจะได้นำของประทานฝ่ายวิญญาณจิตมาให้แก่ท่านบ้าง
เพื่อเสริมกำลังท่านทั้งหลาย
12 นั่นก็ให้ข้าพเจ้าและท่านทั้งหลายได้หนุนใจซึ่งกันและกัน โดยความเชื่อของเราทั้งสองฝ่าย
13 พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าอยากให้ท่านทั้งหลายทราบว่า ข้าพเจ้าได้ตั้งใจไว้หลายครั้งแล้วว่าจะมาหาท่านเพื่อข้าพเจ้าจะได้เก็บเกี่ยวผลในหมู่พวกท่านด้วย เช่นเดียวกับในหมู่ชนชาติอื่นๆ (แต่จนบัดนี้ก็ยังมีเหตุขัดข้องอยู่)
14 ข้าพเจ้าเป็นหนี้ทั้งพวกอารยะและพวกอนารยชนด้วย เป็นหนี้ทั้งพวกนักปราชญ์และคนเขลาด้วย
15 ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงขวนขวายที่จะประกาศข่าวประเสริฐแก่ท่านทั้งหลายที่อยู่ในกรุงโรมด้วย
ฤทธิ์เดชของข่าวประเสริฐ
16 เพราะว่าข้าพเจ้าไม่มีความละอาย* ในเรื่องข่าวประเสริฐ เพราะว่าข่าวประเสริฐนั้นเป็นฤทธิ์เดชของพระเจ้า
เพื่อให้ทุกคนที่เชื่อได้รับความรอด พวกยิวก่อน แล้วพวกต่างชาติด้วย
17 เพราะว่าในข่าวประเสริฐนั้น ความชอบธรรมของพระเจ้าก็ได้สำแดงออก โดยเริ่มต้นก็ความเชื่อ สุดท้ายก็ความเชื่อ ตามที่พระคัมภีร์มีเขียนไว้ว่า คนชอบธรรมจะมีชีวิตดำรงอยู่โดยความเชื่อ

กรรมชั่วของมนุษยชาติ
18 เพราะว่าพระเจ้าทรงสำแดงพระพิโรธของพระองค์จากสวรรค์ ต่อความหมิ่นประมาทพระองค์ และความชั่วร้ายทั้งมวลของมนุษย์ที่เอาความชั่วร้ายนั้นบีบคั้นความจริง
19 เหตุว่าเท่าที่จะรู้จักพระเจ้าได้ก็แจ้งอยู่กับใจเขาทั้งหลาย เพราะว่าพระเจ้าได้ทรงโปรดสำแดงแก่เขาแล้ว
20 ตั้งแต่เริ่มสร้างโลกมาแล้ว สภาพที่ไม่ปรากฏของพระเจ้านั้น คือฤทธานุภาพอันถาวรและเทวสภาพของพระองค์ ก็ได้ปรากฏชัดในสรรพสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ฉะนั้นเขาทั้งหลายจึงไม่มีข้อแก้ตัวเลย
21 เพราะถึงแม้ว่าเขาทั้งหลายได้รู้จักพระเจ้าแล้ว เขาก็มิได้ถวายพระเกียรติแด่พระองค์ให้สมกับที่ทรงเป็นพระเจ้า
หรือหาได้ขอบพระคุณไม่ แต่เขากลับคิดในสิ่งที่ไม่เป็นสาระ และจิตใจโง่เขลาของเขาก็มืดมัวไป
22 เขาอ้างตัวว่าเป็นคนมีปัญญา เขาจึงกลายเป็นคนโง่เขลาไป
23 และเขาได้เอาพระสิริของพระเจ้าผู้เป็นอมตะมาแลกกับรูปมนุษย์ที่ต้องตายหรือรูปนก รูปสัตว์จตุบาท
และรูปสัตว์เลื้อยคลาน*
24 เหตุฉะนั้น พระเจ้าจึงทรงปล่อยเขาให้ประพฤติอุลามกตามราคะตัณหาในใจของเขาให้เขากระทำสิ่งซึ่งน่าอัปยศทางกายต่อกัน
25 เพราะว่าเขาได้เอาความจริงเรื่องพระเจ้ามาแลกกับความเท็จ และได้นมัสการและปรนนิบัติสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้างไว้ แทนพระองค์ผู้ทรงสร้าง ผู้ซึ่งควรจะได้รับความสรรเสริญเป็นนิตย์ อาเมน
26 เพราะเหตุนี้ พระเจ้าจึงทรงปล่อยให้เขามีกิเลสตัณหาอันน่าอัปยศ พวกผู้หญิงของเขาก็เปลี่ยนจากการสัมพันธ์ตามธรรมชาติ ให้ผิดธรรมชาติไป
27 ฝ่ายผู้ชายก็เลิกการสัมพันธ์กับผู้หญิงให้ถูกตามธรรมชาติเช่นกัน และเร่าร้อนด้วยไฟแห่งราคะตัณหาที่มีต่อกัน
ผู้ชายกับผู้ชายด้วยกันประกอบกิจอันชั่วช้าอย่างน่าละอาย เขาจึงได้รับผลกรรมอันสมควรแก่ความผิดของเขา
28 และเพราะเขาไม่เห็นสมควรที่จะรู้จักพระเจ้า พระองค์จึงทรงปล่อยให้เขามีใจชั่วและประพฤติสิ่งที่ไม่
เหมาะสม
29 พวกเขาเต็มไปด้วยสรรพการอธรรม ความชั่วร้าย ความโลภ ความมุ่งร้าย ความอิจฉาริษยา การฆ่าฟัน การวิวาท การล่อลวง การคิดร้าย พูดนินทา
30 ส่อเสียด เกลียดชังพระเจ้า เย่อหยิ่งจองหอง อวดตัว ริทำชั่วแปลกๆ ไม่เชื่อฟังบิดามารดา
31 โง่เขลา กลับสัตย์ ไม่มีความรักกัน ไร้ความปรานี
32 แม้เขาจะรู้พระบัญญัติของพระเจ้า ที่ว่าคนทั้งปวงที่ประพฤติเช่นนั้นสมควรจะตาย เขาก็ไม่เพียงประพฤติเท่านั้น แต่ยังเห็นดีกับคนอื่นที่ประพฤติเช่นนั้นด้วย

บทที่ 2
การพิพากษาอันยุติธรรมของพระเจ้า
1 เหตุฉะนั้น มนุษย์เอ๋ย ไม่ว่าท่านจะเป็นใคร เมื่อท่านกล่าวโทษผู้อื่นนั้น ท่านไม่มีข้อแก้ตัวเลย
เพราะเมื่อท่านกล่าวโทษผู้อื่น ท่านก็ได้กล่าวโทษตัวเองด้วย* เพราะว่าท่านที่กล่าวโทษเขา ก็ยังประพฤติอยู่อย่างเดียวกับเขา
2 เรารู้ว่า การที่พระเจ้าทรงพิพากษาลงโทษคนที่ประพฤติเช่นนั้นก็สมควรจริงๆ
3 มนุษย์เอ๋ย ท่านที่กล่าวโทษคนที่ประพฤติเช่นนั้น แต่ท่านเองยังประพฤติเช่นเดียวกับเขา ท่านคิดหรือว่าท่านจะพ้นจากการพิพากษาลงโทษของพระเจ้าได้
4 หรือว่าท่านประมาทพระกรุณาคุณอันอุดม และความอดกลั้นพระทัย และความอดทนของพระองค์
ท่านไม่รู้หรือว่าพระกรุณาคุณของพระเจ้านั้น มุ่งที่จะชักนำท่านให้กลับใจใหม่
5 แต่เพราะท่านใจแข็งกระด้างไม่ยอมกลับใจ ท่านจึงส่ำสมโทษให้แก่ตัวเอง ในวันที่พระเจ้าทรงลงพระอาชญา ซึ่งพระองค์จะทรงสำแดงการพิพากษาลงโทษที่เที่ยงธรรมให้ประจักษ์
6 เพราะพระองค์จะประทานแก่ทุกคนตามควรแก่การกระทำของเขา
7 สำหรับคนที่พากเพียรทำความดี แสวงหาศักดิ์ศรี เกียรติ และความเป็นอมตะนั้น พระองค์จะประทานชีวิตนิรันดร์ให้
8 แต่พระองค์จะทรงพระพิโรธ และลงพระอาชญาแก่คนที่มักยกตนข่มท่าน และไม่ประพฤติตามสัจจะ
แต่ประพฤติชั่ว
9 ความทุกข์เวทนาจะเกิดแก่ทุกคนที่ประพฤติชั่ว แก่พวกยิวก่อนและแก่พวกต่างชาติด้วย
10 แต่ศักดิ์ศรี เกียรติ และสันติสุข จะเกิดมีแก่ทุกคนที่ประพฤติดี แก่พวกยิวก่อนและแก่พวกต่างชาติด้วย
11 เพราะว่าพระเจ้าไม่ได้ทรงเห็นแก่หน้าผู้ใดเลย*
12 คนทั้งหลายที่ไม่มีธรรมบัญญัติและทำบาป จะต้องพินาศโดยไม่อ้างธรรมบัญญัติ และคนทั้งหลายที่มีธรรมบัญญัติและทำบาป ก็จะต้องมีโทษตามธรรมบัญญัติ
13 เพราะว่าคนที่เพียงแต่ฟังธรรมบัญญัติเท่านั้น หาใช่ผู้ชอบธรรมในสายพระเนตรของพระเจ้าไม่ คนที่ประพฤติตามธรรมบัญญัติต่างหากที่พระเจ้าทรงถือว่าเป็นผู้ชอบธรรม
14 เมื่อชนต่างชาติซึ่งไม่มีธรรมบัญญัติได้ประพฤติตามธรรมบัญญัติโดยปกติวิสัย คนเหล่านั้นแม้ไม่มีธรรมบัญญัติก็เป็นธรรมบัญญัติให้ตัวเอง แม้ว่าเขาจะไม่มีธรรมบัญญัติก็ตาม
15 เขาแสดงให้เห็นว่าหลักความประพฤติที่เป็นตามธรรมบัญญัตินั้น มีจารึกอยู่ในจิตใจของเขา และใจสำนึกผิดชอบก็เป็นพยานของเขาด้วย ความคิดขัดแย้งต่างๆของเขานั้นแหละจะกล่าวโทษตัวเขา หรืออาจจะแก้ตัวให้เขา
16 ในวันที่พระเจ้าทรงพิพากษาความลับของมนุษย์โดยพระเยซูคริสต์ ทั้งนี้ตามข่าวประเสริฐที่ข้าพเจ้าได้ประกาศนั้น
พวกยิวและธรรมบัญญัติ
17 แต่ถ้าท่านเรียกตัวเองว่า ยิวและพึ่งธรรมบัญญัติ และยกพระเจ้าขึ้นอวด
18 และว่าท่านรู้จักพระทัยของพระองค์ และเห็นชอบในสิ่งที่ประเสริฐ เพราะว่าท่านได้เรียนรู้ในธรรมบัญญัติ
19 และถ้าท่านมั่นใจว่าท่านเป็นผู้จูงคนตาบอด เป็นความสว่างให้แก่คนทั้งหลายที่อยู่ในความมืด
20 เป็นผู้สอนคนโง่ เป็นครูสอนเด็ก เพราะท่านมีแบบอย่างของความรู้และความจริงในธรรมบัญญัตินั้น
21 ฉะนั้นท่านซึ่งเป็นผู้สอนคนอื่นจะไม่สอนตัวเองหรือ เมื่อท่านเทศนาว่าไม่ควรลักทรัพย์ ตัวท่านเองลักหรือเปล่า
22 ท่านผู้ที่สอนว่าไม่ควรล่วงประเวณี ตัวท่านเองล่วงประเวณีหรือเปล่า ท่านผู้รังเกียจรูปเคารพ ตัวท่านเองปล้นวิหารหรือเปล่า
23 ท่านผู้โอ้อวดในธรรมบัญญัติ ตัวท่านเองยังลบหลู่พระเจ้าด้วยการประพฤติผิดธรรมบัญญัติหรือเปล่า
24 เพราะพระคัมภีร์เขียนไว้ว่า คนต่างชาติพูดหยาบหยามต่อพระนามของพระเจ้าก็เพราะท่านทั้งหลาย*
25 ถ้าท่านประพฤติตามธรรมบัญญัติ พิธีเข้าสุหนัต* ก็เป็นประโยชน์จริง แต่ถ้าท่านละเมิดธรรมบัญญัติ
การที่ท่านเข้าสุหนัตนั้นก็เหมือนกับว่าไม่ได้เข้าเลย (พิธีตัดหนังปลายองคชาติ โดยพิธีนี้ผู้ชายเข้าศาสนายิว)
26 เหตุฉะนั้นถ้าผู้ที่ไม่ได้เข้าสุหนัตยังประพฤติตามธรรมบัญญัติแล้ว การที่เขาไม่ได้เข้าสุหนัตนั้น
จะถือเหมือนกับว่าเขาได้เข้าสุหนัตแล้วไม่ใช่หรือ
27 และคนทั้งหลายที่ไม่เข้าสุหนัต แต่ประพฤติตามธรรมบัญญัติ เขาจะปรับโทษท่านผู้มีประมวลธรรมบัญญัติ
และได้เข้าสุหนัตแล้ว แต่ยังละเมิดธรรมบัญญัตินั้น
28 เพราะว่ายิวแท้ มิใช่คนที่เป็นยิวแต่ภายนอกเท่านั้น และการเข้าสุหนัตแท้ก็ไม่ใช่การเข้าสุหนัตซึ่งปรากฏที่เนื้อหนังเท่านั้น
29 คนที่เป็นยิวแท้ คือคนที่เป็นยิวภายใน และการเข้าสุหนัตแท้นั้นเป็นเรื่องของจิตใจ ตามพระวิญญาณมิใช่ตามตัวบทบัญญัติ คนอย่างนั้นพระเจ้าสรรเสริญ มนุษย์ไม่สรรเสริญ

บทที่ 3
1 ถ้าเช่นนั้นพวกยิวจะได้เปรียบคนอื่นอย่างไร และการเข้าสุหนัตนั้นจะมีประโยชน์อะไร
2 มีประโยชน์มากในทุกสถาน เป็นต้นว่าพวกยิวได้เป็นผู้รับมอบให้รักษาพระดำรัสสัญญาของพระเจ้า
3 ถึงมีบางคนไม่สัตย์ซื่อ ความไม่สัตย์ซื่อของเขานั้น จะทำให้ความสัตย์ธรรมของพระเจ้าไร้ประโยชน์หรือ
4 หามิได้เลย ถึงแม้ทุกคนจะอสัตย์ ก็ขอให้พระเจ้าทรงสัจจะเถิด ตามที่พระคัมภีร์เขียนไว้ว่า
เพื่อพระองค์จะได้ปรากฏว่าทรงเป็นผู้สัตย์ธรรมในพระดำรัสทั้งหลายของพระองค์และทรงมีชัยเมื่อเขาวินิจฉัยพระองค์
5 แต่ถ้าความชั่วร้ายของเราเป็นเหตุให้เห็นความชอบธรรมของพระเจ้า เราจะว่าอย่างไร จะว่าพระเจ้าทรงลงพระอาชญา โดยไม่ยุติธรรมอย่างนั้นหรือ (ข้าพเจ้าพูดอย่างมนุษย์)
6 ไม่เป็นเช่นนั้นเลย เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว พระเจ้าจะทรงพิพากษาโลกได้อย่างไร
7 แต่ถ้าสัจจะของพระเจ้าปรากฏมากยิ่งขึ้น เพราะเหตุความอสัตย์ของข้าพเจ้า เป็นที่ให้เกิดเกียรติแด่พระองค์แล้ว
ทำไมเขาจึงยังลงโทษข้าพเจ้าว่าเป็นคนบาปเล่า
8 และทำไมเราจึงไม่ทำความชั่ว เพื่อความดีจะเกิดขึ้นจากความชั่วนั้นเล่า ตามที่มีบางคนเล่าลือและนินทาหาว่า
เราได้กล่าวอย่างนั้น การลงโทษคนเช่นนั้นก็ยุติธรรมแล้ว
ไม่มีคนชอบธรรมเลย
9 ถ้าเช่นนั้นจะเป็นอย่างไร พวกยิวเรา*จะได้เปรียบกว่า*หรือ เปล่าเลยเพราะเราได้ชี้แจงให้เห็นแล้วว่า
มนุษย์ทุกคนทั้งพวกยิวและพวกต่างชาติต่างก็อยู่ใต้อำนาจของบาป (หรือ จะเสียเปรียบ )
10 ตามที่พระคัมภีร์มีเขียนไว้ว่า ไม่มีผู้ใดเป็นคนชอบธรรมสักคนเดียว ไม่มีเลย
11 ไม่มีคนที่เข้าใจ ไม่มีคนที่แสวงหาพระเจ้า
12 เขาทุกคนหลงผิดไปหมด เขาทั้งปวงเลวทรามเหมือนกันสิ้น ไม่มีสักคนเดียวที่กระทำดี ไม่มีเลย*
13 ลำคอของเขาคือหลุมฝังศพที่เปิดอยู่ เขาใช้ลิ้นของเขาในการล่อลวง พิษงูร้ายอยู่ใต้ริมฝีปากของเขา**
14 ปากของเขาเต็มไปด้วยคำแช่งด่าและคำเผ็ดร้อน*
15 เท้าของเขาว่องไวในการทำให้นองเลือด
16 ในทางเดินของเขามีความพินาศและความทุกข์
17 และเขาไม่รู้จักทางแห่งสันติสุข*
18 เขาไม่เคยคิดที่จะยำเกรงพระเจ้าเลย*
19 เรารู้แล้วว่า ธรรมบัญญัติทุกข้อที่ได้กล่าวนั้น ก็ได้กล่าวแก่คนเหล่านั้นที่อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ เพื่อปิดปากทุกคน
และเพื่อให้มนุษย์ทุกคนในโลกอยู่ใต้การพิพากษาของพระเจ้า
20 เพราะว่าในสายพระเนตรของพระเจ้าไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดเป็นคนชอบธรรม* โดยการประพฤติตามธรรมบัญญัติได้
เพราะว่าธรรมบัญญัตินั้นทำให้เรารู้จักบาปได้
ความชอบธรรมโดยทางความเชื่อ
21 แต่บัดนี้ได้ปรากฏแล้วว่า ความชอบธรรมซึ่งมาจากพระเจ้านั้นปรากฏนอกเหนือกฎบัญญัติ ธรรมบัญญัติกับพวกผู้เผยพระวจนะเป็นพยานอยู่
22 คือความชอบธรรมของพระเจ้า ซึ่งทรงประทานโดยความเชื่อในพระเยซูคริสต์* แก่ทุกคนที่เชื่อ
เพราะว่าคนทั้งหลายไม่ต่างกัน
23 เพราะว่าทุกคนทำบาป และเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า
24 แต่พระเจ้าทรงพระกรุณาให้เขาเป็นผู้ชอบธรรม โดยไม่คิดมูลค่า โดยที่พระเยซูคริสต์ทรงไถ่เขาให้พ้นบาปแล้ว
25 พระเจ้าได้ทรงตั้งพระเยซูไว้ให้เป็นที่ลบล้างพระอาชญาโดยพระโลหิตของพระองค์ โดยความเชื่อจึงได้ผล ทั้งนี้เพื่อสำแดงให้เห็นความชอบธรรมของพระเจ้า ในการที่พระองค์ได้ทรงอดกลั้นพระทัย และทรงยกบาปที่ได้ทำไปแล้วนั้น
26 และเพื่อจะสำแดงในปัจจุบันนี้ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ชอบธรรม และทรงโปรดให้ผู้ที่เชื่อในพระเยซูเป็นผู้ชอบธรรมด้วย
27 เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว เราจะเอาอะไรมาอวดก็หมดหนทาง จะอ้างหลักอะไรว่าหมดหนทาง อ้างหลักการประพฤติตามธรรมบัญญัติหรือ ไม่ใช่ แต่ต้องอ้างหลักของความเชื่อ
28 เพราะเราทั้งหลายเห็นว่า คนหนึ่งคนใดจะเป็นคนชอบธรรมได้ ก็โดยอาศัยความเชื่อนอกเหนือการประพฤติตามธรรมบัญญัติ
29 หรือว่าพระเจ้านั้น ทรงเป็นพระเจ้าของยิวพวกเดียวเท่านั้นหรือ พระองค์ไม่ทรงเป็นพระเจ้าของชนต่างชาติด้วยหรือ ถูกแล้วพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าของชนต่างชาติด้วย
30 เพราะว่าพระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าองค์เดียว*และพระองค์ทรงโปรดยกโทษของคนที่เข้าสุหนัตโดยความเชื่อ
และจะทรงโปรดยกโทษของคนที่ไม่เข้าสุหนัตก็เพราะความเชื่อดุจกัน
31 ถ้าเช่นนั้นเราลบล้างธรรมบัญญัติด้วยความเชื่อหรือ เปล่าเลยเรากลับสนับสนุนธรรมบัญญัติเสียอีก


บทที่ 4
อับราฮัมเป็นตัวอย่าง
1 ถ้าเช่นนั้น เราจะว่าอะไรเรื่องอับราฮัม บรรพบุรุษของเราตามสายโลหิต
2 ถ้าอับราฮัมเป็นผู้ชอบธรรมโดยการประพฤติ ท่านก็มีทางที่จะอวดได้ แต่ในสายพระเนตรของพระเจ้าท่านไม่มีทางอย่างนั้น
3 พระคัมภีร์ว่าอย่างไร ก็ว่า อับราฮัมเชื่อในพระเจ้าและเพราะความเชื่อนั้นเอง พระเจ้าทรงถือว่าท่านเป็นคนชอบธรรม
4 ฝ่ายคนที่ทำงานก็ไม่ถือว่าค่าจ้างที่ได้นั้นเป็นบำเหน็จ แต่ถือว่าเป็นค่าแรงของงานที่ได้ทำ
5 ส่วนคนที่มิได้อาศัยการประพฤติ แต่ได้เชื่อในพระองค์ผู้ทรงโปรดให้คนผิดเป็นคนชอบธรรมได้ เพราะความเชื่อของคนนั้น พระเจ้าทรงถือว่าเป็นความชอบธรรม
6 ดังที่ดาวิดได้กล่าวถึงความสุขของคนที่พระเจ้าได้ทรงโปรดให้เป็นคนชอบธรรม โดยมิได้อาศัยการประพฤติ
7 ว่า คนทั้งหลายซึ่งพระเจ้าทรงโปรดยกการอธรรมของเขาแล้ว และพระเจ้าทรงกลบเกลื่อนบาปของเขาแล้ว
ก็เป็นสุข
8 บุคคลที่องค์พระผู้เป็นเจ้ามิได้ทรงถือโทษก็เป็นสุข*
9 ถ้าเช่นนั้นความสุขมีแก่คนที่เข้าสุหนัตพวกเดียวหรือ หรือว่ามีแก่พวกที่มิได้เข้าสุหนัตด้วย เพราะเรากล่าวว่า
"เพราะความเชื่อนั้นเองพระเจ้าทรงถือว่าอับราฮัมเป็นคนชอบธรรม"
10 แต่พระเจ้าทรงถืออย่างไร เมื่อท่านเข้าสุหนัตแล้วหรือ หรือเมื่อยังไม่ได้เข้าสุหนัต มิใช่เมื่อท่านเข้าสุหนัตแล้ว แต่เมื่อท่านยังไม่ได้เข้าสุหนัต
11 และท่านได้เข้าสุหนัต* เป็นเครื่องหมายสำคัญ เป็นตราแห่งความชอบธรรม ซึ่งเกิดโดยความเชื่อที่ท่านได้มีอยู่เมื่อท่านยังไม่ได้เข้าสุหนัต เพื่อท่านจะได้เป็นบิดาของคนทั้งปวงที่เชื่อ ทั้งที่เมื่อเขายังไม่ได้เข้าสุหนัตและพระเจ้าทรงถือว่าเขาเป็นผู้ชอบธรรมด้วย
12 และเพื่อท่านจะเป็นบิดาของคนเหล่านั้นที่เข้าสุหนัต ที่มิได้เพียงแต่เข้าสุหนัตเท่านั้น แต่มีความเชื่อตามแบบของอับราฮัมบิดาของเราทั้งหลาย ซึ่งท่านมีอยู่เมื่อท่านยังไม่ได้เข้าสุหนัต
โดยความเชื่อพระสัญญาจึงเป็นจริงได้
13 เพราะว่าพระสัญญาที่ประทานแก่อับราฮัมและผู้สืบเชื้อสายของท่านที่ว่า จะได้ทั้งพิภพเป็นมรดก
นั้นไม่ได้มีมาโดยพระบัญญัติ แต่มีมาโดยความชอบธรรมที่เกิดจากความเชื่อ
14 ถ้าเขาเหล่านั้นที่ถือตามธรรมบัญญัติจะเป็นทายาท ความเชื่อก็ไม่มีประโยชน์อะไร และพระสัญญาก็เป็นอันไร้ประโยชน์*
15 เพราะธรรมบัญญัติเป็นเหตุให้มีการลงพระอาชญา แต่ที่ใดไม่มีธรรมบัญญัติ ที่นั้นก็ไม่มีการละเมิดธรรมบัญญัติ
16 ด้วยเหตุนี้เอง การที่ได้รับมรดกนั้นจึงขึ้นอยู่กับความเชื่อ เพื่อจะได้เป็นตามพระคุณ เพื่อพระสัญญานั้นจะเป็นที่ไว้วางใจแก่ผู้สืบเชื้อสายของท่านทุกคน มิใช่แก่ผู้สืบเชื้อสายที่ถือธรรมบัญญัติพวกเดียว แต่แก่บรรดาคนที่มีความเชื่อเช่นเดียวกับอับราฮัมผู้เป็นบิดาของพวกเรา
17 ตามที่มีคำเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า เราได้ให้เจ้าเป็นบิดาของมวลประชาชาติ* ต่อพระพักตร์พระองค์ที่ท่านเชื่อ
คือพระเจ้าผู้ทรงให้คนที่ตายแล้วฟื้นชีวิตขึ้นมา และทรงเรียกสิ่งของที่ยังมิได้มี ให้มีขึ้น
18 ฝ่ายอับราฮัมนั้น เมื่อไม่มีหวังซึ่งเป็นที่น่าไว้ใจก็ยังได้เชื่อไว้ใจมีความหวังว่าจะได้เป็นบิดาของหลาย
ประชาชาติ ตามคำที่ได้ตรัสไว้แล้วว่า "พงศ์พันธุ์ของเจ้าจะมากมายอย่างนั้น"*
39 ความเชื่อของท่านมิได้ลดน้อยลงเลย เมื่อท่านพิจารณาดูสังขารของท่าน ซึ่งเปรียบเหมือนตายไปแล้ว
เพราะท่านมีอายุประมาณร้อยปีแล้ว* และเมื่อคำนึงถึงครรภ์ของนางซาราห์ว่าเป็นหมัน
20 ท่านมิได้หวั่นไหวแคลงใจในพระสัญญาของพระเจ้า แต่ท่านมีความเชื่อมั่นคงยิ่งขึ้น จึงถวายเกียรติแด่พระเจ้า
21 ท่านเชื่อมั่นว่า พระเจ้าทรงฤทธิ์ อาจกระทำให้สำเร็จได้ตามที่พระองค์ตรัสสัญญาไว้
22 ด้วยเหตุนี้เอง พระเจ้าทรงถือว่า ความเชื่อของท่านเป็นความชอบธรรมของท่าน
23 แต่คำว่า "ทรงถือว่าเป็นความชอบธรรมของท่าน" นั้น มิได้เขียนไว้สำหรับท่านแต่ผู้เดียว
24 แต่สำหรับพวกเราด้วย จะทรงถือว่าเราเป็นคนชอบธรรม คือเราที่เชื่อในพระองค์ ผู้ทรงให้พระเยซูเจ้าของเราให้ฟื้นขึ้นจากความตาย
25 คือพระเยซูผู้ทรงถูกอายัดไว้ให้ถึงสิ้นพระชนม์แล้ว เพราะการล่วงละเมิดของเรา และได้ทรงฟื้นจากความตาย เพื่อให้เราเป็นคนชอบธรรม

บทที่ 5
ผลของการทรงชำระให้ชอบธรรม
1 เหตุฉะนั้น เมื่อเราได้เป็นคนชอบธรรมเพราะความเชื่อแล้ว *เราจึง*มีสันติสุขในพระเจ้าทางพระเยซูคริสตเจ้าของเรา * หรือ ให้เรา *
2 โดยทางพระองค์เราจึงได้เข้าในร่มพระคุณที่เรายืนอยู่ *และเรา*ชื่นชมยินดีในความไว้วางใจ ว่าจะได้มีส่วนในพระสิริของพระเจ้า * หรือ ให้เรา *
3 ยิ่งกว่านั้น เรา*ชื่นชมยินดีในความทุกข์ยากของเราด้วย เพราะเรารู้ว่าความทุกข์ยากนั้น ทำให้เกิดความอดทน
*หรือ ให้เรา*
4 และความอดทนทำให้เห็นว่าเราเป็นคนที่พระเจ้าทรงใช้ได้ และการที่เราเห็นเช่นนั้นทำให้เกิดมีความหวังใจ
5 และความหวังใจมิได้ทำให้เกิดความเสียใจเพราะผิดหวัง เพราะเหตุว่าความรักของพระเจ้าได้หลั่งเข้าสู่จิตใจของเรา โดยทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งพระองค์ได้ประทานให้แก่เราแล้ว
6 ขณะเมื่อเรายังขาดกำลัง พระคริสต์ก็ได้ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อช่วยคนบาปในเวลาที่เหมาะสม
7 ไม่ใคร่จะมีใครตายเพื่อคนตรง แต่บางทีจะมีคนอาจตายเพื่อคนดีก็ได้
8 แต่พระเจ้าทรงสำแดงความรักของพระองค์แก่เราทั้งหลาย คือขณะที่เรายังเป็นคนบาปอยู่นั้น พระคริสต์ได้ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อเรา
9 เพราะเหตุนั้นเมื่อเราเป็นคนชอบธรรมแล้วโดยพระโลหิตของพระองค์ ยิ่งกว่านั้นเราจะพ้นจากพระอาชญาของพระเจ้าโดยพระองค์
10 เพราะว่าถ้าขณะที่เรายังเป็นศัตรูต่อพระเจ้าเราได้กลับคืนดีกับพระองค์ โดยที่พระบุตรของพระองค์
สิ้นพระชนม์ ยิ่งกว่านั้นอีกเมื่อเรากลับคืนดีแล้ว เราก็จะรอดโดยพระชนม์ชีพของพระองค์แน่
11 มิใช่เพียงเท่านั้น เราทั้งหลายยังชื่นชมยินดีในพระเจ้า โดยทางพระเยซูคริสตเจ้าของเรา ผู้ทรงเป็นเหตุให้เราได้กลับคืนดีกับพระเจ้า
อาดัมกับพระคริสต์
12 เหตุฉะนั้น เช่นเดียวกับที่บาปได้เข้ามาในโลกเพราะคนๆเดียว และความตายก็เกิดมาเพราะบาปนั้น
และความตายก็ได้แผ่ไปถึงมวลมนุษย์ทุกคน เพราะมนุษย์ทุกคนทำบาป
13 ความจริงบาปได้มีอยู่ในโลกแล้วก่อนมีธรรมบัญญัติ แต่ที่ใดไม่มีธรรมบัญญัติก็ไม่ถือว่ามีบาป
14 อย่างไรก็ตาม ความตายก็ได้ครอบงำตลอดมา ตั้งแต่อาดัมจนถึงโมเสส แม้คนที่มิได้ทำบาปอย่างเดียวกับการละเมิดของอาดัม ผู้ซึ่งเป็นแบบของผู้ที่จะเสด็จมาภายหลัง
15 แต่ของประทานแห่งพระคุณนั้นหาเป็นเช่นความละเมิดนั้นไม่ เพราะว่าถ้าคนเป็นอันมากต้องตายเพราะการละเมิดของคนๆเดียว มากยิ่งกว่านั้น พระคุณของพระเจ้าและของประทานโดยพระคุณของพระองค์ผู้เดียวนั้น
คือพระเยซูคริสต์ ก็มีบริบูรณ์แก่คนเป็นอันมาก
16 และของประทานนั้นก็ไม่เหมือนกับผล ซึ่งเกิดจากบาปของคนนั้นคนเดียว เพราะว่าการพิพากษาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการละเมิดเพียงครั้งเดียวนั้น ได้นำไปสู่การลงโทษ แต่ของประทานจากพระเจ้าภายหลังการละเมิดหลายครั้งนั้น นำไปสู่ความชอบธรรม
17 เพราะว่าถ้าโดยการละเมิดของคนนั้นคนเดียว เป็นเหตุให้ความตายครอบงำอยู่โดยคนนั้นคนเดียว
มากยิ่งกว่านั้นคนทั้งหลายที่รับพระกรุณาอันไพบูลย์ และรับของประทานคือความชอบธรรมก็จะดำรงชีวิต
และครอบครองโดยพระองค์ผู้เดียว คือพระเยซูคริสต์
18 ฉะนั้นการพิพากษาลงโทษได้มาถึงคนทั้งปวง เพราะการละเมิดครั้งเดียวฉันใด การกระทำอันชอบธรรมครั้งเดียว ก็นำการปลดปล่อยและชีวิตมาถึงทุกคนฉันนั้น
19 เพราะว่าคนเป็นอันมากเป็นคนบาป เพราะคนคนเดียวที่มิได้เชื่อฟังฉันใด คนเป็นอันมากก็เป็นคนชอบธรรม เพราะพระองค์ผู้เดียวที่ได้ทรงเชื่อฟังฉันนั้น
20 เมื่อมีธรรมบัญญัติ ก็ทำให้มีการละเมิดธรรมบัญญัติปรากฏมากขึ้น แต่ที่ใดมีบาปปรากฏมากขึ้น ที่นั้นพระคุณก็จะไพบูลย์ยิ่งขึ้น
21 เพื่อว่าบาปได้ครอบงำ ทำให้ถึงซึ่งความตายฉันใด พระคุณก็ครอบงำด้วยความชอบธรรมให้ถึงซึ่งชีวิตนิรันดร์
โดยทางพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราฉันนั้น

บทที่ 6
การตายต่อบาปแต่ดำรงชีวิตในพระคริสต์
1 ถ้าเช่นนั้นแล้วเราจะว่าอย่างไร ควรเราจะอยู่ในบาปต่อไป เพื่อให้พระคุณมีมากยิ่งขึ้นหรือ
2 อย่าให้เป็นอย่างนั้นเลย พวกเราที่ตายต่อบาปแล้วจะมีชีวิตในบาปต่อไปอย่างไรได้
3 ท่านไม่รู้หรือว่า เราทั้งหลายที่ได้รับบัพติศมาเข้าในพระเยซูคริสต์ ก็ได้รับบัพติศมานั้นเข้าในความตายของพระองค์
4 เหตุฉะนั้น เราจึงถูกฝังไว้กับพระองค์แล้ว โดยการรับบัพติศมาเข้าส่วนในการตายนั้น เพื่อว่าเมื่อพระคริสต์ได้ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมาจากความตายโดยเดชพระสิริของพระบิดาแล้ว เราก็จะได้ดำเนินตามชีวิตใหม่ด้วยเหมือนกัน
5 เพราะว่าถ้าเราเข้าสนิทกับพระองค์แล้วในการตายอย่างพระองค์ เราก็จะเข้าสนิทกับพระองค์ ในการเป็นขึ้นมาอย่างพระองค์ได้ทรงเป็นขึ้นมาจากความตายด้วย
6 เราทั้งหลายรู้แล้วว่า ตัวเก่าของเรานั้นได้ถูกตรึงไว้กับพระองค์แล้ว เพื่อตัวที่บาปนั้นจะถูกทำลายให้สิ้นไป
และเราจะไม่เป็นทาสของบาปอีกต่อไป
7 เพราะว่าผู้ที่ตายแล้วก็พ้นจากบาป
8 แต่ถ้าเราตายแล้วกับพระคริสต์ เราเชื่อว่าเราจะมีชีวิตอยู่กับพระองค์ด้วย
9 เราทั้งหลายรู้อยู่ว่า พระคริสต์ที่ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมาจากตายนั้นแล้วจะหาตายอีกไม่ ความตายหาครอบงำพระองค์ต่อไปไม่
10 ด้วยว่าซึ่งพระองค์ได้ทรงตายนั้นพระองค์ได้ทรงตายต่อบาปหนเดียวเป็นพอ แต่ซึ่งพระองค์ทรงชีวิตอยู่นั้น พระองค์ทรงชีวิตสนิทกับพระเจ้า
11 เหมือนกันเช่นนั้นแหละ ท่านทั้งหลายจงถือว่าท่านได้ตายต่อบาป และมีชีวิตสนิทกับพระเจ้าในพระเยซูคริสต์
12 เหตุฉะนั้นอย่าให้บาปครอบงำกายที่ต้องตายของท่าน ซึ่งทำให้ต้องเชื่อฟังตัณหาของกายนั้น
13 อย่ายกอวัยวะของท่านให้แก่บาป ให้เป็นเครื่องใช้ในการอธรรม แต่จงถวายตัวของท่านแด่พระเจ้า เหมือนหนึ่งคนที่เป็นขึ้นมาจากความตายแล้ว และจงให้อวัยวะเป็นเครื่องใช้ในการชอบธรรมถวายแด่พระเจ้า
14 เพราะว่าบาปจะครอบงำท่านทั้งหลายต่อไปก็หามิได้ เพราะว่าท่านทั้งหลายมิได้อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ แต่อยู่ใต้พระคุณ

ทาสของความชอบธรรม
15 ถ้าเช่นนั้นจะเป็นอย่างไรต่อไป เราจะทำบาปเพราะมิได้อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ แต่อยู่ใต้พระคุณกระนั้นหรือ ก็อย่าให้เป็นอย่างนั้นเลย
16 ท่านทั้งหลายไม่รู้หรือว่า ถ้าท่านยอมตัวรับใช้ฟังคำของผู้ใด ท่านก็เป็นทาสของผู้ที่ท่านเชื่อฟังนั้น คือเป็นทาสของบาปซึ่งนำไปสู่ความตาย หรือเป็นทาสของการเชื่อฟังซึ่งนำไปสู่ความชอบธรรมก็ตาม
17 แต่จงขอบพระคุณพระเจ้า เพราะว่าเมื่อก่อนนั้นท่านเป็นทาสของบาป แต่บัดนี้ท่านมีใจเชื่อฟังหลักคำสอนนั้นซึ่งทรงให้ครอบครองท่าน
18 เมื่อท่านพ้นจากบาปแล้ว ท่านก็ได้เป็นทาสของความชอบธรรม
19 ข้าพเจ้ายกเอาตัวอย่างมนุษย์มาพูด เพราะเหตุเนื้อหนังของท่านอ่อนกำลัง เพราะท่านเคยให้อวัยวะของท่าน
เป็นทาสของการโสโครก และของการบาปซ้อนบาปฉันใด บัดนี้ท่านจงให้อวัยวะของท่านเป็นทาสของความชอบธรรม เพื่อให้ถึงการชำระให้บริสุทธิ์ฉันนั้น
20 เมื่อท่านทั้งหลายเป็นทาสของบาป ความชอบธรรมก็ไม่ได้ครอบครองท่าน
21 ขณะนั้นท่านได้ประโยชน์อะไรในการเหล่านั้น ซึ่งบัดนี้ท่านทั้งหลายก็ละอาย ด้วยว่าผลสุดท้ายของการเหล่านั้น ก็คือความตาย
22 แต่เดี๋ยวนี้ท่านทั้งหลายพ้นจากการเป็นทาสของบาป และกลับมาเป็นทาสของพระเจ้าแล้ว ผลสนองที่ท่านได้รับก็คือการชำระให้บริสุทธิ์ และผลสุดท้ายคือชีวิตนิรันดร์
23 เพราะว่าค่าจ้างของความบาปคือความตาย แต่ของประทานจากพระเจ้าคือชีวิตนิรันดร์ในพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา


บทที่ 7
ยกเรื่องการแต่งงานมาเป็นข้ออุปไมย
1 ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย ท่านไม่รู้หรือ (ข้าพเจ้าพูดกับคนที่รู้ธรรมบัญญัติแล้ว) ว่าธรรมบัญญัตินั้นมีอำนาจเหนือมนุษย์ ก็เฉพาะในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น
2 เป็นต้นว่าผู้หญิงที่สามียังมีชีวิตอยู่นั้น ต้องอยู่ในกฎประเพณีสามีภรรยา แต่ถ้าสามีตาย ผู้หญิงนั้นก็พ้นจากกฎนั้น
3 ฉะนั้น ถ้าผู้หญิงนั้นไปหลับนอนกับชายอื่นในเมื่อสามียังมีชีวิตอยู่ นางก็ได้ชื่อว่าเป็นหญิงล่วงประเวณี
แต่ถ้าสามีตายแล้ว นางก็พ้นจากกฎประเพณีสามีภรรยา แม้นางไปเป็นภรรยาชายอื่น ก็หาผิดประเวณีไม่
4 เช่นนั้นแหละ พี่น้องทั้งหลาย ท่านทั้งหลายได้ตายจากธรรมบัญญัติทางพระกายของพระคริสต์
เพื่อท่านจะตกเป็นของผู้อื่น คือของพระองค์ผู้ทรงฟื้นขึ้นมาจากความตายแล้ว เพื่อเราทั้งหลายจะได้เกิดผลถวายแด่พระเจ้า
5 เพราะว่าเมื่อเราดำเนินชีวิตตามทางโลก ตัณหาชั่วที่ธรรมบัญญัติเร้าให้เกิดขึ้นนั้น ได้ทำให้อวัยวะของเราก่อกรรมชั่วนำไปสู่ความตาย
6 แต่บัดนี้เราได้พ้นจากธรรมบัญญัติ คือได้ตายจากธรรมบัญญัติที่ได้ผูกมัดเราไว้ เพื่อเราจะได้ไม่ประพฤติตามตัวอักษรในประมวลธรรมบัญญัติเก่า แต่จะดำเนินชีวิตใหม่ตามลักษณะพระวิญญาณ

ปัญหาเรื่องบาปที่ฝังอยู่ในตัว
7 ถ้าเช่นนั้นเราจะว่าอย่างไร ว่าธรรมบัญญัติคือบาปหรือ หาเป็นเช่นนั้นไม่ แต่ว่าถ้ามิใช่เพราะธรรมบัญญัติแล้ว
ข้าพเจ้าก็คงไม่รู้จักบาป เพราะว่าถ้าธรรมบัญญัติมิได้ห้ามว่า "อย่าโลภ" * ข้าพเจ้าก็คงไม่รู้ว่าอะไรคือความโลภ
8 แต่ว่าบาปได้ถือเอาพระบัญญัตินั้นเป็นช่อง ทำให้ตัณหาชั่วทุกอย่างเกิดขึ้นในตัวข้าพเจ้า เพราะว่าถ้าไม่มีธรรมบัญญัติ บาปก็หาดำรงอยู่ไม่
9 เมื่อก่อนข้าพเจ้าดำรงชีวิตอยู่นอกเหนือธรรมบัญญัติ แต่เมื่อมีธรรมบัญญัติขึ้น บาปก็เกิดขึ้น และข้าพเจ้าก็ตาย
10 พระบัญญัตินั้นซึ่งมีขึ้นเพื่อการดำรงชีวิต ก็ปรากฏแล้วว่าเป็นเหตุที่ทำให้ข้าพเจ้าต้องตาย
11 เพราะว่าบาปได้ถือเอาพระบัญญัตินั้นเป็นช่องทางล่อลวงข้าพเจ้า* และประหารข้าพเจ้าให้ตายด้วยพระบัญญัตินั้น
12 เหตุฉะนั้นธรรมบัญญัติจึงเป็นสิ่งบริสุทธิ์ และข้อบัญญัติก็บริสุทธิ์ยุติธรรมและดีงาม
13 ถ้าเช่นนั้น สิ่งที่ดีกลับทำให้ข้าพเจ้าต้องตายหรือ หามิได้ บาปต่างหาก คือบาปซึ่งอาศัยสิ่งที่ดีนั้นทำให้ข้าพเจ้าต้องตาย เพื่อจะให้ปรากฏว่าบาปนั้นเป็นบาปจริง และโดยอาศัยธรรมบัญญัตินั้น บาปก็ปรากฏว่าชั่วร้ายยิ่งนัก
14 เรารู้ว่าธรรมบัญญัตินั้นเป็นมาโดยฝ่ายพระวิญญาณ แต่ว่าข้าพเจ้าเป็นมนุษย์ถูกขายไว้ให้อยู่ใต้บาป
15 ข้าพเจ้าไม่เข้าใจการกระทำของข้าพเจ้าเอง เพราะว่าข้าพเจ้าไม่ทำสิ่งที่ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะทำ
แต่กลับทำสิ่งที่ข้าพเจ้าเกลียดชังนั้น*
16 เหตุฉะนั้นถ้าข้าพเจ้าทำสิ่งที่ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาที่จะทำ และข้าพเจ้ายอมรับว่าธรรมบัญญัตินั้นดี
17 ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงมิใช่ผู้กระทำ แต่ว่าบาปซึ่งอยู่ในตัวข้าพเจ้านั่นเองเป็นผู้ทำ
18 ด้วยว่าในตัวข้าพเจ้า คือในตัวของข้าพเจ้าไม่มีความดีประการใดอยู่เลย เพราะว่าเจตนาดีข้าพเจ้าก็มีอยู่ แต่ซึ่งจะกระทำการดีนั้นข้าพเจ้าหาได้กระทำไม่
19 ด้วยว่าการดีนั้นซึ่งข้าพเจ้าปรารถนาทำ ข้าพเจ้าไม่ได้กระทำ แต่การชั่วซึ่งข้าพเจ้ามิได้ปรารถนาทำ ข้าพเจ้ายังทำอยู่
20 ถ้าแม้ข้าพเจ้ายังทำสิ่งซึ่งข้าพเจ้าไม่ปรารถนาจะทำ ก็ไม่ใช่ตัวข้าพเจ้าเป็นผู้กระทำ แต่บาปซึ่งอยู่ในตัวข้าพเจ้านั่นเองเป็นผู้กระทำ
21 ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเห็นว่าเป็นกฎธรรมดาอย่างหนึ่ง คือเมื่อใดที่ข้าพเจ้าตั้งใจจะกระทำความดี ความชั่วก็พร้อมที่จะผุดขึ้น
22 เพราะว่าส่วนลึกในใจของข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าชื่นชมในธรรมบัญญัติของพระเจ้า
23 แต่ข้าพเจ้าเห็นมีกฎอีกอย่างหนึ่งอยู่ในกายของข้าพเจ้า ซึ่งต่อสู้กับกฎแห่งจิตใจของข้าพเจ้า และชักนำให้ข้าพเจ้าอยู่ใต้บังคับกฎแห่งบาป ซึ่งอยู่ในกายของข้าพเจ้า
24 โอย ข้าพเจ้าเป็นคนน่าสมเพชอะไรเช่นนี้ ใครจะช่วยข้าพเจ้าให้พ้นจากร่างกายนี้ซึ่งเป็นของความตายได้
25 ข้าพเจ้าขอบพระคุณพระเจ้า โดยทางพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา ฉะนั้นทางด้านจิตใจของข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าเชื่อฟังกฎของพระเจ้า แต่ด้านฝ่ายเนื้อหนังของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นทาสของกฎแห่งบาป


บทที่ 8
ชีวิตฝ่ายพระวิญญาณ
1 เหตุฉะนั้นการลงโทษจึงไม่มีแก่คนทั้งหลาย ที่อยู่ในพระเยซูคริสต์
2 เพราะว่ากฎของพระวิญญาณแห่งชีวิตในพระเยซูคริสต์ ได้ทำให้ข้าพเจ้าพ้นจากกฎแห่งบาปและความตาย
3 เพราะว่าสิ่งซึ่งธรรมบัญญัติทำไม่ได้ เพราะเนื้อหนังทำให้อ่อนกำลังไปนั้น พระเจ้าได้ทรงกระทำแล้ว
โดยพระองค์ทรงใช้พระบุตรของพระองค์มา ในสภาพเสมือนเนื้อหนังที่บาป และ*เพื่อไถ่บาป พระบุตรในเนื้อหนังจึงได้ทรงปรับโทษบาป * หรือ เป็นเครื่องบูชาไถ่คนจากบาป *
4 เพื่อสิ่งที่ธรรมบัญญัติสั่งไว้ จะได้สำเร็จในตัวเราทั้งหลาย ผู้ไม่ดำเนินตามฝ่ายเนื้อหนัง แต่ตามฝ่ายพระวิญญาณ
5 เพราะว่าคนทั้งหลายที่อยู่ฝ่ายเนื้อหนัง ก็ปักใจในสิ่งซึ่งเป็นของของเนื้อหนัง แต่คนทั้งหลายที่อยู่ฝ่ายพระวิญญาณ ก็สนใจในสิ่งซึ่งเป็นของพระวิญญาณ
6 ด้วยว่าซึ่งปักใจอยู่กับเนื้อหนัง ก็คือความตาย และซึ่งปักใจอยู่กับพระวิญญาณ ก็คือชีวิตและสันติสุข
7 เหตุว่าใจซึ่งปักอยู่กับเนื้อหนังนั้นก็เป็นศัตรูต่อพระเจ้า หาได้อยู่ใต้บังคับธรรมบัญญัติของพระเจ้าไม่
และที่จริงจะอยู่ใต้บังคับธรรมบัญญัตินั้นไม่ได้
8 และคนทั้งหลายที่อยู่ใต้เนื้อหนัง จะเป็นที่ชอบพระทัยพระเจ้าก็หามิได้
9 ถ้าพระวิญญาณของพระเจ้าทรงสถิตอยู่ในท่านทั้งหลายจริงๆแล้ว ท่านก็มิได้อยู่ใต้เนื้อหนัง
แต่อยู่ใต้พระวิญญาณ ผู้ใดไม่มีพระวิญญาณของพระคริสต์ ผู้นั้นก็ไม่เป็นของพระองค์
10 และถ้าพระคริสต์อยู่ในท่านทั้งหลายแล้ว ถึงแม้ว่าร่างกายของท่านจะตายไปเพราะบาป แต่วิญญาณจิตของท่านก็จะดำรงอยู่เพราะความชอบธรรม
11 ถ้าพระวิญญาณของพระองค์ ผู้ทรงชุบให้พระเยซูเป็นขึ้นมาจากความตาย ทรงสถิตอยู่ในท่านทั้งหลาย* พระองค์ผู้ทรงชุบให้พระเยซูคริสต์เป็นขึ้นมาจากความตายแล้วนั้น จะทรงกระทำให้กายซึ่งต้องตายของท่าน เป็นขึ้นมาใหม่ โดยเดชแห่งพระวิญญาณของพระองค์ซึ่งทรงสถิตอยู่ในท่านทั้งหลาย
12 ดูก่อน พี่น้องทั้งหลาย เหตุฉะนั้นเราทั้งหลายเป็นหนี้ แต่มิใช่เป็นหนี้ฝ่ายเนื้อหนัง ที่จะดำเนินชีวิตตามเนื้อหนัง
13 เพราะว่าถ้าท่านทั้งหลายดำเนินชีวิตตามฝ่ายเนื้อหนังแล้ว ท่านจะต้องตาย แต่ถ้าโดยฝ่ายพระวิญญาณ
ท่านได้ทำลายการของฝ่ายกายเสียท่านก็จะดำรงชีวิตได้
14 เพราะว่าพระวิญญาณของพระเจ้าทรงนำผู้ใด ผู้นั้นก็เป็นบุตรของพระเจ้า
15 เหตุว่าท่านไม่ได้รับน้ำใจทาสซึ่งทำให้ตกในความกลัวอีก แต่ท่านได้รับพระวิญญาณผู้ทรงให้เป็นบุตรของพระเจ้า ให้เราทั้งหลายร้องเรียกพระเจ้าว่า "อับบา" คือพระบิดา*
16 พระวิญญาณนั้นเป็นพยานร่วมกับวิญญาณจิตของเราทั้งหลายว่า เราทั้งหลายเป็นบุตรของพระเจ้า
17 และถ้าเราทั้งหลายเป็นบุตรแล้ว เราก็เป็นทายาท* คือเป็นทายาทของพระเจ้า และเป็นทายาทร่วมกับพระคริสต์
เมื่อเราทั้งหลายทนทุกข์ทรมานด้วยกันกับพระองค์นั้น ก็เพื่อเราทั้งหลายจะได้ศักดิ์ศรีด้วยกันกับพระองค์ด้วย
18 เพราะข้าพเจ้าเห็นว่าความทุกข์ลำบากแห่งสมัยปัจจุบัน ไม่สมควรที่จะเอาไปเปรียบกับศักดิ์ศรี ซึ่งจะเผยให้แก่เราทั้งหลาย
19 ด้วยว่าสรรพสิ่งที่ทรงสร้างแล้ว มีความเพียรคอยท่าปรารถนาให้บุตรทั้งหลายของพระเจ้าปรากฏ
20 เพราะว่าสรรพสิ่งเหล่านั้นต้องเข้าอยู่ในอำนาจของอนิจจัง ไม่ใช่ตามใจชอบของตนเอง แต่เป็นไปตามที่พระเจ้าได้ทรงให้เข้าอยู่นั้น*
21 ด้วยมีความหวังใจว่า สรรพสิ่งเหล่านั้นจะได้รอดจากอำนาจแห่งความเสื่อมสลาย และจะเข้าในเสรีภาพและศักดิ์ศรีแห่งบุตรทั้งหลายของพระเจ้า
22 เรารู้อยู่ว่าบรรดาสรรพสิ่งที่ทรงสร้างนั้นกำลังคร่ำครวญ และผจญความทุกข์ยากด้วยกันมาจนทุกวันนี้
23 และไม่ใช่เท่านั้น แต่เราทั้งหลายเองด้วย ผู้ได้รับพระวิญญาณเป็นผลแรก ตัวเราเองก็ยังคร่ำครวญคอยการที่พระเจ้าทรงให้เป็นบุตร คือที่จะทรงให้กายของเราทั้งหลายรอดตาย*
24 เหตุว่าเราทั้งหลายรอดแม้เป็นเพียงความหวังใจ แต่ความหวังใจในสิ่งที่เราเห็นได้ หาเป็นความหวังใจไม่ ด้วยว่าใครเล่าจะยังหวังในสิ่งที่เขาเห็น
25 แต่ถ้าเราทั้งหลายคอยหวังใจในสิ่งที่เรายังไม่ได้เห็น เราจึงมีความเพียรคอยสิ่งนั้น
26 ในทำนองเดียวกัน พระวิญญาณก็ทรงช่วยเราเมื่อเราอ่อนกำลังด้วย เพราะเราไม่รู้ว่าเราควรจะอธิษฐานขอสิ่งใดอย่างไร แต่พระวิญญาณทรงช่วยขอแทนเรา ในเมื่อเราคร่ำครวญอธิษฐานไม่เป็นคำ
27 และพระองค์ผู้ทรงชันสูตรใจมนุษย์ ก็ทรงทราบความหมายของพระวิญญาณ*เพราะว่าพระวิญญาณทรงอธิษฐานขอเพื่อธรรมิกชนตามที่ชอบพระทัยพระเจ้า * หรือ ว่า *
ยิ่งกว่าผู้พิชิต
28 เรารู้ว่า พระเจ้าทรงช่วยคนที่รักพระองค์ให้เกิดผลอันดีในทุกสิ่ง คือคนทั้งปวงที่พระองค์ได้ทรงเรียกตามพระประสงค์ของพระองค์
29 เพราะว่าผู้หนึ่งผู้ใดที่พระองค์ได้ทรงทราบอยู่แล้ว ผู้นั้นพระองค์ได้ทรงตั้งไว้ให้เป็นตามลักษณะพระฉาย
แห่งพระบุตรของพระองค์ เพื่อพระบุตรนั้นจะได้เป็นบุตรหัวปีท่ามกลางพวกพี่น้องเป็นอันมาก
30 และบรรดาผู้ที่พระองค์ได้ทรงตั้งไว้นั้น พระองค์ได้ทรงเรียกมาด้วย และผู้ที่พระองค์ได้ทรงเรียกมานั้น
พระองค์ทรงโปรดให้เป็นผู้ชอบธรรม และผู้ที่พระองค์ทรงโปรดให้เป็นผู้ชอบธรรม พระองค์ก็ทรงโปรดให้มีศักดิ์ศรีด้วย
31 ถ้าเช่นนั้นเราจะว่าอย่างไร ถ้าพระเจ้าทรงอยู่ฝ่ายเรา ใครจะขัดขวางเรา
32 พระองค์ผู้มิได้ทรงหวงพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ แต่ได้ทรงโปรดประทานพระบุตรนั้นเพื่อประโยชน์แก่เรา ถ้าเช่นนั้นพระองค์จะไม่ทรงโปรดประทานสิ่งสารพัดให้เราทั้งหลาย ด้วยกันกับพระบุตรนั้นหรือ
33 ใครจะฟ้องคนเหล่านั้นที่พระเจ้าได้ทรงเลือกไว้ พระเจ้าทรงโปรดให้พ้นโทษแล้ว
34 ใครเล่าจะเป็นผู้ปรับโทษอีก พระเยซูคริสต์น่ะหรือ ผู้ทรงสิ้นพระชนม์แล้ว
และยิ่งกว่านั้นอีกได้ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมาจากความตาย ทรงสถิต ณ เบื้องขวาพระหัตถ์ของพระเจ้า
และทรงอธิษฐานขอเพื่อเราทั้งหลายด้วย
35 แล้วใครจะให้เราทั้งหลายขาดจากความรักของพระคริสต์ได้เล่า จะเป็นความทุกข์ หรือความยากลำบาก
หรือการเคี่ยวเข็ญ หรือการกันดารอาหาร หรือการเปลือยกาย หรือการถูกโพยภัย หรือการถูกคมดาบหรือ
36 ตามที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า เพราะเห็นแก่พระองค์ ข้าพระองค์จึงถูกประหารวันยังค่ำ และนับว่าเป็นแกะสำหรับจะเอาไปฆ่า
37 แต่ว่าในเหตุการณ์ทั้งปวงเหล่านี้ เรามีชัยเหลือล้นโดยพระองค์ผู้ได้ทรงรักเราทั้งหลาย
38 เพราะข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า แม้ความตาย หรือชีวิต หรือบรรดาทูตสวรรค์ หรือเทพเจ้า หรือสิ่งซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันนี้ หรือสิ่งซึ่งจะมีในภายหน้า หรือฤทธิ์เดชทั้งหลาย
39 หรือซึ่งสูง หรือซึ่งลึก หรือสิ่งใดๆอื่นที่ได้ทรงสร้างแล้วนั้น จะไม่สามารถกระทำให้เราทั้งหลายขาดจากความรักของพระเจ้า ซึ่งมีอยู่ในพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราได้



บทที่ 9
พระเจ้าทรงเลือกตั้งชนชาติอิสราเอล
1 ข้าพเจ้าพูดความจริงในพระคริสต์ ข้าพเจ้าไม่ได้มุสา ใจสำนึกผิดชอบของข้าพเจ้าเป็นพยานฝ่ายข้าพเจ้าโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ว่า
2 ข้าพเจ้ามีความทุกข์หนักและความเจ็บร้อนในใจเสมอมิได้ขาด
3 เพราะถ้าเป็นประโยชน์ข้าพเจ้าปรารถนาจะให้ข้าพเจ้าเองถูกสาป และถูกตัดขาดจากพระคริสต์เพราะเห็นแก่พี่น้องของข้าพเจ้า คือญาติของข้าพเจ้าตามเชื้อชาติ
4 พวกเขาเป็นคนอิสราเอล ได้รับการทรงให้เป็นบุตรของพระเจ้า*และพระสิริของพระเจ้าปรากฏแก่เขา
และเขาได้รับบรรดาพันธสัญญา และการทรงประทานธรรมบัญญัติ และพิธีนมัสการพระเจ้า และพระสัญญา
5 ทั้งอัครปิตาก็เป็นของเขาด้วย และพระคริสต์ก็ได้ทรงถือกำเนิดเป็นมนุษย์ในเชื้อชาติของเขา สาธุการแด่พระเจ้าผู้เป็นใหญ่เหนือสารพัดเป็นนิตย์ อาเมน
6 แต่มิใช่ว่าพระวจนะของพระเจ้าได้ล้มเหลวไป เพราะว่าเขาทั้งหลายที่เกิดมาจากอิสราเอลนั้น หาได้เป็นคนอิสราเอลแท้ทุกคนไม่
7 และมิใช่ว่าทุกคนที่เป็นเชื้อสายของอับราฮัมเป็นบุตรแท้ของท่าน แต่ว่า เขาจะเรียกเชื้อสายของท่านทางสายอิสอัคก
8 หมายความว่าคนที่เป็นบุตรของพระเจ้านั้นมิใช่บุตรทางเนื้อหนัง แต่บุตรตามพระสัญญา จึงจะถือว่าเป็นผู้สืบเชื้อสายได้
9 เพราะพระสัญญามีว่าดังนี้ เราจะมาตามฤดูกาล และนางซาราห์จะมีบุตรชาย*
10 และมิใช่เท่านั้น แต่ว่านางเรเบคคาก็ได้มีครรภ์กับชายคนหนึ่งด้วย คืออิสอัคบรรพบุรุษของเรา
11 แม้ก่อนบุตรนั้นบังเกิดมา และยังไม่ได้กระทำดีหรือชั่ว เพื่อพระดำริของพระเจ้าในการทรงเลือกนั้นจะตั้งมั่นคงอยู่ ไม่ใช่ตามการประพฤติ แต่ตามซึ่งพระองค์ทรงเรียก
12 พระองค์จึงตรัสแก่นางนั้นว่า พี่จะปรนนิบัติน้อง
13 ตามที่มีคำเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า ยาโคบนั้นเรารัก แต่เอซาวเราได้ชัง*
14 ถ้าเช่นนั้นเราจะว่าอย่างไร พระเจ้าไม่ทรงยุติธรรมหรือ มิใช่เช่นนั้น
15 เพราะพระองค์ตรัสกับโมเสสว่า เราประสงค์จะกรุณาผู้ใด เราก็จะกรุณาผู้นั้น และเราจะเมตตาใคร เราก็จะเมตตาผู้นั้น \tx\x ง *อพย. 33:19*
16 เพราะฉะนั้นทุกสิ่งจึงไม่ขึ้นแก่ความตั้งใจหรือการตะเกียกตะกาย แต่ขึ้นอยู่กับพระกรุณาของพระเจ้า
17 เพราะมีข้อพระคัมภีร์ที่กล่าวแก่ฟาโรห์ว่า เพราะเหตุนี้เองเราจึงได้ยกเจ้าขึ้น เพื่อเราจะสำแดงฤทธิ์ของเราให้ปรากฏทางตัวเจ้า และเพื่อให้นามของเรากล่าวประกาศไปทั่วโลก
18 เหตุฉะนั้นพระองค์จะทรงพระกรุณาแก่ผู้ใด ก็จะทรงพระกรุณาผู้นั้น และพระองค์จะทรงให้ผู้ใดมีใจแข็งกระด้าง ก็จะทรงให้ผู้นั้นมีใจแข็งกระด้าง
19 แล้วท่านก็จะกล่าวแก่ข้าพเจ้าว่า "ถ้าเช่นนั้น ทำไมพระองค์จึงยังทรงติเตียน เพราะว่าผู้ใดจะขัดขืนพระทัยของพระองค์ได้
20 แต่ว่าท่านคือใคร คือมนุษย์คนหนึ่งเท่านั้นเอง ท่านจะโต้ตอบกับพระเจ้าได้อย่างไร สิ่งซึ่งถูกปั้นจะกล่าวแก่ผู้ปั้นได้หรือว่า "ทำไมท่านจึงปั้นข้าพเจ้าอย่างนี้"
21 ส่วนช่างปั้นหม้อ ไม่มีสิทธิที่จะเอาดินก้อนเดียวกัน มาปั้นเป็นภาชนะที่สวยงามอันหนึ่ง และภาชนะใช้สอยอันหนึ่งหรือ
22 แล้วถ้าโดยทรงประสงค์จะสำแดงการลงพระอาชญา และทรงให้ฤทธิ์เดชของพระองค์ปรากฏ
พระเจ้าได้ทรงอดกลั้นพระทัยไว้ช้านานต่อผู้เหล่านั้น ที่เป็นภาชนะอันสมควรแก่พระอาชญา ซึ่งเตรียมไว้สำหรับความพินาศ
23 เพื่อจะได้ทรงสำแดงพระสิริอันอุดมของพระองค์ แก่บรรดาผู้ที่เป็นภาชนะแห่งพระเมตตา ซึ่งพระองค์ได้ทรงจัดเตรียมไว้ก่อนให้สมกับศักดิ์ศรี
24 คือเราทั้งหลายที่พระองค์ได้ทรงเรียกมาแล้ว มิใช่จากยิวพวกเดียว แต่จากพวกต่างชาติด้วย
25 ดังที่พระองค์ตรัสไว้ในพระคัมภีร์โฮเชยาว่า เราจะเรียกเขาเหล่านั้นว่าเป็นชนชาติของเรา ซึ่งเมื่อก่อนเขาหาได้เป็นชนชาติของเราไม่ และจะเรียกเขาว่าเป็นที่รัก* ซึ่งเมื่อก่อนเขาหาได้เป็นที่รักไม่
26 "และในสถานที่ซึ่งทรงกล่าวแก่เขาว่า "เจ้าทั้งหลายไม่ใช่ชนชาติของเรา" ในที่นั้นเองเขาจะได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่
27 และท่านอิสยาห์ได้ร้องประกาศเรื่องพวกอิสราเอลว่า แม้พวกลูกอิสราเอลจะมากทวีขึ้นเหมือนเม็ดทรายที่ทะเล
แต่ผู้ที่จะรอดนั้นมีน้อย
28 เพราะว่าองค์พระผู้เป็นเจ้า จะทรงให้เป็นไปตามพระดำรัสของพระองค์โดยเร็วพลัน
29 และตามที่ท่านอิสยาห์ได้กล่าวไว้ว่า ถ้าพระเจ้าจอมโยธามิได้ทรงเหลือพงศ์พันธุ์ไว้ให้เราบ้าง เราทั้งหลายก็จะเป็นเหมือนเมืองโสโดมและเมืองโกโมราห์
ชนชาติอิสราเอลและข่าวประเสริฐ
30 ถ้าเช่นนั้นเราจะว่าอย่างไร จะว่าพวกต่างชาติที่ไม่ได้ใฝ่หาความชอบธรรม ก็ยังได้รับความชอบธรรม คือความชอบธรรมที่เกิดขึ้นโดยความเชื่อ
31 แต่พวกอิสราเอลซึ่งใฝ่หาความชอบธรรมตามบัญญัติ ก็ยังไม่ได้บรรลุตามบัญญัตินั้น
32 เพราะอะไร เพราะเหตุที่เขามิได้แสวงหาโดยความเชื่อ แต่แสวงหาโดยการประพฤติ เขาสะดุดก้อนหินที่ให้สะดุดนั้น
33 ดังที่มีคำเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า จงดูเถิด เราได้วางศิลาก้อนหนึ่งไว้ในศิโยน ซึ่งจะทำให้สะดุดและหินก้อนหนึ่งซึ่งจะทำให้ล้ม แต่ผู้ที่เชื่อในพระองค์จะไม่ได้รับความอับอาย*

บทที่ 10
1 พี่น้องทั้งหลาย ความปรารถนาในจิตใจของข้าพเจ้า และคำวิงวอนขอต่อพระเจ้าเพื่อคนอิสราเอลนั้น คือขอด้วยหวังให้เขารอด
2 ข้าพเจ้าเป็นพยานให้เขาว่า เขามีความกระตือรือร้นที่จะปรนนิบัติพระเจ้า แต่หาได้เป็นตามปัญญาไม่
3 เพราะว่าเขาไม่รู้จักความชอบธรรมที่พระเจ้าประทานให้ แต่อุตส่าห์ตั้งความชอบธรรมของตนขึ้น เขาจึงไม่ได้ยอมอยู่ในความชอบธรรมของพระเจ้า
4 เพราะว่าพระคริสต์ทรงเป็นจุดจบของธรรมบัญญัติ เพื่อให้ทุกคนที่มีความเชื่อได้รับความชอบธรรม
5 โมเสสได้เขียนเรื่องความชอบธรรมซึ่งมีธรรมบัญญัติเป็นมูลฐานว่า คนใดที่ประพฤติตามจะได้ชีวิตโดยการประพฤตินั้น
6 แต่ความชอบธรรมที่มีความเชื่อเป็นมูลฐานว่าอย่างนี้ว่า "อย่านึกในใจของตัวว่า ใครจะขึ้นไปบนสวรรค์"
(คือจะเชิญพระคริสต์ลงมา)
7 "หรือ ใครจะลงไปยังที่ลึก" (คือจะเชิญพระคริสต์ขึ้นมาจากความตาย)
8 แต่ความชอบธรรมนั้นว่าอย่างไร ก็ว่า "ถ้อยคำนั้นอยู่ใกล้ท่าน อยู่ในปากของท่าน และอยู่ในใจของท่าน"*
(คือคำซึ่งก่อให้เกิดความเชื่อที่เราทั้งหลายประกาศอยู่นั้น)
9 คือว่าถ้าท่านจะรับด้วยปากของท่านว่า พระเยซูทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า และเชื่อในจิตใจว่า พระเจ้าได้ทรงชุบพระองค์ให้เป็นขึ้นมาจากความตาย ท่านจะรอด
10 ด้วยว่า ความเชื่อด้วยใจก็นำไปสู่ความชอบธรรม และการยอมรับสัจจะของพระเจ้าด้วยปากก็นำไปสู่ความรอด
11 เพราะมีข้อพระคัมภีร์ว่า ผู้หนึ่งผู้ใดที่เชื่อในพระองค์จะไม่ได้รับความอับอาย*
12 เพราะว่าพวกยิวและพวกต่างชาตินั้น ไม่ทรงถือว่าต่างกัน ด้วยว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าของคนทั้งปวง และทรงโปรดอย่างบริบูรณ์แก่คนทั้งปวงที่ทูลขอต่อพระองค์
13 เพราะว่า ผู้ที่ร้องออกพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้าจะรอด*
14 แต่ผู้ที่ยังไม่เชื่อในพระองค์ จะทูลขอต่อพระองค์อย่างไรได้ และผู้ที่ยังไม่ได้ยินถึงพระองค์ จะเชื่อในพระองค์อย่างไรได้ และเมื่อไม่มีผู้ใดประกาศให้เขาฟัง เขาจะได้ยินถึงพระองค์อย่างไรได้
15 และถ้าไม่มีใครใช้เขาไป เขาจะไปประกาศอย่างไรได้ ตามที่มีคำเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า เท้าของคนเหล่านั้นที่นำข่าวดีมา ช่างงามจริงๆหนอ*
16 แต่มิใช่ทุกคนได้เชื่อฟังข่าวประเสริฐนั้น เพราะอิสยาห์ได้กล่าวไว้ว่า พระองค์เจ้าข้า ใครเล่าได้เชื่อสิ่งที่เขาได้ยินจากเราทั้งหลาย
17 ฉะนั้นความเชื่อเกิดขึ้นได้ก็เพราะการได้ยิน และการได้ยินเกิดขึ้นได้ก็เพราะการประกาศพระคริสต์
18 ข้าพเจ้าถามว่า "เขาทั้งหลายไม่ได้ยินหรือ" เขาได้ยินแล้วจริงๆ เสียงของเขากระจายออกไปทั่วแผ่นดินโลก และถ้อยคำของเขาประกาศออกไปถึงสุดปลายพิภพ
19 ข้าพเจ้าถามอีกว่า "พลอิสราเอลไม่เข้าใจหรือ" ตอนแรกโมเสสกล่าวว่า เราจะให้เจ้าทั้งหลายอิจฉาผู้ที่ไม่ใช่ชนชาติ เราจะยั่วโทสะเจ้าด้วยชนชาติที่โง่เขลาชาติหนึ่ง*
20 แล้วอิสยาห์กล้ากล่าวว่า คนเหล่านั้นที่มิได้แสวงหาเราได้พบเรา เราได้ปรากฏแก่คนที่มิได้ถามหาเรา*
21 แต่ท่านได้กล่าวถึงพวกอิสราเอลว่า ตลอดทั้งวัน เรายื่นมือให้ชนชาติซึ่งไม่ เชื่อฟังและดื้อรั้น*

บทที่ 11
คนอิสราเอลส่วนที่เหลือ
1 เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ข้าพเจ้าจึงถามว่า "พระเจ้าทรงทอดทิ้งชนชาติของพระองค์แล้วหรือ"
หามิได้ข้าพเจ้าเองก็เป็นชนชาติอิสราเอล เป็นพงศ์พันธุ์ของอับราฮัม เป็นเผ่าเบนยามิน*
2 พระเจ้ามิได้ทรงทอดทิ้งชนชาตินั้น ที่พระองค์ทรงรับไว้เป็นของพระองค์ ท่านไม่รู้เรื่องซึ่งเขียนไว้ในพระคัมภีร์กล่าวถึงท่านเอลียาห์หรือ ท่านได้กล่าวโทษพวกอิสราเอลต่อพระเจ้าว่า
3 "พระองค์เจ้าข้า พวกเขาได้ฆ่าพวกผู้เผยพระวจนะของพระองค์ แท่นบูชาของพระองค์เขาก็ได้ขุดทำลายลงเสีย เหลืออยู่แต่ข้าพระองค์คนเดียว และเขาแสวงหาช่องทางที่จะประหารชีวิตของข้าพระองค์"*
4 แล้วพระเจ้าทรงตอบท่านว่าอย่างไร ว่าดังนี้ "เราได้เหลือคนไว้สำหรับเราเจ็ดพันคน ซึ่งเป็นผู้ที่มิได้กราบไหว้พระบาอัล"
5 เช่นนั้นแหละบัดนี้ ก็ยังมีพวกที่เหลืออยู่ตามที่พระเจ้าได้ทรงเลือกไว้โดยพระคุณ
6 แต่ถ้าเป็นทางพระคุณ ก็หาได้เป็นเพราะทางการประพฤติไม่ ถ้าเป็นทางการประพฤติ พระคุณก็จะไม่เป็นพระคุณอีกต่อไป
7 ถ้าเช่นนั้นจะเป็นอย่างไร พวกอิสราเอลไม่พบสิ่งที่เขาแสวงหา แต่คนที่พระเจ้าได้ทรงเลือกไว้นั้น เป็นผู้ได้พบ และคนนอกนั้นก็มีใจแข็งกระด้างไป
8 ตามที่มีคำเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า พระเจ้าได้ทรงประทานใจที่เซื่องซึม ประทานตาที่มองไม่เห็น หูที่ฟังไม่ได้ยิน ให้แก่เขาจนทุกวันนี้*
9 กษัตริย์ดาวิดทรงกล่าวว่า ให้งานเลี้ยงของเขาเป็นบ่วงแร้วและเครื่องดัก เป็นสิ่งให้สะดุดและเป็นสิ่งสนองเขา
10 ให้ตาของเขามืดไปเพื่อเขาจะได้มองไม่เห็น และให้หลังของเขางอค่อมตลอดไป*
ความรอดของชนต่างชาติ
11 ข้าพเจ้าจึงถามว่า พวกอิสราเอลสะดุดจนหกล้มทีเดียวหรือ หามิได้ แต่การที่เขาละเมิดนั้น เป็นเหตุให้ความรอดแผ่มาถึงพวกต่างชาติ เพื่อจะให้พวกอิสราเอลมีใจมานะขึ้น
12แต่ถ้าการที่พวกอิสราเอลละเมิดนั้นเป็นเหตุให้ทั้งโลกบริบูรณ์ และถ้าการพ่ายแพ้ของเขาเป็นเหตุให้คนต่างชาติบริบูรณ์ หากได้เขามาเพิ่มเข้าด้วย จะดียิ่งกว่านั้นอีกมากหนอ
13 แต่ข้าพเจ้ากล่าวแก่พวกท่านที่เป็นคนต่างชาติ เพราะข้าพเจ้าเป็นอัครทูตมายังพวกต่างชาติ ข้าพเจ้าจึงยกย่องพันธกิจรับใช้ของข้าพเจ้า
14 เพื่อข้าพเจ้าจะได้เร้าใจพี่น้องร่วมชาติของข้าพเจ้า ให้เขาเอาอย่าง เพื่อให้เขารอดได้บ้าง
15 เพราะว่าถ้าการที่พี่น้องร่วมชาติของข้าพเจ้า ถูกพระเจ้าทรงทอดทิ้งเสียแล้ว เป็นเหตุให้คนทั้งโลกกลับคืนดีกับพระองค์ การที่พระองค์ทรงรับเขากลับมาอีกนั้น ก็เป็นเหมือนกับว่าเขาได้ตายไปแล้วและกลับฟื้นขึ้นใหม่
16 ถ้าแป้งดิบก้อนแรกที่ปิ้งบริสุทธิ์ แป้งดิบทั้งอ่างก็บริสุทธิ์ด้วย และถ้ารากบริสุทธิ์ กิ่งทั้งหมดก็บริสุทธิ์ด้วย
17 แต่ถ้าทรงหักกิ่งบางกิ่งออกเสียแล้ว และได้ทรงนำท่านผู้เป็นกิ่งมะกอกเทศป่า มาต่อกิ่งไว้แทนกิ่งเหล่านั้น
เพื่อให้เข้าเป็นส่วนได้รับน้ำเลี้ยงจากรากต้นมะกอก
18 ท่านก็อย่าอวดดีต่อกิ่งเหล่านั้น ถ้าท่านอวดดี ใช่ว่าท่านได้เลี้ยงรากนั้นก็หาไม่ แต่รากต่างหากเลี้ยงท่าน
19 ท่านอาจจะแย้งว่า "กิ่งเหล่านั้นได้ทรงหักออกเสียแล้วก็เพื่อจะได้ต่อกิ่งข้าไว้"
20 ถูกแล้ว เขาถูกหักออก ก็เพราะเขาไม่เชื่อ แต่ที่ท่านอยู่ได้ก็เพราะความเชื่อเท่านั้น อย่าเย่อหยิ่งไปเลยแต่จงเกรงกลัว
21 เพราะว่าเมื่อพระองค์มิได้ทรงงดโทษกิ่งเหล่านั้นที่เป็นกิ่งเดิม พระองค์ก็จะไม่ทรงงดโทษท่านเหมือนกัน
22 เหตุฉะนั้นจงพิจารณาดูทั้งพระเมตตาและความเข้มงวดของพระเจ้า คือพระองค์ทรงเข้มงวดกับคนเหล่านั้น
ที่หลงผิดไปแต่พระองค์ทรงพระเมตตาท่าน ถ้าว่าท่านจะดำรงอยู่ในพระเมตตานั้นต่อไป มิฉะนั้นก็จะทรงตัดท่านออกเสียด้วย
23 ส่วนเขาทั้งหลาย ถ้าเขาไม่ดึงดันอยู่ในความไม่เชื่อสืบไป เขาก็จะได้รับการต่อกิ่งเข้าไปใหม่ เพราะว่าพระเจ้าทรงฤทธิ์อาจที่จะทรงให้เขาต่อกิ่งเข้าอีกได้
24 เพราะว่าถ้าพระเจ้าทรงตัดท่านออกจากต้นมะกอกเทศป่า ซึ่งเป็นต้นไม้ป่าตามธรรมชาติ และทรงนำมาต่อกิ่งกับต้นมะกอกพันธุ์ดี ซึ่งผิดธรรมชาติของมันแล้ว การที่จะเอากิ่งเหล่านั้น ซึ่งเป็นกิ่งเดิมมาต่อกิ่งเข้ากับต้นของมันเอง ก็จะง่ายยิ่งกว่านั้นเป็นไหนๆ
การที่อิสราเอลคืนสู่สภาพเดิม
25 พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าเกรงว่าท่านจะอวดรู้ จึงอยากให้ท่านเข้าใจข้อความอันล้ำลึกนี้
คือเรื่องที่บางคนในพวกอิสราเอลมีใจแข็งกระด้างไป จนทำให้พวกต่างชาติได้เข้ามาครบจำนวน
26 และเมื่อเป็นดังนั้น พวกอิสราเอลทั้งปวงก็จะได้รับความรอด ตามที่มีคำเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า
พระผู้ช่วยให้รอดจะเสด็จมาจากเมืองศิโยน และจะทรงกำจัดอธรรมให้สูญสิ้นไปจากยาโคบ*
27 และนี่แหละจะเป็นพันธสัญญาของเรากับเขาทั้งหลาย เมื่อเรายกโทษบาปของเขา*
28 ในเรื่องข่าวประเสริฐนั้น เขาเหล่านั้นก็เป็นศัตรูของพระเจ้า เพื่อประโยชน์ของพวกท่าน
แต่ถ้าว่าตามที่ได้ทรงเลือกไว้ เขาทั้งหลายก็เป็นที่รัก เนื่องจากบรรพบุรุษของเขา
29 เพราะว่าพระเจ้ามิได้ทรงกลับพระทัย ในการที่ได้ทรงให้ของประทานและทรงเลือกสรรไว้
30 ท่านทั้งหลายก็เหมือนกัน เมื่อก่อนมิได้เชื่อฟังพระเจ้า แต่บัดนี้ได้รับพระกรุณา เพราะความไม่เชื่อฟังของพวกเหล่านั้นฉันใด
31 บัดนี้เขาเหล่านั้นก็มิได้เชื่อฟัง เพื่อว่าเขาจะได้รับพระกรุณา โดยพระคุณที่ได้ประทานแก่ท่านทั้งหลายฉันนั้น
32 เพราะว่าพระเจ้าทรงปล่อยให้คนทุกคนอยู่ในฐานะที่ไม่เชื่อฟัง เพื่อพระองค์จะได้ทรงพระกรุณาแก่เขาทั้งหลายทุกคน
33 โอ พระปัญญาและความรอบรู้ของพระเจ้านั้น ล้ำลึกเท่าใด ข้อตัดสินของพระองค์นั้นเหลือที่จะหยั่งรู้ได้ และทางของพระองค์ก็เหลือที่จะสืบเสาะได้
34 เพราะว่า ใครเล่ารู้พระทัยของพระเจ้า หรือใครเล่าเป็นที่ปรึกษาของพระองค์*
35 หรือใครเล่าได้ถวายสิ่งหนึ่งสิ่งใดแก่พระองค์ ที่พระองค์จะต้องประทานตอบแทนให้แก่เขา*
36 เพราะสิ่งสารพัดมาจากพระองค์ โดยพระองค์ และเพื่อพระองค์ ขอพระสิริจงมีแด่พระองค์สืบๆไปเป็นนิตย์ อาเมน*


บทที่ 12
ชีวิตใหม่ในพระคริสต์
1 พี่น้องทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้โดยเห็นแก่ความเมตตากรุณาของพระเจ้า ข้าพเจ้าจึงวิงวอนท่านทั้งหลายให้ถวายตัวของท่านแด่พระองค์ เพื่อเป็นเครื่องบูชาที่มีชีวิตอันบริสุทธิ์และเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า ซึ่งเป็นการนมัสการโดยวิญญาณจิตของท่านทั้งหลาย
2 อย่าประพฤติตามอย่างคนในยุคนี้ แต่จงรับการเปลี่ยนแปลงจิตใจ แล้วอุปนิสัยของท่านจึงจะเปลี่ยนใหม่
เพื่อท่านจะได้ทราบน้ำพระทัยของพระเจ้า จะได้รู้ว่าอะไรดี อะไรเป็นที่ชอบพระทัยและอะไรดียอดเยี่ยม
3 ข้าพเจ้าขอกล่าวแก่ท่านทั้งหลายทุกคนโดยพระคุณ ซึ่งทรงประทานแก่ข้าพเจ้าแล้วว่า อย่าคิดถือตัวเกินที่ตนควรจะคิดนั้น แต่จงคิดให้ถ่อมสุขุมสมกับขนาดความเชื่อ ที่พระเจ้าได้ทรงโปรดประทานแก่ท่าน
4 เพราะว่า ในร่างกายอันเดียวนั้น เรามีอวัยวะหลายอย่าง และอวัยวะนั้นๆมิได้มีหน้าที่เหมือนกันฉันใด
5 พวกเราผู้เป็นหลายคนยังเป็นกายอันเดียวในพระคริสต์*และเป็นอวัยวะแก่กันและกันฉันนั้น
6 และเราทุกคนมีของประทานที่ต่างกัน ตามพระคุณที่ได้ประทานให้แก่เรา คือถ้าเป็นการเผยพระวจนะ
ก็จงเผยตามกำลังของความเชื่อ
7 ถ้าเป็นการปรนนิบัติก็จงปรนนิบัติ ถ้าเป็นการสั่งสอนก็จงสั่งสอน
8 ถ้าเป็นการเตือนสติก็จงเตือนสติ ถ้าเป็นการบริจาค ก็จงให้ด้วยใจกว้างขวาง ผู้ที่ครอบครอง ก็จงครอบครองด้วยเอาใจใส่ ผู้ที่แสดงความเมตตา ก็จงแสดงด้วยใจยินดี
คำเตือนในการดำเนินชีวิตคริสเตียน
9 จงรักด้วยใจจริง จงเกลียดชังสิ่งที่ชั่ว จงยึดมั่นในสิ่งที่ดี
10 จงรักกันฉันพี่น้อง ส่วนการที่ให้เกียรติแก่กันและกันนั้น จงถือว่าผู้อื่นดีกว่าตัว
11 อย่าอ่อนระอา จงมีจิตใจกระตือรือร้นด้วยพระวิญญาณ จงปรนนิบัติองค์พระผู้เป็นเจ้า
12 จงชื่นชมยินดีในความหวัง จงอดทนต่อความยากลำบาก จงขะมักเขม้นอธิษฐาน
13 จงเห็นอกเห็นใจช่วยธรรมิกชนเมื่อเขาขัดสน จงมีน้ำใจอัธยาศัยไมตรี
14 จงอวยพรแก่คนที่เคี่ยวเข็ญท่าน* จงให้พร อย่าแช่งด่าเลย
15 จงชื่นชมยินดีกับผู้ที่มีความชื่นชมยินดี จงร้องไห้กับผู้ที่ร้องไห้
16 จงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อย่าใฝ่สูง แต่*จงถ่อมใจลงยอมทำการต่ำ* อย่าถือว่าตัวฉลาด
* หรือ จงคบคนสามัญ *
17 อย่าทำชั่วตอบแทนชั่วแก่ผู้หนึ่งผู้ใดเลย แต่จงมุ่งกระทำสิ่งที่ใครๆ ก็เห็นว่าดี
18 ถ้าเป็นได้ คือเท่าที่เรื่องขึ้นอยู่กับท่าน จงอยู่อย่างสงบสุขกับทุกคน
19 ดูก่อน ท่านผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้า อย่าทำการแก้แค้น แต่จงมอบการนั้นไว้ แล้วแต่พระเจ้าจะทรงลงพระอาชญา
เพราะมีคำเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า "การแก้แค้นเป็นของเรา เราเองจะตอบสนอง"*
20 อย่าแก้แค้นเลย ถ้าศัตรูของท่านหิว จงให้อาหารเขารับประทาน ถ้าเขากระหายน้ำก็จงให้น้ำเขาดื่ม เพราะว่าการทำอย่างนั้น เป็นการสุมถ่านที่ลุกโพลงไว้บนศีรษะของเขา*
21 อย่าให้ความชั่วชนะเราได้ แต่จงชนะความชั่วด้วยความดี


บทที่ 13
1 ทุกคนจงยอมอยู่ใต้บังคับของผู้ที่มีอำนาจปกครอง เพราะว่าไม่มีอำนาจใดเลยที่มิได้มาจากพระเจ้า
และผู้ที่ทรงอำนาจนั้น พระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น
2 เหตุฉะนั้นผู้ที่ขัดขืนอำนาจนั้น ก็ขัดขืนผู้ซึ่งพระเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้น และผู้ที่ขัดขืนนั้นจะต้องถูกพิพากษาลงโทษ
3 เพราะว่าผู้ครอบครองนั้นไม่น่ากลัวเลยสำหรับคนที่ทำความดี แต่ว่าเป็นที่น่ากลัวสำหรับคนที่ทำความชั่ว
ท่านไม่อยากจะกลัวผู้มีอำนาจหรือ ถ้าเช่นนั้นก็จงประพฤติแต่ความดี แล้วท่านก็จะได้เป็นที่พอใจของผู้มีอำนาจนั้น
4 เพราะว่าผู้ครอบครองนั้น เป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าเพื่อให้ประโยชน์แก่ท่าน แต่ถ้าท่านทำความชั่วก็จงกลัวเถิด
เพราะว่าผู้ครอบครองนั้นหาได้ถือดาบไว้เฉยๆไม่ ท่านเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า และจะเป็นผู้ลงพระอาชญาแทนพระเจ้าแก่ทุกคนที่ประพฤติชั่ว
5 เหตุฉะนั้นท่านจะต้องอยู่ในบังคับบัญชา มิใช่เพราะเกรงพระอาชญาสิ่งเดียว แต่เพราะจิตที่สำนึกผิดชอบด้วย
6 เพราะเหตุผลอันเดียวกันท่านจึงได้เสียส่วยสาอากรด้วย เพราะว่าผู้มีอำนาจนั้นเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า และปฏิบัติหน้าที่นี้อยู่
7 ท่านจงให้แก่ทุกคนตามที่เขาควรจะได้รับ จงเสียส่วยสาอากรตามที่ควร เสียภาษีตามที่ควร ความยำเกรงควรแก่ผู้ใด จงยำเกรงผู้นั้น จงให้เกียรติยศแก่ผู้ที่ควรจะได้รับ
8 อย่าเป็นหนี้อะไรใคร นอกจากความรักซึ่งมีต่อกัน เพราะว่าผู้ที่รักเพื่อนบ้าน ก็ได้ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติ
ครบถ้วนแล้ว
9 พระบัญญัติกล่าวว่า อย่าล่วงประเวณีผัวเมียเขา อย่าฆ่าคน อย่าลักทรัพย์ อย่าโลภ ทั้งพระบัญญัติอื่นๆก็รวมอยู่ในข้อนี้คือ ท่านจงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตัวเอง
10 ความรักไม่ทำอันตรายเพื่อนบ้านเลย เหตุฉะนั้นความรักจึงเป็นการปฏิบัติตามธรรมบัญญัติอย่างครบถ้วน
11 นอกจากนี้ท่านควรจะรู้กาลสมัยว่า บัดนี้เป็นเวลาที่เราควรจะตื่นจากหลับแล้ว เพราะว่าเวลาที่เราจะรอดนั้นใกล้กว่าเวลาที่เราได้เริ่มเชื่อนั้น
12 กลางคืนล่วงไปมากแล้ว และรุ่งเช้าก็ใกล้เข้ามา เราจงเลิกการกระทำของความมืด และจงสวมเครื่องอาวุธของความสว่าง
13 เราจงประพฤติตัวให้เหมาะสมกับเวลากลางวัน มิใช่เลี้ยงเสพสุราเมามาย มิใช่หยาบโลนลามก มิใช่วิวาทริษยากัน
14 แต่ท่านจงประดับกายด้วยพระเยซูคริสตเจ้า และอย่าจัดเตรียมอะไรไว้บำรุงบำเรอตัณหาของเนื้อหนัง


บทที่ 14
อย่าตัดสินพี่น้องของตน
1 ส่วนคนที่ยังมีความเชื่อน้อยอยู่นั้น จงรับเขาไว้ แต่มิใช่เพื่อให้โต้เถียงกันในเรื่องความเชื่อที่แตกต่างกันนั้น
2 คนหนึ่งถือว่าจะกินอะไรก็ได้ทั้งนั้น แต่คนที่มีความเชื่อน้อยก็กินแต่ผักเท่านั้น
3 อย่าให้คนที่กินนั้นดูหมิ่นคนที่ไม่ได้กิน และอย่าให้คนที่มิได้กินกล่าวโทษคนที่ได้กิน เพราะว่าพระเจ้าได้ทรงโปรดรับเขาไว้แล้ว
4 ท่านเป็นใครเล่า จึงกล่าวโทษบ่าวของคนอื่น บ่าวคนนั้นจะได้ดีหรือจะล่มจมก็สุดแล้วแต่นายของเขา และเขาก็จะได้ดีแน่นอน เพราะว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงฤทธิ์อาจให้เขาได้ดีได้
5 คนหนึ่งถือว่าวันหนึ่งดีกว่าอีกวันหนึ่ง แต่อีกคนหนึ่งถือว่าทุกวันเหมือนกัน ขอให้ทุกคนมีความแน่ใจในความคิดเห็นของตนเถิด
6 ผู้ที่ถือวันก็ถือเพื่อถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า ผู้ที่กินก็กินเพื่อถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า
เพราะเขาขอบพระคุณพระเจ้า และผู้ที่ไม่ได้กิน ก็มิได้กินเพื่อถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า
และยังขอบพระคุณพระเจ้า*
7 ในพวกเราไม่มีผู้ใดมีชีวิตอยู่เพื่อตนเองฝ่ายเดียว และไม่มีผู้ใดตายเพื่อตนเองฝ่ายเดียว
8 ถ้าเรามีชีวิตอยู่ ก็มีชีวิตอยู่เพื่อองค์พระผู้เป็นเจ้า และถ้าเราตายก็ตายเพื่อองค์พระผู้เป็นเจ้า
เหตุฉะนั้นไม่ว่าเรามีชีวิตอยู่หรือตายไปก็ตาม เราก็เป็นคนขององค์พระผู้เป็นเจ้า
9 เพราะเหตุนี้เอง พระคริสต์จึงได้ทรงสิ้นพระชนม์และได้ทรงคืนพระชนม์อีก เพื่อจะได้เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าของคนตายและคนเป็น
10 แต่ตัวท่านเล่า เหตุไฉนท่านจึงกล่าวโทษพี่น้องของท่าน หรือท่านผู้เป็นอีกฝ่ายหนึ่ง เหตุไฉนท่านจึงดูหมิ่นพี่น้องของท่านเพราะว่าเราทุกคนต้องยืนอยู่หน้าบัลลังก์พิพากษาของพระเจ้า
11 เพราะมีคำเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า องค์พระผู้เป็นเจ้าได้ตรัสว่า "เรามีชีวิตอยู่แน่นอนฉันใด ทุกคนจะคุกเข่ากราบเรา และทุกลิ้นจะสรรเสริญพระเจ้า"*
12 ฉะนั้นเราทุกคนจะต้องทูลเรื่องราวของตัวเองต่อพระเจ้า

อย่าให้พี่น้องของตนสะดุด
13 ดังนั้นเราอย่ากล่าวโทษกันและกันอีกเลย แต่จงตัดสินใจเสียดีกว่า ว่าจะไม่วางสิ่งซึ่งทำให้สะดุด
หรือสิ่งกีดขวางทางของพี่น้อง
14 ข้าพเจ้ารู้และปลงใจเชื่อเป็นแน่ในองค์พระเยซูเจ้าว่า ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นมลทินในตัวเองเลย
แต่ถ้าผู้ใดถือว่าสิ่งใดเป็นมลทินสิ่งนั้นก็เป็นมลทินสำหรับคนนั้น
15 ถ้าพี่น้องของท่านไม่สบายใจเพราะอาหารที่ท่านกิน ท่านก็ไม่ได้ประพฤติตามทางแห่งความรักเสียแล้ว
พระคริสต์ทรงสิ้นพระชนม์เพื่อผู้ใด ก็อย่าให้ผู้นั้นพินาศ เพราะอาหารที่ท่านกินเลย
16 ฉะนั้นอย่าให้สิ่งที่ดีสำหรับท่าน เป็นข้อตำหนิติเตียนของผู้อื่นได้เลย
17 เพราะว่าแผ่นดินของพระเจ้านั้นไม่ใช่การกินและการดื่ม แต่เป็นความชอบธรรมและสันติสุข และความชื่นชมยินดีในพระวิญญาณบริสุทธิ์
18 ผู้ที่ปรนนิบัติพระคริสต์ในการเหล่านั้น ก็เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า และเป็นที่พอใจของมนุษย์ด้วย
19 เหตุฉะนั้นให้เรามุ่งประพฤติ ในสิ่งซึ่งทำให้เกิดความสงบสุขแก่กันและกัน และทำให้เกิดความเจริญแก่กันและกัน
20 อย่าทำลายงานของพระเจ้าเพราะเห็นแก่อาหารเลย อาหารทุกอย่างปราศจากมลทินก็จริง แต่ผู้ใดที่กินอาหารซึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นทำผิด ก็มีความผิดด้วย
21 เป็นการดีที่จะไม่กินเนื้อสัตว์หรือเหล้าองุ่นหรือทำสิ่งใดๆ ที่จะเป็นเหตุให้พี่น้องสะดุด
22 ความเชื่อที่ท่านมีต่อพระเจ้านั้น จงยึดไว้ให้มั่น ผู้ใดไม่มีเหตุที่จะติเตียนตัวเองในสิ่งที่ตนเห็นชอบแล้วนั้น ก็เป็นสุข
23 แต่ผู้ที่มีความสงสัยอยู่นั้นถ้าเขากินก็มีความผิด เพราะเขามิได้กินตามที่ตนเชื่อ ทั้งนี้เพราะการกระทำใดๆ ที่มิได้เกิดจากความเชื่อมั่นก็เป็นบาปทั้งสิ้น


บทที่ 15
จงให้เป็นที่พอใจของเพื่อนบ้านมิใช่ของตนเอง
1 พวกเราซึ่งมีความเชื่อเข้มแข็ง ควรจะอดทนต่อความเชื่อของคนที่เคร่งในข้อหยุมๆหยิมๆ และไม่ควรกระทำสิ่งใดตามความพอใจของตัวเอง
2 เราทุกคนจงกระทำให้เพื่อนบ้านพอใจ เพื่อนำประโยชน์และการพัฒนามาให้เขา
3 เพราะว่าพระคริสต์ก็มิได้ทรงกระทำสิ่งที่พอพระทัยพระองค์ ตามที่มีคำเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า คำพูดเยาะเย้ยของบรรดาผู้ที่เยาะเย้ยท่าน ตกอยู่แก่ข้าพระองค์
4 เพราะว่าสิ่งที่เขียนไว้ในสมัยก่อนนั้น ก็เขียนไว้เพื่อสั่งสอนเรา เพื่อเราจะได้มีความหวังโดยความเพียร และความชูใจด้วยพระคัมภีร์
5 ขอพระเจ้าแห่งความเพียรและความชูใจ ทรงโปรดช่วยให้ท่านมีน้ำหนึ่งใจเดียวกันตามอย่างพระเยซูคริสต์
6 เพื่อท่านทั้งหลายจะได้พร้อมใจกันสรรเสริญพระเจ้า ผู้ทรงเป็นพระบิดาของพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา
ข่าวประเสริฐที่ไปถึงชนต่างชาติ
7 เหตุฉะนั้นจงต้อนรับกันและกัน เช่นเดียวกับที่พระคริสต์ได้ทรงต้อนรับท่าน เพื่อพระเกียรติของพระเจ้า
8 เพราะข้าพเจ้าหมายว่า พระคริสต์ได้ทรงรับใช้มายังพวกที่เข้าสุหนัต เพื่อเห็นแก่ความสัตย์จริงของพระเจ้า
เพื่อจะดำรงพระสัญญา ที่ประทานไว้กับบรรดาอัครปิตานั้น
9 และเพื่อให้คนต่างชาติได้ถวายพระเกียรติแด่พระเจ้า เพราะพระเมตตาของพระองค์ ตามที่มีคำเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า เพราะเหตุนี้ ข้าพระองค์ขอสรรเสริญพระองค์ ท่ามกลางประชาชาติทั้งหลาย และร้องเพลงสรรเสริญพระนามของพระองค์
10 และมีคำกล่าวอีกว่า ประชาชาติทั้งหลายเอ๋ย จงชื่นชมยินดีกับชนชาติของพระองค์*
11 แล้วยังมีคำกล่าวอีกว่า ประชาชาติทั้งปวงเอ๋ย จงสรรเสริญพระเจ้าเถิดและให้ชนชาติทั้งหลายยกย่องพระองค์*
12 และอิสยาห์กล่าวอีกว่า ากแห่งเจสซีจะมา คือผู้จะทรงบังเกิดมาครอบครองบรรดาประชาชาติ
ประชาชาติทั้งหลายจะมีความหวังในพระองค์*
13 ขอพระเจ้าแห่งความหวังทรงโปรดให้ท่านบริบูรณ์ด้วยความชื่นชมยินดี และสันติสุขในความเชื่อ
เพื่อท่านจะได้เปี่ยมด้วยความหวังโดยฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์
14 พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่า ท่านบริบูรณ์ด้วยความดี และพร้อมด้วยความรู้ทุกอย่าง สามารถจะเตือนสติกันและกันได้
15 แต่การที่ข้าพเจ้ากล้าเขียนบางเรื่องถึงท่าน เพื่อเตือนความจำของท่าน ก็เพราะเหตุของประทานแห่งพระคุณของพระเจ้าที่ได้ประทานแก่ข้าพเจ้า
16 เพื่อให้ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ของพระเยซูคริสต์ไปยังคนต่างชาติ และเป็นปุโรหิตฝ่ายข่าวประเสริฐของพระเจ้า
เพื่อการถวายพวกต่างชาติทั้งหลายนั้น จะได้เป็นที่ชอบพระทัยคือเป็นที่ชำระไว้โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์
17 เหตุฉะนั้นในพระเยซูคริสต์ ข้าพเจ้าจึงมีสิ่งที่จะอวดได้ฝ่ายพระราชกิจของพระเจ้า
18 เพราะว่าข้าพเจ้าไม่อาจจะอ้างสิ่งใด นอกจากสิ่งซึ่งพระคริสต์ได้ทรงกระทำ โดยทรงใช้ข้าพเจ้าทางคำสอนและกิจการ เพื่อจะให้คนต่างชาติเชื่อฟัง
19 คือด้วยอิทธิฤทธิ์แห่งหมายสำคัญและการอัศจรรย์ ในฤทธิ์เดชแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ จนข้าพเจ้าได้ประกาศข่าวประเสริฐของพระคริสต์อย่างถ้วนถี่ ตั้งแต่กรุงเยรูซาเล็มอ้อมไปยังเมืองอิลลีริคุม
20 อันที่จริงข้าพเจ้าได้ตั้งเป้าไว้อย่างนี้ว่า จะประกาศข่าวประเสริฐ ในที่ซึ่งไม่เคยมีใครออกพระนามพระคริสต์มาก่อน เพื่อข้าพเจ้าจะได้ไม่ก่อขึ้นบนรากฐานที่คนอื่นได้วางไว้ก่อนแล้ว
21 ตามที่มีคำเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า คนที่ไม่เคยได้รับคำบอกเล่าเรื่องพระองค์ก็จะได้เห็น และคนที่ไม่เคยได้ฟังจะได้เข้าใจ
เปาโลเจตนาจะไปกรุงโรม
22 นี่คือเหตุที่ขัดขวางข้าพเจ้าไว้ไม่ให้มาหาท่าน
23 แต่เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้าไม่มีกิจที่จะต้องอยู่ในแว่นแคว้นเหล่านี้ต่อไป ข้าพเจ้ามีความปรารถนามาหลายปีแล้วที่จะมาหาท่าน
24 เมื่อข้าพเจ้าจะไปประเทศสเปน ข้าพเจ้าจะแวะมาหาท่านทั้งหลาย เพราะข้าพเจ้าหวังว่าจะได้พบท่านขณะที่ไปตามทางนั้น และเมื่อได้รับความบันเทิงใจกับท่านทั้งหลายบ้างแล้ว หวังว่าท่านจะช่วยจัดส่งให้ข้าพเจ้าเดินทางต่อไป
25 ขณะนี้ข้าพเจ้าจะขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็ม เพื่อช่วยสงเคราะห์ธรรมิกชน
26เพราะว่าพวกศิษย์ในแคว้นมาซิโดเนียและแคว้นอาคายา เห็นชอบที่จะเรี่ยไรเงินส่งไปให้แก่ธรรมิกชนที่ยากจน
ในกรุงเยรูซาเล็ม*
27 พวกศิษย์เหล่านั้นพอใจที่จะทำเช่นนั้น และความจริงพวกเขาก็เป็นหนี้ธรรมิกชนเหล่านั้นด้วย
เพราะว่าถ้าเขาได้รับคนต่างชาติเข้าส่วนในการฝ่ายวิญญาณจิต ก็เป็นการสมควรที่พวกต่างชาตินั้นจะได้ปรนนิบัติศิษย์เหล่านั้น ด้วยสิ่งของฝ่ายเนื้อหนัง
28 เมื่อข้าพเจ้าไปส่งผลทานนั้นมอบให้แก่พวกเขาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ข้าพเจ้าก็จะไปประเทศสเปนผ่านตำบลที่ท่านอยู่นั้น
29 และข้าพเจ้ารู้ว่า เมื่อข้าพเจ้ามาหาท่านนั้น ข้าพเจ้าจะมาพร้อมด้วยพระพรอันบริบูรณ์ของพระคริสต์
30 พี่น้องทั้งหลาย โดยพระเยซูคริสต์พระผู้เป็นเจ้าของเรา และโดยความรักของพระวิญญาณ ข้าพเจ้าวิงวอนขอให้ท่านช่วยอธิษฐานพระเจ้าด้วยใจร้อนรนเพื่อข้าพเจ้า
31 เพื่อให้ข้าพเจ้าพ้นจากมือของคนในประเทศยูเดียที่ไม่เชื่อ และเพื่อให้การปรนนิบัติเนื่องด้วยผลทาน จึงข้าพเจ้านำไปยังกรุงเยรูซาเล็ม เป็นที่พอใจของธรรมิกชน
32 เพื่อข้าพเจ้าจะได้มาหาท่านตามชอบพระทัยพระเจ้า ด้วยความชื่นชมยินดี และมีความเบิกบานแจ่มใสที่ได้พบท่าน
33 ขอพระเจ้าแห่งสันติสุขจงสถิตอยู่กับท่านทั้งหลายเถิด อาเมน


บทที่ 16
คำแสดงความนับถือส่วนตัว
1 ข้าพเจ้าขอฝากน้องสาวของเราไว้กับท่าน คือเฟบีผู้เป็นมัคนายิกาในคริสตจักรที่อยู่ในเมืองเคนเครีย
2 ขอท่านรับนางไว้ในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า ตามควรแก่ธรรมิกชน
และขอให้ท่านช่วยนางในทุกสิ่งที่นางต้องการ เพราะนางได้ช่วยสงเคราะห์คนหลายคนรวมทั้งข้าพเจ้าด้วย
3 ขอฝากความคิดถึงมายังปริสคาและอาควิลลา* ผู้ร่วมงานกับข้าพเจ้าในพระราชกิจของพระเยซูคริสต์
4 ซึ่งได้เสี่ยงชีวิตของเขา เพื่อป้องกันชีวิตของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอขอบคุณเขาทั้งสอง และมิใช่ข้าพเจ้าคนเดียว แต่คริสตจักรทุกแห่งของพวกต่างชาติก็ขอบคุณเขาด้วย
5 และขอฝากความคิดถึงมายังคริสตจักรที่อยู่ในบ้านเขาด้วย ขอฝากความคิดถึงมายังเอเปเนทัสที่รักของข้าพเจ้า
ผู้เป็นคนแรกที่เข้ามาเชื่อในพระคริสต์ในแคว้นเอเชีย
6 ขอฝากความคิดถึงมายังมารีย์ ผู้ได้ตรากตรำทำงานหนักเพื่อท่านทั้งหลาย
7 ขอฝากความคิดถึงมายังอันโดรนิคัสกับยูนีอัส ผู้เป็นญาติของข้าพเจ้า และได้ถูกจำจองร่วมกับข้าพเจ้า เขาเป็นคนมีชื่อเสียงดีในหมู่พวกอัครทูต ทั้งได้อยู่ในพระคริสต์ก่อนข้าพเจ้าด้วย
8 ขอฝากความคิดถึงมายังอัมพลีอาทัส ที่รักของข้าพเจ้าในองค์พระผู้เป็นเจ้า
9 ขอฝากความคิดถึงมายังอูรบานัส ผู้ร่วมงานกับเราในพระราชกิจของพระคริสต์ และขอฝากความคิดถึงมายังสทาคิสที่รักของข้าพเจ้า
10 ขอฝากความคิดถึงมายังอาเป็ลเลส ผู้เป็นที่พอพระทัยของพระคริสต์ ขอฝากความคิดถึงมายังคนในครอบครัวของอาริสโทบูลัส
11 ขอฝากความคิดถึงมายังเฮโรดิโอนญาติของข้าพเจ้า ขอฝากความคิดถึงมายังคนในครัวเรือนนารซิสสัส ที่อยู่ในองค์พระผู้เป็นเจ้า
12 ขอฝากความคิดถึงมายังตรีเฟนาและตรีโฟสา ผู้ปฏิบัติงานในฝ่ายองค์พระผู้เป็นเจ้า ขอฝากความคิดถึงมายังเปอร์ซีสที่รัก ผู้ได้ปฏิบัติงานมากมายในฝ่ายองค์พระผู้เป็นเจ้า
13 ขอฝากความคิดถึงมายังรูฟัส* ผู้ที่ทรงเลือกไว้ในฝ่ายองค์พระผู้เป็นเจ้า และมารดาของเขาซึ่งเป็นมารดาข้าพเจ้าด้วย
14 ขอฝากความคิดถึงมายังอาสินครีทัส ฟเลโกน เฮอร์เมส ปัทโรบัส เฮอร์มาส และบรรดาพี่น้องที่อยู่กับเขาเหล่านั้น
15 ขอฝากความคิดถึงมายังฟีโลโลกัส ยูเลีย และเนเรอัสกับน้องสาวของเขา และโอลิมปัสกับบรรดาธรรมิกชน ที่อยู่กับคนเหล่านั้น
16 จงต้อนรับกันด้วยธรรมเนียมจุบอันบริสุทธิ์ บรรดาคริสตจักรของพระคริสต์ขอฝากความคิดถึงมายังท่านทั้งหลายด้วย
17 พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอวิงวอนท่าน ให้สังเกตดูคนเหล่านั้นที่ก่อเหตุวิวาทและทำให้คนอื่นหลง
ซึ่งเป็นการผิดคำสอนที่ท่านทั้งหลายได้เรียนมา จงเมินหน้าจากคนเหล่านั้น
18 เพราะว่าคนเหล่านั้น ไม่ได้ปรนนิบัติพระคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา แต่ได้ปรนนิบัติท้องของตัวเอง และได้ล่อลวงคนซื่อให้หลงด้วยคำดีคำอ่อนหวาน
19 การซึ่งท่านทั้งหลายได้เชื่อฟังก็เลื่องลือไปถึงหูคนทั้งปวงแล้ว ข้าพเจ้าจึงมีความยินดีเพราะท่านทั้งหลาย
ข้าพเจ้าใคร่ให้ท่านเชี่ยวชาญในการดี และให้เป็นคนทึ่มในการชั่ว
20 ไม่ช้าพระเจ้าแห่งสันติสุข จะทรงปราบซาตานให้ยับเยินลงใต้ฝ่าเท้าของท่านทั้งหลาย ขอพระคุณของพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา จงอยู่กับท่านทั้งหลายเถิด
21 ทิโมธี*ผู้ร่วมงานกับข้าพเจ้า ลูสิอัส ยาโสนและโสสิปาเทอร์ญาติของข้าพเจ้า ฝากความคิดถึงมายังท่านทั้งหลายด้วย
22 ข้าพเจ้าเทอร์ทิอัสผู้เขียนจดหมายฉบับนี้ตามคำบอก ขอฝากความคิดถึงมายังท่านทั้งหลายในองค์พระผู้เป็นเจ้า
23 กายอัส* เจ้าของบ้านผู้เลี้ยงดูข้าพเจ้า และเป็นผู้บำรุงคริสตจักรทั้งหมดฝากความคิดถึงมายังท่านเอรัสทัส
สมุหบัญชีของเมือง และควารทัสซึ่งเป็นพี่น้องของเรา ฝากความคิดถึงมายังท่านทั้งหลายด้วย
24 [ขอพระคุณแห่งพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา จงอยู่กับท่านทั้งหลายเถิด อาเมน]*
* สำเนาต้นฉบับโบราณบางฉบับ เพิ่มข้อ 24 *
คำยอพระเกียรติตอนจบ
25 จงถวายพระเกียรติแด่พระองค์ผู้ทรงฤทธิ์ อาจให้ท่านทั้งหลายตั้งมั่นคงตามกิตติคุณ ซึ่งข้าพเจ้าได้ประกาศนั้นและตามที่ได้ประกาศเรื่องพระเยซูคริสต์ ตามการเปิดเผยข้อความอันล้ำลึก ซึ่งได้ปิดบังไว้ตั้งแต่อดีตกาล
26 แต่มาบัดนี้ได้เปิดเผยให้ปรากฏแล้ว และโดยคัมภีร์ผู้เผยพระวจนะทรงให้ชนชาติทั้งปวงเห็นประจักษ์
ตามซึ่งพระเจ้าผู้ทรงดำรงถาวร ได้ทรงบัญชาไว้เพื่อให้เขาได้เชื่อ
27 โดยพระเยซูคริสต์ ขอพระสิริจงมีแด่พระเจ้าผู้ทรงสัพพัญญูแต่องค์เดียวสืบๆไปเป็นนิตย์ อาเมน
* สำเนาต้นฉบับบางฉบับ เอาเนื้อความข้อ 25-27 ไว้ท้ายบทที่ 14 ฉบับหนึ่งไว้ท้ายบทที่ 15 *
ฉบับอื่นๆบางฉบับทิ้งข้อความนี้ทั้งหมด *



ตีความหมายพระคัมภีร์หนังสือโรม

Rev. Seung Ho Son, Th.D.
2006

The Presbyterian Theological Seminary

   

°ü¸®Àڷα×ÀÎ~~ Àüü 3°³ - ÇöÀç 1/1 ÂÊ
¹øÈ£
Á¦¸ñ
À̸§
ÆÄÀÏ
³¯Â¥
Á¶È¸
¢Ó
[N]
Dr. Chana C
2009-01-18
1697
3
Dr. Chana
2018-07-03
242
2
2009-01-18
2061
2009-01-18
4474
[¸ÇóÀ½] .. [ÀÌÀü] 1 [´ÙÀ½] .. [¸¶Áö¸·]